fredag 2 september 2011


กัมพูชาออกแถลงการณ์ยินดีเจรจารบ.ยิ่งลักษณ์พร้อมแฉรบ.มาร์ค


:screaming:ในวันนี้(30 ส.ค.) องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงถึงการดำเนินการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา ในอ่าวไทย ซึ่งในการเจรจาภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลสมเด็จฯฮุน ขอปฏิเสธข้อกล่าวหาใดๆ ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชา รวมถึงข้อกล่าวหาจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้ทำลายการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลลง โดยที่ผ่านมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีความพยายามติดต่อเจรจาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมายังรัฐบาลสมเด็จฯฮุน เซ็น ด้วย นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังได้แสดงความยินดีและพร้อมจะเปิดการเจรจากับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกี่ยวกับเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน ทั้ง 2 ประเทศ

ในแถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุ โดยอ้างบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชา อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิ.ย.2544 และการจัดตั้งเขตพัฒนาร่วม ซึ่งเอ็มโอยูปี 2544 ไม่ใช่เอกสารธรรมดา แต่เป็นเอกสารบันทึกความเข้าใจของ 2 ประเทศ ที่ได้จัดตั้งคณะทำงานทางเทคนิค ขึ้นมาเจรจาในเรื่องเขตแดน ในระหว่างปี 2544 - 2550 โดย 2 ประเทศประสบความสำเร็จอย่างมาก จนกระทั่งได้เกิดข้อเสนอในหลายประการ ทั้งในเรื่องการแบ่งโซนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ในอ่าวไทย


แถลงการณ์ ระบุว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คณะทำงานไม่ได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการ แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้พยายามติดต่อเพื่อเปิดเจรจาในเรื่องนี้กับทางรัฐบาลสมเด็จฯฮุน เซ็น โดยมีการประชุมระหว่างสมเด็จฯฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในวันที่ 27 มิ.ย. 2551 ที่ จ.กันดาน ใกล้กับกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ ยังมีการประชุมระหว่างนายสุเทพ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กับนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ที่ฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2552 และที่คุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 16 ก.ค.2553 ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าว นายสุเทพ ได้แสดงความตั้งใจ และอ้างพันธะที่ได้รับมอบหมายจากนายอภิสิทธิ์ ในการดำเนินการเปิดเจรจาดังกล่าว ที่นำไปสู่คำถามจากรัฐบาลสมเด็จฯฮุน เซ็น ว่า ทำไมถึงต้องมีการประชุมลับ ทั้งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ สามารถเจรจากับกัมพูชาได้อย่างเปิดเผย

:lookhere:
แถลงการณ์ ยังอ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้กล่าวหาการเจรจาครั้งก่อนๆ ว่า เต็มไปด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวมากมาย ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงขอถามว่า ทำไมภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ จะต้องมีการประชุมลับเช่นนี้ด้วย ซึ่งประชาชน ส.ส.ของไทย และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ทราบถึงการเจรจาทางลับนี้หรือไม่ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในขณะนี้ ได้ประกาศยืนยันความโปร่งใสครั้งแล้วครั้งเล่า และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ซึ่งทำงานกับกัมพูชาอย่างเปิดเผยว่า มีผลประโยชน์ส่วนตัวกับกัมพูชา นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังคงพยายามขัดขวางการเจรจาระหว่างรัฐบาลสมเด็จฯฮุน เซ็น กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดังนั้นกัมพูชาจึงมีความจำเป็นต้องเปิดเผยความลับนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์และชี้แจงว่า ข้อกล่าวหาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด

:goodjob:
นอกจากนี้ ที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้ประชุมใดๆ กับกัมพูชา หรือมีข้อเสนอใดกับกัมพูชา เกี่ยวกับการเจรจาผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ตามที่นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวหาในการแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต่อรัฐสภา ในระหว่างวันที่ 23 - 25 ส.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กัมพูชา ยินดีจะเปิดการเจรจาอีกครั้งในเรื่องนี้ ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติและเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน 2 ประเทศ โดยมีการลงนาม ในท้ายแถลงการณ์ระบุ กรุงพนมเปญ วันที่ 30 ส.ค.54


เครดิต:breakingnews.nationchannel.com

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar