måndag 7 januari 2019

รามา 10: กษัตริย์องค์ใหม่ของไทยผู้มีพฤติกรรมที่ชวนให้น่ากังวล



รามา 10: กษัตริย์องค์ใหม่ของไทยผู้มีพฤติกรรมที่ชวนให้น่ากังวล

เมื่อวานนี้ นสพ. "เลอ มง" ของฝรั่งเศส ได้ตีพิมพ์รายงานขนาดยาวเกี่ยวกับวชิราลงกรณ์ของคุณ อาโรลด์ ทิโบต์ (Harold Thibault) - ภายใต้ชื่อเรื่องข้างต้น

ตัวรายงานจริง อยู่ที่นี่ อ่านได้เฉพาะผู้เป็นสมาชิก https://goo.gl/SKJFpD

แต่คุณ Andrew MacGregor Marshall ได้นำออกเผยแพร่ อ่านได้ที่นี่ (เป็นภาษาฝรั่งเศส มีคำนำภาษาอังกฤษของคุณแอนด
รูสั้นๆ และตอนท้ายคุณแอนดรูได้โพสต์ฉบับแปลภาษาอังกฤษที่ใช้ Google Translate ไว้ด้วย) https://goo.gl/W5NMc3

ข้างล่างนี้ ผมสรุปเนื้อหาของรายงาน

...............

- วชิราลงกรณ์เป็นคนเจ้าอารมณ
์ที่คาดเดายากว่าจะทำอะไร เขาชอบใช้ชีวิตในบาวาเรีย รัชสมัยของเขาสามารถเป็นรัชสมัยที่โหด

- คนเยอรมันไม่ได้สนใจวชิราลง
กรณ์จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม 2016 เมื่อ Build ตีพิมพ์ภาพของเขาที่สนามบินมิวนิค ในชุดคร้อปท็อปโชว์พุง และลายแท็ตทูกลางหลัง

- เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในบาวาเ
รียในปีหลังๆนี้ ในขณะที่พระราชบิดานอนป่วย

- วันที่ 13 ตุลาคม 2016 กษัตริย์ภูมิพลสวรรคต วชิราลงกรณ์บินกลับไทย แต่อยู่ได้ราวสองสัปดาห์ก็ก
ลับเยอรมันอีก เขาได้รับประกาศเป็นกษัตริย์วันที่ 1 ธันวา แต่พิธีราชาภิเษกยังไม่แน่ว่าจะมีเมื่อไร เดิมวิษณุ เครืองามบอกว่าสิ้นปี 2017 แต่ก็ผ่านไป ขณะนี้ มีการพูดกันว่า อาจจะในเดือนมีนาคม 2018 [ดังที่ผมเคยเล่าไปว่า ผมได้ยินว่า อาจจะเป็นเมษายน ช่วงวันจักรีหรือใกล้ๆกัน แต่เรื่องนี้ก็ยืนยันไม่ได้ - สศจ.]

- บุคลิกของวชิราลงกรณ์เป็นเร
ื่องอ่อนไหวในไทย ทุกคนรู้ลักษณะนิสัยเขา ความเป็นคนโมโหง่าย เอาแต่ใจ การมีสนมหลายคน แต่เรื่องพวกนี้เป็นสิ่งต้องห้ามที่จะพูด ถ้าใครพูดจะผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีบทลงโทษหนักสำหรับใครที่แม้แต่จะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์ ในปี 2015 เคยมีคนถูกจับเพียงเพราะพูดประชดเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง

- พวกชนชั้นนำความจริงต้องการ
จะให้น้องสาววชิราลงกรณ์ ฟ้าหญิงสิรินธร ผู้ได้รับความนิยม ขึ้นครองราชย์มากกว่า

- ความพิลึกของกษัตริย์องค์ให
ม่เป็นที่รู้กันทั่ว ในปี 2010 อีริค จี จอห์น เอกอัครรัฐทูตอเมริกัน ถาม พล.อ.เปรม ประธานองคมนตรีว่า วชิราลงกรณ์อยู่ที่ไหน เปรมตอบว่า "คุณก็รู้ไลฟ์สไตล์ของเขา รู้ว่าเขาเป็นคนยังไง..." ในโทรเลขการทูตของสหรัฐที่เปิดเผยโดยวิกิลีกส์อีกฉบับหนึ่ง ลาฟ บอยซ์ ทูตอเมริกันอีกคนหนึ่ง เล่าถึงดินเนอร์ที่มีแขกเหรื่อ 600 คน แล้วฟูฟู สุนัขของวชิราลงกรณ์ ที่เขาตั้งให้เป็นพลอากาศเอก และถูกจับแต่งตัวในชุดทหารตามยศ กระโดดขึ้นโต๊ะอาหาร และกินน้ำในแก้วของแขก รวมทั้งของทูต

- ชนชั้นนำไทย ความจริงอยากให้ฟ้าหญิงสิริ
นธรขึ้นครองราชย์มากกว่า แต่เป็นไปไม่ได้ เพราะเธอไม่ได้แต่งงาน ไม่มีลูก และกษัตริย์ภูมิพลได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 1972 ให้วชิราลงกรณ์เป็นรัชทายาท

- เมื่อ 2 ปีก่อน ขณะที่พระราชบิดากำลังใกล้ส
วรรคต วชิราลงกรณ์ซื้อบ้าน 2 หลังริมทะเลสาบ สตรานเบิร์ก ในบาวาเรีย ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม

- บ้านในตุสซิงที่เขาซื้อ ราคาประมาณ 12 ล้านยูโร นายกิลโด ไลน์เนอร์ (Guido Lindner) ผู้จัดการโรงแรม Hotel du Lac ที่อยู่ใกล้ๆบ้านนั้น ให้สัมภาษณ์ว่า "วชิราลงกรณ์ได้รับการปฏิบั
ติจากพวกบริพาร ราวกับเป็นพระพุทธเจ้าที่มีชีวิต" นายกิลโดเล่าว่าคณะผู้ติดตามของวชิราลงกรณ์เคยเสนอขอซื้อโรงแรมเขา [เข้าใจว่า เพื่อเคลียร์บริเวณนั้นให้มีความไพรเวทมากขึ้น จากแขกโรงแรม - สศจ.] แต่เขาไม่ขาย วชิราลงกรณ์ยังได้ซื้อบ้านอีกแห่งที่ฟิลดาฟิ้ง ที่ห่างออกไปไม่กี่กิโลเมตร เพื่อเขาจะได้มีที่อยู่กับคู่ควงแต่ละคน แยกกัน และกับลูกชาย

- ย่านทะเลสาบ สตรานเบิร์ก ที่วชิราลงกรณ์อยู่เป็นย่าน
ที่พวกนักธุรกิจรวยๆหรือศิลปินไปพักอาศัย มีความสงบมากกว่าโรงแรมฮิลตันใกล้สนามบินมิวนิค ซึ่งวชิราลงกรณ์เคยอยู่ประจำก่อนจะมาซื้อบ้าน แต่วชิราลงกรณ์ก็ยังไปพักที่ฮิวตันบ้างเป็นบางครั้ง

- วชิราลงกรณ์ชอบขับเครื่องบิ
น (บทรายงานเล่าถึงกรณีที่วชิราลงกรณ์ขับเครื่องบินขวางเครื่องบินของนายกฯญี่ปุ่น ที่พอล แฮนด์ลี่ย์ เล่าไว้ใน The King Never Smiles)

- โรงแรมฮิลตัน เดิมเป็นโรงแรมเคมปินสกี้ ซึ่งราชวงศ์ไทยถือหุ้นใหญ่ ก่อนจะขายให้ฮิลตัน อดีตพนักงานโรงแรมผู้หนึ่งใ
ห้สัมภาษณ์ว่า สมัยที่วชิราลงกรณ์ไปพักประจำที่นั่น สร้างความยุ่งเหยิงให้ทางโรงแรม วชิราลงกรณ์กับคณะจะมาพักครั้งละ 2-3 เดือน หลายครั้งต่อปี บางครั้งสถานทูตไทยในเบอร์ลินแจ้งต่อโรงแรมล่วงหน้าเพียงแค่ไม่กี่วัน ว่าวชิราลงกรณ์จะมาพัก ครั้งหนึ่ง ในช่วงต้นทศวรรษ 2010s ทางโรงแรมต้องย้ายการประชุมคอนเฟอเรนซ์ที่จัดโดยลูกค้าสำคัญของโรงแรม คือบริษัทประกันภัย Allianz ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมนับร้อย ออกไปจัดที่อื่น เพราะวชิราลงกรณ์กับคณะมาพักโรงแรมกระทันหัน

- การมาพักแต่ละครั้งของวชิรา
ลงกรณ์จะมาพร้อมกับกระเป๋าข้าวของหนักเป็นตันๆ ทางโรงแรมต้องจัดการเคลียร์ชั้นโรงแรมเป็นชั้นๆ หรือปีกบางปีกของโรงแรม โดยเฉพาะเมื่อวชิราลงกรณ์พาคู่ควงมามากกว่าหนึ่งคน [เพื่อให้แยกกันอยู่คนละชั้นคนละปีก - สศจ.] ทีมบริพารของวชิราลงกรณ์เคยพยายามจะบังคัับให้พนักงานชาวเยอรมันของโรงแรมต้องหมอบคลานต่อหน้าวชิราลงกรณ์ แต่ทางฝ่ายจัดการของโรงแรมไม่ยอม ทางทีมบริพารเลยขอให้พนักงานห้ามมองสบตาหรือพูดกับวชิราลงกรณ์. ในห้องพักของวชิราลงกรณ์จะมีการประดับภาพพวกรถยนต์เก่าที่เขาสะสม

- อดีตพนักงานโรงแรมคนเดียวกั
นเล่าว่า วันหนึ่ง พนักงานหญิงทำความสะอาด (เมด) พบว่า ทีมบริพารของวชิราลงกรณ์ได้แขวนรูปฮิตเล่อร์ไว้บนผนัง อดีตพนักงานที่ให้สัมภาษณ์บอกว่า ไม่แน่ใจว่าเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างประหลาดหรือเพราะความนิยมชมชอบฮิตเล่อร์กันแน่ ทางฝ่ายจัดการโรงแรมต้องบอกอย่างเข้มงวดต่อเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยให้เอาภาพนั้นออก

...............



เรื่องของ "เสี่ย" (และประยุทธ์)

ตอนนี้มีกระแสในหมู่ "ฝั่งประชาธิปไตย" "เสื้อแดง" ทำนองว่า ที่เกิดการ "หย่อน" ในแง่การปราบปรามของ คสช. เช่น มีการชุมนุม ไม่มีการจับ หรือมีการจับ ถึงศาล ก็ไม่โดนอะไรหนัก (ไม่มีการขัง ฯลฯ) เป็นเพราะ "เสี่ย ไม่เอา คสช. ไม่เอาประยุทธ์"

เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงหรอกครับ "เสี่ย" น่ะยังเอา คสช. เอาประยุทธ์ ชอบ คสช. ชอบประยุทธ์ด้วยซ้ำ

แต่เรื่องที่มีมีการ "หย่อน" นี่ เกี่ยวกับ "เสี่ย" ไหม? ก็มีส่วนเกี่ยวอยู่ แต่ไม่ใช่อย่างกระแสที่เข้าใจกันข้างต้น

คือต้องเข้าใจว่า

(ก) "เสี่ย" น่ะชอบประยุทธ์ ชอบ คสช. เพราะ "ขออะไรก็ได้หมดทุกอย่าง" อันที่จริง ถ้ามีวิธีว่า คสช.อยู่ยาว โดยไม่มีเลือกตั้งเลย โดยไม่มีคนมาโวยวาย หรือโดยไม่มีแรงกดดันให้ต้องเลือกตั้ง "เสี่ย" คงชอบ และคงเอา

ปัญหาคือ "เสี่ย" ก็คุมหรือห้ามไม่ให้มีกระแสดังกล่าวไม่ได้ และในระยะยาว ก็ห้ามไม่ให้มีเลือกตั้งเลยไม่ได้ - คสช.ก็ห้ามไม่ได้ ไม่มีใครห้ามได้

(ข) แต่ขณะเดียวกัน "เสี่ย" ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนัก เพราะยิ่งจะทำให้เป็นเรื่องเป็นราว ปวดขมอง "เสี่ย" เหมือนกัน ดังนั้น "เสี่ย" ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนักเหมือนกัน

สรุปคือ สำหรับ "เสี่ย" ถ้าไม่มีม็อบ ไม่มีเรื่องวุ่นวาย ก็จะชอบมากๆ แต่ถ้ามันมีม็อบ ก็อย่าให้มีการปราบหนัก ซึ่งจะมีความวุ่ยวายเหมือนกัน (นี่คือนัยยะที่ประยุทธ์ออกมาพูดวันก่อน)

ในระยะยาว "เสี่ย" ซึ่งถ้าสามารถให้ไม่มีเลือกตั้งเลย ให้ คสช.-ประยุทธ์ อยู่ยาวเลยได้ ก็ยิ่งดียิ่งชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถให้เป็นแบบนั้นได้ ดังนั้น ในระยะยาวออกไป ใครจะเป็นนายกฯ จะเป็นประเด็นสำคัญมากสำหรับ "เสี่ย" คือ "เสี่ย" จะต้อง "เม็กชัวร์" ว่า นายกฯคนต่อไป จะต้องเป็นคนที่เขาไว้ใจได้ ขออะไรก็ได้อีก ถ้าประยุทธ์ไม่สามารถกลับเข้ามาหลังเลือกตั้ง "เสี่ย" ก็ต้องเม็กชัวร์ว่า คนจะมาแทนหลังเลือกตั้ง ต้องเป็นคนที่เขาไว้ใจได้แบบประยุทธ์ ขออะไรก็ได้แบบประยุทธ์อีก (วังมโหฬารกลางเมืองที่เขาต้องการให้สร้าง ยังไม่ได้สร้าง ถึงเวลายังต้องการเงินมหึมาจากนายกฯคนใหม่อีก)

ในแง่นึง ก็เลยเป็น "ไดเล็มม่า" สำหรับ "เสี่ย" และสำหรับประยุทธ์ด้วย "เสี่ย" อยากให้ประยุทธ์อยู่ต่อ อยากได้นายกฯแบบประยุทธ์ ก็อยาก แต่จะให้อยู่ไปเรื่อยๆไม่ต้องมีเลือกตั้ง ก็ทำไม่ได้ เพราะมีแรงบีบให้ต้องมีเลือกตั้ง มีคนออกมาเรียกร้อง แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนัก เพราะจะทำให้สถานการณ์ยิ่งเครียดสำหรับ "เสี่ย" ซึ่งเขาไม่ต้องการ (เขาเป็นคน "เครียด" ง่าย และไม่ชอบไม่อยาก "เครียด") .... สถานการณ์รวมๆมันเลยออกมาก้ำๆกึ่งๆอย่างที่เห็นแหละ

 



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar