onsdag 19 november 2014

วาทะเด็ดท่านผู้นำ "กระตั้วแทงเสือ " .เมื่อเจอนักศึกษาประท้วง ที่ขอนแก่น ".เมื่อกี้ผมนึกว่ามีการเอาการแสดงมารับผม จริงๆนะ เพราะปกติจะต้องมีการแสดงไอ้นี่มาใหม่เว้ย ทำไมมันใส่ชุดดำ นึกว่ามาเต้นกระตั้วแทงเสือ นึกว่าพี่น้องมาแสดงกัน ไม่เป็นอะไรไม่โกรธแค้นกัน"


by  matichon  Online 
http://www.matichon.co.th/online/2014/11/14163893801416389796l.jpg


เหตุการณ์นี้ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ถึงกับหยุดนิ่งและมองไปที่กลุ่มนักศึกษาดังกล่าว และหัวเราะในลำคอ พร้อมกล่าวทันทีว่า
“เนี๊ยะก็มีแบบนี้ ไม่เป็นไร ค่อยๆพาเขาไป ไม่เป็นอะไรหรอก ไปๆ เดียวเราจะดูแลให้อยู่แล้ว ปัญหาทั้งหมด ไม่ค่อยเข้าใจกันก็ลำบากนะ มีใครมาประท้วงอีกมั้ยละ มาเร็วๆ จะได้พูดซะทีเดียว ถ้าประท้วงกันก็ไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ไม่เกิดอะไรขึ้น ไม่มีผลอะไรทั้งสิ้น ผมว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจพวกเรานะ เข้าใจว่าวันนี้เราจะทำอะไรกัน”เมื่อพูดจบถึงช่วงนี้ ก็ได้รับเสียงปรบมือจากผู้ที่มาร่วมงานจึงได้กล่าวของคุณทันที โดยกล่าวว่า
ขอบคุณนะ เขามาเขาก็มีความคิดของเขาอีกแบบ มีความคิดที่แตกต่างก็ไม่เป็นไรนะ เดียวก็ต้องไปหาข้อยุติกันให้ได้วันนี้เราต้องการเข้ามาทำทุกอย่างให้พี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ผมเคยเป็น ผบ.ทบ.ทุกคนก็เคยรับราชการ ซึ่งเข้าใจงานดี”ขณะเดียวกันช่วงหนึ่งในตอนท้ายของการเปิดงาน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า

"อย่างเหตุการณ์เมื่อสักครู่ ก็น่าจะส่งไปยังศูนย์ดำรงธรรม ถ้ามาอย่างนี้มันไม่ได้ประโยชน์ เมื่อกี้ผมนึกว่ามีการเอาการแสดงมารับผม จริงๆนะ เพราะปกติจะต้องมีการแสดงไอ้นี่มาใหม่เว้ย ทำไมมันใส่ชุดดำ นึกว่ามาเต้นกระตั้วแทงเสือ นึกว่าพี่น้องมาแสดงกัน ไม่เป็นอะไรไม่โกรธแค้นกัน พี่น้องทั้งนั้นคนไทยทั้งสิ้น คนไทยไม่รักคนไทยด้วยกันแล้วใครจะมารักเรา ถ้าเราไม่ร่วมมือกันแล้วใครจะมาทำให้เรา ถ้ารัฐบาลไม่ช่วยและดูแลประชาชนใครจะดู ขอฝากไปถังพี่น้องซึ่งไม่ได้มาด้วย ขอให้กำลังใจกับข้าราชการที่ทำงาน อะไรที่เป็นเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ก็ขอให้เลิก ใครจะมาอ้างผมเรื่องผลประโยชน์ยืนยันว่าไม่มี ผมไม่ต้องการผลประโยชน์สลึงเดียวก็ไม่เอา"





ด้วยวลี "กระตั้วแทงเสือ" ทำให้สังคมออนไลน์ สงสัยเป็นอย่างยิ่งว่า มันคืออะไรกันแน่ การละเล่นเต้นกระตั้วแทงเสือแบบที่ ท่านนายกฯ กล่าวเปรียบเปรย มติชนออนไลน์ จึงขอนำเสนอข้อมูลดังนี้ ศูนย์กลางกระทรวงวัฒนธรรม
ได้เผยแพร่ข้อมูล การเต้นกระตั้วแทงเสือ ของตำปากจั่น อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เพราะหากเอ่ยถึง "กระตั้วแทงเสือ" น้อยคนนักที่จะรู้จักการแสดงศิลปวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง เป็นศิลปะการแสดงเก่าแก่ของไทยที่สืบทอดมาแต่โบราณ แต่ระยะหลังๆ เด็กรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสได้รับชม และเรียนรู้มากนัก
โดยจะใช้ เครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบการแสดงกระตั้วแทงเสือ มี กลองโทน กลองตุ๊ก ฉิ่ง ฉาบ กลับ โหม่ง และหนิงหน่อง

เรื่องกระตั้วแทงเสือเป็นนิยายพื้นบ้าน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณมีสืบทอดกันมาส่วนทำนองลีลาการร้องมาจากทางภาคใต้มีทั้งดนตรีประกอบ บทพากย์ บทร้องและบทเจรจา โดยมีตัวแสดงดังต่อไปนี้

๑.นายพรานหรือนายบ้องตัน มีอาวุธเป็นหอก และมีคาถาอาคม

๒.เมียนายพราน มีชื่อว่านางประแดะ ในมือจะถือกระจาดใส่ผลไม้

๓.ลูกของนายพรานและนางประแดะมี ๒ คน ชื่อ เจ้าโก๊ะ กับเจ้าแกะ ทั้งสองคนจะมีอาวุธเป็นขวานและมีดโต้

๔.นักแสดงที่แสดงเป็นเสือ

สำหรับเนื้อเรื่องของการแสดงมีอยู่ว่ามีเมืองอยู่เมืองหนึ่งในเมืองมีเหตุร้ายคือมีเสือได้ออกอาละวาดกัดประชาชนและชาวบ้านจนได้รับบาดเจ็บและล้มตายไปจนเรื่องเสือที่ออกอาละวาดรู้มาถึงหูท่านเจ้าเมืองท่านเจ้าเมืองได้ออกประกาศว่าถ้าใครมีความสามารถปราบเจ้าเสือร้ายได้จะมีรางวัลให้ส่วนเจ้าบ้องตันนั้นเมื่อทราบตามที่เจ้าเมืองก็ขออาสาไปปราบเจ้าเสือร้ายเองโดยทูลขอรางวัลเป็นพิเศษหากตนปราบเจ้าเสือร้ายได้ส่วนเจ้าเมืองก็ตกลงตามที่เจ้าบ้องตันขอ ฉะนั้นเจ้าบ้องตันก็ออกไปปราบเสือกับเมียและลูกคือเจ้าโก๊ะ กับเจ้าแกะ พอไปถึงกลางป่าก็พบกับเจ้าเสือร้ายจึงเกิดการต่อสู้กัน แต่เจ้าบ้องตันเป็นผู้มีวิชาคาถาอาคมจึงสามารถปราบเจ้าเสือร้ายลงได้ เมื่อเจ้าบ้องตันปราบเสือร้ายลงไปก็กลับเข้าเมืองไปรับรางวัลจากเจ้าเมือง

ขณะเดียวกันก็มีตัวเสือที่สวมหัวโขนมากระโดดโลดเต้น แสดงลีลาผาดโผนที่ผู้แสดงต้องฝึกฝนมาอย่างดี ที่สำคัญกระตั้วแทงเสือ เป็นศิลปวัฒนธรรมที่นิยมแสดงในงานมงคล และเทศกาลสงกรานต์


แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ทางการเมืองที่ท่านนายกฯ เปรียบเทียบ จะดูเหมือนการละเล่น กระตั้วแทงเสือ หรือไม่ ประชาชน คงจะต้องตัดสินใจจากข้อมูลเอาเอง และนี่อาจเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้วัฒนธรรมไทยไม่สูญหายไปไหน และอาจเป็นไปตามโรดแม็ปค่านิยม12ประการที่รัฐบาลกำลังปลูกฝังอยู่ด้วย ปรากฏการณ์นี้อาจแสดงให้เห็นว่า

วัฒนธรรมวิถีไทยจะไม่เลือนหายไปตราบที่ยังมีคนให้ความสำคัญอยู่นั่นเอง


ภาพประกอบกระตั้วแทงเสือ:จากข่าวสด,เว็บไซต์กระทรวงวัฒนธรรม

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar