Somsak Jeamteerasakul added 3 new photos.
FYI: หุ้นในพระนามในหลวงภูมิพลในตลาดหลักทรัพย์หมดไปแล้ว ส่วนหุ้นปูนซีเมนต์ไทยและไทยพาณิชย์ ที่อยู่ในชื่อสำนักงานทรัพย์สินฯ ยังไม่ถูกเปลี่ยนมาในชื่อวชิราลงกรณ์ตามที่เคยประกาศไว้ และความผันผวนของหุ้นสองบริษัทหลังมีข่าวจะโอนชื่อ รายละเอียด https://goo.gl/NfyQnU
FYI: หุ้นในพระนามในหลวงภูมิพลในตลาดหลักทรัพย์หมดไปแล้ว ส่วนหุ้นปูนซีเมนต์ไทย และ ไทยพาณิชย์ ที่อยู่ในชื่อสำนักงานทรัพย์สินฯ ยังไม่ถูกเปลี่ยนมาในชื่อวชิราลงกรณ์ตามที่เคยประกาศไว้ และความผันผวนของหุ้นสองบริษัทหลังมีข่าวจะโอนชื่อ
เดิมในหลวงภูมิพลมีหุ้นในพระนามของพระองค์เองใน 3 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ คือ
สัมมนากร (SAMCO) 43.87% เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1
ไทยประกันภัย (TIC) 17.66% เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1
ไมเนอร์อินเตอร์แนชันแนล (MINT) 2.09% เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 15 และ 26
ตอนนี้ หุ้นในนามพระองค์หายไปหมดแล้ว เข้าใจว่า ขายต่อไปให้ผู้ถือหุ้นอื่นๆ (ใครสนใจจะเช็คเองโดยตรง ดูที่นี่
SAMCO: https://goo.gl/fNdR6i
TIC: https://goo.gl/QjvjMc
MINT: https://goo.gl/x1VXzx)
หุ้นในพระนามพระพี่นางก็หายไป และหุ้นพระเทพใน SAMCO (สัมมากร) ลดลงจาก 5% เศษ เหลือเพียง 1% เศษ
หุ้นเหล่านี้ ตามกฎหมายทรัพย์สินเดิม จัดเป็น "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" ในแง่นึง อาจจะบอกว่านี่เป็นเรื่อง "ส่วนพระองค์" คงมีการแบ่งมรดกกันในหมู่ภรรยา (พระราชินี) และลูกๆหลานๆ ซึ่งเราไม่มีข้อมูลว่าแบ่งกันยังไง #ถ้ามีการทำพินัยกรรมไว้ ก็คงเป็นไปตามพินัยกรรม แต่ #ถ้าเกิดไม่มีการทำพินัยกรรมไว้ ก็อาจจะมีเรื่องน่าสนใจ เพราะวชิราลงกรณ์รวบอำนาจทุกอย่างไว้หมด ไม่รู้ว่าเขาเป็นคนจัดการเรื่องนี้เองด้วยแค่ไหนหรือไม่
แต่ปัญหาทรัพย์สิน "ส่วนตัว" ของบุคคลากรของรัฐ (ซึ่งเจ้าทุกพระองค์เป็น) มีความซับซ้อนกว่านั้น ถ้าเราคิดในแง่ว่า ข้าราชการการเมืองทุกคนต้องแจ้งรายการทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหมด และถ้าหากมีการอธิบายที่มาที่ไปของทรัพย์สิน ซึ่งแม้จะเป็น "เรื่องส่วนตัว" เหล่านั้นไม่ได้ ก็เป็นเรื่องขึ้นมา (นึกถึง "นาฬิกาประวิตร" พวกนั้นก็ทรัพย์สินส่วนตัวทั้งนั้น แต่เราไม่ถือเป็น "เรื่องส่วนตัว") แต่ประเทศเรา ไม่ใช้บรรทัดฐานเดียวกันกับเจ้า
...............
ขอถือโอกาส "อัพเดต" สำหรับใครที่ไม่ได้ติดตาม เรื่องหุ้นปูนซีเมนต์ไทย (ชื่อย่อบริษัท SCG แต่รหัสในตลาดฯ SCC) และไทยพาณิชย์ (SCB) ที่ถืออยู่ในนามสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และวชิราลงกรณ์สั่งให้โอนมาในชื่อเขาเมื่อกลางเดือนก่อน
จนขณะนี้ หนึ่งเดือนพอดี ยังไม่มีการโอน ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไม ใครอยากเช็คดูเอง:
SCC: https://goo.gl/7DKagj
SCB: https://goo.gl/LtLk38
ผมควรเล่าสำหรับท่านที่ไม่ได้ติดตามใกล้ชิดด้วยว่า ขณะนี้ หนึ่งเดือนหลังการประกาศเปลี่ยนชื่อหุ้นเป็นของวชิราลงกรณ์ ราคาหุ้นวันนี้ ไทยพาณิชย์ ลดลงไป 11.50 บาทต่อหุ้น (จาก 136 บาทวันเปิดตลาดวันแรกหลังมีข่าว เป็น 124.50 ปิดตลาดวันศุกร์เมื่อวาน) แต่นี่ นับว่าดีขึ้นมามากแล้ว ช่วงสองสัปดาห์แรก หุ้นไทยพาณิชย์ ร่วงเอาๆ เคยร่วงต่ำสุดจากวันที่ประกาศถึงเกือบๆ 20 บาทก็มี (ปิดตลาด 28 มิถุนา 117.50 บาท) จนผู้จัดการไทยพาณิชย์ต้องมาออกข่าวชี้แจงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนว่า ที่หุ้นร่วงมาก เพราะต่างชาติเห็นว่าธนาคารลงทุนด้านไอทีไปเยอะ (ดูข่าวได้ที่นี่ https://goo.gl/RFp7rB) ซึ่งผมว่าไม่ค่อยเม็กเซ้นซ์ ผมรู้ดีว่า ปัจจัยเรื่องหุ้นขึ้นหุ้นตก มันมีหลายอย่าง และช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยก็มีความผันผวนตกต่ำ แต่เฉพาะกรณีไทยพาณิชย์ ถ้าเทียบกับหุ้นแบ๊งค์สำคัญอื่นๆ การร่วงหลังประกาศว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นเป็นวชิราลงกรณ์ มีความแตกต่างกับหุ้นแบ๊งค์อื่นๆมาก (แบ๊งค์อื่น ทรงตัวตลอดช่วงเดียวกัน) ผมคิดว่า อย่างน้อยที่สุดเราสามารถพูดได้ว่า การประกาศว่าวชิราลงกรณ์จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ลงทุนมั่นใจ หยุดการขายกระหน่ำได้ (ถ้าไม่ใช่ว่าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการขายเลยแต่แรก)
ส่วนปูนซีเมนต์ไทย ราคาหุ้น หนึ่งเดือนหลังการประกาศ ได้กลับมาเท่าเดิม คือวันแรกหลังมีการประกาศ หุ้นอยู่ที่ 430 เมื่อวานตลาดปิดที่ 428 แต่ในช่วงสามสัปดาห์แรกหลังการประกาศ หุ้น SCC ก็ตกเยอะ จนถึงระดับลดไป 20 บาท แบบไทยพาณิชย์ (ปิดตลาดวันที่ 6 เดือนนี้ที่ 410 บาท) เช่นเดียวกับกรณีไทยพาณิชย์ อย่างน้อยเราคงพูดได้ว่า การประกาศว่าวชิราลงกรณ์จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ไม่ได้ทำให้นักลงทุนมั่นใจพากันซื้อหุ้น (ปกติ ตลาดหุ้นที่ไหน ถ้ามีข่าวว่าใครหรือบริษัทใดที่มีเครดิตสูง มาเทคโอเว่อร์หรือถือหุ้นบริษัทใด ควรทำให้หุ้นบริษัทนั้นสูงขึ้น หรืออย่างน้อยไม่ลดลงอะไรมากมาย)
#กษัตริย์มีไว้ทำไม
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar