söndag 13 januari 2019

ฉันทามติ 2 เรื่องใหญ่ ในประเทศไทยปัจจุบัน เรื่องแรก: ประยุทธ์-คสช. ไม่ควรสืบต่ออำนาจตัวเอง กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหลังเลือกตั้ง เรื่องที่สอง: วชิราลงกรณ์ ไม่ใช่กษัตริย์ที่ดีนัก...


ฉันทามติ 2 เรื่องใหญ่ ในประเทศไทยปัจจุบัน เรื่องแรก: ประยุทธ์-คสช. ไม่ควรสืบต่ออำนาจตัวเอง กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหลังเลือกตั้ง เรื่องที่สอง: วชิราลงกรณ์ ไม่ใช่กษัตริย์ที่ดีนัก

ฉันทามติ 2 เรื่องใหญ่ ในประเทศไทยปัจจุบัน

ผมเสนอว่า ขณะนี้ มี 2 เรื่องใหญ่ที่มีคนเห็นตรงกันอย่างกว้างขวาง (แน่นอน ในสังคมสมัยใหม่ ไม่มีเรื่องอะไรที่ทุกคนจะเห็นตรงกันร้อยเปอร์เซนต์อยู่แล้ว เรากำลังพูดถึงการเห็นด้วยตรงกันอย่างกว้างขวางมาก)
เรื่องแรก: ประยุทธ์-คสช. ไม่ควรสืบต่ออำนาจตัวเอง กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหลังเลือกตั้ง
เรื่องที่สอง: วชิราลงกรณ์ ไม่ใช่กษัตริย์ที่ดีนัก
ระดับการเห็นด้วยตรงกันของสองเรื่องนี้ ไม่เท่ากัน และแต่ละเรื่องก็มีความไม่ลงตัวที่ไม่เหมือนกัน
การเห็นตรงกันในเรื่องแรก มีระดับที่กว้างขวางมากกว่า
..............

เรื่องแรก ผมยังประเมินว่า ระดับความไม่พอใจของประชาชนทุกสีทุกฝ่าย ต่อประยุทธ์-คสช. ยังไม่น่าถึงระดับที่จะนำไปสู่การล้ม คสช.ได้ จุดที่จะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ยังน่าจะเป็นช่วงจะมีเลือกตั้ง-ไม่มีเลือกตั้ง และเลือกตั้งแล้วจะกลับเข้ามาหรือไม่อย่างไร
ยกเว้น ถ้าจะเกิดก่อนหน้านั้น - การเมืองเป็นเรื่องการปฏิบัติที่ไม่มีใครเดาหรือกำหนดล่วงหน้าได้ทั้งหมด - ก็คือการที่ คสช.ทำพลาดขนาดใหญ่ในลักษณะที่มีการ "ช็อค" ต่อคนอย่างรุนแรง - นึกถึงกรณีในอดีตแบบสุจินดากลับคำ/จำลองอดข้าว ถึงเรื่องการขายชินคอร์ปให้เทมาเส็ก - ซึ่งผมยังมองไม่เห็น และไม่คิดว่า พวกเขาจะไม่ระมัดระวัง ทำอะไรที่แย่ใหญ่โต "ช็อค" คนขนาดนั้น
แม้ว่า "ฉันทามติ" เรื่องนี้ จะกว้างขวางมาก แต่ก็ยังมี "ความไม่ลงตัว" สำคัญอยู่ คือขณะนี้ คนรู้สึกไม่ชอบ คสช.อย่างกว้างขวาง มากพอจะทำให้ประเด็นว่า "ถ้าไม่ใช่ คสช.แล้ว ใครจะมาแทน" ลดความสำคัญในความรู้สึกไป ผมคิดว่าคนที่ไม่อยากให้ คสช.สืบอำนาจ (โดยเฉพาะพวกที่เคยเชียร์มาก่อน) คงคิดแบบคร่าวๆว่า อย่าให้เป็น ประยุทธ์-คสช.ก็แล้วกัน ให้ผลการเลือกตั้งตัดสินเอา (ดูผลโพลล์ล่าสุดเรื่อง "ไม่เอานายกฯคนนอก" เป็นตัวอย่าง)
ณ ขณะนี้ ดูเหมือนว่า โอกาสที่ คสช.จะ "รีเวิร์ซ" หรือ "กลับลำ" หันกลับเป็น "ขาขึ้น" หรือสร้างความนิยมอีก ดูริบหรี่ (หุหุ ยิ่งยังดันทุรังกรณีประวิทย์-นาฬิกาอยู่ ยิ่งมองไม่เห็น) แต่อย่างที่เพิ่งพูดไปข้างบน การเมืองเป็นเรื่องการปฏิบัติที่กำหนดล่วงหน้าทั้งหมดไม่ได้ แก้-เปลี่ยนได้จากการปฏิบัติและปฏิสัมพันธ์-ปะทะระหว่างพลังฝ่ายต่างๆ จากจุดนี้ไปถึงมีการเลือกตั้ง และมีผลเลือกตั้งออกมา คสช.คงพยายามดิ้นรนเต็มที่ ที่จะสร้างความนิยมยอมรับใหม่ เพื่อปูทางให้กับการสืบอำนาจต่อ
ผมอยากเสนอว่า บรรดาคนที่ต่อต้านรัฐประหาร ควรโฟกัสที่ประเด็น ("คำขวัญ") นี้: "คัดค้าน-ยับยั้งการสืบทอดอำนาจของ คสช." ซึ่งมีโอกาสของการสร้างฉันทามติที่กว้างขวางมากในขณะนี้
............

เรื่องที่สอง เรื่องนี้มีความซับซ้อนกว่าเรื่องแรกเยอะ ผมมองว่า มีความรู้สึกกัน(ในใจ)อย่างกว้างขวางจริงว่า วชิราลงกรณ์ไม่ใช่กษัตริย์ที่ดี แต่ระดับความรู้สึกแบบนี้ ยังห่างจากความรู้สึก "ต้องล้ม" หรือแม้แต่จะถึงระดับคิดให้ "ต้องเปลี่ยน" อย่างซีเรียส เรื่องแบบนี้เป็นอะไรที่ใหญ่เกินกว่าจะทำให้คนกล้าคิดในระดับนั้นอย่างกว้างขวางในเวลาสั้นๆ โดยเฉพาะในหมู่คนรักเจ้า (อันที่จริง อย่างที่รู้กัน แม้แต่ในหมู่คนเสื้อแดง ก็มีคนเชียร์วชิราลงกรณ์อยู่ด้วยซ้ำ) สถานีวิทยุใต้ดินบางสถานีที่ชอบให้ความหวังคนฟัง ประเภทว่า ทุกวันนี้ คนไม่เอาเจ้ากันหมดแล้ว พร้อมจะล้มเจ้ากันแล้ว จะทำให้ "จบในปีนี้" อะไรแบบนั้น เป็นเพียง "พ่อค้าขายฝัน" เท่านั้น (เรื่องที่ว่า ในหมู่ชนชั้นนำเอง มีความพยายามจะ "เปลี่ยนตัว" - "ศึกชิงบัลลังก์" อะไรที่ว่า - ก็เป็นเพียงการมโนเพ้อพก)
ยังมีประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งด้วยว่า ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ สองเรื่องดังกล่าว ไม่ได้ "คอนเน็ค" หรือเชื่อมต่อกันในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ที่สุด พูดง่ายๆคือ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่พอใจ คสช. ไม่อยากให้ คสช.สืบทอดอำนาจ เป็นรัฐบาลต่อไปหลังเลือกตั้ง ความไม่พอใจนี้ ไม่ได้โยงไปถึงความรู้สึกที่ว่า วชิราลงกรณ์เป็นกษัตริย์ที่ไม่ดี
วชิราลงกรณ์รวบอำนาจเกี่ยวกับกษัตริย์ก็จริง (ทรัพย์สินฯ, ราชการในพระองค์) แต่ที่ผ่านมาเขาทำตัวเป็น "แอ๊บเซ็นที คิง" (absentee king = กษัตริย์ที่ไม่อยู่) คนไม่ได้รู้สึกกันว่า (และเขาเองก็ไม่ได้ทำให้เห็นชัดว่า) ออกมาสนับสนุนถือหาง คสช.ชัดเจน เอาเข้าจริง อย่างที่พูดไป ในบรรดาเสื้อแดง ที่แอนตี้ คสช. ยังมีคนเชียร์วชิราลงกรณ์ด้วยซ้ำ
แต่วชิราลงกรณ์เอง อาจจะเป็นคน "คอนเน็ค" สองประเด็นนี้เข้าด้วยกันในอนาคตข้างหน้าก็ได้ มีข่าวที่เชื่อถือได้พอสมควรว่า เขา "นัดพบ" ใครต่อใครในแวดวงต่างๆหลายแวดวง นั่นคือ เขาติดตามแวดวงการเมืองใกล้ชิดกว่าที่เห็นกันภายนอก และอาจจะ prepared หรือเตรียมพร้อมจะ "เอ๊กเซอไซส์พาวเวอร์" ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารและการจัดตั้งรัฐบาลโดยตรงในอนาคตได้ เช่น หากมีการเลือกตั้ง แล้วผลออกมาไม่ลงตัว หรือเขาอาจจะแสดง "เฟเวอร์" หรือความชอบว่า ต้องการให้ใครเป็นเมื่อถึงเวลานั้น ฯลฯ ฯลฯ
"แอ๊สเซ็ต" หรือ "ต้นทุนสะสม" ของ "ความเป็นเจ้า" และสถานะของสถาบันกษัตริย์ ทำให้วชิราลงกรณ์ได้เปรียบกว่า ประยุทธ์-คสช. เยอะ เขาสามารถใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ ในแง่สร้างบารมีให้ตัวเอง ลดความไม่ชอบเขา ได้มากกว่าที่ คสช.จะพยายามลดความไม่ชอบตัวเอง - แต่เขาจะถึงขั้นทำอะไรดีๆ ถึงระดับที่สุลักษณ์แสดงความฝันเมื่อวันก่อนหรือไม่ นี่ก็ยังมองไม่เห็น
Somsak Jeamteerasakul
เรื่องของ "เสี่ย" (และประยุทธ์)
ตอนนี้มีกระแสในหมู่ "ฝั่งประชาธิปไตย" "เสื้อแดง" ทำนองว่า ที่เกิดการ "หย่อน" ในแง่การปราบปรามของ คสช. เช่น มีการชุมนุม ไม่มีการจับ หรือมีการจับ ถึงศาล ก็ไม่โดนอะไรหนัก (ไม่มีการขัง ฯลฯ) เป็นเพราะ "เสี่ย ไม่เอา คสช. ไม่เอาประยุทธ์"
เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงหรอกครับ "เสี่ย" น่ะยังเอา คสช. เอาประยุทธ์ ชอบ คสช. ชอบประยุทธ์ด้วยซ้ำ
แต่เรื่องที่มีมีการ "หย่อน" นี่ เกี่ยวกับ "เสี่ย" ไหม? ก็มีส่วนเกี่ยวอยู่ แต่ไม่ใช่อย่างกระแสที่เข้าใจกันข้างต้น
คือต้องเข้าใจว่า
(ก) "เสี่ย" น่ะชอบประยุทธ์ ชอบ คสช. เพราะ "ขออะไรก็ได้หมดทุกอย่าง" อันที่จริง ถ้ามีวิธีว่า คสช.อยู่ยาว โดยไม่มีเลือกตั้งเลย โดยไม่มีคนมาโวยวาย หรือโดยไม่มีแรงกดดันให้ต้องเลือกตั้ง "เสี่ย" คงชอบ และคงเอา
ปัญหาคือ "เสี่ย" ก็คุมหรือห้ามไม่ให้มีกระแสดังกล่าวไม่ได้ และในระยะยาว ก็ห้ามไม่ให้มีเลือกตั้งเลยไม่ได้ - คสช.ก็ห้ามไม่ได้ ไม่มีใครห้ามได้
(ข) แต่ขณะเดียวกัน "เสี่ย" ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนัก เพราะยิ่งจะทำให้เป็นเรื่องเป็นราว ปวดขมอง "เสี่ย" เหมือนกัน ดังนั้น "เสี่ย" ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนักเหมือนกัน
Somsak Jeamteerasakul

ความขัดแย้งภายในวัง (พ่อ-ลูก, พี่-น้อง, องคมนตรี-ลูก)
ความขัดแย้งระหว่างวังกับทหาร
ความขัดแย้งภายในทหารด้วยกันเอง
#ไม่เคยมีลักษณะรุนแรงถึงขนาดเป็นความขัดแย้งที่มีการจัดตั้ง คือแบ่งเป็นก๊กเป็นพวกที่ชัดเจน (organized faction) มาแต่ไหนแต่ไร อย่างมากที่สุด เป็นเพียงเรื่องของการเข้าหน้ากันไม่สนิท คาแรกเตอร์ไม่ค่อยลงรอยกันในระดับตัวบุคคล ซึ่งโดยภาพรวมก็น้อย ไม่ได้มีมากอะไร
โดยเฉพาะนับตั้งแต่หลังทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา (คือร่วม 30 ปีแล้ว) การที่ก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 2520 มีร่องรอยหรือการแสดงออกของความขัดแย้งใน 3 ลักษณะนั้นมาก (ในวัง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ภายในครอบครัวมีความ "ระหองระแหง" มากที่สุด หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีอะไรแล้ว ในกองทัพ มีการพยายามทำรัฐประหารหลายครั้ง) ที่สำคัญส่วนหนึ่ง เป็นผลสะเทือนมาจากการลุกขึ้นสู้ 14 ตุลา กล่าวคือการลุกขึ้นสู้ของประชาชนครั้งนั้น ได้ทำให้ "เกิดรอยร้าว" ในองคาพยพส่วนสำคัญๆของรัฐ เช่นการเกิด "ยังเติร์ก" หรือนายทหารชั้นผู้น้อย ที่ไม่ยอมขึ้นต่อการบัญชาการระดับบน แต่นั่นเป็นเพียงประวัติศาตร์ช่วงสั้นที่ผ่านมานานแล้ว

"Monarchy without a monarch"
"มิตรสหายนักวิชาการด้านกฎหมายท่านหนึ่ง" เขียนว่า
เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ถูกประกาศใช้ มีการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็น "องค์อธิปัตย์" ผู้ชี้ขาดว่า อะไรเป็นสถานการณ์ปกติ อะไรเป็นสถานการณ์พิเศษ แก้รัฐธรรมนูญได้หรือไม่ได้ เพราะ
กุมอำนาจการชี้ขาดว่า มาตรา ๗ ใช้ได้หรือไม่ ใช้อย่างไร
กุมอำนาจการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกครั้ง
กุมอำนาจในการ "ให้คำปรึกษา" ในทุกๆเรื่องๆ แม้จะยังไม่เกิดเป็นข้อพิพาท
ผมได้เขียนแสดงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
ในแง่หนึ่ง ผมมองว่า ศาล รธน ใหม่ที่จะมีขึ้น มันสอดคล้องกับ "ยุทธศาสตร์" ความพยายามรับมือกับภาวะที่ผมเรียกว่า monarchy without a monarch (การปกครองโดยสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์นิยม ที่ไม่มีองค์กษัตริย์)
กล่าวคือ มัน transfer (โยกย้าย) อำนาจ ultimate arbitration (การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย / ขั้นสูงสุด) จากองค์กษัตริย์ ไปที่ศาลใหม่
.....
หมายเหตุ: ได้ยินว่า "มิตรสหายนักวิชาการอีกท่านหนึ่ง" กำลังเขียนงานวิจัยในประเด็นนี้อยู่


Inga kommentarer:

Skicka en kommentar