<< "..ฮิตเลอร์รับเสด็จรัชกาลที่ 7.." >>
"... การเสด็จเยือนเยอรมันของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วเพราะหลายคนก็ได้เคยเห็นภาพนี้มาแล้ว ซึ่งในภาพนั้นก็ปรากฎชัดเจนว่าฮิตเลอร์มารับเสด็จพระองค์ในยุคที่เยอรมันเป็นนาซีแล้ว เพราะทหารติดตามฮิตเลอร์ทำความเคารพด้วยท่าที่เป็นเอกลักษณ์ของนาซี และสิ่งที่พอจะอ้างอิงนอกเหนือจากภาพนี้ก็คือข้อมูลที่กล่าวไว้ในจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ.๒๔๗๖ - ๒๔๗๗ ของพระองค์ท่านรัชกาลที่ 7 โดยการเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศเยอรมนีนั้น มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในจดหมายดังกล่าวในตอนที่ ๑๒ ที่กล่าวถึงการเสด็จไปประเทศเยอรมนี ..." ซึ่งพอสรุปได้ดังต่อนี้ -->
.. - ได้เสด็จไปถึงประเทศเยอรมนี โดยทางเรือจากประเทศเดนมาร์ก ถึงท่าเรือเมืองแฮมเบิค ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๗ และต่อมาวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๗
.. - ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมประธานาธิบดีมิตรผู้ชราภาพที่มีอายุถึง ๘๗ ปี ชื่อ "พอล ฟอน ฮินเดนบูร์ก" (Paul von Hindenburg) เป็นประธานาธิบดีเยอรมนีระหว่างปี ๑๙๒๕-๑๙๓๔) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จไปเยี่ยมประธานาธิบดีที่คฤหาสน์ในเมืองเนยเดก
.. - ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๗๗ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสนทนากับอดอร์ฟ ฮิตเลอร์ ที่เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมันนี ณ ศาลาว่าการนายกรัฐมนตรี
.. - ต่อมาเมื่อประธานาธิบดี "พอล ฟอน ฮินเดนบูร์ก" ถึงแก่กรรม ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.๑๙๓๔ (พ.ศ.๒๔๗๗) ฮิตเลอร์จึงรวมเอาตำแหน่งประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีเข้าไว้ด้วยกัน
.. - ตอนนั้นพระองค์ยังทรงได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชมกิจการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ โรงไฟฟ้าของกรุงเบอร์ลิน โรงวิทยาศาสตร์ และโรงผสมยาของบริษัท เชอลิง ฆาห์ลโบม นอกจากนี้ยังไปชมโรงงานกลั่นน้ำมันเบนซินจากผงถ่านศิลาอ่อนที่เมืองเลอร์นา ต่อด้วยหอสอนดาราศาสตร์หรือที่รู้จักกันว่าท้องฟ้าจำลอง ซึ่งเครื่องฉายดาวในเวลาขณะนั้นทั้งโลกมีอยู่เพียง ๗ แห่ง ซึ่งพระองค์มีความสนพระทัยในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยอรมันนีเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีได้ไป ณ ศาลาไทย เมืองบาดฮอมบวร์ก สถานที่นี้เป็นสิ่งแสดงมิตรอันดีต่อกัน
.. - ในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ เสด็จฯไปถึงเมืองแฟรงก์เฟิร์ต บนแม่น้ำเมน เมื่อเวลา ๑๖.๑๕ นาฬิกา ประทับที่โฮเต็ลแฟรงเฟอร์เตอฮอฟ สถานที่เดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงประทับเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ (ค.ศ.๑๙๐๗)
.. - และในวันรุ่งขึ้น (วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗) เวลา ๑๑ นาฬิกาเศษ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ไปยังเมืองบาดฮอมบวร์ก (ซึ่งในจดหมายเหตุ เรียกว่า เมืองฮอมเบิค) ในระหว่างทางได้หยุดทอดพระเนตรการแข่งขันรถยนต์ทางไกล ๒,๐๐๐ กิโลเมตร เพื่อทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ในประเทศเยอรมนี โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รถขนาดใหญ่และรถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งรายละเอียดของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองบาดฮอมบวร์ก ในหนังสือจดหมายเหตุได้บันทึกรายละเอียดไว้อย่างละเอียด รวมถึงที่มาของแผ่นป้ายโลหะจารึกพระบรมนามาภิไธยของล้นเกล้าทั้ง ๒ พระองค์ ความว่า ...
