Somsak Jeamteerasakul
"วงษ์สุวรรณ factor" : "ตุลาการภิวัฒน์" หรือการทำศาลให้เป็นการเมือง ไม่เป็นผลดีต่อทั้งสังคมในระยะยาว https://goo.gl/HY2cQf
"วงษ์สุวรรณ factor" : "ตุลาการภิวัฒน์" หรือการทำศาลให้เป็นการเมือง ไม่เป็นผลดีต่อทั้งสังคมในระยะยาว
ถ้าคนเชียร์พันธมิตรจะรู้สึกไม่พอใจว่า คำตัดสินคดีสลายการชุมนุมพันธมิตรวันนี้ เป็นเพราะ "วงศ์สุวรรณ factor" หรือ "ปัจจัยเรื่อง (พัชรวาท) วงษ์สุวรรณ" ก็เป็นที่เข้าใจได้ ผมก็เชื่อว่า โอกาสที่จะตัดสินให้พัชรวาทกับพวก ผิด-ติดคุก ยากมากๆ ตราบใดที่่มีพี่ชายเป็นคนใหญ่คนโตใน คสช (ต่อให้มี "ชินวัตร-วงศ์สวัสดิ์" อยู่ในจำเลยด้วยก็ตาม)
แต่ประเด็นก็อยู่ตรงนี้แหละว่า การที่ศาลมีลักษณะการเมือง หรือที่เรียกกันว่า "ตุลาการภิวัฒน์" เป็นอะไรที่ผิด
ทำไมวันก่อน ศาลฎีกาแผนกการเมือง จึงทำผิดรัฐธรรมนูญ (มาตรา 212) ไม่ยอมส่งเรื่องที่ "จำเลย" ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อกฎหมายทั้งที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องส่ง ก็เพราะ "จำเลย" ชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และคดีที่เธอกำลังถูกดำเนินอยู่ เป็นคดีการเมือง และศาลวินิจฉัยแบบการเมือง ไม่ใช่ด้วยข้อกฎหมาย (เอาเข้าจริง ในที่สุด คดีนั้น ถ้าสมมุติ ยิ่งลักษณ์ "หลุด" หรือ "ติด" ก็จะเพราะการเมืองเหมือนกัน ว่าอำนาจการเมืองในขณะนี้ต้องการให้เธอ "หลุด" หรือ "ติด")
ทำไม "ไผ่ ดาวดิน" จึงไม่ได้รับการประกัน ทั้งๆที่โดยเปรียบเทียบกับคดีหมิ่นฯอื่นๆในระยะหลังๆ รูปคดีจิ๊บจ๊อยขนาดนั้น ควรได้รับประกัน? ก็เพราะมี "บางคน" ยั้วะกรณีบทความ บีบีซีไทย ....
ฯลฯ...ฯลฯ
ตลอด 11 ปีของ "ตุลาการภิวัฒน์" แม้ว่า คงทำให้ขั้วการเมืองหนึ่งพอใจ เพราะการเมืองของศาลหรือของกระบวนการยุติธรรมโดยรวม ออกมาในรูปเล่นงานอีกขั้วการเมืองหนึ่ง แต่นั่นเป็นการมองอะไรแบบตื้นๆเฉพาะหน้า
วิกฤติประเทศไทยกว่าทศวรรษที่ผ่านมา รวมศูนย์แสดงออกที่ ทุกวันนี้ ไม่มีใคร องค์กร หรือสถาบันใด ที่ได้รับการยอมรับอย่างสากลจากทุกฝ่ายแล้ว แม้แต่ "กระบวนการยุติธรรม" หรือ "ศาล" เอง
นี่เป็นอะไรที่เป็นผลเสียหายร้ายแรงต่อสังคม - ไม่มีสังคมใดจะฟังชั่นหรือดำเนินไปตามปกติได้ ถ้ากระบวนการหรือองค์กร ที่ควรทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการวินิจฉัยความขัดแย้ง ตามหลักกฎหมาย กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจการเมืองเสียเอง ไม่ว่าสำหรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่จะใช้เล่นงานหรือช่วยเหลืออีกฝ่ายหนึ่ง
สมศักดิ์ เจียม @somsakjeam
"วงษ์สุวรรณ factor" : "ตุลาการภิวัฒน์" หรือการทำศาลให้เป็นการเมือง ไม่เป็นผลดีต่อทั้งสังคมในระยะยาว
ถ้าคนเชียร์พันธมิตรจะรู้สึกไม่พอใจว่า คำตัดสินคดีสลายการชุมนุมพันธมิตรวันนี้ เป็นเพราะ "วงศ์สุวรรณ factor" หรือ "ปัจจัยเรื่อง (พัชรวาท) วงษ์สุวรรณ" ก็เป็นที่เข้าใจได้ ผมก็เชื่อว่า โอกาสที่จะตัดสินให้พัชรวาทกับพวก ผิด-ติดคุก ยากมากๆ ตราบใดที่่มีพี่ชายเป็นคนใหญ่คนโตใน คสช (ต่อให้มี "ชินวัตร-วงศ์สวัสดิ์" อยู่ในจำเลยด้วยก็ตาม)
แต่ประเด็นก็อยู่ตรงนี้แหละว่า การที่ศาลมีลักษณะการเมือง หรือที่เรียกกันว่า "ตุลาการภิวัฒน์" เป็นอะไรที่ผิด
ทำไมวันก่อน ศาลฎีกาแผนกการเมือง จึงทำผิดรัฐธรรมนูญ (มาตรา 212) ไม่ยอมส่งเรื่องที่ "จำเลย" ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อกฎหมายทั้งที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องส่ง ก็เพราะ "จำเลย" ชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และคดีที่เธอกำลังถูกดำเนินอยู่ เป็นคดีการเมือง และศาลวินิจฉัยแบบการเมือง ไม่ใช่ด้วยข้อกฎหมาย (เอาเข้าจริง ในที่สุด คดีนั้น ถ้าสมมุติ ยิ่งลักษณ์ "หลุด" หรือ "ติด" ก็จะเพราะการเมืองเหมือนกัน ว่าอำนาจการเมืองในขณะนี้ต้องการให้เธอ "หลุด" หรือ "ติด")
ทำไม "ไผ่ ดาวดิน" จึงไม่ได้รับการประกัน ทั้งๆที่โดยเปรียบเทียบกับคดีหมิ่นฯอื่นๆในระยะหลังๆ รูปคดีจิ๊บจ๊อยขนาดนั้น ควรได้รับประกัน? ก็เพราะมี "บางคน" ยั้วะกรณีบทความ บีบีซีไทย ....
ฯลฯ...ฯลฯ
ตลอด 11 ปีของ "ตุลาการภิวัฒน์" แม้ว่า คงทำให้ขั้วการเมืองหนึ่งพอใจ เพราะการเมืองของศาลหรือของกระบวนการยุติธรรมโดยรวม ออกมาในรูปเล่นงานอีกขั้วการเมืองหนึ่ง แต่นั่นเป็นการมองอะไรแบบตื้นๆเฉพาะหน้า
วิกฤติประเทศไทยกว่าทศวรรษที่ผ่านมา รวมศูนย์แสดงออกที่ ทุกวันนี้ ไม่มีใคร องค์กร หรือสถาบันใด ที่ได้รับการยอมรับอย่างสากลจากทุกฝ่ายแล้ว แม้แต่ "กระบวนการยุติธรรม" หรือ "ศาล" เอง
นี่เป็นอะไรที่เป็นผลเสียหายร้ายแรงต่อสังคม - ไม่มีสังคมใดจะฟังชั่นหรือดำเนินไปตามปกติได้ ถ้ากระบวนการหรือองค์กร ที่ควรทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการวินิจฉัยความขัดแย้ง ตามหลักกฎหมาย กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจการเมืองเสียเอง ไม่ว่าสำหรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่จะใช้เล่นงานหรือช่วยเหลืออีกฝ่ายหนึ่ง
สมศักดิ์ เจียม @somsakjeam
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar