söndag 10 september 2017

Chaturon Chaisang : ยุทธศาสตร์ชาติ

Image may contain: 1 person, text
ยุทธศาสตร์ชาติ
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ “ยุทธศาสตร์ชาติ” เริ่มดังขึ้นๆ และก็น่าดีใจที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญกับข่าวการวิพากษ์วิจารณ์นี้มากทีเดียว
การกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติที่มีผลยาวนาน “ไม่น้อยกว่า 20 ปี” นี้ มีปัญหาในหลายแง่มุม แต่รากฐานของปัญหาทั้งหมดมาจากแนวความคิดที่คสช.และพวกต้องการที่จะเป็นผู้กำหนดทิศทางและความเป็นไปในการบริหารประเทศเสียเอง ทั้งโดยการจัดทำให้มียุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทขึ้น ทั้งยังได้สร้างระบบและกลไกที่มีอำนาจอย่างมากขึ้นมาเพื่อกำกับให้หน่วยงานของรัฐทั้งหลายต้องทำตามยุทธศาตร์และแผนแม่บทนี้อย่างเคร่งครัด
พูดอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การสืบทอดอำนาจคสช.อย่างเป็นระบบและทรงประสิทธิภาพนั่นเอง
หากรัฐบาลหลังการเลือกตั้งเป็นรัฐบาลที่นำโดยคนนอก พูดตรงๆ ก็คือ นำโดยคนของคสช. การบริหารงานของรัฐบาลคงไม่ขัดแย้งกับยุทธศาสตร์ชาติ จะมีปัญหาก็ตรงที่ยุทธศาสตร์ชาติ ล้าหลังไม่สอดคล้องกับการพัฒนาของโลกและของประเทศไทยเอง ประเทศไทยก็จะล้าหลังต่อไปอย่างยั่งยืน
แต่ถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลคงไม่เป็นอันทำอะไร นอกจากคอยดูว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ถูกลงโทษเนื่องจากไม่ทำตามยุทธศาสตร์ชาติ ครั้นจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทก็จะเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ บ้านเมืองก็จะล้าหลังต่อไปแบบไม่มีอนาคต
โลกในปัจจุบันนี้และในอนาคตข้างหน้าเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆนั้นเกิดขึ้นทุกวินาทีก็ว่าได้ การผลิตหรือธุรกิจต่างๆจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้เป็นความจำเป็นที่ประเทศต่างๆจะต้องปรับตัวทั้งในทางโครงสร้างและกฎกติกาต่างๆให้เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลงของการผลิตหรือธุรกิจต่างๆที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ
ไม่มีการปฏิรูปใดเกิดขึ้นใน 3 ปีกว่าที่ผ่านมา แม้แต่ตัวอย่างที่ชัดเจนสักเรื่องก็ไม่มี หลายเรื่องก็ดูจะเป็นการสร้างอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือกระทั่งถอยหลังด้วยซ้ำไป
การมียุทธศาสตร์ชาติที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวางไปเกือบทุกด้านเป็นเวลายาวนานและยากที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง กำลังจะทำให้ประเทศไทยที่ไม่ทันโลกอยู่แล้ว จะล้าหลังและไม่สามารถปรับตัวได้ในอนาคต
เรื่องของยุทธศาสตร์ชาตินี้ยังมีปัญหาในอีกหลายประเด็นที่จะคุยกันต่อไป มีเรื่องหนึ่งสำหรับท่านที่สนใจมองปัญหาในเชิงระบบ อาจหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ในกฎหมายว่าด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติดู ก็จะพบว่าเรื่องยุทธศาสตร์ชาตินี้ จะมีผลต่ออนาคตของประเทศกว้างขวางกว่าที่เคยคิดมาก่อนมากนัก
เรื่องของยุทธศาตร์ชาตินี้เป็นระบบที่แปลกประหลาดทั้งองค์ประกอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่มีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานวุฒิสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมาเป็นรองประธานคณะกรรมการอยู่ด้วย และหน่วยงานของรัฐที่จะได้รับผลจากยุทธศาสตร์และแผนแม่บทยังครอบคลุมถึงฝ่ายนิติบัญญัติ ตุลาการและองค์กรอิสระทั้งหลายด้วย
เรียกว่าเป็นการจัดความสัมพันธ์ที่สับสนระหว่างอำนาจอธิปไตยทั้งสาม คือฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ รวมทั้งองค์กรอิสระซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอำนาจอธิปไตยที่เท่าไหร่
แง่มุมอื่น ขอไว้คุยกันวันพรุ่งนี้มะรืนนี้ครับ
.......
ในภาพอาจจะมี 1 คน, ข้อความ 

September 6 at 11:32pm  
ยุทธศาสตร์ชาติของคสช.
ยังมีแง่มุมต่อเนื่องจากบทความก่อนนี้ครับ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรกับรองประธานวุฒิสภาและรองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน มีองค์ประกอบที่ผสมกันระหว่างตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่สำคัญและน่าสนใจเป็นพิเศษ คือตัวแทนหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งหลาย ซึ่งเกือบทั้งหมดก็เป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่งด้วย นอกนั้นก็มีตัวแทนองค์กรทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นองค์กรหลักๆและผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆที่ครม.แต่งตั้ง  ...คลิก- ดูเพิ่มเติม
ยุทธศาสตร์ชาติของคสช.
ยังมีแง่มุมต่อเนื่องจากบทความก่อนนี้ครับ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรกับรองประธานวุฒิสภาและรองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน มีองค์ประกอบที่ผสมกันระหว่างตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่สำคัญและน่าสนใจเป็นพิเศษ คือตัวแทนหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งหลาย ซึ่งเกือบทั้งหมดก็เป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่งด้วย นอกนั้นก็มีตัวแทนองค์กรทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นองค์กรหลักๆและผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆที่ครม.แต่งตั้ง  คลิกอ่านต่อ... See More

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar