โดย ลุงธรรม เมื่อวันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012
เป็นข่าวเดิม แต่ผมนำมาลงรายละเอียดเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ท่านเหล่านั้น
และเพื่อที่จะบอกว่าปัญญาชนต่างชาติกล้าสู้เพื่อความถูกต้องให้กับคนไทย
แต่ปนยาชันของไทยเป็นกบใต้กะลา กลัวหดหัวอยู่ในกระดอง
(แม้กระทั่งคิดยังไม่กล้า...ไม่ต้องพูดถึงการแสดงออกใดๆ)
คณะนิติราษฎร์..ไม่ได้ยกเลิกการห้ามหมิ่น แต่เขาต้องการแก้กระบวนการ
การฟ้องร้อง เพื่อสร้างความยุติธรรม ส่งเสริมปรัชญา
“การเมืองพอเพียง...ยั่งยืน...ไม่หวงและบ้าอำนาจ”
นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวหลากหลายอาชีพมีจำนวนรวน 223 คน มาจากเกือบทุกทวีป
รวมเกือบ 20 ประเทศ(รวมไทย) เช่น อังกฤษ, เยอรมัน, สเปน, สวีเดน,เดนมาร์ก,ออสเตรีย, สวิตเซอรแลนด์, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์,ไทย ฯลฯ ร่วมลงชื่อสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ เรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในจดหมายเปืดผนึกที่ส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร (ตามที่แนบมาท้ายนี้)
ผู้ลงนามในจดหมายส่วนใหญ่เป็นศาตราจารย์ อาจารย์ ระดับดอกเตอร์จากมหาวิทยาลัย
ต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยดังๆของ อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย อาทิเช่น
- มหาวิทยาลัยของอเมริกา เช่นในกลุ่มของ The Ivy League Universities
ซึ่งได้แก่ Columbia, Cornell, Harvard, Princeton,Yale
และมหาวิทยาลัยที่มีชื่อโด่งดังมากอื่นๆ เช่น MIT, Northwestern University,
Stanford University, University of California, Berkeley,
University of California, Los Angeles, The University of Chicago
- มหาวิทยาลัยของของยุโรปได้แก่ มหาวิทยาลัยของอังกฤษ เช่น Oxford, Cambridge,
University of London, London School of Economics and Political Science (LSE),
และมหาวิทยลัยชั้นนำของประเทศอื่นๆ เช่น University Bonn University (เยอรมันนี),
Stockholm University (สวีเดน), University of Copenhagen (เดนมาร์ค),
University of Zurich (สวิตเซอร์แลนด์) , University of Vienna (ออสเตรีย)
- มหาวิทยาลัยของเอเซียและออสเตรเลียได้แก่ Australian National University,
University of Sydney, University of Melbourne, Kyoto University,
Nagasaki University, East China Normal University, City University of Hong Kong,
National University of Singapore, University of the Philippines
ข้อความในจดหมายเปิดผนึก
1 กุมภาพันธ์ 2555
กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร
ในฐานะผู้สังเกตการณ์นานาชาติที่ติดตามและห่วงใยสถานการณ์ประเทศไทย
เราขอประกาศยืนหยัดเคียงข้างคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ที่นำโดย
นักวิชาการไทยที่สังคมให้ความนับถืออย่างมากเช่น ดร.ชาญวิทย์เกษตรศิริ,
ดร.นิธิเอียวศรีวงศ์และ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ในการเรียกร้องให้มีการปฏิรูป
กฎหมายอาญามาตรา 112
เราเฝ้าติดตามด้วยความกังวลที่เพิ่มขึ้นตลอดช่วงห้าปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เกิด
เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพราะจำนวนของผู้ที่ถูกฟ้องร้องและ
ดำเนินคดีได้เพิ่มขึ้นอย่างทับทวีคูณ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศของ
การกดขี่ในนามของการปราบปรามมากขึ้น ขณะที่การละเมิดสิทธิพื้นฐานของ
ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมถึงการไม่ให้สิทธิในการประกัน
ตัวและการปฏิเสธสิทธิในการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยไดกลายเป็นเรื่องปกติ
ที่เกิดขึ้นเป็นประจำช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีการลงโทษจำคุกที่รุนแรงที่สุด
ภายใต้มาตรา 112 กับนายอำพล (หรือ “อากง”) ที่ถูกพิพากษาเมื่อวันที่ 23
พฤศจิกายน 2554 ให้ต้องโทษจำคุก 20 ปีในความผิดที่ถูกกล่าวหาว่าได้ทำ
การส่งข้อความต่อต้านสถาบันกษัตริย์จำนวนสี่ข้อความ(sms) ผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่
ในช่วงห้าปีที่ผ่านมามีคดีที่ถูกฟ้องร้องและพิพากษาลงโทษจำนวนมาก และ
อีกไม่ทราบจำนวนที่ไม่ปรากฏต่อสาธารณชน แต่ปรากฏอยู่ในสถิติการดำเนิน
คดีของศาล
เรามีความกังวลมากยิ่งขึ้นต่อการใช้มาตรา 112 ที่ให้ใครก็ได้สามารถแจ้งความ
กล่าวโทษบุคคลใดว่าละเมิดกฎหมายนี้ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่ต้องดำเนิน
การสอบสวนอย่างเต็มที่หลังจากได้รับแจ้งความ สิ่งที่เป์นความกังวลอันสำคัญ
ยิ่งนี้เพราะจำนวนที่เพิ่มขึ้นของการกล่าวหาและการดำเนินคดีภายใต้มาตรา 112
เกิดขึ้นเพราะสังคมไทยมีการแบ่งเป็นฝักฝ่ายมากขึ้นตามอุดมการณ์และความเชื่อ
ทางการเมือง
ภายใต้บริบทเช่นนี้มาตรา 112 ได้กลายเป็นเครื่องมืออันทรงอิทธิพลในการที่ปิด
ปากคู่ขัดแย้งทางการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่ขัดแย้งที่ถูกกล่าวหาว่าไม่
จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ระยะเวลาของโทษจำคุกที่รุนแรงและไม่ได้สัดส่วนกับความผิดที่ถูกกำหนดไว้ภาย
ใต้มาตรา 112 ได้ทำลายบุคคลที่ต้องโทษและครอบครัวของพวกเขา พรากปู่จาก
หลาน พรากพ่อจากลูก และพรากสามีจากภรรยา ยิ่งไปกว่านั้น การที่ระยะเวลาของ
โทษจำคุกเหล่านี้เทียบเท่าได้กับโทษที่ผู้ค้ายาเสพติดและผู้ก่ออาชญากรรมร้าย
แรงได้รับนั้น ทำให้เกิดบรรยากาศความกลัวในหมู่ประชาชนชาวไทยอย่างเห็นได้ชัด
และเมื่อประชาชนไม่อาจแน่ใจได้ว่าเมื่อไรที่เสียงเคาะประตูบ้านที่ดังขึ้นนั้นจะมาจาก
ข้อความที่พวกเขาเขียน บทความที่พวกเขาโพสต์ในโลกออนไลน์หรือจากการกระทำ
ใดๆที่ถูกนับว่าเป็นการไม่จงรักภักดี ก็จะเกิดการจำกัดความคิดและการแสดงออก
[ที่มีต่อสถาบัน] ตราบใดที่สิ่งนี้ยังเกิดขึ้น สิทธิมนุษยชนที่สมบูรณ์ก็ไม่อาจเกิดขึ้นอย่าง
เป็นจริงในประเทศไทย
เราขอยืนหยัดสนับสนุนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 เพราะการปฏิรูปเป็นสิ่งจำเป็น
ในการที่จะคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของประชาชนไทยและเสริมสร้างประชาธิปไตยและ
นิติรัฐในความหมายที่กว้าง ร่างแก้ไขกฎหมายที่นำเสนอโดยกลุ่มนิติราษฎร์จะแก้
ปัญหาวิกฤติ ต่างๆที่เกิดจากการใช้มาตรา 112 ในทางที่ผิดโดยการทำให้การ
ลงโทษเป็นเหตุเป็นผลและได้สัดส่วนกับความผิด การจำกัดให้ผู้ที่สามารถแจ้งความ
กล่าวโทษได้เป็นสำนักราชเลขาธิการแทนที่จะเป็นใครก็ได้ การจำแนกการวิพากษ์
วิจารณ์โดยสุจริตจากการอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์และดำเนินการกับการละเมิด
มาตรา 112 ในกรอบของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแทนที่จะเป็นเรื่องการละเมิด
กฎหมายความมั่นคงแห่งรัฐเราขอเรียกร้องให้ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาการแก้ไข
มาตรา 112 ตามที่มีการเสนอโดยเร็ว
ขอแสดงความนับถือ
(ลงชื่อตามลำดับตัวอักษรนามสกุล)
( ลงนาม 223 รายชื่อ จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก )
เป็นข่าวเดิม แต่ผมนำมาลงรายละเอียดเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ท่านเหล่านั้น
และเพื่อที่จะบอกว่าปัญญาชนต่างชาติกล้าสู้เพื่อความถูกต้องให้กับคนไทย
แต่ปนยาชันของไทยเป็นกบใต้กะลา กลัวหดหัวอยู่ในกระดอง
(แม้กระทั่งคิดยังไม่กล้า...ไม่ต้องพูดถึงการแสดงออกใดๆ)
คณะนิติราษฎร์..ไม่ได้ยกเลิกการห้ามหมิ่น แต่เขาต้องการแก้กระบวนการ
การฟ้องร้อง เพื่อสร้างความยุติธรรม ส่งเสริมปรัชญา
“การเมืองพอเพียง...ยั่งยืน...ไม่หวงและบ้าอำนาจ”
นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวหลากหลายอาชีพมีจำนวนรวน 223 คน มาจากเกือบทุกทวีป
รวมเกือบ 20 ประเทศ(รวมไทย) เช่น อังกฤษ, เยอรมัน, สเปน, สวีเดน,เดนมาร์ก,ออสเตรีย, สวิตเซอรแลนด์, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์,ไทย ฯลฯ ร่วมลงชื่อสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ เรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในจดหมายเปืดผนึกที่ส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร (ตามที่แนบมาท้ายนี้)
ผู้ลงนามในจดหมายส่วนใหญ่เป็นศาตราจารย์ อาจารย์ ระดับดอกเตอร์จากมหาวิทยาลัย
ต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยดังๆของ อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย อาทิเช่น
- มหาวิทยาลัยของอเมริกา เช่นในกลุ่มของ The Ivy League Universities
ซึ่งได้แก่ Columbia, Cornell, Harvard, Princeton,Yale
และมหาวิทยาลัยที่มีชื่อโด่งดังมากอื่นๆ เช่น MIT, Northwestern University,
Stanford University, University of California, Berkeley,
University of California, Los Angeles, The University of Chicago
- มหาวิทยาลัยของของยุโรปได้แก่ มหาวิทยาลัยของอังกฤษ เช่น Oxford, Cambridge,
University of London, London School of Economics and Political Science (LSE),
และมหาวิทยลัยชั้นนำของประเทศอื่นๆ เช่น University Bonn University (เยอรมันนี),
Stockholm University (สวีเดน), University of Copenhagen (เดนมาร์ค),
University of Zurich (สวิตเซอร์แลนด์) , University of Vienna (ออสเตรีย)
- มหาวิทยาลัยของเอเซียและออสเตรเลียได้แก่ Australian National University,
University of Sydney, University of Melbourne, Kyoto University,
Nagasaki University, East China Normal University, City University of Hong Kong,
National University of Singapore, University of the Philippines
ข้อความในจดหมายเปิดผนึก
1 กุมภาพันธ์ 2555
กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร
ในฐานะผู้สังเกตการณ์นานาชาติที่ติดตามและห่วงใยสถานการณ์ประเทศไทย
เราขอประกาศยืนหยัดเคียงข้างคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ที่นำโดย
นักวิชาการไทยที่สังคมให้ความนับถืออย่างมากเช่น ดร.ชาญวิทย์เกษตรศิริ,
ดร.นิธิเอียวศรีวงศ์และ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ในการเรียกร้องให้มีการปฏิรูป
กฎหมายอาญามาตรา 112
เราเฝ้าติดตามด้วยความกังวลที่เพิ่มขึ้นตลอดช่วงห้าปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เกิด
เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพราะจำนวนของผู้ที่ถูกฟ้องร้องและ
ดำเนินคดีได้เพิ่มขึ้นอย่างทับทวีคูณ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศของ
การกดขี่ในนามของการปราบปรามมากขึ้น ขณะที่การละเมิดสิทธิพื้นฐานของ
ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมถึงการไม่ให้สิทธิในการประกัน
ตัวและการปฏิเสธสิทธิในการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยไดกลายเป็นเรื่องปกติ
ที่เกิดขึ้นเป็นประจำช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีการลงโทษจำคุกที่รุนแรงที่สุด
ภายใต้มาตรา 112 กับนายอำพล (หรือ “อากง”) ที่ถูกพิพากษาเมื่อวันที่ 23
พฤศจิกายน 2554 ให้ต้องโทษจำคุก 20 ปีในความผิดที่ถูกกล่าวหาว่าได้ทำ
การส่งข้อความต่อต้านสถาบันกษัตริย์จำนวนสี่ข้อความ(sms) ผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่
ในช่วงห้าปีที่ผ่านมามีคดีที่ถูกฟ้องร้องและพิพากษาลงโทษจำนวนมาก และ
อีกไม่ทราบจำนวนที่ไม่ปรากฏต่อสาธารณชน แต่ปรากฏอยู่ในสถิติการดำเนิน
คดีของศาล
เรามีความกังวลมากยิ่งขึ้นต่อการใช้มาตรา 112 ที่ให้ใครก็ได้สามารถแจ้งความ
กล่าวโทษบุคคลใดว่าละเมิดกฎหมายนี้ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่ต้องดำเนิน
การสอบสวนอย่างเต็มที่หลังจากได้รับแจ้งความ สิ่งที่เป์นความกังวลอันสำคัญ
ยิ่งนี้เพราะจำนวนที่เพิ่มขึ้นของการกล่าวหาและการดำเนินคดีภายใต้มาตรา 112
เกิดขึ้นเพราะสังคมไทยมีการแบ่งเป็นฝักฝ่ายมากขึ้นตามอุดมการณ์และความเชื่อ
ทางการเมือง
ภายใต้บริบทเช่นนี้มาตรา 112 ได้กลายเป็นเครื่องมืออันทรงอิทธิพลในการที่ปิด
ปากคู่ขัดแย้งทางการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่ขัดแย้งที่ถูกกล่าวหาว่าไม่
จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ระยะเวลาของโทษจำคุกที่รุนแรงและไม่ได้สัดส่วนกับความผิดที่ถูกกำหนดไว้ภาย
ใต้มาตรา 112 ได้ทำลายบุคคลที่ต้องโทษและครอบครัวของพวกเขา พรากปู่จาก
หลาน พรากพ่อจากลูก และพรากสามีจากภรรยา ยิ่งไปกว่านั้น การที่ระยะเวลาของ
โทษจำคุกเหล่านี้เทียบเท่าได้กับโทษที่ผู้ค้ายาเสพติดและผู้ก่ออาชญากรรมร้าย
แรงได้รับนั้น ทำให้เกิดบรรยากาศความกลัวในหมู่ประชาชนชาวไทยอย่างเห็นได้ชัด
และเมื่อประชาชนไม่อาจแน่ใจได้ว่าเมื่อไรที่เสียงเคาะประตูบ้านที่ดังขึ้นนั้นจะมาจาก
ข้อความที่พวกเขาเขียน บทความที่พวกเขาโพสต์ในโลกออนไลน์หรือจากการกระทำ
ใดๆที่ถูกนับว่าเป็นการไม่จงรักภักดี ก็จะเกิดการจำกัดความคิดและการแสดงออก
[ที่มีต่อสถาบัน] ตราบใดที่สิ่งนี้ยังเกิดขึ้น สิทธิมนุษยชนที่สมบูรณ์ก็ไม่อาจเกิดขึ้นอย่าง
เป็นจริงในประเทศไทย
เราขอยืนหยัดสนับสนุนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 เพราะการปฏิรูปเป็นสิ่งจำเป็น
ในการที่จะคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของประชาชนไทยและเสริมสร้างประชาธิปไตยและ
นิติรัฐในความหมายที่กว้าง ร่างแก้ไขกฎหมายที่นำเสนอโดยกลุ่มนิติราษฎร์จะแก้
ปัญหาวิกฤติ ต่างๆที่เกิดจากการใช้มาตรา 112 ในทางที่ผิดโดยการทำให้การ
ลงโทษเป็นเหตุเป็นผลและได้สัดส่วนกับความผิด การจำกัดให้ผู้ที่สามารถแจ้งความ
กล่าวโทษได้เป็นสำนักราชเลขาธิการแทนที่จะเป็นใครก็ได้ การจำแนกการวิพากษ์
วิจารณ์โดยสุจริตจากการอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์และดำเนินการกับการละเมิด
มาตรา 112 ในกรอบของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแทนที่จะเป็นเรื่องการละเมิด
กฎหมายความมั่นคงแห่งรัฐเราขอเรียกร้องให้ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาการแก้ไข
มาตรา 112 ตามที่มีการเสนอโดยเร็ว
ขอแสดงความนับถือ
(ลงชื่อตามลำดับตัวอักษรนามสกุล)
( ลงนาม 223 รายชื่อ จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก )
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar