fredag 25 juni 2021

ตรวจสอบสถานะเชื้อโควิด-19 "อัลฟา เบตา เดลตา" ในไทย

 บีบีซีไทย - BBC Thai

3 tim

ตรวจสอบสถานะเชื้อโควิด-19 "อัลฟา เบตา เดลตา" ในไทย
.
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในวันนี้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,482 ราย มีผู้เสียชีวิต 44 ราย ท่ามกลางความกังวลเรื่องเตียงผู้ป่วยระดับวิกฤตที่ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น
.
อีกปัจจัยที่จะต้องจับตาคือการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์คาดการณ์ว่าอีก 2-3 เดือนเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จะเข้ามาครองพื้นที่ในไทยแทนสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ขณะที่สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ที่พบในภาคใต้ก็ยังคงต้องเฝ้าระวัง
.
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล ถอดรหัสพันธุ์กรรมของเชื้อโควิด-19 ในไทยจาก 1,521 ตัวอย่าง (ข้อมูล ณ วันที่ 21 มิ.ย.) พบว่าสายพันธุ์อัลฟาครองสัดส่วน 69% ตามมาด้วยสายพันธุ์เดลตา (24% ) และสายพันธุ์เบตา (4%) ที่เหลือเป็นสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น สายพันธุ์ท้องถิ่น B.1.36.16 ประมาณ 3%
.
แม้ว่าการแพร่กระจายเชื้อของสายพันธุ์เบตาจะช้ากว่า แต่นักวิจัยของไทยเห็นว่าสายพันธุ์นี้กลับดื้อต่อวัคซีนที่มีอยู่มากกว่าอีกสองสายพันธุ์ เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของไทยระบุเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เบตาเพียง 10.4% ขณะที่องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (The Vaccine Alliance หรือ Gavi) ระบุว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลต่อสายพันธุ์อัลฟา 74% และต่อสายพันธุ์เดลตา 64% ส่วนวัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิผลต่อสายพันธุ์อัลฟา 93% และต่อสายพันธุ์เดลตา 88%
.
สำหรับวัคซีนซิโนแวค คณะที่ปรึกษายุทธศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันขององค์การอนามัยโลกระบุในเอกสารที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ว่าประสิทธิผลอยู่ที่ 50.7%

Ingen fotobeskrivning tillgänglig. 

"ระหว่างที่เราทดสอบอาสาสมัครไทยโดยใช้วัคซีนที่สั่งเมืองนอกทำ (สหรัฐอเมริกา) โรงงานไทยซ้อมมือ เพราะฉะนั้น ประมาณอีก 3-4 เดือน เราคงรู้แล้วว่าฝีมือเราผลิตได้เยอะไหม คุณภาพดีไหม"
.
เปิดความคืบหน้าวัคซีนโควิด ChulaCov19 ของศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาฯ ทดสอบในคนแล้ว และจะรู้ผลว่าสร้างภูมิคุ้มกันได้แค่ไหนในช่วงปลาย ก.ค.นี้ พร้อม ๆ กับเริ่มทดสอบในระยะที่สองเพื่อสร้างวัคซีนที่รับมือกับไวรัสกลายพันธุ์ โดยเป้าหมายสูงสุดของโครงการนี้ คือ การเป็นวัคซีนที่ผลิตสำหรับการฉีดกระตุ้นภูมิเป็นเข็มที่ 3 สำหรับคนไทย

คลิกดู(คลิป)-Coronavirus/Covid-19. 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar