måndag 25 februari 2019

"My son, the Crown Prince, is a bit of a Don Juan."


"My son, the Crown Prince, is a bit of a Don Juan."
(ลูกชายฉัน, องค์รัชทายาท, มีลักษณะเป็นดอนฮวนอยู่หน่อยๆ)

พระราชินีสิริกิติ์ พระราชสัมภาษณ์ นสพ.ดัลลัส ไทมส์ เฮรัลด์ 31 ตุลาคม 2524
"อย่างเช่นมีข่าวลือว่าเป็นเจ้าของดิสโก้บ้าง เป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมบ้าง เป็นเจ้าของบ่อนหรือคาสิโนบ้าง"
พระบรมฯพระราชสัมภาษณ์ "ดิฉัน" (ตุลาคม 2530)
.................
มีเพื่อนเฟซบุ๊คผมคนหนึ่งที่ทำงาน "ผู้จัดการ" กล่าวว่าบทความพระราชประวัติในหลวงวชิราลงกรณ์ของ บีบีซีไทย - BBC Thai "บิดเบือนข้อเท็จจริง" และถ้าใครอ่านความเห็นคนที่ไปด่า บีบีซีไทย - BBC Thai

จะเห็นว่าหลายคนก็ด่าในลักษณะเดียวกัน และพูดทำนองว่า "เอาข่าวลือมาเขียน" ฯลฯ
อันที่จริง การที่สื่อรายงาน "ข่าวลือ" เป็นอะไรที่ทำกันปกติในเรื่องอื่นๆ เพราะถ้ามีข่าวลือบางอย่างที่น่าสนใจจริงๆ (เช่น ลือว่าจะมีการเอาใครเป็น ผบ.ทบ. ลือว่าคนนั้นจะลาออกจากพรรค ฯลฯ) ประเด็นอยู่ที่ว่านำเสนออย่างไร เช่น ถ้านำเสนอ โดยไม่บอกว่าเป็น "ข่าวลือ" เสนอราวกับว่า นี่เป็นอะไรที่เป็นทางการแล้ว มีหลักฐานยืนยันแล้ว อย่างนี้คือการ "เอาข่าวลือมาเขียน" แต่ถ้ารายงานโดยระบุชัดว่า "มีข่าวลือว่า..." อันที่จริง เป็นอะไรที่ทำกันเป็นปกติ #เพราะการมีข่าวลือก็เป็นข่าวหรือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆอย่างหนึ่ง
ในบทความบีบีซีนั้น ถ้าอ่านอย่างไม่มีอคติ ก็จะเห็นว่า ไม่มีตรงไหนเลยที่ "เอาข่าวลือมาเขียน" ในลักษณะที่ไม่บอกไว้ชัดว่าเป็น "ข่าวลือ" คือมีการลือกันเช่นนั้นจริง ซึ่งในทุกกรณีสามารถยืนยันได้ว่ามีการลือจริงๆ ความจริง ยิ่งกว่าลือด้วยซ้ำ เช่น เท่าที่ผมนับได้จริงๆ มี 2 กรณี คือเรื่องที่ว่าพระบรมฯมีความสัมพันธ์กับทักษิณ และเรื่องที่ว่ามีบางคนคิดว่า พระเทพอาจจะเป็นประมุขแทน - ซึ่งทั้งสอง "ข่าวลือ" นี้ สามารถยืนยันได้แน่นอนว่า มีการลือเช่นนั้นจริงๆ เอาง่ายๆ ในโทรเลขวิกิลีกส์ ที่เปรม สิทธิ และ อานันท์ สนทนากับทูตสหรัฐ ก็พูดถึงข่าวลือทั้งสองนี้ อันที่จริงพวกเขาพูดในลักษณะเป็นข้อเท็จจริงด้วยซ้ำ นั่นคือพวกเขาถือว่าเป็น fact หรือข้อเท็จจริงเลยว่าพระบรมฯมีความสัมพันธ์กับทักษิณ และบางคนในพวกเขาเอง แสดงความต้องการชัดเจนว่า ถ้าพระเทพได้เป็นประมุขแทนพระบรมฯก็จะดีกว่า
...............
ข้อความที่ผมเอามาจ่อหัว และภาพประกอบกระทู้นี้ คืออีก 2 กรณี ที่บทความบีบีซี พูดถึง อันแรกคือคำให้สัมภาษณ์ของพระราชินีเอง ที่กล่าวถึงว่าพระบรมฯมีลักษณะเป็น "ดอน ฮวน" อยู่หน่อยๆ ("พวกผู้หญิงพบว่าเขาน่าสนใจ และเขาก็สนใจพวกผู้หญิงมากยิ่งกว่า") บทสัมภาษณ์นี้ ตีพิมพ์ในภาษาไทย ใน "สยามนิกร" ของชัชรินทร์ ไชยวัตร ฉบับ 14 พฤศจิกายน 2524 (ใครไม่เคยเห็นทั้งบท และอยากได้ เป็นไฟล์ pdf ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://www.mediafire.com/?8ddg37675wjb2qo)
ส่วนข้อความอีกอัน เป็นคำของพระบรมฯเอง ที่ว่า มีการลือว่าพระองค์ "เป็นเจ้าของ..บ่อนหรือคาสิโน" (ดูคำสัมภาษณ์ที่ละเอียดกว่านี้ ได้ที่นี่ https://goo.gl/ETHWvx)
..............
จะเห็นว่า ทั้งสองกรณี มีการตีพิมพ์ในนิตยสารที่แพร่หลายมากในสมัยนั้น (ทั้งสยามนิกร และ ดิฉัน) ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร สิ่งที่บีบีซีทำ (เหมือนกรณีทักษิณหรือพระเทพข้างต้น) ก็คือรายงานข้อเท็จจริงที่ว่าพระราชินีและพระบรมเองทรงพูดไว้เช่นนั้น
ความน่าสนใจที่ว่า ทำไมสมัยนั้น จึงสามารถตีพิมพ์คำสัมภาษณ์เช่นนี้ได้ เรื่องนี้ถ้าจะอภิปรายละเอียดจะยาวมาก ผมมองว่า สมัยดังกล่าว สถาบันกษัตริย์ยังไม่มีลักษณะของการมี "ฐานมวลชน" ที่แท้จริง คือยังไม่เป็นสิ่งที่ผมเรียกว่า mass monarchy ยังไม่เป็นอะไรที่กลายมาเป็น "ที่ยึดเหนี่ยว" ของคนจำนวนมากจริงๆ (โดยเฉพาะชนชั้นกลางในเมืองที่มาจากลูกหลานจีน) และดังนั้น สถานะของสถาบันฯ เอาเข้าจริง มีลักษณะ "ห่าง" จากสังคม เป็นอะไรที่คนไม่พูดถึง และดังนั้น ก็ไม่มีขบวนการระดับมวลชนที่ออกมาเชียร์ หรือ "อิน" ชนิดเอาเป็นเอาตาย อย่างที่เราเห็นกันยุคหลัง (และในด้านกลับ ก็เลยไม่มีขบวนการระดับมวลชนที่ออกมาคัดค้านที่ถูกเรียกว่า "ล้มเจ้า" ในภายหลังด้วย) คือเรื่องสถาบันฯ เป็นอะไรที่ทุกฝ่าย ไม่ต้องการไปแตะต้อง รวมถึงกรณีการใช้ 112 ด้วย
....................
อีกนิด เป็นอะไรที่น่าสนใจเหมือนกัน ที่ผมนึกขึ้นมาได้เมื่อครู่ (สำหรับใครที่สนใจเชิงทฤษฎีกฎหมายนะ) คือถ้าพูดในเชิงเทคนิคทางกฎหมาย ในแง่ตัวบทแบบเข้มงวด การที่พระราชินีพูดเช่นนั้นถึงพระบรมฯ ("เป็น ดอน ฮวน") แม้แต่กระทั่งการที่พระบรมฯพูดเช่นนั้นถึงตัวเอง ("ลือว่า...เป็นเจ้าของบ่อนหรือคาสิโน") เอาเข้าจริง ต้องถือว่า technically illegal คือผิดกฎหมาย #โดยเฉพาะถ้าใช้บรรทัดฐานเรื่อง112ของยุคนี้ เพราะเป็นการพาดพิงถึง รัชทายาท ในทางที่ทำให้เสียชื่อเสียงได้ (ต่อให้เป็นการพูดในลักษณะว่า "มีข่าวลือ" และเป็นการพูดถึงตัวเองก็ตาม .. กรณีพระราชินี ทรงพูดในลักษณะข้อเท็จจริงเลย ไม่ใช่ลือ ที่ว่าลูกชายมีลักษณะเป็นดอน ฮวน)
Image may contain: 1 person, smiling
No photo description available. 
                 No photo description available. 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar