torsdag 29 september 2011

นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่แต่งตั้งโดยนายสุเมธ ตันติเวชกุล พวกสุนัขรับใช้กษัตริย์เผด็จการภูมิพล ออกมาเห่าหอนบิดเบือนประเด็นข้อเสนอของ คณะนิติราษฎร์

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์

วิวาทะร้อนผ่านเฟซบุ๊คข้างต้นมีปฐมเหตุจากสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เรื่องการลบล้างรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ให้เป็นโมฆะ โดยแสดงความเห็นตอนหนึ่งว่า
"ถ้าเีราจะยกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาส สฤษดิ์ จอมพลป. อ.ปรีดี หรือเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกฯทักษิณ"

ทำให้ดุษฎี บุญทัศกุล บุตรีของนายปรีดี พนมยงค์ ออกมาแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊คของนายสมคิดว่า อาจารย์เข้าใจผิดอะไรหรือเปล่าคะ ที่พูดพิงถึงนายปรีดีเกี่ยวกับรัฐประหาร โปรดอธิบายด้วย

นายสมคิดตอบว่า ผมเข้าใจท่านปรีดีครับ การรัฐประหารการปฏิวัติแตกต่างกันครับ แต่อยากให้ผู้คนได้คิดหาเหตุผลตรึกตรองเรื่องต่างๆ

บุตรีนายปรีดีตอบว่า กลับไปอ่านบทสัมภาษณ์ของอาจารย์ต่อสาธารณชนก่อนคะ ขอบคุณค่ะที่นำปรีดีมาเทียบเท่า สุจินดา ถนอม ประภาส สฤษดิ์

ทั้งนี้ปรีดีเป็นผู้นำคนสำคัญในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ต่อมาถูกทำรัฐประหารโค่นล้มลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี2490 โดยคณะรัฐประหารอ้า่งกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 เป็นเหตุ ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 นายปรีดีก่อรัฐประหารที่เขาเรียกว่า "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์"หรือที่นิยมเรียกกันว่า"กบฎวังหลวง"แต่ล้มเหลว ถูกปราบปรามลงสิ้นเชิง ผู้ร่วมขบวนการหลายรายถูกฝ่ายรัฐบาลเผด็จการในเวลานั้นสังหาร และตามกวาดล้างสิ้นซากในเวลาต่อมาอีกหลายปี นายปรีดีลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศตลอดชีวิตที่เหลืออีก 36 ปี และอสัญกรรมในฝรั่งเศส

ปรีดีถูกจดจำในแง่เป็นผู้นำการปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มากกว่าผู้นำรัฐประหารที่ล้มเหลวในปี 2492 แต่ความแตกต่างของปรีดีกับผู้นำรัฐประหารรายอื่นๆที่สมคิดไม่ได้อธิบายคือ ขณะที่ปรีดีล้มเหลวกลายเป็นกบฎไม่เคยได้รับนิรโทษกรรม ถูกกล่าวหาว่าพัวพันกรณีสวรรคตและอสัญกรรมในต่างแดน

แต่ผู้นำรัฐประหารรายอื่นประสบความสำเร็จ ได้มีอำนาจ ได้รับนิรโทษกรรม ได้รับเกียรติยศอย่างสูงสุดจากอำนาจฝ่ายจารีตนิยมจนถึงวันตายเป็นส่วนใหญ่

ปรีดียังเป็นผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่นายสมคิดเป็นอธิการบดีในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีในระยะหลังฝ่ายจารีตนิยมเข้า่มามีอิทธิพลเหนือมหาวิทยาลัยแห่งนี้ นายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย มีอำนาจในการแต่งตั้งถอดถอนอธิการบดี(ดูรายละเอียด) นั่นอาจจะทำให้อธิการบดีของธรรมศาสตร์ในระยะหลังมีแนวโน้มเป็นพวกจารีตนิยมอนุรักษ์นิยม และยืนข้างฝ่ายเผด็จการ

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar