คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง ๕ ปีที่เห็น “มือ”
โดย กาหลิบ
๑๙
กันยายนของทุกปีจากนี้ไป
คือวันการเมืองที่ต้องนำมาตีความทางประวัติศาสตร์การเมืองกันอย่างจริงจัง
แต่ละปีที่มวลชนไทยร่วมต่อสู้และได้รับอิสรภาพและความเป็นธรรมเพิ่มขึ้น
ก็จะเกิดข้อมูลและหลักฐานที่ชัดเจนขึ้น
ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมวลชนก็จะกระจ่างใสขึ้นโดยลำดับ
ความเข้าใจ หรือโดยศัพท์ปัจจุบันคือ “ตาสว่าง” จะ
เกิดรวดเร็วกว่าเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ โศกนาฏกรรม ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
และพฤษภาทมิฬเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ด้วยซ้ำ
เพราะอำนาจควบคุมความเข้าใจทางสังคมกำลังค่อยๆ
หลุดมือจากผู้เผด็จการเบ็ดเสร็จของไทยมาสู่สาธารณชน
การทำให้คิดไปในทางเดียวกันโดยไม่กล้าคิดแย้ง หรือมีปัญญาก็ไม่กล้าใช้
เริ่มลดลง
หลาย
ท่านได้เขียนหรือพูดเพื่อตีความเหตุการณ์รัฐประหารไปแล้ว
และควรสนับสนุนให้อีกหลายท่านออกมาแสดงความเห็นอีก เวลาผ่านมาแล้ว ๕
ปีแต่มวลชนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับ “อนุญาต” ให้
รู้ว่าการปล้นอำนาจอธิปไตยเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ เกิดจากปมใดเป็นหลัก
ได้ยินแต่บทละครเรื่องเดิมว่าต้องยึดอำนาจก่อนที่รัฐบาลของประชาชนจะกลาย
เป็น “เผด็จการ” เท่านั้น
หลักคิดนี้ก็แปลกดี เพราะผู้ที่ออกมายึดอำนาจรัฐประหารรัฐบาลของประชาชนได้ คงไม่ถือว่าตัวเป็นประชาชน แล้วคนเหล่านี้คือใคร ในหมู่ “พวกเขา” ใครเป็นนาย ใครเป็นบ่าว ใครเป็นนาย ใครเป็นพล เขาแบ่งหน้าที่และจัดสรรผลประโยชน์เพื่อป้องกันความขัดแย้งกันเองอย่างไร
คำว่า “อำมาตย์” จึงถูกนำมาใช้งานอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เพื่อเป็นตัวแทนของความรู้สึกที่มวลชนมีต่อชนชั้นที่อยู่เหนือกว่าตน
ส่วน “อำมาตย์” มีชนชั้นภายในระบอบอันฉ้อฉลของตนอย่างไร มวลชนก็ค่อยๆ เรียนรู้เพิ่มและทำความเข้าใจมาโดยลำดับ
สิ่ง
นี้คือวุฒิภาวะทางประชาธิปไตยของไทย
ซึ่งจะเกิดช้ามากหรือไม่เกิดเลยหากไม่มีรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
เพราะองค์ประกอบอื่นๆ ของการยึดอำนาจนั้นซับซ้อนและมองยากกว่า
ไม่ว่าจะเป็นการโหมโรงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
การข่มขู่คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามจนต้องติดคุกโทษฐานที่ไม่รับคำสั่ง
ตน การกดดันให้นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกหรือพักงานของตัวเองไปช่วงหนึ่ง
การยกเลิกผลการเลือกตั้งที่มวลชนแสดงเจตนารมณ์แล้ว
การทำลายอย่างมีระบบโดยฝีมือตุลาการและองค์กรอิสระ
แต่ทหารที่เคลื่อนพลและอาวุธออกมายึดอำนาจนั้นมองเห็นได้ชัดกว่ามาก
โดย
ภาพรวมแล้ว ภาพอำพรางของระบอบการปกครองที่เป็นจริงของไทย
ใช้เวลานานหลายสิบปีเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ เข้าเป็นระบบเดียวกัน
และยังทดลองใช้แบบลองผิดลองถูกมาตลอดกว่าจะลงตัวและนำมาใช้ซ้ำได้อย่างมั่น
ใจ แต่มวลชนใช้เวลาเพียงห้าปีในการถอดรหัส