... “เวลาเที่ยงเศษ เสด็จถึงศาลาเริง (Kur Haus) เมืองฮอมเบิค ท่านหาร์ต พ่อเมือง (Ober Burgomeister Hardt) กับนายหอฟเนอร์ (Herr Hofner) ผู้จัดการศาลาเริง และเจ้าหน้าที่อื่นๆ เชิญเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรศาลาไทยรูปพลับพลา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างสร้างขึ้นและปิดทองตบแต่งในกรุงเทพฯ และส่งออกมาคุมขึ้นที่ นี่ประมาณ ๒๕ ปีมาแล้ว ยังคงงดงามดีมากดูเป็นสง่าแก่
สถานที่ มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง และเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ท่านปรินศวุลฟคาง คฤหบดีผู้ใหญ่ (Leader) ของเมืองฮอมเบิค ได้ทำป้ายโลหะแผ่นใหญ่จารึกพระบรมนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีตรึกติดไว้ที่กำแพงแก้วล้อมศาลา จากที่นี้เสด็จไปเสวยน้ำแร่ที่บ่อจุฬาลงกรณ์ และเสด็จพระราชดำเนินไปในสวนอันงาม และทรงซื้อของที่ระลึกแล้วมาประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันในศาลาเริง เจ้าหน้าที่ถวายสมุดรูปต่างๆ ซึ่งถวายไว้ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จมาประพาส พร้อมทั้งรูปศาลาไทยและอื่นๆ เป็นที่ ระลึก” ...
.. - อนึ่งความสนพระราชหฤทัยในการรักษาสุขภาพด้วยน้ำ หรือ Spa ยังปรากฏให้เห็นในการเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศเชโกสโลวาเกีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ถึง ๗ สิงหาคม ๒๔๗๗ ซึ่งในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน เมืองการ์ลสบาด (Karlsbad) ซึ่งเป็นเมืองที่มีน้ำแร่คุณภาพสูง มีห้องอาบน้ำแร่แก้โรคต่างๆ ตามแต่แพทย์จะแนะนำ โดยจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปได้กล่าวถึง
คุณวิเศษของ "วารีบำบัด" ที่เมืองนี้ด้วย ความว่า...
... “น้ำแร่ที่นี่แก้โรคต่างๆ ได้ คือ โรคลำไส้ โรคเรื้อรังภายใน เนื่องจากรื้อไข้ หรือ อ่อนเพลียจากการตัดผ่าอย่างใหญ่ โรคที่เกี่ยวกับตับ ปอด ม้าม และไต โรคเรื้อรังซึ่งเคยป่วยมาจากประเทศร้อน และอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ฟังเขาอธิบายแล้วดูเหมือนว่าจะไม่มีโรคชะนิดไรในโลก ที่น้ำแร่ที่ตำบลนี้จะรักษาไม่ได้ นอกจากนั้น พุ สะปรูเดล (Sprudel Spring) ซึ่งเป็นบ่อน้ำบ่อใหญ่ที่สุดของเมือง น้ำร้อนจากบ่อน้ำนี้ (๗๒ ดีกรีเซนติเกรด) ยังใช้ดื่มเพื่อผลทางสุขภาพอีกด้วย” ...
.. - จดหมายเหตุฯ ยังบันทึกไว้อีกว่า เคอเธ (Goethe, Johann Wolfgang von (๑๗๔๙ - ๑๘๓๒)) นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงของเยอรมนี เป็นผู้หนึ่งที่มารักษาตัวที่เมืองนี้ถึงสิบสามครั้ง มีความเห็นว่า “เพราะเหตุที่ได้อาบน้ำและกินน้ำที่นี่ ข้าพเจ้าจึงได้ความสุขกายอะโข” ซึ่งการบันทึกเหล่านี้ในอีกนัยหนึ่งคือ เป็นการสะท้อนถึงพระราชนิยม และความสนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยน้ำแร่
.........................................................................
>>>- ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยือนทวีปยุโรป ๕ ประเทศ คือ อังกฤษเยอรมนี โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ในระหว่างวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ถึง วันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๓ โดยเป็นการเสด็จพระราชดำเนินต่อเนื่องจากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ได้เสด็จพระราชดำเนินถึงประเทศเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓ โดยเสด็จฯ ทางรถไฟพิเศษ ซึ่งรัฐบาลเยอรมันจัดถวาย ในการนี้ประธานาธิบดีลึบเค่ (Heinrich Lubke ๑๘๙๔ - ๑๙๗๒ ประธานาธิบดีเยอรมนี ๑๙๕๙ - ๑๙๖๙ หรือ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๑๒) และนายกรัฐมนตรี อาเดเนาว์ (Konrad Adenauer ๑๘๗๖ - ๑๙๗๖ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ๑๙๔๙ - ๑๙๖๓ หรือ พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๕๐๖) มารับเสด็จที่สถานีรถไฟกรุงบอนน์ เมืองหลวงของเยอรมนี (ตะวันตก) ในขณะนั้น โดยในการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศเยอรมนีเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโรงงานอุตสาหกรรมถลุง เหล็กของโรงงานบริษัท กรุปป์ในเมืองโบคุม โรงงานผลิตกล้องจุลทรรศน์และกล้องถ่ายรูปของบริษัทเอิร์นสต์ไลต์ซ เป็นต้น
..>>ข้อมูลอาจนอกเหนือจากภาพบ้างแต่เหตุการณ์ต่างๆนั้นได้อ้างอิงจากภาพที่คาดว่าน่าจะเป็นไปเช่นนั้น ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยครับ <<..
-------------------------------------------------------------------------
**"เกล็ดเพิ่มเติมอีกสัก 3 เรื่องที่น่าสนใจครับ"**
(1) .. "ฟือเรอร์" คือ ชื่อพิเศษที่มุขมนตรีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ใช้เรียกตนเองหลังจากรัฐบัญญัติการมอบอำนาจ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 1933 ซึ่งทำให้เขามีอำนาจที่จะประกาศใช้กฎหมาย โดยไม่ต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาไรช์สทัก ในฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการ ไกลช์ชัลทุง และภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก ประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐไวมาร์
... เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1934 ฮิตเลอร์ได้ประกาศตนเองเป็นทั้งฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรี โดยเรียกชื่อตำแหน่งเต็มว่า Führer und Reichskanzler (ผู้นำและนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิไรช์ที่สาม) ซึ่งเป็นการรวมตำแหน่งผู้นำของรัฐและนายกรัฐมนตรีเข้าด้วยกัน และทำให้ฮิตเลอร์กลายมาเป็นประมุขแห่งรัฐและประมุขแห่งรัฐบาลอย่างเป็นทางการ และถือได้ว่าเป็นผู้นำเผด็จการแห่งจักรวรรดิไรช์ที่สามในทางปฏิบัติ นาซีเยอรมนีได้ปลูกฝัง ฟือเรอร์พรินซิพ (หลักการผู้นำ) และทำให้ฮิตเลอร์เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเป็นเพียงว่า ฟือเรอร์ ("ผู้นำ") และหนึ่งในสโลแกนทางการเมืองที่นาซีหยิบยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยครั้งที่สุด คือ "Ein Volk, ein Reich, ein Führer" - "หนึ่งประชาชน หนึ่งจักรวรรดิ หนึ่งท่านผู้นำ"
... สำหรับในทางการทหาร ฮิตเลอร์ได้ใช้ชื่อตำแหน่ง Führer und Oberster Befehlshaber der Wehrmacht ("ผู้นำและผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพบกเยอรมัน") จนกระทั่งตำแหน่งนี้ถูกปลดลงในเดือนพฤษภาคม 1942 ตามคำสั่งของฟือเรอร์ ส่วนรูปแบบในการใช้งานในกิจการด้านการต่างประเทศเป็น Führer und Reichskanzler (ผู้นำและนายกรัฐมนตรีแห่งชาติ) จนกระทั่งวันที่ 28 กรกฎาคม 1942 โดยมีการเปลี่ยนเป็น Führer DES Großdeutschen Reiches ("ผู้นำแห่งมหาจักรวรรดิเยอรมัน")
(2).. "ประวัติคร่าวๆ ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์" (20 เมษายน ค.ศ. 1889 – 30 เมษายน ค.ศ. 1945) เป็นนักการเมืองเยอรมนีสัญชาติออสเตรีย โดยกำเนิดหัวหน้าพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง ค.ศ. 1933 ถึง 1945 และผู้เผด็จการของนาซีเยอรมนี (ตำแหน่ง ฟือแรร์อุนด์ไรช์สคันซแลร์) ตั้งแต่ ค.ศ. 1934 ถึง 1945 ฮิตเลอร์ถูกจดจำทั่วไปร่วมกับการรุ่งเรืองของฟาสซิสต์ในทวีปยุโรป สงครามโลกครั้งที่สอง และการล้างชาติโดยนาซี
.. ฮิตเลอร์เป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งผู้ได้รับรางวัลมากมาย ต่อมา ฮิตเลอร์ได้เข้าร่วมพรรคกรรมกรเยอรมันใน ค.ศ. 1919 ซึ่งเป็นพรรคการเมืองก่อนหน้าพรรคนาซี ก่อนจะได้เป็นหัวหน้าพรรคนาซีใน ค.ศ. 1921 เขาพยายามก่อรัฐประหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า กบฏโรงเบียร์ ในเมืองมิวนิก เมื่อวันที่ 8-9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 แต่ล้มเหลว ฮิตเลอร์ถูกจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งในระหว่างนั้นเองที่เขาเขียนบันทึกความทรงจำ ไมน์คัมพฟ์ (การต่อสู้ของข้าพเจ้า)
.. หลังได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1924 เขาได้รับเสียงสนับสนุนจากการโจมตีสนธิสัญญาแวร์ซาย การเสนอการรวมชาวเยอรมัน เกลียดชังชาวยิว และต่อต้านคอมมิวนิสต์ ด้วยสุนทรพจน์ที่มีเสน่ห์ดึงดูดและการโฆษณาชวนเชื่อ หลังได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 เขาเปลี่ยนสาธารณรัฐไวมาร์เป็นจักรวรรดิไรช์ที่สาม รัฐเผด็จการพรรคการเมืองเดียว ภายใต้อุดมการณ์นาซีอันมีลักษณะเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จและอัตตาธิปไตย เป้าหมายของเขาคือ ระเบียบโลกใหม่ ที่ให้นาซีเยอรมนีครอบงำยุโรปภาคพื้นทวีปอย่างสมบูรณ์
(3).. "นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี" (เยอรมัน: Bundeskanzler; อังกฤษ: Chancellor of Germany) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "มุขมนตรีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี" คือ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประมุขฝ่ายบริหารประเทศเยอรมนี โดยเป็นชื่อเรียกตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) สมัยบิสมาร์ค ในปี ค.ศ. 1871
.. โดยรัฐต่าง ๆ ของเยอรมนีที่เป็นประเทศอิสระจากกันหลายประเทศ หลายแว่นแคว้น (ภายหลังการยกเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1815 โดยพระจักรพรรดินโปเลียนมหาราชแห่งฝรั่งเศส) ได้เข้ามารวมกันภายใต้การนำของราชอาณาจักรปรัสเซีย
.. การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้น กำหนดให้พระราชาแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นประธานาธิบดีของสหพันธรัฐ แล้วเรียกชื่อว่า จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมัน จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมันจะแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร คือ ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิ (German Chancellor) ที่เรียกชื่อตำแหน่งเช่นนี้ เนื่องจากเยอรมนีมีสภาพเป็นสหพันธรัฐ แต่ละรัฐหรือราชอาณาจักรในสหพันธรัฐ (เช่น ราชอาณาจักรปรัสเซีย, ราชอาณาจักรบาวาเรีย เป็นต้น) ต่างก็มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเอง
.. เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่เยอรมนีเปลี่ยนไปเป็นระบบประธานาธิบดี หรือแม้แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบสหพันธรัฐก็ยังคงอยู่ (แม้ว่ายุคบิสมาร์กจะเรียกจักรวรรดิ แต่ในรัฐธรรมนูญนั้นยังเรียกว่าระบบสหพันธรัฐ) ตำแหน่ง Chancellor จึงยังคงเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารไม่เปลี่ยนแปลง
.. ในสมัย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รวมตำแหน่ง Chancellor เข้ากับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วเรียกว่า "ผู้นำ" (Führer) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีกลับไปใช้ระบบสหพันธรัฐและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นเดิม หัวหน้าฝ่ายบริหารก็ยังคงเรียกแบบเดิมคือ Chancellor ตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเยอรมนีมีมุขมนตรี 8 คน ถ้าไม่นับฮิตเลอร์
------------------------------------------------------------------------
"... การเสด็จเยือนเยอรมันของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วเพราะหลายคนก็ได้เคยเห็นภาพนี้มาแล้ว ซึ่งในภาพนั้นก็ปรากฎชัดเจนว่าฮิตเลอร์มารับเสด็จพระองค์ในยุคที่เยอรมันเป็นนาซีแล้ว เพราะทหารติดตามฮิตเลอร์ทำความเคารพด้วยท่าที่เป็นเอกลักษณ์ของนาซี และสิ่งที่พอจะอ้างอิงนอกเหนือจากภาพนี้ก็คือข้อมูลที่กล่าวไว้ในจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ.๒๔๗๖ - ๒๔๗๗ ของพระองค์ท่านรัชกาลที่ 7 โดยการเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศเยอรมนีนั้น มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในจดหมายดังกล่าวในตอนที่ ๑๒ ที่กล่าวถึงการเสด็จไปประเทศเยอรมนี ..." ซึ่งพอสรุปได้ดังต่อนี้ -->
.. - ได้เสด็จไปถึงประเทศเยอรมนี โดยทางเรือจากประเทศเดนมาร์ก ถึงท่าเรือเมืองแฮมเบิค ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๗ และต่อมาวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๗
.. - ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมประธานาธิบดีมิตรผู้ชราภาพที่มีอายุถึง ๘๗ ปี ชื่อ "พอล ฟอน ฮินเดนบูร์ก" (Paul von Hindenburg) เป็นประธานาธิบดีเยอรมนีระหว่างปี ๑๙๒๕-๑๙๓๔) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จไปเยี่ยมประธานาธิบดีที่คฤหาสน์ในเมืองเนยเดก
.. - ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๗๗ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสนทนากับอดอร์ฟ ฮิตเลอร์ ที่เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมันนี ณ ศาลาว่าการนายกรัฐมนตรี
.. - ต่อมาเมื่อประธานาธิบดี "พอล ฟอน ฮินเดนบูร์ก" ถึงแก่กรรม ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.๑๙๓๔ (พ.ศ.๒๔๗๗) ฮิตเลอร์จึงรวมเอาตำแหน่งประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีเข้าไว้ด้วยกัน
.. - ตอนนั้นพระองค์ยังทรงได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชมกิจการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ โรงไฟฟ้าของกรุงเบอร์ลิน โรงวิทยาศาสตร์ และโรงผสมยาของบริษัท เชอลิง ฆาห์ลโบม นอกจากนี้ยังไปชมโรงงานกลั่นน้ำมันเบนซินจากผงถ่านศิลาอ่อนที่เมืองเลอร์นา ต่อด้วยหอสอนดาราศาสตร์หรือที่รู้จักกันว่าท้องฟ้าจำลอง ซึ่งเครื่องฉายดาวในเวลาขณะนั้นทั้งโลกมีอยู่เพียง ๗ แห่ง ซึ่งพระองค์มีความสนพระทัยในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยอรมันนีเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีได้ไป ณ ศาลาไทย เมืองบาดฮอมบวร์ก สถานที่นี้เป็นสิ่งแสดงมิตรอันดีต่อกัน
.. - ในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ เสด็จฯไปถึงเมืองแฟรงก์เฟิร์ต บนแม่น้ำเมน เมื่อเวลา ๑๖.๑๕ นาฬิกา ประทับที่โฮเต็ลแฟรงเฟอร์เตอฮอฟ สถานที่เดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงประทับเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ (ค.ศ.๑๙๐๗)
.. - และในวันรุ่งขึ้น (วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗) เวลา ๑๑ นาฬิกาเศษ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ไปยังเมืองบาดฮอมบวร์ก (ซึ่งในจดหมายเหตุ เรียกว่า เมืองฮอมเบิค) ในระหว่างทางได้หยุดทอดพระเนตรการแข่งขันรถยนต์ทางไกล ๒,๐๐๐ กิโลเมตร เพื่อทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ในประเทศเยอรมนี โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รถขนาดใหญ่และรถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งรายละเอียดของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองบาดฮอมบวร์ก ในหนังสือจดหมายเหตุได้บันทึกรายละเอียดไว้อย่างละเอียด รวมถึงที่มาของแผ่นป้ายโลหะจารึกพระบรมนามาภิไธยของล้นเกล้าทั้ง ๒ พระองค์ ความว่า ...
... “เวลาเที่ยงเศษ เสด็จถึงศาลาเริง (Kur Haus) เมืองฮอมเบิค ท่านหาร์ต พ่อเมือง (Ober Burgomeister Hardt) กับนายหอฟเนอร์ (Herr Hofner) ผู้จัดการศาลาเริง และเจ้าหน้าที่อื่นๆ เชิญเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรศาลาไทยรูปพลับพลา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างสร้างขึ้นและปิดทองตบแต่งในกรุงเทพฯ และส่งออกมาคุมขึ้นที่ นี่ประมาณ ๒๕ ปีมาแล้ว ยังคงงดงามดีมากดูเป็นสง่าแก่
สถานที่ มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง และเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ท่านปรินศวุลฟคาง คฤหบดีผู้ใหญ่ (Leader) ของเมืองฮอมเบิค ได้ทำป้ายโลหะแผ่นใหญ่จารึกพระบรมนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีตรึกติดไว้ที่กำแพงแก้วล้อมศาลา จากที่นี้เสด็จไปเสวยน้ำแร่ที่บ่อจุฬาลงกรณ์ และเสด็จพระราชดำเนินไปในสวนอันงาม และทรงซื้อของที่ระลึกแล้วมาประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันในศาลาเริง เจ้าหน้าที่ถวายสมุดรูปต่างๆ ซึ่งถวายไว้ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จมาประพาส พร้อมทั้งรูปศาลาไทยและอื่นๆ เป็นที่ ระลึก” ...
.. - อนึ่งความสนพระราชหฤทัยในการรักษาสุขภาพด้วยน้ำ หรือ Spa ยังปรากฏให้เห็นในการเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศเชโกสโลวาเกีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ถึง ๗ สิงหาคม ๒๔๗๗ ซึ่งในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน เมืองการ์ลสบาด (Karlsbad) ซึ่งเป็นเมืองที่มีน้ำแร่คุณภาพสูง มีห้องอาบน้ำแร่แก้โรคต่างๆ ตามแต่แพทย์จะแนะนำ โดยจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปได้กล่าวถึง
คุณวิเศษของ "วารีบำบัด" ที่เมืองนี้ด้วย ความว่า...
... “น้ำแร่ที่นี่แก้โรคต่างๆ ได้ คือ โรคลำไส้ โรคเรื้อรังภายใน เนื่องจากรื้อไข้ หรือ อ่อนเพลียจากการตัดผ่าอย่างใหญ่ โรคที่เกี่ยวกับตับ ปอด ม้าม และไต โรคเรื้อรังซึ่งเคยป่วยมาจากประเทศร้อน และอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ฟังเขาอธิบายแล้วดูเหมือนว่าจะไม่มีโรคชะนิดไรในโลก ที่น้ำแร่ที่ตำบลนี้จะรักษาไม่ได้ นอกจากนั้น พุ สะปรูเดล (Sprudel Spring) ซึ่งเป็นบ่อน้ำบ่อใหญ่ที่สุดของเมือง น้ำร้อนจากบ่อน้ำนี้ (๗๒ ดีกรีเซนติเกรด) ยังใช้ดื่มเพื่อผลทางสุขภาพอีกด้วย” ...
.. - จดหมายเหตุฯ ยังบันทึกไว้อีกว่า เคอเธ (Goethe, Johann Wolfgang von (๑๗๔๙ - ๑๘๓๒)) นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงของเยอรมนี เป็นผู้หนึ่งที่มารักษาตัวที่เมืองนี้ถึงสิบสามครั้ง มีความเห็นว่า “เพราะเหตุที่ได้อาบน้ำและกินน้ำที่นี่ ข้าพเจ้าจึงได้ความสุขกายอะโข” ซึ่งการบันทึกเหล่านี้ในอีกนัยหนึ่งคือ เป็นการสะท้อนถึงพระราชนิยม และความสนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยน้ำแร่
.........................................................................
>>>- ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยือนทวีปยุโรป ๕ ประเทศ คือ อังกฤษเยอรมนี โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ในระหว่างวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ถึง วันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๓ โดยเป็นการเสด็จพระราชดำเนินต่อเนื่องจากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ได้เสด็จพระราชดำเนินถึงประเทศเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓ โดยเสด็จฯ ทางรถไฟพิเศษ ซึ่งรัฐบาลเยอรมันจัดถวาย ในการนี้ประธานาธิบดีลึบเค่ (Heinrich Lubke ๑๘๙๔ - ๑๙๗๒ ประธานาธิบดีเยอรมนี ๑๙๕๙ - ๑๙๖๙ หรือ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๑๒) และนายกรัฐมนตรี อาเดเนาว์ (Konrad Adenauer ๑๘๗๖ - ๑๙๗๖ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ๑๙๔๙ - ๑๙๖๓ หรือ พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๕๐๖) มารับเสด็จที่สถานีรถไฟกรุงบอนน์ เมืองหลวงของเยอรมนี (ตะวันตก) ในขณะนั้น โดยในการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศเยอรมนีเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโรงงานอุตสาหกรรมถลุง เหล็กของโรงงานบริษัท กรุปป์ในเมืองโบคุม โรงงานผลิตกล้องจุลทรรศน์และกล้องถ่ายรูปของบริษัทเอิร์นสต์ไลต์ซ เป็นต้น
..>>ข้อมูลอาจนอกเหนือจากภาพบ้างแต่เหตุการณ์ต่างๆนั้นได้อ้างอิงจากภาพที่คาดว่าน่าจะเป็นไปเช่นนั้น ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยครับ <<..
-------------------------------------------------------------------------
**"เกล็ดเพิ่มเติมอีกสัก 3 เรื่องที่น่าสนใจครับ"**
(1) .. "ฟือเรอร์" คือ ชื่อพิเศษที่มุขมนตรีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ใช้เรียกตนเองหลังจากรัฐบัญญัติการมอบอำนาจ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 1933 ซึ่งทำให้เขามีอำนาจที่จะประกาศใช้กฎหมาย โดยไม่ต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาไรช์สทัก ในฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการ ไกลช์ชัลทุง และภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก ประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐไวมาร์
... เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1934 ฮิตเลอร์ได้ประกาศตนเองเป็นทั้งฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรี โดยเรียกชื่อตำแหน่งเต็มว่า Führer und Reichskanzler (ผู้นำและนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิไรช์ที่สาม) ซึ่งเป็นการรวมตำแหน่งผู้นำของรัฐและนายกรัฐมนตรีเข้าด้วยกัน และทำให้ฮิตเลอร์กลายมาเป็นประมุขแห่งรัฐและประมุขแห่งรัฐบาลอย่างเป็นทางการ และถือได้ว่าเป็นผู้นำเผด็จการแห่งจักรวรรดิไรช์ที่สามในทางปฏิบัติ นาซีเยอรมนีได้ปลูกฝัง ฟือเรอร์พรินซิพ (หลักการผู้นำ) และทำให้ฮิตเลอร์เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเป็นเพียงว่า ฟือเรอร์ ("ผู้นำ") และหนึ่งในสโลแกนทางการเมืองที่นาซีหยิบยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยครั้งที่สุด คือ "Ein Volk, ein Reich, ein Führer" - "หนึ่งประชาชน หนึ่งจักรวรรดิ หนึ่งท่านผู้นำ"
... สำหรับในทางการทหาร ฮิตเลอร์ได้ใช้ชื่อตำแหน่ง Führer und Oberster Befehlshaber der Wehrmacht ("ผู้นำและผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพบกเยอรมัน") จนกระทั่งตำแหน่งนี้ถูกปลดลงในเดือนพฤษภาคม 1942 ตามคำสั่งของฟือเรอร์ ส่วนรูปแบบในการใช้งานในกิจการด้านการต่างประเทศเป็น Führer und Reichskanzler (ผู้นำและนายกรัฐมนตรีแห่งชาติ) จนกระทั่งวันที่ 28 กรกฎาคม 1942 โดยมีการเปลี่ยนเป็น Führer DES Großdeutschen Reiches ("ผู้นำแห่งมหาจักรวรรดิเยอรมัน")
(2).. "ประวัติคร่าวๆ ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์" (20 เมษายน ค.ศ. 1889 – 30 เมษายน ค.ศ. 1945) เป็นนักการเมืองเยอรมนีสัญชาติออสเตรีย โดยกำเนิดหัวหน้าพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง ค.ศ. 1933 ถึง 1945 และผู้เผด็จการของนาซีเยอรมนี (ตำแหน่ง ฟือแรร์อุนด์ไรช์สคันซแลร์) ตั้งแต่ ค.ศ. 1934 ถึง 1945 ฮิตเลอร์ถูกจดจำทั่วไปร่วมกับการรุ่งเรืองของฟาสซิสต์ในทวีปยุโรป สงครามโลกครั้งที่สอง และการล้างชาติโดยนาซี
.. ฮิตเลอร์เป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งผู้ได้รับรางวัลมากมาย ต่อมา ฮิตเลอร์ได้เข้าร่วมพรรคกรรมกรเยอรมันใน ค.ศ. 1919 ซึ่งเป็นพรรคการเมืองก่อนหน้าพรรคนาซี ก่อนจะได้เป็นหัวหน้าพรรคนาซีใน ค.ศ. 1921 เขาพยายามก่อรัฐประหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า กบฏโรงเบียร์ ในเมืองมิวนิก เมื่อวันที่ 8-9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 แต่ล้มเหลว ฮิตเลอร์ถูกจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งในระหว่างนั้นเองที่เขาเขียนบันทึกความทรงจำ ไมน์คัมพฟ์ (การต่อสู้ของข้าพเจ้า)
.. หลังได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1924 เขาได้รับเสียงสนับสนุนจากการโจมตีสนธิสัญญาแวร์ซาย การเสนอการรวมชาวเยอรมัน เกลียดชังชาวยิว และต่อต้านคอมมิวนิสต์ ด้วยสุนทรพจน์ที่มีเสน่ห์ดึงดูดและการโฆษณาชวนเชื่อ หลังได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 เขาเปลี่ยนสาธารณรัฐไวมาร์เป็นจักรวรรดิไรช์ที่สาม รัฐเผด็จการพรรคการเมืองเดียว ภายใต้อุดมการณ์นาซีอันมีลักษณะเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จและอัตตาธิปไตย เป้าหมายของเขาคือ ระเบียบโลกใหม่ ที่ให้นาซีเยอรมนีครอบงำยุโรปภาคพื้นทวีปอย่างสมบูรณ์
(3).. "นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี" (เยอรมัน: Bundeskanzler; อังกฤษ: Chancellor of Germany) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "มุขมนตรีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี" คือ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประมุขฝ่ายบริหารประเทศเยอรมนี โดยเป็นชื่อเรียกตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) สมัยบิสมาร์ค ในปี ค.ศ. 1871
.. โดยรัฐต่าง ๆ ของเยอรมนีที่เป็นประเทศอิสระจากกันหลายประเทศ หลายแว่นแคว้น (ภายหลังการยกเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1815 โดยพระจักรพรรดินโปเลียนมหาราชแห่งฝรั่งเศส) ได้เข้ามารวมกันภายใต้การนำของราชอาณาจักรปรัสเซีย
.. การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้น กำหนดให้พระราชาแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นประธานาธิบดีของสหพันธรัฐ แล้วเรียกชื่อว่า จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมัน จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมันจะแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร คือ ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิ (German Chancellor) ที่เรียกชื่อตำแหน่งเช่นนี้ เนื่องจากเยอรมนีมีสภาพเป็นสหพันธรัฐ แต่ละรัฐหรือราชอาณาจักรในสหพันธรัฐ (เช่น ราชอาณาจักรปรัสเซีย, ราชอาณาจักรบาวาเรีย เป็นต้น) ต่างก็มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเอง
.. เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่เยอรมนีเปลี่ยนไปเป็นระบบประธานาธิบดี หรือแม้แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบสหพันธรัฐก็ยังคงอยู่ (แม้ว่ายุคบิสมาร์กจะเรียกจักรวรรดิ แต่ในรัฐธรรมนูญนั้นยังเรียกว่าระบบสหพันธรัฐ) ตำแหน่ง Chancellor จึงยังคงเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารไม่เปลี่ยนแปลง
.. ในสมัย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รวมตำแหน่ง Chancellor เข้ากับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วเรียกว่า "ผู้นำ" (Führer) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีกลับไปใช้ระบบสหพันธรัฐและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นเดิม หัวหน้าฝ่ายบริหารก็ยังคงเรียกแบบเดิมคือ Chancellor ตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเยอรมนีมีมุขมนตรี 8 คน ถ้าไม่นับฮิตเลอร์
------------------------------------------------------------------------
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar