fredag 30 juni 2017

พระเทพฯ กับ สยามพิวรรธน์ และย่านศูนย์การค้าสยาม (ข้อมูล)


Image may contain: 1 person 
พระเทพฯ กับ สยามพิวรรธน์ และย่านศูนย์การค้าสยาม (ข้อมูล)

พระเทพฯ กับ สยามพิวรรธน์ และย่านศูนย์การค้าสยาม (ข้อมูล)
อย่างที่รู้กันว่า หนึ่งในสองกลุ่มทุนใหญ่ที่ดำเนินการ "ไอคอนสยาม" (และที่โฆษณาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปีกลายว่าจะมี "หอชมเมือง" เป็นหนึ่งใน "เจ็ดมหัศจรรย์" ของ ไอคอนสยาม ก่อนที่ รบ.คสช. จะมี "มติ" ปลายปีว่า รัฐบาลมี "นโยบาย" จะสร้างหอชมเมือง) คือ กลุ่มบริษัท "สยามพิวรรธน์"
(เมื่อวานเห็นข้อเขียนของคุณวีระ ธีรภัทร เขียนว่า "สองบริษัทที่ว่าบริษัทแรกเป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ของตระกูลเจียรวนนท์ ส่วนบริษัทหลัง [สยามพิวรรธน์] ไม่อยากพูดถึงไปหาข้อมูลกันเอาเอง")
ตามข้อมูลของ ดร.แซร์หัต อือนัลดี (Serhat Ünaldi) นักวิชาการเยอรมันที่วิจัยเกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ไทย โดยเฉพาะในเขตบริเวณราชประสงค์-สยาม (เขตที่มีการชุมนุมเสื้อแดงปี 2553) ในบทความเรื่อง Working Towards the Monarchy and its Discontents: Anti-royal Graffiti in Downtown Bangkok ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Contemporary Asia ปีที่ 44 ฉบับที่ 3 (ต้องเป็นสมาชิกถึงอ่านได้ แต่ผมเคยเห็นเคยมีคนเอามาเผยแพร่ออนไลน์ https://goo.gl/pZWYCu)
พระเทพ เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณสยาม ดังนี้ ที่ดินวังสระปทุม, ที่ดินที่ตั้งโรงแรมสยามเคมปินสกี้, ที่ดินที่ตั้งสยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์, สยามคาร์พาร์ค, สยามทาวเวอร์, และสยามดิสคัพเวอรี่
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณนั้น ดังนี้ ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งห้างอิเซตัน, โรงแรมเซนทาร่าแกรนด์, ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล, ห้างเซน, สำนักงานเซ็นทรัลเวิร์ล, ชุมชนหลังวัดปทุม (ย่านสลัม), และ โรงเรียนวัดปทุม (ที่ดินส่วนทีตั้งวัดเป็นของวัด)
พระเทพฯและในหลวงภูมิพล ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน สยามพิวรรธน์ (ชื่อบริษัทพระราชทานของพระเทพ) โดยในหลวงภูมิพลถือหุ้น 180,000 หุ้น และพระเทพ 4.32 ล้านหุ้น ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อต่อมาจากกระทรวงการคลังและธนาคาร CIMB Thai ในปี 2546 และ 2548 รวมกันแล้วครอบครัวราชวงศ์ไทย (พระเทพ-ในหลวงภูมิพล ไม่นับหุ้นของสยามพิวรรธน์ ที่ถือโดยกองทุนลดาวัลย์ และ ธ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในเครือ สนง.ทรัพย์สินฯ) จึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับสองของ สยามพิวรรธน์ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการพวกศูนย์การค้าต่างๆที่ตั้งบนที่ดินของพระเทพข้างต้น
ดังนั้น พระเทพ จึงมีรายได้สองต่อ คือ ต่อแรก ในฐานะเจ้าของที่ดิน ที่ให้ศูนย์การค้าเหล่านั้นเช่า และอีกต่อหนึ่ง ในฐานะผู้ถือหุ้น สยามพิวรรธน์ ที่ดำเนินการศูนย์การค้าเหล่านั้น
ดร.แซร์หัต คำนวนว่า ในฐานะเจ้าของที่ดิน (รายได้ต่อที่หนึ่ง) พระเทพ น่าจะมีรายได้จากค่าเช่าต่อปี ราว 1.68 พันล้านบาท (โดยคำนวนจากอัตรา ราคาเช่าที่ดินกลางกรุงเทพ 600 ล้านบาทต่อไร่ จำนวน 70 ไร่ และการขึ้นราคาค่าเช่า 4% ต่อปี)
ส่วนรายได้ในฐานะผู้ถือหุ้น สยามพิวรรธน์ (รายได้ต่อที่สอง) จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ที่ ดร.แซร์หัตได้มา ในปี 2553 พระเทพ ได้รายได้ในฐานะผู้ถือหุ้นสยามพิวรรธน์ 145 ล้านบาท หรือเกือบ 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมดที่บริษัทแจกจ่ายให้ผู้ถือหุ้นในปีนั้น


ข้อมูลล่าสุด (เมย.2560) ผู้ถือหุ้นสยามพิวรรธน์ 1ใน2กลุ่มทุน ไอคอนสยาม-หอชมเมือง: พระเทพ 24.85%, สนง.ทรัพย์สิน10% ...

นี่ครับ ข้อมูลล่าสุด (28 เมษายน 2560) ผู้ถือหุ้น "สยามพิวรรธน์" หนึ่งในสองกลุ่มทุนดำเนินการ ไอคอนสยาม-หอชมเมือง
เรียกได้ว่า โดยพื้นฐานก็ตรงกับตัวเลขที่ผมโพสต์ในกระทู้แรกสุดเรื่องนี้ ("หอชมเมือง = ทุนสถาบันกษัตริย์+ทุนซีพี" https://goo.gl/2hkcCo) ซึ่งผมเอามาจาก ไทยวิกิพีเดีย ที่ว่า พระเทพ 25% สนง.ทรัพย์สินฯ 10% ธ.ไทยพาณิชย์ 10% รวมแล้วคือ "ทุนสถาบันกษัตริย์" ถือหุ้นราว 45% ของสยามพิวรรธน์
ตามตัวเลขล่าสุดนี้ ก็เรียกว่าเกือบจะตรงเป๊ะ ต่างกันนิดแค่ว่า ที่ไทยวิกิพีเดีย เรียกว่า "สนง.ทรัพย์สินฯ" ความจริงคือถือในนาม "ทุนลดาวัลย์" ซึ่งเป็นบริษัทกองทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ
- พระเทพฯ 24.85%
- ทุนลดาวัลย์ (สนง.ทรัพย์สินฯ) 10.42%
- ธนาคารไทยพาณิชย์ 9.50%
(แล้วยังมีหุ้นของในหลวงภูมิพล 1.03%)
รวมแล้ว "ทุนสถาบันกษัตริย์" ถือหุ้นใน "สยามพิวรรธน์" ราว 45%
อย่างที่บอกแต่แรกแหละครับว่า "ไอคอนสยาม-หอชมเมือง = ทุนสถาบันกษัตริย์+ทุนซีพี"

No automatic alt text available.





Inga kommentarer:

Skicka en kommentar