จะเกลียดชังการรัฐประหารอย่างไรก็ตาม แต่ปิศาจตนนี้เป็นเหตุให้มวลชนไทยยกระดับความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
เรียกอย่างฝรั่งว่า “necessary evil” หรือ “ปิศาจที่จำเป็น” ก็ยังได้
อรรถ
ประโยชน์ของการรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙
จึงเกี่ยวพันกับองค์ความรู้ทางประชาธิปไตย
ถึงตัวการรัฐประหารจะเป็นเพียงเครื่องมือหรือกลไกอีกชิ้นหนึ่งก็จริง
แต่ทำให้ผู้สังเกตการณ์อย่างเราๆ ท่านๆ
มองเห็นเครื่องจักรใหญ่หรือโรงงานทั้งโรงได้อย่างกระจะตา
แล้วดูสิว่า เมื่อมวลชนรู้ทันและตาสว่างแล้วการพัฒนาประชาธิปไตยไทยเกิดขึ้นได้รวดเร็วขนาดไหน
เอา
ห้าปีมาสู้กับหลายสิบปีอย่างไรก็สู้ได้
แล้วยังอีกห้าปีหรือสิบปีต่อไปอีกเล่า
ระดับความรู้และความเข้าใจจะเพิ่มขึ้นไปถึงไหน
ถึงผู้คนที่วางแผนโฆษณาชวนเชื่ออยู่ในขณะนี้
จนสื่อโฆษณาล้นทะลักไปทั้งจอเงิน จอแก้ว สิ่งพิมพ์ จนถึงข้างตึก
จะทำงานเต็มที่ (และโกยเงินกันเต็มที่) แต่ลึกๆ
ต่างก็กลัวอยู่ในใจว่าจะสู้ความเร็วของการเรียนรู้ภาคประชาชนไม่ไหว
ข้อเสนอ “ปรองดอง” ถึง
ได้เกิดขึ้น ในฐานะยุทธวิธีเพื่อดำรงสถานภาพ
ไม่ใช่เพื่อแก้ไขปัญหาอันแท้จริงของประเทศ
และเมื่อเกิดขึ้นแล้วมวลชนส่วนใหญ่เขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยว่าจะเป็นไปได้
จริงหรือ ก็เห็นฆ่าฟันกันโครมๆ
อย่างไม่เห็นแก่ชีวิตเลือดเนื้อของประชาชนอย่างนี้แล้ว
จะให้เขาเชื่อได้ ผู้เผด็จการไทยจะต้องลงทุนและเสียสละมากกว่าเงื่อนไขในกรอบ “ปรองดอง”
โดยเฉพาะเมื่อยุทธศาสตร์ “มือที่มองไม่เห็น” มันพังพินาศไปแล้ว.
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง ๕ ปีที่เห็น “มือ”
โดย กาหลิบ
๑๙
กันยายนของทุกปีจากนี้ไป
คือวันการเมืองที่ต้องนำมาตีความทางประวัติศาสตร์การเมืองกันอย่างจริงจัง
แต่ละปีที่มวลชนไทยร่วมต่อสู้และได้รับอิสรภาพและความเป็นธรรมเพิ่มขึ้น
ก็จะเกิดข้อมูลและหลักฐานที่ชัดเจนขึ้น
ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมวลชนก็จะกระจ่างใสขึ้นโดยลำดับ
ความเข้าใจ หรือโดยศัพท์ปัจจุบันคือ “ตาสว่าง” จะ
เกิดรวดเร็วกว่าเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ โศกนาฏกรรม ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
และพฤษภาทมิฬเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ด้วยซ้ำ
เพราะอำนาจควบคุมความเข้าใจทางสังคมกำลังค่อยๆ
หลุดมือจากผู้เผด็จการเบ็ดเสร็จของไทยมาสู่สาธารณชน
การทำให้คิดไปในทางเดียวกันโดยไม่กล้าคิดแย้ง หรือมีปัญญาก็ไม่กล้าใช้
เริ่มลดลง
หลาย
ท่านได้เขียนหรือพูดเพื่อตีความเหตุการณ์รัฐประหารไปแล้ว
และควรสนับสนุนให้อีกหลายท่านออกมาแสดงความเห็นอีก เวลาผ่านมาแล้ว ๕
ปีแต่มวลชนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับ “อนุญาต” ให้
รู้ว่าการปล้นอำนาจอธิปไตยเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ เกิดจากปมใดเป็นหลัก
ได้ยินแต่บทละครเรื่องเดิมว่าต้องยึดอำนาจก่อนที่รัฐบาลของประชาชนจะกลาย
เป็น “เผด็จการ” เท่านั้น
หลักคิดนี้ก็แปลกดี เพราะผู้ที่ออกมายึดอำนาจรัฐประหารรัฐบาลของประชาชนได้ คงไม่ถือว่าตัวเป็นประชาชน แล้วคนเหล่านี้คือใคร ในหมู่ “พวกเขา” ใครเป็นนาย ใครเป็นบ่าว ใครเป็นนาย ใครเป็นพล เขาแบ่งหน้าที่และจัดสรรผลประโยชน์เพื่อป้องกันความขัดแย้งกันเองอย่างไร
คำว่า “อำมาตย์” จึงถูกนำมาใช้งานอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เพื่อเป็นตัวแทนของความรู้สึกที่มวลชนมีต่อชนชั้นที่อยู่เหนือกว่าตน
ส่วน “อำมาตย์” มีชนชั้นภายในระบอบอันฉ้อฉลของตนอย่างไร มวลชนก็ค่อยๆ เรียนรู้เพิ่มและทำความเข้าใจมาโดยลำดับ
สิ่ง
นี้คือวุฒิภาวะทางประชาธิปไตยของไทย
ซึ่งจะเกิดช้ามากหรือไม่เกิดเลยหากไม่มีรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
เพราะองค์ประกอบอื่นๆ ของการยึดอำนาจนั้นซับซ้อนและมองยากกว่า
ไม่ว่าจะเป็นการโหมโรงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
การข่มขู่คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามจนต้องติดคุกโทษฐานที่ไม่รับคำสั่ง
ตน การกดดันให้นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกหรือพักงานของตัวเองไปช่วงหนึ่ง
การยกเลิกผลการเลือกตั้งที่มวลชนแสดงเจตนารมณ์แล้ว
การทำลายอย่างมีระบบโดยฝีมือตุลาการและองค์กรอิสระ
แต่ทหารที่เคลื่อนพลและอาวุธออกมายึดอำนาจนั้นมองเห็นได้ชัดกว่ามาก
โดย
ภาพรวมแล้ว ภาพอำพรางของระบอบการปกครองที่เป็นจริงของไทย
ใช้เวลานานหลายสิบปีเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ เข้าเป็นระบบเดียวกัน
และยังทดลองใช้แบบลองผิดลองถูกมาตลอดกว่าจะลงตัวและนำมาใช้ซ้ำได้อย่างมั่น
ใจ แต่มวลชนใช้เวลาเพียงห้าปีในการถอดรหัส
จะเกลียดชังการรัฐประหารอย่างไรก็ตาม แต่ปิศาจตนนี้เป็นเหตุให้มวลชนไทยยกระดับความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
เรียกอย่างฝรั่งว่า “necessary evil” หรือ “ปิศาจที่จำเป็น” ก็ยังได้
อรรถ
ประโยชน์ของการรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙
จึงเกี่ยวพันกับองค์ความรู้ทางประชาธิปไตย
ถึงตัวการรัฐประหารจะเป็นเพียงเครื่องมือหรือกลไกอีกชิ้นหนึ่งก็จริง
แต่ทำให้ผู้สังเกตการณ์อย่างเราๆ ท่านๆ
มองเห็นเครื่องจักรใหญ่หรือโรงงานทั้งโรงได้อย่างกระจะตา
แล้วดูสิว่า เมื่อมวลชนรู้ทันและตาสว่างแล้วการพัฒนาประชาธิปไตยไทยเกิดขึ้นได้รวดเร็วขนาดไหน
เอา
ห้าปีมาสู้กับหลายสิบปีอย่างไรก็สู้ได้
แล้วยังอีกห้าปีหรือสิบปีต่อไปอีกเล่า
ระดับความรู้และความเข้าใจจะเพิ่มขึ้นไปถึงไหน
ถึงผู้คนที่วางแผนโฆษณาชวนเชื่ออยู่ในขณะนี้
จนสื่อโฆษณาล้นทะลักไปทั้งจอเงิน จอแก้ว สิ่งพิมพ์ จนถึงข้างตึก
จะทำงานเต็มที่ (และโกยเงินกันเต็มที่) แต่ลึกๆ
ต่างก็กลัวอยู่ในใจว่าจะสู้ความเร็วของการเรียนรู้ภาคประชาชนไม่ไหว
ข้อเสนอ “ปรองดอง” ถึง
ได้เกิดขึ้น ในฐานะยุทธวิธีเพื่อดำรงสถานภาพ
ไม่ใช่เพื่อแก้ไขปัญหาอันแท้จริงของประเทศ
และเมื่อเกิดขึ้นแล้วมวลชนส่วนใหญ่เขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยว่าจะเป็นไปได้
จริงหรือ ก็เห็นฆ่าฟันกันโครมๆ
อย่างไม่เห็นแก่ชีวิตเลือดเนื้อของประชาชนอย่างนี้แล้ว
จะให้เขาเชื่อได้ ผู้เผด็จการไทยจะต้องลงทุนและเสียสละมากกว่าเงื่อนไขในกรอบ “ปรองดอง”
โดยเฉพาะเมื่อยุทธศาสตร์ “มือที่มองไม่เห็น” มันพังพินาศไปแล้ว.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar