นักการเมืองตู่ (เบอร์ 0) (คอลัมน์ ใบตองแห้ง หน้า 6 นสพ. …
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยอมรับแล้วว่าเป็น นักการเมือง และต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะไม่ใช่ทหาร แต่เคยเป็นทหารก็ติดนิสัยทหารอยู่บ้าง
นั่นทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ท่านพูดอยู่ตลอดว่าไม่ใช่นักการเมือง ถึงได้เป็นคนจริงใจ แม้พูดอะไรไม่สุภาพไปบ้าง แต่วันนี้ท่านจะเปลี่ยนแปลงแล้วนะครับ ยิ้มหวานเสียด้วย
ก็ถือเป็นเรื่องดี ที่หัวหน้า คสช.ประกาศตัวเป็นนักการเมืองรับปีเลือกตั้ง ซึ่งเดี๋ยวๆ ก็ยืนยันมีเลือกตั้งตามโรดแม็ป แต่เดี๋ยวๆ ก็บอกถ้ายังขัดแย้งกัน จะไม่มีเลือกตั้ง ไม่รู้เอายังไงแน่
แหม่ ถ้าสังคมไม่ขัดแย้ง ไม่คิดต่าง จะมีเลือกตั้งแข่งขันไปทำไมละครับ ท่านพูดเหมือนกับสังคมประชาธิปไตยต้องพับเพียบพนมมือถือศีลกินเจ ไม่ใช่สังคมทุนนิยมที่แก่งแย่งช่วงชิงอำนาจผลประโยชน์กัน
ที่สำคัญ ความขัดแย้งครั้งใหม่ในการไปสู่เลือกตั้ง ยังมีตัวท่านเป็นศูนย์กลาง อย่างที่ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ฟันธงว่าคำสั่ง คสช.เซ็ตซีโร่สมาชิกพรรคการเมือง ทำให้การเมืองแบ่งข้างใหม่ เป็นฝ่ายเชียร์ทหารกับไม่เชียร์ทหาร
ไม่ว่าจะมีเลือกตั้งหรือไม่มี การเมืองก็แบ่งข้างใหม่แล้ว ไม่ต้องเป็นนักวิชาการ ชาวบ้านทั่วไปก็เห็นนักการเมืองเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ยืนซัด คสช.อยู่คนละด้าน เช่นเดียวกับไม่ต้องเป็นโหร ก็เห็นได้ว่าพี่ป้อมน้องตู่กำลังมีเคราะห์
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ยังแยกว่ามี 3 ขั้วเป็น ศึกสามก๊ก เพื่อไทย Vs ประชาธิปัตย์ Vs พรรคใหม่+ส.ว.แต่งตั้ง แต่ปู่พิชัยก๊อบตำราขงเบ้งมาแนะนำ ให้เล่าปี่กับซุนกวนจับมือกันต้านโจโฉ เอ๊ย ทวงคืนประชาธิปไตยจากทหาร
การเมืองมาถึงจุดที่ต้องเปิดหน้าสู้กันโต้งๆ แล้ว
อย่ากระมิดกระเมี้ยนอยู่เลย เปิดเผยซะดีกว่า สังคมไทยไม่ว่าหรอก
ถ้ามีใครตั้งพรรคใหม่ ประกาศหนุนลุงตู่เป็นนายกฯ คนนอก รวมถึงพรรคเก่า
หรือรวบนักการเมืองเก่า อย่างพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมา
หรือตระกูลสะสมทรัพย์ ฯลฯ ชูลุงตู่เบอร์ 0 (ไซซ์จัมโบ้) แข่งกับ 2 พรรคใหญ่
เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ที่อาจประกาศไม่ญาติดีกันจนชาติหน้าตอนบ่ายๆ
แต่ให้สัตยาบัน ไม่เอานายกฯ คนนอก ทั้งคู่
เปิดหน้าไปเลยครับ สังคมไทยรับได้อยู่แล้ว ให้แต้มต่อ 250 ส.ว.อีกต่างหาก รู้กันตั้งแต่ตอนประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ว่าจะมีนายกฯ คนนอก รู้ด้วยว่าใคร เพียงแต่ไม่คิดว่าจะลากยาว แก้กติกากลับไปกลับมา ลากยาวจนเกิดวิกฤตนาฬิกา
ต้องเข้าใจนะว่าสังคมไทยไม่แยแสหลักการนักหรอก ถึงคราวคับขันก็เอาตัวรอด เอาประโยชน์เฉพาะหน้า จึงลงประชามติรับร่าง แต่ขณะเดียวกันก็มีจริตบางอย่าง บวกอารมณ์ผันผวนที่น่ากลัว แบบขอกันตรงๆ ก็หยวนยอม แต่ถ้าซิกแซ็กอ้อมไปอ้อมมา เดี๋ยวจะพานแอนตี้
ฉะนั้นถ้ามีเลือกตั้งตามคำมั่นสัญญา มีพรรคใหม่เกิดขึ้นมาตาม 6 คำถาม มีการแข่งขันอย่างค่อนข้างแฟร์ (แม้โดยกติกายังไงก็ไม่แฟร์) กกต.เป็นกลาง อำนาจรัฐเป็นกลาง ตำรวจทหารเป็นกลาง ไม่หาเหตุขัดขวางจับกุมใคร ได้ส.ส.มาซัก 150 คน ยกมือรวมกับ 250 ส.ว. ผู้คนก็จะยอมรับ
แต่ถ้าหาเหตุโน่นนี่ อ้างไม่สงบ อ้างขัดแย้ง หรือแกล้งคว่ำกฎหมายจนไม่ได้เลือกตั้ง หรือแก้กฎกติกาจนสังคมเห็นว่าได้เปรียบบานตะไทอยู่ยังเอาเปรียบกันอีก ก็ระวังไว้
การเมืองจากนี้ไปจะแยก 2 ขั้วชัดเจน เชียร์ทหาร ไม่เชียร์ทหาร แม้จริงๆ มี 3 ก๊กอย่างจุรินทร์ว่า คือยังมีพวกที่เป่าปี๊ดๆ เรียกทหารมาแล้วอกหัก ถูกถีบจากขั้วอำนาจ แต่ใครยังเชียร์ คสช.ไหมก็จะเริ่มแยกชัด ไม่ว่าสื่อ ดาราเซเลบ คนชั้นกลางระดับบนคนมั่งมี หรือนักวิชาการ ที่นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ เย้ยว่าอย่าปากดีแต่กับรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้ง
พล.อ.ประยุทธ์พยายามจะบอกว่าท่านไม่ใช่ทหารแล้ว อย่ามองว่าอะไรก็ทหาร รัฐบาลนี้ไม่ใช่ทหารทั้งหมด ต้องดูว่าเป็นการสร้างความเกลียดชังให้ทหารหรือไม่ แต่พูดยังไงก็ปฏิเสธความจริงไม่ได้ ท่านมาจากรัฐประหาร ใช้กำลังทหารขึ้นสู่อำนาจ ทุกวันนี้ก็มีกองทัพเป็นเสาค้ำ
จริงๆ แล้วท่านเป็น นักการเมือง ตั้งแต่วันแรกที่ยึดอำนาจ เพียงแต่ไม่ใช่นักการเมืองจากเลือกตั้ง เป็นนักการเมืองตัวแทนกองทัพ เข้ามาจัดโครงสร้างอำนาจใหม่ ตามอุดมคติและวิสัยทัศน์ของสถาบันกองทัพ สร้างรัฐแห่งความมั่นคง ที่มีกองทัพเป็นศูนย์กลาง (แถมมีเรือดำน้ำ รถถัง)
ท่านกับกองทัพผูกชะตาร่วมกัน ถ้าโครงสร้างอำนาจนี้เดินหน้าต่อเนื่อง ใครเป็น ผบ.ทบ.ปีพ.ศ.2580 ก็ยังกุมอำนาจมั่นคง แต่ถ้าพลิกผันระวังจะเกิดกระแส ปฏิรูปกองทัพ ท่วมท้น
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยอมรับแล้วว่าเป็น นักการเมือง และต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะไม่ใช่ทหาร แต่เคยเป็นทหารก็ติดนิสัยทหารอยู่บ้าง
นั่นทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ท่านพูดอยู่ตลอดว่าไม่ใช่นักการเมือง ถึงได้เป็นคนจริงใจ แม้พูดอะไรไม่สุภาพไปบ้าง แต่วันนี้ท่านจะเปลี่ยนแปลงแล้วนะครับ ยิ้มหวานเสียด้วย
ก็ถือเป็นเรื่องดี ที่หัวหน้า คสช.ประกาศตัวเป็นนักการเมืองรับปีเลือกตั้ง ซึ่งเดี๋ยวๆ ก็ยืนยันมีเลือกตั้งตามโรดแม็ป แต่เดี๋ยวๆ ก็บอกถ้ายังขัดแย้งกัน จะไม่มีเลือกตั้ง ไม่รู้เอายังไงแน่
แหม่ ถ้าสังคมไม่ขัดแย้ง ไม่คิดต่าง จะมีเลือกตั้งแข่งขันไปทำไมละครับ ท่านพูดเหมือนกับสังคมประชาธิปไตยต้องพับเพียบพนมมือถือศีลกินเจ ไม่ใช่สังคมทุนนิยมที่แก่งแย่งช่วงชิงอำนาจผลประโยชน์กัน
ที่สำคัญ ความขัดแย้งครั้งใหม่ในการไปสู่เลือกตั้ง ยังมีตัวท่านเป็นศูนย์กลาง อย่างที่ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ฟันธงว่าคำสั่ง คสช.เซ็ตซีโร่สมาชิกพรรคการเมือง ทำให้การเมืองแบ่งข้างใหม่ เป็นฝ่ายเชียร์ทหารกับไม่เชียร์ทหาร
ไม่ว่าจะมีเลือกตั้งหรือไม่มี การเมืองก็แบ่งข้างใหม่แล้ว ไม่ต้องเป็นนักวิชาการ ชาวบ้านทั่วไปก็เห็นนักการเมืองเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ยืนซัด คสช.อยู่คนละด้าน เช่นเดียวกับไม่ต้องเป็นโหร ก็เห็นได้ว่าพี่ป้อมน้องตู่กำลังมีเคราะห์
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ยังแยกว่ามี 3 ขั้วเป็น ศึกสามก๊ก เพื่อไทย Vs ประชาธิปัตย์ Vs พรรคใหม่+ส.ว.แต่งตั้ง แต่ปู่พิชัยก๊อบตำราขงเบ้งมาแนะนำ ให้เล่าปี่กับซุนกวนจับมือกันต้านโจโฉ เอ๊ย ทวงคืนประชาธิปไตยจากทหาร
เปิดหน้าไปเลยครับ สังคมไทยรับได้อยู่แล้ว ให้แต้มต่อ 250 ส.ว.อีกต่างหาก รู้กันตั้งแต่ตอนประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ว่าจะมีนายกฯ คนนอก รู้ด้วยว่าใคร เพียงแต่ไม่คิดว่าจะลากยาว แก้กติกากลับไปกลับมา ลากยาวจนเกิดวิกฤตนาฬิกา
ต้องเข้าใจนะว่าสังคมไทยไม่แยแสหลักการนักหรอก ถึงคราวคับขันก็เอาตัวรอด เอาประโยชน์เฉพาะหน้า จึงลงประชามติรับร่าง แต่ขณะเดียวกันก็มีจริตบางอย่าง บวกอารมณ์ผันผวนที่น่ากลัว แบบขอกันตรงๆ ก็หยวนยอม แต่ถ้าซิกแซ็กอ้อมไปอ้อมมา เดี๋ยวจะพานแอนตี้
ฉะนั้นถ้ามีเลือกตั้งตามคำมั่นสัญญา มีพรรคใหม่เกิดขึ้นมาตาม 6 คำถาม มีการแข่งขันอย่างค่อนข้างแฟร์ (แม้โดยกติกายังไงก็ไม่แฟร์) กกต.เป็นกลาง อำนาจรัฐเป็นกลาง ตำรวจทหารเป็นกลาง ไม่หาเหตุขัดขวางจับกุมใคร ได้ส.ส.มาซัก 150 คน ยกมือรวมกับ 250 ส.ว. ผู้คนก็จะยอมรับ
แต่ถ้าหาเหตุโน่นนี่ อ้างไม่สงบ อ้างขัดแย้ง หรือแกล้งคว่ำกฎหมายจนไม่ได้เลือกตั้ง หรือแก้กฎกติกาจนสังคมเห็นว่าได้เปรียบบานตะไทอยู่ยังเอาเปรียบกันอีก ก็ระวังไว้
การเมืองจากนี้ไปจะแยก 2 ขั้วชัดเจน เชียร์ทหาร ไม่เชียร์ทหาร แม้จริงๆ มี 3 ก๊กอย่างจุรินทร์ว่า คือยังมีพวกที่เป่าปี๊ดๆ เรียกทหารมาแล้วอกหัก ถูกถีบจากขั้วอำนาจ แต่ใครยังเชียร์ คสช.ไหมก็จะเริ่มแยกชัด ไม่ว่าสื่อ ดาราเซเลบ คนชั้นกลางระดับบนคนมั่งมี หรือนักวิชาการ ที่นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ เย้ยว่าอย่าปากดีแต่กับรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้ง
พล.อ.ประยุทธ์พยายามจะบอกว่าท่านไม่ใช่ทหารแล้ว อย่ามองว่าอะไรก็ทหาร รัฐบาลนี้ไม่ใช่ทหารทั้งหมด ต้องดูว่าเป็นการสร้างความเกลียดชังให้ทหารหรือไม่ แต่พูดยังไงก็ปฏิเสธความจริงไม่ได้ ท่านมาจากรัฐประหาร ใช้กำลังทหารขึ้นสู่อำนาจ ทุกวันนี้ก็มีกองทัพเป็นเสาค้ำ
จริงๆ แล้วท่านเป็น นักการเมือง ตั้งแต่วันแรกที่ยึดอำนาจ เพียงแต่ไม่ใช่นักการเมืองจากเลือกตั้ง เป็นนักการเมืองตัวแทนกองทัพ เข้ามาจัดโครงสร้างอำนาจใหม่ ตามอุดมคติและวิสัยทัศน์ของสถาบันกองทัพ สร้างรัฐแห่งความมั่นคง ที่มีกองทัพเป็นศูนย์กลาง (แถมมีเรือดำน้ำ รถถัง)
ท่านกับกองทัพผูกชะตาร่วมกัน ถ้าโครงสร้างอำนาจนี้เดินหน้าต่อเนื่อง ใครเป็น ผบ.ทบ.ปีพ.ศ.2580 ก็ยังกุมอำนาจมั่นคง แต่ถ้าพลิกผันระวังจะเกิดกระแส ปฏิรูปกองทัพ ท่วมท้น
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar