lördag 30 september 2017

ประวิน วิจารณ์นักการเมืองขายตัว " กรณี ชัชชาติ "

ThaiE-News

อยู่คนละฟากแม่น้ำ 'ก็' เลือกลงเรือลำเดียวกันไปได้ :‘Case-in-Point’ เอิ่ม...เรื่องของการอกหักอีกแล้ว

คราเมื่อผู้เผด็จการอ้างสร้างประชาธิปไตย พูดได้ด้านๆ “เดินมาด้วยความมั่นใจเพราะไม่ได้ทำอะไรผิด...เชิดหน้าเข้ามาได้” ก็มีอันให้ต้อง อกหัก กันอีกบ้าง
มิใยโดนวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่นย้อนให้ “ที่คุณเดินเชิดหน้าได้อยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะคุณใช้อำนาจออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับตัวเอง” ก็ตาม
กรณีในเป้าข้อนี้ เกิดจากข่าวอุบัติการณ์ ชัชชาติได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ๖ ด้านของ คสช. ด้วยคนหนึ่ง
‘Case-in-Point’ ก็คือ “เอิ่ม...นั่นคือการให้ความชอบธรรมต่อคณะรัฐประหารครับ” อจ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เขียนวิจารณ์จากลันดั้นด้วยความกระอักกระอ่วนเล็กน้อย


แต่สำหรับ ไทยโพสต์ ซัดเต็มคราบในข่าว (ชนิด สุรพศ ทวีศักดิ์ คนที่แจ้งลายแทงบอกว่า “ที่ผ่านมาผมไม่เคยแชร์ข่าวชัชชาติเลย...นี่แชร์เป็นครั้งแรก #แชร์มาขรรม”) 
ที่เรียกเสียงฮือฮาก็คือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ทำงานติดตามนายทักษิณ ชินวัตร มาตลอด อีกทั้งนายชัชชาติก็อยู่ร่วมในห้องประชุมกองทัพบกวันพล.อ.ประยุทธ์ทำรัฐประหารเมื่อ ๒๒ พ.ค.๕๗ โดยมีฉายาตามโลกโซเชียลฯ ว่า รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี
ที่ว่าเขา “ติดตามนายทักษิณ ชินวัตร มาตลอด” นี่ไม่แน่ใจนะว่าทีมงานของโรจน์ งามแม้นตามัวไปนิดไหม น่าจะเช็คกับสุรนันท์ เวชชาชีวะ หรือไม่ก็สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ สักหน่อยก็ดี
ถึงอย่างไร ชัชชาติก็เป็นขวัญใจ เพื่อไทย และติ่งชินวัตรมาก่อนอย่างแน่นอน อย่างน้อยเพราะความเป็นมืออาชีพ มีทัศนวิสัยทางการบริหารแจ้งชัดและกว้างไกลของเขา เมื่อไม่นานมานี้ (ต้นมีนา) เขาเพิ่งแสดงวิสัยทัศน์ในการปรับปรุงระบบคมนาคมไทยยุค คสช. ไว้น่าฟังทีเดียว
ว่าแทนที่จะต้องเอารถไฟฟ้าสายโน้นสายนี้ให้ได้ สามารถปรับปรุงระบบรถเมล์ประจำทางให้รวดเร็วทันสมัยและตรงเวลาเสียก่อนจะดีกว่า เพราะรถเมล์สะดวกกับผู้ใช้บริการมากกว่า ราคาค่าตั๋วไม่แพงอย่างรถไฟฟ้า
อีกประเด็นที่เขาพูดถึงในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร เวย์ไว้ยาวเหยียด เรื่องการปรับปรุงรถตู้บริการ เขาพูดถึงวีธีสำรวจสรรพคุณของผู้ให้บริการ โดยเสนอว่าคนรุ่นใหม่วัยนักศึกษานี่แหละเขียนแอ็พลิเกชั่นสำหรับกดแสดงความพอใจไม่พอใจหลังจากใช้บริการแต่ละครั้ง
เป็นวิธีตรวจสอบประสิทธิภาพรายวันแบบที่รถรับจ้าง อูเบอร์ทำอยู่ทั่วโลก (ของอูเบอร์นั้นคนขับให้คะแนนคนนั่งด้วย ใครคะแนนไม่ดีเรียกครั้งต่อไปไม่มีใครรับ) ชัชชาติบอกว่าเขาเคยทดลองด้วยกล่องหย่อนตั๋ว ๓ ช่อง สมัยเป็น รมว. คมนาคม เก็บข้อมูลทุกเย็น ปรากฏว่าได้ผล

ในเวลาต่อมาไล่เรี่ยกับการให้สัมภาษณ์ครั้งนั้น เชื่อว่าในการตอบคำถามหลังจากการบรรยายที่ธรรมศาสตร์ รังสิต เขาพูดเต็มปากว่า “ไม่ยุ่งการเมืองแล้ว” 
นั่นเป็นเหตุให้เขาต้องตา คสช. หรือเปล่าไม่รู้ แต่ว่าคำถามที่ผุดเด่นขึ้นมายิ่งกว่า กลับเป็นว่า คสช. ตาดีขนาดนั้นเชียวหรือ
อย่างไรก็ดี คนที่อกหักมักจะไม่พูดในทันที (ไม่เหมือน จอมยูเอสเอ ในอีกกรณี ต่างกรรมไม่ต่างวาระ) มีแต่ผู้ที่เหนียวแน่นด้านจุดยืนการเมืองและกีฬาสี ที่แสดงปฏิกิริยาออกมาอย่างไม่อมพะนำ
นอกจากสุรพจน์ ทวีศักดิ์ ที่ซัดไม่ยั้งว่า “ไม่เคยตื่นเต้นกับดราม่าอะไรเกี่ยวกับเขา” เท่าที่เจอตอนนีก็มี ชัยวุฒิ สุวรรณโณ อีกรายหนึ่งละ เขาใส่ไม่อ้อมค้อมยิ่งกว่า

“เอาไปอ่านให้ตาสว่างกัน ชัชชาติ เป็นคนมีความสามารถทางวิศวกรรมและมีวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจ จนผู้รักประชาธิปไตยพากันคลั่งไคล้ บางคนวาดหวังให้เป็นหัวหน้าพรรค ให้เป็นนายกรัฐมนตรี
ผมเห็นแย้งแต่ไม่เคยโพสต์เพราะกระแสแรงอาจถูกรุมกระทืบ วันนี้ถึงเวลาแล้วที่จะบอกว่าผมเห็นแย้งเพราะอะไร
1.บิดาชัชชาติเป็นหนึ่งในตำรวจที่มีรายชื่อบัญชาการล้อมปราบนักศึกษา 6 ตุลา 19


2.มารดาชัชชาติ นามสกุลกุลละวณิชย์บอกถึงสายสัมพันธ์
3.ชัชชาติ เคยเป็นผู้ช่วยอธิการจุฬาและตำแหน่งบริหารสำนักงานทรัพย์สินจุฬา บอกถึงสายสัมพันธ์
4.ชัชชาติ มีคดีติดตัวจากการทำธุรกิจอยู่ในขณะนี้
มองออกหรือยังว่าเขาควรอยู่ฝ่ายไหน ผมจึงไม่เคยวาดหวังและไว้ใจมาตั้งแต่ต้น แต่เงียบๆ เอาไว้ไม่อยากสวนกระแส”
เรื่องกำพืดชาตุพันธุ์มิควรนำมาใช้ตัดสิน ความมุ่งมั่นและจิตสำนึกทางการเมืองก็ตามที ทว่าหลักเกณฑ์ ‘guilty by association’ มักใช้อธิบายอุบัติการณ์อันทำให้เกิดอาการอกหักได้เสมอ
สภาพแวดล้อม คนในแวดวงสามารถเปลี่ยน ‘conviction and conscience’ ของคนๆ หนึ่งได้เช่นเดียวกับ ‘greed and ambition’ อาการมูมมามและความเห่อเหิม
บางครั้งบางที การที่ผู้อยู่คนละฟากแม่น้ำเลือกลงเรือลำเดียวกันไป มันย่อมพาเขาทั้งสองสู่จุดหมายเดียวกัน ไม่ว่าสองคนนั้นจะเป็นวีระ สมความคิด กับเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ หรือว่าชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับสุเทพ เทือกสุบรรณ
ปะเหมาะพอดี (ต่างกรรมไม่ต่างวาระอีกครั้ง) มีข้อความที่ อธึกกิต แสวงสุข ลงไว้ อ้างว่ามาจาก มิตรสหายท่านหนึ่งซึ่งอาจช่วยให้หายอกหักกันได้บ้าง ลองอ่านดู
“ด้วยความที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ดิฉันจึงมีมิตรสหายเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเหมือนกันเยอะแยะ ดิฉันพบว่า มิตรสหายอาจารย์หลายท่านที่เคยรังเกียจการรัฐประหาร ได้เข้าไปร่วมวงกินเค้กงบไทยแลนด์ 4.0 ในรูปของโครงการวิจัยบ้างล่ะ ในรูปของคณะกรรมการของอะไรสักอย่างบ้างล่ะ
แม้แต่ตัวดิฉันเองก็ถูกกระซิบชักชวนให้ไปร่วมด้วยในโครงการเล็กๆ โครงการหนึ่งในถิ่นภูธร แต่ดิฉันก็ตอบไปตรงๆ ว่าไม่อยากมีชื่อว่าเคยสังฆกรรมใดๆ กับนโยบายของรัฐบาลนี้
ดิฉันได้ถามพวกเขาไปตรงๆ ทำไมพวกเขาจึงทำแบบนี้ ไปรับงานทำไม? พวกเขาให้เหตุผลฟังไพเราะว่า
ก็รู้อยู่แก่ใจว่าพวกนั้นมันโง่ มันไม่รู้เรื่อง ทำอะไรไม่เป็น ขืนปล่อยให้ทำไปตามยถากรรมประเทศก็ฉิบหายกันพอดี ยิ่งไม่เข้าไปทำมันจะยิ่งเละ สู้เข้าไปดีกว่า อย่างน้อยมีนักวิชาการเข้าไปทำ จะได้ประคับประคองประเทศไว้ได้ ตอนนี้ต้องช่วยกันประคองประเทศก่อนไม่ให้ล่มจม เรื่องอุดมการณ์ไว้ที่หลัง
...ดิฉันฟังแล้วถอนใจ รู้สึกสงสารคนตัวเล็กตัวน้อยที่ต้องสู้เพื่อประชาธิปไตยไปเองตามลำพัง เพราะถูกฝูงปัญญาชนชั้นนำทอดทิ้งกลางทาง...
ทุ่งลาเวนเดอร์ไปทางไหนคะ? โปรดบอกดิฉันด้วย ดิฉันจะไปวิ่งเล่น
.................................
(คอมเมนต์ต่อ)
แปลกใจที่นักวิชาการลิเบอรัล ไม่เข้มแข็งเหมือนพวกสายไม่เอาประชาธิปไตย เพราะพวกนั้นเขาชัดเจนว่าไม่ร่วมมือไม่สังฆกรรม เขาต้องการให้เกิด failed state เพื่อไล่ระบอบแม้ว-ปู ให้สิ้นซาก
...ย้ำว่า ถึงทำให้เกิด failed state พวกเขายังทำเลย



2017-09-29
ที่มา ประชาไท ราชกิจจานุเบกษา ประกาศตั้ง คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน 'ชัชชาติ' โผล่นั่งเก้าอี้ กก.ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน พล.อ.ประวิตร ระบุว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ตอบคำถามว่าเป็นจุดเริ่มต้นการปรองดองหรือไม่
ประกาศตั้งคกก.จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน 'ชัชชาติ' โผล่นั่งเก้าอี้
แฟ้มภาพ 29 ก.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เป็นผู้ลงนาม

ประกาศระบุว่า โดยที่ พ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 16 และมาตรา 28 (2) บัญญัติให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อพิจารณาจัดทําร่างยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่างๆ ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติกําหนดและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16 และมาตรา 28 (2) แห่ง พ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในการประชุมเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2560 จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงขอบเขต สถาบันพระมหากษัตริย์ การทหาร อธิปไตย การต่างประเทศ ภัยพิบัติ อาชญากรรม การเข้าเมืองผิดกฎหมาย การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติยาเสพติด การค้ามนุษย์และภัยอื่น ๆ ที่คุกคามความมั่นคงแห่งชาติ

2. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ขอบเขต การค้า การลงทุน การผลิต การบริการ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาพื้นที่พิเศษ โครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ การอํานวยความสะดวกในทางธุรกิจ 3. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ขอบเขต คุณธรรม จริยธรรม การศึกษา สุขภาวะ การพัฒนาสถาบันครอบครัว คุณภาพชีวิต การกีฬา นันทนาการ
4. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ขอบเขต ผู้สูงวัย ความยากจน คนด้อยโอกาส บริการสาธารณสุข ประชารัฐ ตลาดชาวบ้าน เศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจพอเพียง ความเข้มแข็งของชุมชน 5. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขอบเขต ทรัพยากรน้ํา พลังงาน โลกร้อน การปลูกป่า ขยะมูลฝอย การกัดเซาะชายฝั่ง ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหามลภาวะ ระบบนิเวศ ผังเมือง และ 6. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ขอบเขต โครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ การปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนากระบวนการยุติธรรม (ตํารวจอัยการ ศาล ทนายความ ราชทัณฑ์) การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน

โดยปรากฎรายชื่อที่น่าสนใจ เช่น รศ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในส่วนของ คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มี วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นกรรมการ และ ชาญวิทย์ ผลชีวิน เป็นกรรมการ รวมทั้งเลขานุการ คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มี ศิริชัย ไม้งาม เป็นกรรมการ รวมทั้ง รศ.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ เป็นกรรมการใน คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ประกาศระบุด้วยว่า ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการคณะใดยังไม่ครบตามจํานวนที่จะพึงมีตามที่กําหนดในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ อาจมีมติแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในภายหลังได้ รวมทั้งอาจแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ ให้คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวข้างต้นและที่จะแต่งตั้งเพิ่มเติมต่อไป มีหน้าที่และอํานาจดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย ทั้งนี้ ในการดําเนินการจัดทําร่างยุทธศาสตร์ชาติ ให้จัดให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของชาติ ความต้องการและความจําเป็นในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล

และเป้าหมายการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด ตามมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 28 แห่งพ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 โดยให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทําหน้าที่สํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติให้คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติตามประกาศนี้มีวาระการดํารงตําแหน่งห้าปี โดยให้ได้รับค่าตอบแทนค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

ขณะที่ Voice TV รายงานด้วยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุถึงการแต่งตั้ง ชัชชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกฝ่ายสามารถเข้ามาทำงานและมีส่วนร่วมได้ และปฏิเสธที่จะไม่ตอบคำถามว่าเป็นจุดเริ่มต้นการปรองดองหรือไม่

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar