torsdag 14 februari 2019

updated ...ทำไมต้องอยู่นาน ทำไมไม่ยอมลงสักที? : ทักษิณยังเข้มแข็ง - วชิราลงกรณ์อ่อนบารมี


ทำไมต้องอยู่นาน ทำไมไม่ยอมลงสักที? : ทักษิณยังเข้มแข็ง - วชิราลงกรณ์อ่อนบารมี
สัมภาษณ์ ฐิตินันท์ (https://goo.gl/CwfSK2)
Q : ทำไมรัฐบาลถึงต้องการอยู่นาน ไม่ลงจากอำนาจ
ปัญหาของคนที่อยู่ในอำนาจ 1.กลัวโดนเช็กบิล เปิดโปงเรื่องไม่ชอบมาพากลจนคุมไม่ได้ 2.ต้องการจะแก้มือ 3.อยากจะทำต่อ เช่น ยุทธศาสตร์ 20 ปี 4.เหลิงอำนาจ หลงอำนาจจนยึดติดกับสิ่งที่พ่วงมากับการมีอำนาจ และ 5.พรรคพวก ลิ่วล้อ คนรอบกายทำให้อยู่ต่อ
...........
คำตอบของฐิตินันท์ อย่างมากก็พูดได้ว่า "ถูก" แบบกว้างๆ (generic)* แต่ไม่ค่อยมีประโยชน์ ในการทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารครั้งนี้ และครั้งก่อน
*(อันที่จริง ดังที่ผมจะชี้ให้เห็นข้างล่าง คำตอบแบบนี้ คลาดเคลื่อนความจริงอยู่หลายอย่างด้วย ถ้าพิจารณาโดยละเอียด)

ที่ใจกลางของการรัฐประหารทั้งสองครั้ง คือความกลัวว่า พลังอำนาจแบบใหม่ ที่มาจากเล่นการเมืองแบบใหม่ (หาเสียงเลือกตั้ง สร้างฐานสนับสนุนจากประชาชนโดยเฉพาะในต่างจังหวัด จาก "ประชานิยม") จะเป็นอันตรายต่อสถานะเดิมของสถาบันกษัตริย์ (หมายเหตุ: ผมจงใจไม่ใช้คำว่า

"ประชาธิปไตย" ทำนองที่มีการพูดกันว่า "กลัวประชาธิปไตย" เพราะพลังอำนาจแบบใหม่ การได้มาซึ่งอำนาจแบบใหม่ ที่ทักษิณเป็นตัวแทนนี้ จะว่าเป็น "พลังประชาธิปไตย" เสียทีเดียวไม่ได้)
เกษียรเคยนิยามการรัฐประหารครั้งก่อนว่า "รัฐประหารเพื่อสถาบันกษัตริย์" ซึ่งเป็นคำนิยามที่ผมชอบมาก เพราะสั้น ตรงมากที่สุด
รัฐประหารครั้่งหลังก็เช่นกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นรัฐประหารที่เกิดขึ้นในภาวะที่ทุกคนรู้ว่า ใกล้ "เปลี่ยนผ่าน" คือใกล้เวลาที่ในหลวงภูมิพลจะสวรรคต วชิราลงกรณ์จะขึ้นแทน (รปห 57 สวรรคต 59) จึงต้องทำการควบคุมอย่างชนิดเข้มงวด ถึงขนาดวาง "ยุทธศาสตร์ 20 ปี"
ที่มีการพูดกันทำนองว่า "เพราะกลัวเสียของ" เอาเข้าจริง "เสียของ" หมายถึงอะไร? รูปธรรมของการ "เสียของ" คือ รัฐประหารแล้ว ก็ยังกำจัดทักษิณไม่ได้ ... มีเลือกตั้งอีก ทักษิณก็ยังจะชนะอีก (ขนาดวางรูปแบบสภาไว้แบบ รธน. 60 พรรคทักษิณก็ยังจะเข้าสภามาอันดับหนึ่งอย่างมากมายอีก)
แต่ทำไมจะต้องกำจัดให้ได้ ทำไมต้องทำให้ไม่มีโอกาสที่ทักษิณจะขึ้นสู่อำนาจด้วยฐานเลือกตั้งอีก?
ก็เพราะกลัวว่า อำนาจแบบใหม่นี้ จะสั่นคลอน บ่อนทำลายต่อ สถานะอำนาจนำแบบเดิม (hegemony) ของสถาบันกษัตริย์

ถ้าพิจารณาคำอธิบายของฐิตินันท์ดีๆ จะเห็นว่าคลาดเคลื่อนความจริงอยู่
"กลัวโดนเช็กบิล"? ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ นักการเมืองขึ้นมา เคยเช็กบิลทหารหรือ? ต่อให้ทักษิณขึ้นมา มีหรือจะทำ? โน-เวย์!
"ต้องการแก้มือ" - "อยากทำต่อ"? ลึกๆ ผมว่าแม้แต่แก๊งค์ คสช. ก็รู้ตัวดีว่าตัวเองบริหารงานไม่เป็น และอยู่โดยมีแต่จะเป็นที่เบื่อหน่าย

แต่ที่ต้องดันทุรัง ไม่ยอมลงสักที แม้จะวางโครงสร้างในทาง รธน. ไว้แน่นหนามากมายขนาดนั้นในการคอยควบคุมอำนาจแบบทักษิณ (มีวุฒิ มีศาล รธน. ที่มีอำนาจครอบจักรวาล มีกรรมการยุทธศาสตร์ ฯลฯ)
ก็เพราะดูท่า พรรคทักษิณยังไงก็ยังจะมาเป็นอันดับหนึ่งในการเลือกตั้งอีกแน่ และตราบใดที่ยังเป็นเช่นนั้น สถานะอำนาจแบบเดิมของสถาบันกษัตริย์ (ทีกองทัพผูก-พึ่งพิงอยู่) - หรือในความเชื่อ (ideology) ของทหาร คือ "ความมั่นคงของชาติ" - ก็จะยังสั่นคลอน

การที่กษัตริย์องค์นี้ ไม่มีบารมี จึงเป็นปัจจัยหรือแบ๊กกราวน์สำคัญมาก เพราะในระยะยาวแล้ว กองทัพมองไม่เห็นว่า บารมีวชิราลงกรณ์จะสามารถรักษาสถานะของสถาบันไว้ให้มั่นคงแบบเดิม ไม่ถูกอำนาจแบบทักษิณสั่นคลอน ลดทอน และเข้าแทนที่ได้อย่างไร

irony (ตลกร้าย) ทางประวัติศาสตร์ของเรื่องนี้คือ ถึงทีสุดแล้ว ผมไม่คิดว่า อำนาจแบบทักษิณ เป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ "โดยตรง" จริงๆ แน่นอนในระยะยาว อำนาจแบบนี้จะทำให้ "ป๊อบปูลาริตี้" ของสถาบันฯลดลงอย่างช้าๆแน่ โดยเฉพาะตราบใดถ้ายังมีวชิราลงกรณ์เป็นกษัตริย์ เป็น "หัว" ของสถาบันฯอยู่
สื่ออะไร? คสช.โพสต์ ประเทศไทยมีเอกราช-อธิปไตยไม่ใช่เพราะ ‘ประชาธิปไตย’ #มติชนออนไลน์ #เลือกตั้ง62 #คสช
("Tyrant"ผู่รับใช้สนองฯ..???)
คลิกดู-สื่ออะไร? คสช.โพสต์ ประเทศไทยมีเอกราช-อธิปไตยไม่ใช่เพราะ 'ประชาธิปไตย'
คลิกดู-องคมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
นายกฯ เยือนหน่วยรบพิเศษลพบุรี พูดปลุกใจทหาร ลั่นอย่าจับมาเป็นประเด็นการเมือง
ความขัดแย้งภายในวัง (พ่อ-ลูก, พี่-น้อง, องคมนตรี-ลูก) ความขัดแย้งระหว่างวังกับทหาร
ความขัดแย้งภายในทหารด้วยกันเอง#ไม่เคยมีลักษณะรุนแรงถึงขนาดเป็นความขัดแย้งที่มีการจัดตั้ง คือแบ่งเป็นก๊กเป็นพวกที่ชัดเจน (organized faction) มาแต่ไหนแต่ไร อย่างมากที่สุด เป็นเพียงเรื่องของการเข้าหน้ากันไม่สนิท คาแรกเตอร์ไม่ค่อยลงรอยกันในระดับตัวบุคคล ซึ่งโดยภาพรวมก็น้อย ไม่ได้มีมากอะไร
โดยเฉพาะนับตั้งแต่หลังทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา (คือร่วม 30 ปีแล้ว) การที่ก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 2520 มีร่องรอยหรือการแสดงออกของความขัดแย้งใน 3 ลักษณะนั้นมาก (ในวัง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ภายในครอบครัวมีความ "ระหองระแหง" มากที่สุด หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีอะไรแล้ว ในกองทัพ มีการพยายามทำรัฐประหารหลายครั้ง) ที่สำคัญส่วนหนึ่ง เป็นผลสะเทือนมาจากการลุกขึ้นสู้ 14 ตุลา กล่าวคือการลุกขึ้นสู้ของประชาชนครั้งนั้น ได้ทำให้ "เกิดรอยร้าว" ในองคาพยพส่วนสำคัญๆของรัฐ เช่นการเกิด "ยังเติร์ก" หรือนายทหารชั้นผู้น้อย ที่ไม่ยอมขึ้นต่อการบัญชาการระดับบน แต่นั่นเป็นเพียงประวัติศาตร์ช่วงสั้นที่ผ่านมานานแล้ว

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar