รัชกาลที่ 4 กษัตริย์เฒ่าหัวงูผู้ไม่อิ่มในกามคุณ
“อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี
ทำมโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา”
รัชกาลที่ ๔ ทวดของรัชกาลที่ ๙
เป็นผู้ที่มีประวัติโลดโผนมาก ก่อนเป็นกษัตริย์เคยบวชมานานและมีสาวกมาก
เพราะเป็นผู้ริเริ่มเทศน์แบบปาฐกถา ซึ่งเร้าอารมณ์
ไม่ใช้การแสดงธรรมตามธรรมเนียมแบบเก่าตามคัมภีร์ซึ่งไม่มีชีวิตชีวา(๑)
นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่รู้จักหาเสียงด้วยวิธีที่แหวกแนว โดยมีบรรดาสาวกคอยช่วยเหลือ
เผยแพร่การโฆษณาอันเป็นเท็จ เช่น กระพือข่าวว่า
ขณะที่เป็นสงฆ์นั้นเพียงแค่พระองค์ขอพระธาตุจากพระปฐมเจดีย์ในปี จศ.๑๑๙๓
พระบรมธาตุก็แสดงปาฏิหาริย์ตาม “เสด็จ” ถึงกรุงเทพฯ พอถึงปีจุลศักราช ๑๑๙๕
ภิกษุฟ้ามงกุฏุธุดงค์ไปถึงชัยนาท ก็มี “จระเข้ใหญ่ลอยขึ้นเหนือน้ำชื่นชมบารมี”
ครั้นนั่งวอไปสวรรคโลก ก็พบเสือร้ายใหญ่เท่าโค นอนกระดิกหางชื่นชมบารมีห่างจาก
“ทางเสด็จ” เพียง ๘ ศอก ครั้นไปถึงแก่งหลวง เมืองสวรรคโลก
ซึ่งเป็นหน้าแล้งไม่เคยมีปลามาก่อน ก็บังเกิดมีปลาตะเพียนใหญามากมายเหลือประมาณ
กระโดดขึ้นริมตลิ่ง ชื่นชมพระบารมี
และพอพระองค์เล่าให้ญาติโยมที่เมืองสุโขทัยฟังว่า
เมื่อคืนนี้ได้ฝันว่ามีชาวเมืองสุโขทัยมากมายมาขอให้อยู่ที่สุโขทัยนานๆหน่อยเท่านั้นเอง
ก็ปรากฏว่ามีฝนตกใหญ่ จนน้ำท่วมแผ่นดินถึง ๒ วันซ้อนในฤดูแล้ง เป็นปาฏิหาริย์ (๒)
นอกจากนี้ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ
ยังรู้จักวิธีการที่จะทำให้ประชาชนศรัทธาตนด้วยวิธีการแปลกๆไม่ต่างจากที่กล่าวไปแล้ว
พระองค์ถึงกับหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็น “ภิกษุยิ่งกว่าภิกษุอื่น”
ด้วยการบวชซ้ำบวชซากถึง ๖ ครั้ง ทั้งที่ตามพุทธบัญญัตินั้น
ทรงอนุญาตให้ทำอุปสมบทกรรมด้วยญัตติจตตุถกรรมวาจาเพียงคราวเดียว (๓)
ก็สำเร็จเป็นสงฆ์ ภาษิตไทยที่ว่าชายสามโบสถ์นั้นคบไม่ได้ แต่พระองค์เป็นถึงชาย ๖
โบสถ์จะน่าคบหาสมาคมด้วยเพียงใด
ท่านผู้อ่านก็ลองใช้สติปัญญาตรองดูเอาเถิด
โดยพื้นฐานแล้ว ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎอยากเป็นกษัตริย์มากกว่าเป็นพระ
ตามสิทธิแห่งการเป็นโอรสของราชินี และตามความปรารถนาของบิดา
ซึ่งพระยาตรังรัตนกวีแห่งรัตนโกสินทร์ตอนต้น บอกให้เรารู้ว่ารัชกาลที่ ๒
นั้นประกาศตั้งแต่ยังไม่สวรรคตว่า จะให้เจ้าฟ้ามงกุฎเป็นกษัตริย์(๔)
แต่ด้วยสติปัญญาของเจ้าฟ้ามงกุฎเองก็รู้ว่า ถ้าตนสึกเมื่อใด ก็หัวขาดเมื่อนั้น
จึงทนอดเปรี้ยวไว้กินหวานเพื่อสะสมกำลัง
โดยหวังที่จะเอาอย่างบุตรของพระเอกาทศรถผู้หนึ่ง
ซึ่งบวชจนได้เป็นพระพิมลธรรมและมีญาติโยมมากกระทั่งสามารถยกกำลังเข้าไปในวัง
และจับกษัตริย์ศรีเสาวภาคปลงพระชนม์
แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าทรงธรรมสมัยอยุธยา
การสะสมกำลังของภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนั้น
ใช้วิธีการที่น่าเกลียดไม่แพ้รัชกาลที่ ๑ ปู่ของตนเอง
ซึ่งใส่ร้ายป้ายสีพระภิกษุทั่วทั้งแผ่นดิน ดังจะเห็นได้ว่า
พอพระองค์บวชอยู่ที่วัดมหาธาตุได้ไม่ถึงปี ก็วิจารณ์พระภิกษุไทยว่า “สมณะเหล่านั้น
ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธา
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีรากเหง้าอันเน่าผุพัง”
ครั้นไปถามปัญหาต่างๆกับท่านที่เป็นอาจารย์ “ก็งุบงิบอ้อมแอ้ม
ไม่อธิบายให้กระจ่างสว่างได้” จึงต้องไปศึกษาพระธรรมวินัยกับภิกษุมอญ (๕)
หลังจากนั้นอีก ๕ ปี
ก็ใส่ไคล้ว่าสงฆ์หลายร้อยรูปในวัดมหาธาตุที่สถิตย์ของพระสังฆราช
อุปัชฌาย์ของพระองค์เอง เต็มไปด้วยภิกษุลามกอลัชชี (๖)
จึงหนีไปตั้งธรรมยุตินิกายที่วัดสมอราย
(๗)
การที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎคุยเขื่องถึงเพียงนี้ นับเป็นเรื่องที่น่าตลกมาก
เพราะเมื่อพระองค์บวชไม่ถึง ๑๒ เดือน ยังเป็นนวภิกขุ แปลบาลีก็ไม่ได้
กลับเพ้อเจ้อว่าพระมอญรู้วินัยดีกว่าพระไทย
และยังมีสติปัญญาแก่กล้าถึงขนาดที่ถามปัญหาธรรม ไล่ต้อนจนอาจารย์จนแต้มได้
พึงทราบว่าอุปัชฌาย์ของพระองค์ สมเด็จพระสังฆราช(ต่วน) ธรรมดานั้น
ภิกษุใหม่มีปัญหาอะไร ย่อมต้องศึกษาหาความรู้กับอุปัชฌาย์
ในกรณีของภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนี้เป็นไปได้หรือที่ พระสังฆราชประมุขของสงฆ์ทั่วราชอาณา
ถึงกับจนแต้มศิษย์น้อยจอมกระล่อนที่บวชพระได้ไม่ถึงปี?
ถ้าไม่เรียกว่าเป็นการโป้ปดมดเท็จแล้วจะเรียกว่าอะไร?
แน่นอนการที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ
ยกตนข่มครูโดยปราศจากความเคารพด้วยการอุตริมนุสธรรมเช่นนี้
ก็เพื่อเหตุผลประการเดียว คือการโฆษณาหาเสียง สร้างความนิยมในหมู่สาวก
เพื่อเตรียมการเป็นกษัตริย์ในวันหน้า
การดึงเอาพระศาสนามาแปดเปื้อนการเมืองของภิกษุมงกุฎนั้น
มิใช่จะไม่มีผู้ใดจับได้ไล่ทัน คุณ ส.ธรรมยศ นักปรัชญาคนสำคัญวิจารณ์ว่า
ธรรมยุติและมหานิกายมีวัตรปฏิบัติต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น วิธีการครองผ้า
วิธีสวดมนต์ และวิธีลงอุโบสถสังฆกรรม
ซึ่งเป็นความแตกต่างเพียงเศษหนึ่งแห่งเสี้ยวธุลีดิน
ไม่เหมือนกับนิกายแคทอลิคและโปรแตสแตนในคริสต์ศาสนา ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ตั้งแต่ วัด คัมภีร์ ชีวิตของพระและการแต่งกาย
จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่พระองค์จะแยกธรรมยุติเป็นอีกนิกายหนึ่งต่างหากจากมหานิกาย
เหมือนกับที่โปรแตสแตนแยกตัวออกจากแคธอลิค(๘)
หากจะกล่าวถึงสาเหตุที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ
แยกตนมาตั้งธรรมยุตินิกาย
และรังเกียจไม่ให้คณะมหานิกายซึ่งเป็นสงฆ์ส่วนใหญ่ของประเทศร่วมสังฆกรรมกับตน
โดยไม่ยอมรับว่าการอุปสมบถกรรมของฝ่ายมหานิกายบริสุทธิ์พอ
คือไม่ถือว่าคณะภิกษุฝ่ายมหานิกายเสื่อมถอยไปเสียจากพระธรรมวินัย
จึงยังไม่นับว่ามีเหตุผล เพราะใครจะกล้าอวดอ้างว่า
โดยพื้นฐานแล้วมหานิกายตกต่ำกว่าธรรมยุติ ดูเอาแต่ประมุขของแต่ละคณะเถิด
ใครจะกล้ายืนยันว่าสมเด็จปาวัดโพธิ์พระสังฆราชองค์ก่อนฝ่ายมหานิกาย
มีวัตรปฏิบัติอ่อนด้อยกว่าสมเด็จวัดมงกุฎ สังฆราชองค์ก่อนหน้าท่าน
และอ่อนด้อยกว่าสมเด็จวัดราชบพิธ สังฆราชองค์ปัจจุบันซึ่งเป็นฝ่ายธรรมยุตินิกาย
หากย้อนไปสู่อดีตใครเลยจะกล้ารับรองว่าภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ
มีศีลบริสุทธิ์และสันโดษเสมอด้วยพระเถระฝ่ายมหานิกาย
ซึ่งมีอยู่ในยุคสมัยใกล้เคียงกับพระองค์ เช่น
สมเด็จพุฒาจารย์(โต)และสมเด็จพระสังฆราช(สุก)
ซึ่งเชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระจนทำให้ไก่ป่าเชื่องได้
ด้วยเหตุนี้ คุณ ส.ธรรมยศ จึงวิจารณ์ว่า
การที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎตั้งนิกายธรรมยุตินั้น
“ไม่ใช่เนื่องจากแต่ความเสื่อมโทรมของศาสนา กล่าวให้ชัดก็คือ
ทรงตั้งธรรมยุติกะขึ้นมาในนามของพระพุทธศาสนา เพื่อการเมือง
คือเอาพระพุทธศาสนามาเป็นโล่ เป็นเครื่องมือของพระองค์เพื่อชิงเอาราชสมบัติ” (๙)
ในที่สุดเจ้าฟ้ามงกุฎก็เล่นการเมืองเต็มที่
ด้วยการคบหากับขุนนางตระกูลบุนนาคขณะที่ยังอยู่ในสมณเพศ
เพื่อสร้างหนทางทอดไปสู่ความเป็นกษัตริย์
สำหรับจุดเริ่มต้นแห่งสัมพันธภาพดังกล่าวนั้น
กรมฯดำรงราชานุภาพเล่าไว้ในหนังสือประวัติเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ว่า
เมื่อจวนสิ้นรัชกาลที่ ๓ นั้นพวกบุนนาคอยากให้ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นกษัตริย์
จึงปฏิสังขรณ์วัดบุปผารามเป็นวัดธรรมยุติ
จนสามารถสนิทสนมกับพระองค์ตั้งแต่คราวนั้น(๑๐)
ในที่สุดพอถึงปลายรัชกาลที่ ๓
ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎก็กำลังกล้าแข็งมาก ในวันอังคารเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ
เป็นวันที่รัชกาลที่ ๓ มีอาการทรุดหนัก สุดวิสัยที่จะรักษาได้ ในวันพุธ เดือน ๔
แปดค่ำเจ้าพระยาพระคลัง หัวหน้าพวกบุนนาคจึงเชิญภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์
ทั้งที่รัชกาลที่ ๓ ยังมาสวรรคต(๑๑)
ในคราวที่รัชกาลที่ ๒ สวรรคตนั้น
ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเที่ยวถามใครต่อใคร เช่น น้าชายของตนเอง
และกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสว่า
ควรสึกเพื่อเรียกร้องสิทธิที่จะได้รับสมบัติหรือไม่ จนได้ข้อสรุปว่าไม่ควรสึก
แต่เมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงคราวรัชกาลที่ ๓ จะสิ้นแล้ว
พระองค์ไม่พักต้องไปถามใครทั้งสิ้น
ยินยอมตกลงตามข้อเสนอของเจ้าพระยาพระคลังด้วยความยินดี
โดยไม่ได้อาลัยอาวรณ์ผ้ากาสาวพัสตร์และตำแหน่งประมุขแห่งธรรมยุตินิกายแม้แต่น้อย
ในที่สุดภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎก็ได้เป็นกษัตริย์ ทั้งที่รัชกาลที่ ๓
ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้เป็นเช่นนี้เลย เซอร์ แฮรี่ ออด
เจ้าเมืองสิงคโปร์สมัยรัชกาลที่ ๔ เขียนจดหมายเหตุเล่าว่า รัชกาลที่ ๓
อยากให้ราชสมบัติตกอยู่กับลูกชายตนเอง(๑๒) ซึ่งก็ได้แก่พระองค์เจ้าอรรณพ
เพราะพระองค์เคยมอบแหวนและเครื่องประคำของรัชกาลที่ ๑ อันเป็นของสำหรับกษัตริย์
ให้แก่ลูกชายคนนี้ก่อนสวรรคต(๑๓)
แต่โชคร้ายที่พระองค์เจ้าอรรณพไม่ได้สิ่งของดังกล่าวตามสิทธิ(๑๔)
เพราะถูกกีดกันจากฝ่ายภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาเป็นรัชกาลที่ ๔
และได้มอบประคำและแหวนดังกล่าวให้แก่รัชกาลที่ ๕ ต่อไป(๑๕)
ในภายหลังไม่มีใครรู้เรื่องราวของพระองค์เจ้าอรรณพอีกเลย(๑๖)
สำหรับภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนั้นพอเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
พระองค์ก็หลงใหลปลาบปลื้มอยู่กับกามารมณ์ไม่รู้สร่าง
พวกขุนนางที่รู้ว่ากษัตริย์พอใจในเรื่องพรรค์นี้
ได้กวาดต้อนเอาผู้หญิงมาบำรุงบำเรอเจ้าชีวิตของตนเต็มที่
เหมือนกับที่สุนทรภู่สะท้อนภาพศักดินาใหญ่ไว้ในกาพย์พระไชยสุริยาว่า
คลิกอ่านต่อทั้งหมด-รัชกาลที่ ๔ กษัตริย์ เฒ่าหัวงูผู้ไม่อิ่มในกามคุณ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar