lördag 4 november 2017

รู้หรือไม่? “ผู้พิพากษาศาลทหาร” ไม่ต้องจบกฎหมายก็ได้และมีอำนาจตัดสินพลเรือน

iLaw
Image may contain: 1 person, text

รู้หรือไม่? “ผู้พิพากษาศาลทหาร” ไม่ต้องจบกฎหมายก็ได้และมีอำนาจตัดสินพลเรือน
หลายคนคงรู้จัก พันเอกวันชนะ สวัสดี หรือ ‘ผู้พันเบิร์ด’ กันดี ในฐานะนายทหารประจำกองทัพบก นักแสดงนำภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในผู้พิพากษา หรือที่เรียกกันเป็นเฉพาะว่า ตุลาการศาลทหาร
.
แต่หลายคนอาจสงสัยว่า ‘ผู้พันเบิร์ด’ จบการศึกษาอะไรมาถึงสามารถเป็นผู้พิพากษาตัดสินคดีในศาลทหารได้ โดยจากการค้นหาก็พบว่า ‘ผู้พันเบิร์ด’ จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และระดับชั้นปริญญาโท นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก
.
ข้อเท็จจริงที่ได้มาอาจทำให้หลายคนงงงวย เพราะสวนทางต่อความเข้าใจเดิมของคนทั่วไปที่ผู้พิพากษาที่จะมาตัดสินคดีจะต้องมีความรู้เป็นอย่างดีทางด้านกฎหมาย อย่างไรก็ดีเหตุที่ ‘ผู้พันเบิร์ด’ ได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลทหารได้ก็เนื่องจากว่า ตำแหน่ง ตุลาการในศาลทหารในคดีหนึ่งๆ จะมี 3 คน ซึ่ง 1 คนจำเป็นต้องจบการศึกษาโดยตรงทางด้านกฎหมาย แต่อีก 2 คน ไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาทางด้านกฎหมายก็ได้ ซึ่ง ‘ผู้พันเบิร์ด’ อยู่ในข่ายนี้
.
เอาเข้าจริงๆ แล้ว เรื่องของ‘ผู้พันเบิร์ด’ หรือศาลทหารไม่ใช่เรื่องไกลตัวพลเรือนหรือประชาชนทั่วไป ตามปกติแล้วศาลทหารจะพิจารณาคดีเฉพาะคดีของทหารเท่านั้น แต่หลังการรัฐประหาร 2557 คสช.ได้ออกประกาศคสช.ที่ 37/2557 เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร โดยกำหนดความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ฯ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112 (2) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 ถึงมาตรา 118 และความผิดตามประกาศหรือคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติต้องขึ้นศาลทหาร
.
และแม้ว่าปีที่ผ่านมา คสช.ได้ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 55/2559 ให้ยกเลิกการนำประชาชนขึ้นศาลทหารแล้ว แต่หากประชาชนกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีพลเรือน ประชาชนก็ยังคงต้องถูกพิจารณาในศาลทหารอยู่เช่นเดิม สำหรับใครอยากรู้ว่า ผู้พันเบิร์ด และตุลาการศาลทหารแต่ละคน ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งมาเป็นตุลาการศาลทหารต้องผ่านการพิจารณาหรือกระบวนการอะไรบ้าง รวมทั้งแนวทางการติดสินคดีในศาลทหาร

ลองอ่านที่บทความเรื่องนี้ Military Rule: ศาลทหาร เราทำตามกฎหมายอย่างเดียว

รู้หรือไม่? “ผู้พิพากษาศาลทหาร” ไม่ต้องจบกฎหมายก็ได้และมีอำนาจตัดสินพลเรือน
.
หลายคนคงรู้จัก พันเอกวันชนะ สวัสดี หรือ ‘ผู้พันเบิร์ด’ กันดี ในฐานะนายทหารประจำกองทัพบก นักแสดงนำภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในผู้พิพากษา หรือที่เรียกกันเป็นเฉพาะว่า ตุลาการศาลทหาร
.
แต่หลายคนอาจสงสัยว่า ‘ผู้พันเบิร์ด’ จบการศึกษาอะไรมาถึงสามารถเป็นผู้พิพากษาตัดสินคดีในศาลทหารได้ โดยจากการค้นหาก็พบว่า ‘ผู้พันเบิร์ด’ จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และระดับชั้นปริญญาโท นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก
.
ข้อเท็จจริงที่ได้มาอาจทำให้หลายคนงงงวย เพราะสวนทางต่อความเข้าใจเดิมของคนทั่วไปที่ผู้พิพากษาที่จะมาตัดสินคดีจะต้องมีความรู้เป็นอย่างดีทางด้านกฎหมาย อย่างไรก็ดีเหตุที่ ‘ผู้พันเบิร์ด’ ได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลทหารได้ก็เนื่องจากว่า ตำแหน่ง ตุลาการในศาลทหารในคดีหนึ่งๆ จะมี 3 คน ซึ่ง 1 คนจำเป็นต้องจบการศึกษาโดยตรงทางด้านกฎหมาย แต่อีก 2 คน ไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาทางด้านกฎหมายก็ได้ ซึ่ง ‘ผู้พันเบิร์ด’ อยู่ในข่ายนี้
.
เอาเข้าจริงๆ แล้ว เรื่องของ‘ผู้พันเบิร์ด’ หรือศาลทหารไม่ใช่เรื่องไกลตัวพลเรือนหรือประชาชนทั่วไป ตามปกติแล้วศาลทหารจะพิจารณาคดีเฉพาะคดีของทหารเท่านั้น แต่หลังการรัฐประหาร 2557 คสช.ได้ออกประกาศคสช.ที่ 37/2557 เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร โดยกำหนดความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ฯ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112 (2) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 ถึงมาตรา 118 และความผิดตามประกาศหรือคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติต้องขึ้นศาลทหาร
.
และแม้ว่าปีที่ผ่านมา คสช.ได้ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 55/2559 ให้ยกเลิกการนำประชาชนขึ้นศาลทหารแล้ว แต่หากประชาชนกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีพลเรือน ประชาชนก็ยังคงต้องถูกพิจารณาในศาลทหารอยู่เช่นเดิม สำหรับใครอยากรู้ว่า ผู้พันเบิร์ด และตุลาการศาลทหารแต่ละคน ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งมาเป็นตุลาการศาลทหารต้องผ่านการพิจารณาหรือกระบวนการอะไรบ้าง รวมทั้งแนวทางการติดสินคดีในศาลทหาร

ลองอ่านที่บทความเรื่องนี้ Military Rule: ศาลทหาร เราทำตามกฎหมายอย่างเดียว

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar