söndag 21 januari 2018

ฉันทามติ 2 เรื่องใหญ่ ในประเทศไทยปัจจุบัน

Image may contain: 2 people, closeup
Somsak Jeamteerasakul

ฉันทามติ 2 เรื่องใหญ่ ในประเทศไทยปัจจุบัน เรื่องแรก: ประยุทธ์-คสช. ไม่ควรสืบต่ออำนาจตัวเอง กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหลังเลือกตั้ง เรื่องที่สอง: วชิราลงกรณ์ ไม่ใช่กษัตริย์ที่ดีนัก

ฉันทามติ 2 เรื่องใหญ่ ในประเทศไทยปัจจุบัน
ผมเสนอว่า ขณะนี้ มี 2 เรื่องใหญ่ที่มีคนเห็นตรงกันอย่างกว้างขวาง (แน่นอน ในสังคมสมัยใหม่ ไม่มีเรื่องอะไรที่ทุกคนจะเห็นตรงกันร้อยเปอร์เซนต์อยู่แล้ว เรากำลังพูดถึงการเห็นด้วยตรงกันอย่างกว้างขวางมาก)
เรื่องแรก: ประยุทธ์-คสช. ไม่ควรสืบต่ออำนาจตัวเอง กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหลังเลือกตั้ง
เรื่องที่สอง: วชิราลงกรณ์ ไม่ใช่กษัตริย์ที่ดีนัก
ระดับการเห็นด้วยตรงกันของสองเรื่องนี้ ไม่เท่ากัน และแต่ละเรื่องก็มีความไม่ลงตัวที่ไม่เหมือนกัน
การเห็นตรงกันในเรื่องแรก มีระดับที่กว้างขวางมากกว่า
..............
เรื่องแรก ผมยังประเมินว่า ระดับความไม่พอใจของประชาชนทุกสีทุกฝ่าย ต่อประยุทธ์-คสช. ยังไม่น่าถึงระดับที่จะนำไปสู่การล้ม คสช.ได้ จุดที่จะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ยังน่าจะเป็นช่วงจะมีเลือกตั้ง-ไม่มีเลือกตั้ง และเลือกตั้งแล้วจะกลับเข้ามาหรือไม่อย่างไร
ยกเว้น ถ้าจะเกิดก่อนหน้านั้น - การเมืองเป็นเรื่องการปฏิบัติที่ไม่มีใครเดาหรือกำหนดล่วงหน้าได้ทั้งหมด - ก็คือการที่ คสช.ทำพลาดขนาดใหญ่ในลักษณะที่มีการ "ช็อค" ต่อคนอย่างรุนแรง - นึกถึงกรณีในอดีตแบบสุจินดากลับคำ/จำลองอดข้าว ถึงเรื่องการขายชินคอร์ปให้เทมาเส็ก - ซึ่งผมยังมองไม่เห็น และไม่คิดว่า พวกเขาจะไม่ระมัดระวัง ทำอะไรที่แย่ใหญ่โต "ช็อค" คนขนาดนั้น
แม้ว่า "ฉันทามติ" เรื่องนี้ จะกว้างขวางมาก แต่ก็ยังมี "ความไม่ลงตัว" สำคัญอยู่ คือขณะนี้ คนรู้สึกไม่ชอบ คสช.อย่างกว้างขวาง มากพอจะทำให้ประเด็นว่า "ถ้าไม่ใช่ คสช.แล้ว ใครจะมาแทน" ลดความสำคัญในความรู้สึกไป ผมคิดว่าคนที่ไม่อยากให้ คสช.สืบอำนาจ (โดยเฉพาะพวกที่เคยเชียร์มาก่อน) คงคิดแบบคร่าวๆว่า อย่าให้เป็น ประยุทธ์-คสช.ก็แล้วกัน ให้ผลการเลือกตั้งตัดสินเอา (ดูผลโพลล์ล่าสุดเรื่อง "ไม่เอานายกฯคนนอก" เป็นตัวอย่าง)
ณ ขณะนี้ ดูเหมือนว่า โอกาสที่ คสช.จะ "รีเวิร์ซ" หรือ "กลับลำ" หันกลับเป็น "ขาขึ้น" หรือสร้างความนิยมอีก ดูริบหรี่ (หุหุ ยิ่งยังดันทุรังกรณีประวิทย์-นาฬิกาอยู่ ยิ่งมองไม่เห็น) แต่อย่างที่เพิ่งพูดไปข้างบน การเมืองเป็นเรื่องการปฏิบัติที่กำหนดล่วงหน้าทั้งหมดไม่ได้ แก้-เปลี่ยนได้จากการปฏิบัติและปฏิสัมพันธ์-ปะทะระหว่างพลังฝ่ายต่างๆ จากจุดนี้ไปถึงมีการเลือกตั้ง และมีผลเลือกตั้งออกมา คสช.คงพยายามดิ้นรนเต็มที่ ที่จะสร้างความนิยมยอมรับใหม่ เพื่อปูทางให้กับการสืบอำนาจต่อ
ผมอยากเสนอว่า บรรดาคนที่ต่อต้านรัฐประหาร ควรโฟกัสที่ประเด็น ("คำขวัญ") นี้: "คัดค้าน-ยับยั้งการสืบทอดอำนาจของ คสช." ซึ่งมีโอกาสของการสร้างฉันทามติที่กว้างขวางมากในขณะนี้
............
เรื่องที่สอง เรื่องนี้มีความซับซ้อนกว่าเรื่องแรกเยอะ ผมมองว่า มีความรู้สึกกัน(ในใจ)อย่างกว้างขวางจริงว่า วชิราลงกรณ์ไม่ใช่กษัตริย์ที่ดี แต่ระดับความรู้สึกแบบนี้ ยังห่างจากความรู้สึก "ต้องล้ม" หรือแม้แต่จะถึงระดับคิดให้ "ต้องเปลี่ยน" อย่างซีเรียส เรื่องแบบนี้เป็นอะไรที่ใหญ่เกินกว่าจะทำให้คนกล้าคิดในระดับนั้นอย่างกว้างขวางในเวลาสั้นๆ โดยเฉพาะในหมู่คนรักเจ้า (อันที่จริง อย่างที่รู้กัน แม้แต่ในหมู่คนเสื้อแดง ก็มีคนเชียร์วชิราลงกรณ์อยู่ด้วยซ้ำ) สถานีวิทยุใต้ดินบางสถานีที่ชอบให้ความหวังคนฟัง ประเภทว่า ทุกวันนี้ คนไม่เอาเจ้ากันหมดแล้ว พร้อมจะล้มเจ้ากันแล้ว จะทำให้ "จบในปีนี้" อะไรแบบนั้น เป็นเพียง "พ่อค้าขายฝัน" เท่านั้น (เรื่องที่ว่า ในหมู่ชนชั้นนำเอง มีความพยายามจะ "เปลี่ยนตัว" - "ศึกชิงบัลลังก์" อะไรที่ว่า - ก็เป็นเพียงการมโนเพ้อพก)
ยังมีประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งด้วยว่า ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ สองเรื่องดังกล่าว ไม่ได้ "คอนเน็ค" หรือเชื่อมต่อกันในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ที่สุด พูดง่ายๆคือ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่พอใจ คสช. ไม่อยากให้ คสช.สืบทอดอำนาจ เป็นรัฐบาลต่อไปหลังเลือกตั้ง ความไม่พอใจนี้ ไม่ได้โยงไปถึงความรู้สึกที่ว่า วชิราลงกรณ์เป็นกษัตริย์ที่ไม่ดี
วชิราลงกรณ์รวบอำนาจเกี่ยวกับกษัตริย์ก็จริง (ทรัพย์สินฯ, ราชการในพระองค์) แต่ที่ผ่านมาเขาทำตัวเป็น "แอ๊บเซ็นที คิง" (absentee king = กษัตริย์ที่ไม่อยู่) คนไม่ได้รู้สึกกันว่า (และเขาเองก็ไม่ได้ทำให้เห็นชัดว่า) ออกมาสนับสนุนถือหาง คสช.ชัดเจน เอาเข้าจริง อย่างที่พูดไป ในบรรดาเสื้อแดง ที่แอนตี้ คสช. ยังมีคนเชียร์วชิราลงกรณ์ด้วยซ้ำ
แต่วชิราลงกรณ์เอง อาจจะเป็นคน "คอนเน็ค" สองประเด็นนี้เข้าด้วยกันในอนาคตข้างหน้าก็ได้ มีข่าวที่เชื่อถือได้พอสมควรว่า เขา "นัดพบ" ใครต่อใครในแวดวงต่างๆหลายแวดวง นั่นคือ เขาติดตามแวดวงการเมืองใกล้ชิดกว่าที่เห็นกันภายนอก และอาจจะ prepared หรือเตรียมพร้อมจะ "เอ๊กเซอไซส์พาวเวอร์" ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารและการจัดตั้งรัฐบาลโดยตรงในอนาคตได้ เช่น หากมีการเลือกตั้ง แล้วผลออกมาไม่ลงตัว หรือเขาอาจจะแสดง "เฟเวอร์" หรือความชอบว่า ต้องการให้ใครเป็นเมื่อถึงเวลานั้น ฯลฯ ฯลฯ
"แอ๊สเซ็ต" หรือ "ต้นทุนสะสม" ของ "ความเป็นเจ้า" และสถานะของสถาบันกษัตริย์ ทำให้วชิราลงกรณ์ได้เปรียบกว่า ประยุทธ์-คสช. เยอะ เขาสามารถใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ ในแง่สร้างบารมีให้ตัวเอง ลดความไม่ชอบเขา ได้มากกว่าที่ คสช.จะพยายามลดความไม่ชอบตัวเอง - แต่เขาจะถึงขั้นทำอะไรดีๆ ถึงระดับที่สุลักษณ์แสดงความฝันเมื่อวันก่อนหรือไม่ นี่ก็ยังมองไม่เห็น

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar