fredag 9 september 2011

ความเห็นของอาจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กับการขออภัยโทษให้ทักษิณ ซึ่งเราก็เห็นด้วยเพราะทักษิณไม่มืความผืด คนที่ผิดคือกษัตริย์ภูมิพล เพราะไปเซ็นรับรองให้กับพวกกบฏที่ยึดอำนาจ ดังนั้นจึงถือได้ว่า กษัตริย์ ภูมิพล เป็นหัวหน้ากบฏ ต่อแผ่นดิน

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊คสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ผมไม่เห็นด้วยกับการขอพระราชทานอภัยโทษในปี 2552 และยืนยันไม่เห็นด้วย ผมไม่มีเวลาเขียนซ้ำเรื่องนี้โดยละเอียด ขอสั้นๆโดยเฉพาะในแง่ข้อกฎหมาย

1. ในขณะที่การขอ "อภัยโทษ" ไม่ได้แปลว่า คนขอ "ยอมรับผิด" (สุรชัย เคยแสดงความไม่เห็นด้วย โดยใช้เหตุผลนี้ ผมคิดว่า ไม่จำเป็น) กรณีสวรรคตเป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดที่สุด ไมมีจำเลยคนไหนใน 3 คนนั้น "ยอมรับผิด" แต่ก็ยื่นฎีกาขออภัยโทษทั้ง 3 คน

แต่ในทางกฎหมาย เป็นการยอมรับว่า ได้มีการตัดสินผิดกฎหมายไปแล้ว นี่คือความแตกต่างระหว่าง "อภัยโทษ" กับ "นิรโทษกรรม" อย่างหลังคือ ไม่มีความผิด ไม่อยู่ในบันทึกเลย

แต่อภัยโทษ แม้ต่อให้ได้ "อภัย" ก็ถือว่า "เป็นคนที่เคยทำผิดตามกฎหมายแล้ว" นี่เป็นบันทึกทางการทีสำคัญมากในทางกฎหมาย (และการเมือง)

ผมนึกไม่ออกว่าคุณทักษิณและผู้สนับสนุนจะต้องการให้คุณทักษิณมีชื่อใน record book ว่าเคยเป็น CONVICTED criminal ทำไม

2. ประเด็น "ต้องติดคุก" หรือไม่? อันนี้ ผมว่าต้องพูดโดยคิดถึงกรณีอื่นๆเป็นบรรทัดฐาน อย่าได้เริ่มจากการคิดว่าจะตีความอย่างไรเพื่อช่วยคุณทักษิณ (ซึ่ง ดังที่ผมเขียนในข้อ 1 ผมไม่คิดว่าเป็นการช่วยที่ดีในทางกฎหมายอยู่แล้ว)

ในความเห็นของผม ต้องติดคุก ในความหมายว่าที่วา กฎหมายวิอาญากำหนดว่า "คดีสิ้นสุด" ซึ่ง หมายความว่า ทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจำเลยและฝ่ายโจกท์ (รัฐ) ตัดสินใจไม่ดำเนินการหรือไม่สามารถดำเนินการใดๆในกระบวนการยุติธรรมปกติอีก แล้ว เช่น โดยทั่วไป หมายถึง ตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์ ฎีกา หรือ ยื่นจนสุดทุกขั้นตอนแล้ว

แต่ในกรณีนี้ จะบอกว่า "คดีสิ้นสุด" โดยแท้จริงไม่ได้ เพราะในแง่รัฐ ยังไม่ "สิ้นสุด" คือ ยังไม่ได้จับกุมผู้ถูกตัดสินมาดำเนินการตามคำตัดสิน (คือ "เข้าคุก" นั่นแหละ) ดังนั้น จะบอก่า "คดีสิ้นสุด" แล้ว "ขออภัยโทษ" ได้ ผมว่า เป็นเการตีความที่เสียหายต่อระบบกฎหมายในอนาคตในระยะยาว (ดูข้อต่อไปประกอบ)

3. แต่ทีสำคัญกว่านั้น ผมเห็นว่า เรื่องนี้ ไม่ตรงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจริงๆ (ข่าว ที่คุณเฉลิมออกมาพูดว่า อภัยโทษเป็นพระราชอำนาจนั้น ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ไมใช่มีอำนาจทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องมีกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำกับ)

ตามกฎหมายวิอาญานั้น ผู้จะยื่นอภัยโทษได้ คือ ผู้ถูกตัดสินที่คดีสิ้นสุด (ดูข้อ 2 ประกอบ) หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องโดยตรง ในกรณีนี้ ทั้งคุณทักษิณและลูก ไม่ได้ยืนฎีกาขออภัยโทษ จึงไม่อยู่ในค่าย การที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ มี "เหตุผล" (rationale) ที่สำคัญอยู่

ผมจะอธิบายโดยลองยกตัวอย่างรูปธรรม สมมุติ "ห้อย" หรือ "เหล่" หรือ "เทือก" ถูกตัดสินผิด ติดคุก เป็นเรื่องยากหรือที่คนเหล่านี้ จะให้ "ฐานเสียง" หรือ "ฐานระบบราชการ" (ผู้ลงคะแนนเสียง, พลทหาร ฯลฯ) ลงชื่อ "ขออภัยโทษ" .. ไม่ยากเลย

และเรื่องนี้ โยงเข้ากับกรณีในข้อ 2 เรื่อง "คดีไม่สิ้นสุด" ด้วย ในตัวอย่างสมมุติเช่นนี้

ถ้า "ห้อย", "เหล่", "เทือก" หลบไปอยู่ต่างประเทศ และให้ "ฐาน" ของตน (ผู้ลงคะแนนเสียงให้ หรือ พลทหาร ฯลฯ) เข้าชื่อกัน แล้วบอกว่า "ไม่จำเป็นต้องติดคุกก่อน" .... ลองนึกดูว่า ถ้าเราใช้การปฏิบัติหรือ "ตีความ" แบบ "ลาก" แบบนี้ (ทั้ง 2 และ 3) จะทำให้ "เสียระบบ" ในระยะยาวขนาดไหน?

และอย่างที่บอกในข้อ 1 ว่า ผมนึกไม่ออกว่า คุณทักษิณจะต้องการให้มีชื่อใน record ว่าเป็น CONVICTED criminal ทำไม (ซึ่งการอภัยโทษ ไม่สามารถลบได้ มีแต่ "นิรโทษกรรม" เท่านั้น)
..................

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar