torsdag 14 februari 2019

updated ไอเดีย "ปรองดอง" ของ คสช - "อย่าทะเลาะกัน"ในระดับพรรคการเมืองและฐานมวลชน แต่ต้องยอมรับการจัดสรรอำนาจตาม รธน คสช

สื่ออะไร? คสช.โพสต์ ประเทศไทยมีเอกราช-อธิปไตยไม่ใช่เพราะ ‘ประชาธิปไตย’ #มติชนออนไลน์ #เลือกตั้ง62 #คสช
("Tyrant"ทำงานรับใช้สนองฯ..???)
คลิกดู-สื่ออะไร? คสช.โพสต์ ประเทศไทยมีเอกราช-อธิปไตยไม่ใช่เพราะ 'ประชาธิปไตย' 

Somsak Jeamteerasakul

ในขณะที่ยังไม่มีรายละเอียดว่า "ปรองดอง" ของ คสช จะออกมาอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง ผมคิดว่า จากที่เห็นและเป็นอยู่ เราอาจจะสรุปได้กว้างๆว่า
"กรอบ" ของไอเดีย "ปรองดอง" ของ คสช คือ
"อย่าทะเลาะกัน" #ในระดับระหว่างพรรคการเมืองและฐานมวลชน คือในระดับระหว่าง ปชป-พท, นปช-กปปส/พันธมิตร
แต่การไม่ทะเลาะกันในระดับที่ว่า หมายความด้วยว่า "ทุกฝ่าย" ในระดับดังกล่าวที่ไม่ทะเลาะกันนั้น #จะต้องยอมรับอำนาจของสถาบัน, #องค์กร ฯลฯ #ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบของสังคมโดยรวมด้วย ได้แก่ สถาบันกษัตริย์, กองทัพ, ตุลาการภิวัฒน์ (ศาล, องค์กรอิสระ ฯลฯ) - นั่นคือ #ยอมรับการจัดสรรอำนาจตามที่วางไว้ในรัฐธรรมนูญ คสช (เพียงแต่ "อย่าทะเลาะกัน" ในระดับพรรคการเมืองและฐานมวลชน)
การ "ปรองดอง" ภายใต้ "กรอบ" หรือแนวคิดแบบนี้ จะไม่แก้ปัญหารากฐานของวิกฤติสิบปีได้ ยิ่งไม่ใช่การนำไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืน
Somsak Jeamteerasakul updated his status.
ถ้ามีการเลือกตั้งครั้งต่อไปในราวกลางปี 2561 จะเป็นสถิติช่วง "ปลอด" การเลือกตั้งที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล ยาวนานที่สุดในรอบ 50 ปี
วันก่อน ผมได้ฟังการสนทนาทางวิชาการระหว่าง อ. Piyabutr Saengkanokkul กับ อ. Eugénie Mérieau เรื่องรัฐประหารกับการเลือกตั้ง (ถือโอกาส"โฆษณา"ล่วงหน้าว่า คลิปการสนทนาดังกล่าว กำลังตัดต่อ จะนำออกเผยแพร่เร็วๆนี้)
มีจุดหนึ่งทั้งสองท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ามีการเลือกตั้งในปี 2561 จะหมายความว่า ประเทศไทยจะปลอดการเลือกตั้งถึง 6 ปีกว่า อาจจะใกล้ๆ 7 ปี (ครั้งสุดท้ายนับการเลือกตั้งปี 2554 เพราะเลือกตั้งปี 2557 ถูกโมฆะไป)

ผมเลยลองดูประวัติการเลือกตั้งไทย พบว่า ถ้าเรานับการเลือกตั้ง #ที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล คือรวมแม้แต่ช่วงที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" ที่มีอำนาจทหารดำรงอยู่ และนายกฯไม่ได้เป็นผู้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่อย่างน้อย มีการจัดเลือกตั้ง มีการหาเสียง และนำไปสู่การมีสภา (ไม่ว่าจะมีวุฒิแต่งตั้งประกอบอย่างไร) และการจัดตั้งรัฐบาลที่อาศัยผลการเลือกตั้งนั้นในระดับมากน้อย เช่น สมัยถนอม หรือ เปรม หรือแม้ช่วงสุจินดา ที่เลือกเสร็จแต่ตั้งรัฐบาลไม่ได้ แล้วเกิด "พฤษภาทมิฬ"
การเลือกตั้งปี 2561 ที่ถ้ามีขึ้น จะหมายความว่า เป็นการเลือกตั้งที่ทิ้งระยะห่างนานสุดในรอบประมาณ 50 ปี (ครั้งสุดท้าย ที่มีช่วง "ปลอด" การเลือกตั้งที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลนานกว่านี้ คือช่วงสฤษดิ์ 11 ปีเศษ 2500-2512)
พูดอีกอย่างคือ แม้แต่ในช่วงที่มีการรัฐประหารบางครั้งในอดีต หรือมีการ "ลุกขึ้นสู้" มาสลับ ก็จะไม่มีการทิ้งห่าง หรือ "ปลอด" การเลือกตั้งทั่วไป ยาวนานขนาดที่กำลังเป็นนี้ ยกเว้นแต่จะย้อนหลังไปถึงยุคสฤษดิ์เมื่อครึ่งศตวรรษก่อนเลย ดังนี้
#เดือนและปีที่มีการเลือกตั้งที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล
ธันวาคม 2500
[มีรัฐประหารสฤษดิ์ 20 ตุลาคม 2501]
กุมภาพันธ์ 2512
[มีรัฐประหารถนอม 17 พฤศจิกายน 2514]
[มีการลุกขึ้นสู้ 14 ตุลาคม 2516]
มกราคม 2518
เมษายน 2519
เมษายน 2522
เมษายน 2526
กรกฎาคม 2529
กรกฎาคม 2531
มีนาคม 2535
[มีการลุกขึ้นสู้ 17 พฤษภาคม 2535]
กันยายน 2535
กรกฎาคม 2538
พฤศจิกายน 2539
มกราคม 2544
กุมภาพันธ์ 2548
[เมษายน 2549 - ถูกบอยคอต และโมฆะ]
ธันวาคม 2550
กรกฎาคม 2554
[กุมภาพันธ์ 2557 - ถูกบอยคอต และโมฆะ]
...
? กลางปี 2561
สถิตินี้บอกอะไรเราบ้าง ไว้ผมจะหาเวลามาเขียนอีกที กระทู้นี้เอาข้อมูลตัวเลขมาให้ดู

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar