tisdag 19 februari 2019

" ใครคือผู้หนักแผ่นดิน "

ความเหี้ยมโหดของราชวงค์จักรี

"ประวัติศาสตร์ไม่ได้รับการชำระ" ภาพชุด ๖ ตุลา ๑๙ เพิ่งค้นพบBildresultat för วันมหาวิปโยค ๑๔





  รอดตาย

๔๒ ปีผ่านไปแล้ว ประวัติศาสตร์ไม่ได้รับการชำระ มิหนำซ้ำความพยายามปกปิด บิดเบือน หรืออย่างน้อยที่สุดทำเมินเฉย ยังคงดำเนินต่อไป จะอีกนานแค่ไหนไม่รู้ได้


ในเมื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อันรวมถึงญาติมิตรและผู้สืบตระกูลของผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า ๗๐ ราย บาดเจ็บและถูกคุมขังจำนวนกว่าร้อย กลายเป็นส่วนชำรุดของชาติจากการข่มเหงบีทา ที่ชนชั้นนำทุกยุคสมัยจากนั้นมา เมินหน้าและหลบสายตา หรือแม้กระทั่งตบหัวกลับเป็นครั้งคราว


เหตุการณ์ระดมกำลังตำรวจชายแดนจากหัวหิน สมาชิกนวพล ลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง และฝูงชนที่กระเหี้ยนกระหือรือจากการปลุกเร้าของวิทยุยานเกราะและหนังสือพิมพ์ดาวสยาม เข้าทำร้ายและเข่นฆ่านักศึกษาที่ชุมนุมกันอยู่ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อตอนเช้าตรู่ของวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จะเป็นสิ่ง ต้องลืม ในอีกรัชสมัยหรืออย่างไร


ถึงขนาดว่า การจัดฉายหนังที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ส่งเข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทอง ออสการ์ ฮอลลีหวูด ประจำปี ๒๕๖๐ ประเภท ‘หนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม’ เรื่อง ดาวคะนองหรือ ‘By the Time It Gets Dark’ เมื่อวานนี้ (๖ ตุลา ๖๐) ถูกสั่งระงับ




“เจ้าหน้าที่ขอความร่วมมือ งดจัดกิจกรรม ทั้งการฉายหนังและพูดคุยหลังฉาย” ด้วยเหตุผลว่า “ได้รับความเห็นจากเจ้าหน้าที่หลายฝ่าย ว่าเนื้อหาของหนังมีความสุ่มเสี่ยงและไม่แฮปปี้ที่จะให้ฉาย”


เพราะว่าหนังเรื่องนี้มีเนื้อหา “ต้องการบอกเล่าเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาธรรมศาสตร์โดยมวลชนฝ่ายขวาเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙


แต่ก็ไม่ได้ถ่ายทอดเหตุการณ์ดังกล่าวให้เห็นตรงๆ โดยเลือกที่จะแสดงผ่านเรื่องราวของคนที่พยายามสร้างหนังเกี่ยวกับ ๖ ตุลาฯ แทน”


เพื่อ “แสดงให้เห็นผลกระทบในปัจจุบันของเหตุการณ์ ๖ ตุลาฯ ซึ่งเต็มไปด้วยความคลุมเครือ พร่าเลือน และถูกซ่อนเร้นมาตลอด


ยิ่งกับผลกระทบต่อผู้คนที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้นเอง และผลกระทบต่อคนรุ่นหลังในการจดจำภาพประวัติศาสตร์”




น่าอนาถที่การสูญเสียเช่นนี้กลับเป็นสิ่ง น่าจำกลับลืมจึงเป็นภาระของชนรุ่นต่อๆ ไป นำเอาสิ่งที่ชนรุ่นที่ได้รับผลกระทบเก็บงำไว้ ออกมาเผยแพร่ต่อเนื่อง


สิ่งที่เขา อยากให้ลืมต้องจำให้ฝังในการรับรู้ของผู้คนทุกสมัย ต่อเหตุการณ์หฤโหดเข่นฆ่ามวลมนุษย์ด้วยกัน มิพักเป็นเชื้อชาติเดียวกัน จักเกิดขึ้นอีกได้ ดังแนวโน้มที่เป็นมาและทำท่าจะเป็นไป


เป็นจังหวะพอดีกับโอกาสครบรอบ ๔๑ ปี ๖ ตุลา ประชาไทรายงานว่ามีการเปิดตัวเว็บไซ้ท์ 'บันทึก 6 ตุลา' www.doct6.com พร้อมกับการเผยแพร่ภาพจากเหตุการณ์รุมสังหารโหดครั้งนั้น เป็นภาพที่เพิ่งถูกค้นพบ ๒ ชุด ขอนำมาเผยแพร่ให้ชมกันไว้ให้ ติดตาฝังใจไม่ลืมกันง่ายๆ


ส่วนท่านใดที่ขวัญอ่อน หรือบรรลุขั้นเวชสันดร ไม่ชอบตอกย้ำความชั่วร้ายที่ถูกกระทำ กรุณาผ่านเลยไป ภาพเหล่านี้ (ที่คัดมาเพียงสังเขป) เป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ สำหรับผู้ที่ต้องการย้ำเตือนจิตสำนึกแห่งการถูกย่ำยีเท่านั้น



WARNING : These graphic photos may be Very unpleasant.


ชุดแรกเป็นภาพสีจากกล้องของ แฟร้งค์ ลอมบาร์ด นักข่าวสถานีวิทยุนิวซีแลนด์ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุของปีนั้น เขา “ไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประมาณ ๑๐.๔๕ น. ของเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เขาถ่ายภาพสีเหตุการณ์ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสนามหลวงหลายภาพด้วยกัน 
คุณภาพของฟิล์มที่เก็บไว้นานนับ ๔๐ ปี เปิดเผยให้เห็นถึงความชัดเจนของอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้า เสื้อผ้าที่เปื้อนเลือด สีเขียวของพื้นสนามหญ้า และโดยอย่างยิ่ง ร่างของปรีชา แซ่เอีย ที่ถูกแขวนอยู่กับ ต้นมะขามของยามสายวันนั้น”







อีกชุดเป็นภาพขาวดำจากการเก็บสะสมของปฐมพร ศรีมันตะ ซึ่งได้รับภาพต่อมาจากบุคคลอื่น เช่นนั้นภาพในชุดนี้จึงมีหลายภาพไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพได้ ทั้งในส่วนของผู้ถ่ายภาพ และเหตุการณ์ที่ปรากฏบนภาพ






                                      






แถมด้วยภาพที่เคยตีพิมพ์แล้ว Sinsawat Yodbangtoey นำมาโพสต์ซ้ำเพื่อ 'ย้ำจำ' ว่าเจ้าหน้าที่รัฐมุ่งมาดเข่นฆ่าให้แน่แก่ใจว่าตาย ด้วยการกระทืบซ้ำแล้วซ้ำอีกที่บริเวณคอของสมาชิกแนวร่วมศิลปินผู้ร่วมชุมนุมคนหนึ่ง ซึ่งถูกทำร้ายเจียนตายนอนไร้สติอยู่บนผืนดิน



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar