หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับประจำวันที่ 12 มกราคม 2555 รายงานว่า ราชนิกูลกลุ่มหนึ่งได้ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
โดยราชนิกูลผู้มีชื่อเสียงจำนวน 8 คน ได้แก่ หม่อม ราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ (ธิดาในหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ หรือ ท่านชิ้น - มติชนออนไลน์), หม่อมราชวงศ์สายสิงห์ ศิริบุตร (ธิดาในหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ - มติชนออนไลน์), หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ (ธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ - มติชนออนไลน์), นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (อดีตเอกอัครราชทูต - มติชนออนไลน์), พลเอก หม่อมราชวงศ์กฤษต กฤดากร, หม่อมราชวงศ์ภวรี สุชีวะ (รัชนี), หม่อมราชวงศ์โอภาส กาญจนะวิชัย และนายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ได้ลงนามในจดหมายที่ส่งไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มกราคม ซึ่งมีเนื้อหาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายมาตรา ดังกล่าว
จดหมายที่ส่งไปถึงนายกรัฐมนตรีมีเนื้อหาระบุว่า จำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญในช่วงเวลา 7 ปี จากจำนวน 0 คดี ในปี พ.ศ.2545 มาเป็น 165 คดี ในปี พ.ศ.2552 ซึ่งข่าวคราวเกี่ยวกับคดีความเหล่านั้นได้ถูกรายงานไปทั่วโลก และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
จดหมายของราชนิกูลกลุ่มนี้ยังได้อ้างถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2548 ซึ่งทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่าการลงโทษจับกุมคุมขังบุคคลผู้วิพากษ์วิจารณ์ สถาบันนั้น มีแต่จะก่อปัญหาให้แก่พระองค์เอง ("แต่ อย่างไรก็ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ ว่าวิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์" - พระราชดำรัส 4 ธันวาคม 2548)
"นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระ ราชดำรัสดังกล่าว มีรัฐบาลหลายชุดหมุนเวียนกันเข้ามาบริหารประเทศ แต่ไม่มีรัฐบาลชุดใดเลยที่จะริเริ่มดำเนินการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ รวมทั้งรัฐบาลชุดปัจจุบัน" จดหมายที่ส่งถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุ
"เมื่อครั้งที่รัฐบาลจัดกิจกรรมเฉลิมพระ เกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปี พ.ศ.2554 รัฐบาลควรใช้โอกาสนั้น ทำความเข้าใจในพระราชประสงค์ของในหลวงต่อประเด็นดังกล่าวด้วย" นายสุเมธ หนึ่งในผู้ร่วมลงชื่อในจดหมายกล่าวและว่า ราชนิกูลกลุ่มนี้ได้พบปะกันในช่วงสิ้นปี 2554 เพื่อร่วมครุ่นคิดในประเด็นว่าด้วย "การ บังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ในทางที่ผิดซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายเช่นนั้นที่มีต่อประเทศไทย ทั้งภายในไทยเองและภายนอกประเทศ"
"ที่สำคัญสุดเหนือสิ่งอื่นใด พวกเราต้องการให้มีการคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายมาตราดังกล่าว" นายสุเมธ ให้สัมภาษณ์
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ราชนิกูลกลุ่มนี้ออกมาเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ แต่กลับไม่มีการระบุอย่างเด่นชัดว่าเนื้อหาของกฎหมายในส่วนใดที่ควรได้รับ การแก้ไข
"พวกเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เราคิดว่านี่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งต้องแสวงหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น" นายสุเมธกล่าวและว่า เป็น หน้าที่ของรัฐบาลชุดนี้ที่จะทำการปกป้องสถาบัน และในกรณีนี้ ยังถือเป็นการเอาใจใส่ต่อความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สังคมไทยกำลังแตกแยก ประชาชนแบ่งออกเป็นฝักฝ่ายอย่างสุดขั้ว รัฐบาลจึงควรให้ความสนใจกับคำแนะนำของในหลวง ก่อนจะดำเนินมาตรการอื่นใด
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในวันที่ 12 มกราคมว่า ยังไม่ได้รับจดหมายจากราชนิกูลกลุ่มนี้
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar