måndag 16 januari 2012

เปิดโปงความชั่วช้าเลวทรามของพรรคประชาวิบัติและรัฐบาลชวนที่ก่อหนี้สิน ๑.๑๔ ล้านล้านบาทให้กับประเทศชาติ

การพูดเอาดีเข้าตัว เอาชั่วใส่คนอื่น ดูเหมือนว่ายังคงเป็นแนวทางอันเหนียวแน่นที่พรรคประชาธิปัตย์ในยุคที่มี “มาร์ค แอนด์ เดอะ แก๊งค์”ดูแลนั้น นิยมชมชอบเป็นอย่างมาก
ไม่น่าเชื่อเลยว่า ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง เพราะประชาชนเบื่อหน่ายการดีแต่พูด ทำงานไม่เป็น หรือพอจนแต้มขึ้นมาก็จะพูดเอาดีเข้าตัว โยนผิดโยนชั่วไปให้คนอื่นนั้น ไม่ได้ทำให้เกิดอาการรู้สึกตัวเกิดขึ้นกับบรรดานักพูดกลุ่มนี้เลย
แม้ขนาดว่าคนเก่าคนแก่ในพรรคพยายามที่จะสะกิดเตือนก็ไม่มีการสนใจรับฟัง เพราะแม้ปากจะอ้างให้ดูหรูดูดีเข้าตัวว่า จะเล่นการเมืองอย่างสร้างสรรค์ แต่ในความเป็นจริงกลับเป็นคนละเรื่อง
ตัวอย่างล่าสุดที่เห้นได้ชัดก็คือ กรณีการที่จะต้องหาทางแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท
ซึ่งเรื่องนี้คนในวงการสถาบันการเงิน คนในธนาคารแห่งประเทศไทย คนในกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวกับหนี้ก้อนนี้ ล้วนรู้ดีถึงที่มาที่ไปว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร!
ที่สำคัญลึกๆแล้วใครเป็นคนที่ปล่อยปละละเลย จนต้องเกิดปัญหากับระบบสถาบันการเงินขึ้นมา จนสุดท้ายจึงต้องมีการตั้งกองทุนฟื้นฟูฯขึ้นมารับภาระ
ในช่วงรัฐบาลของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทย ผิดพลาดในการที่เข้าไปปกป้องค่าเงินบาทจากการโจมตีของ จอร์จ โซรอส จนทำให้ประเทศชาติถังแตก เงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือสุทธิเพียง 7 พันล้านเหรียญ
สุดท้ายประเทศไทยต้องตกอยู่ภายใต้การกำกับของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ทำให้นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีคลังในขณะนั้น ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นคนลงนามสั่งปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง โดยไม่มีมาตรการรองรับที่ครบถ้วน ทำให้สถาบันการเงินและธนาคารทรุดกันไปทั้งระบบ!
จนต้องมีการตั้งกองทุนฟื้นฟูขึ้นมาอุ้ม และกลายเป็นภาระหนี้ที่เป็น”มรดกบาป”ที่ตกทอดมาถึงทุกวันนี้….
เรื่องนี้นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติคนปัจจุบัน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีคลังคนปัจจุบัน ทั้งคู่เคยเป็นอดีตลูกหม้อแบงก์ชาติย่อมจะต้องรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี!
รวมทั้งนายกรณ์ จาติกวณิช คนที่ใฝ่ฝันว่าจะขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แทนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อที่จะได้มีโอกาสขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสักครั้งหนึ่งในชีวิตนั้น ก็ย่อมจะต้องรู้เรื่องดี
เพราะญาติของนายกรณ์ คือนายปิ่น จักกะพาก ที่ต้องหนีคดีไปอยู่อังกฤษก็เพราะการล้มของอาณาจักรเอก ที่เกิดจากความผิดพลาดในการควบคุมดูแลสถาบันการเงินของแบงก์ชาติ จนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
สถาบันการเงินล้มกันระนาว ปิดฉากอาณาจักรเอกด้วย ฉะนั้นนายกรณ์ย่อมควรจะต้องรู้ชัดและจำได้ดี
ซึ่งแน่นอนว่า กูรูเศรษฐกิจระดับแถวหน้าของเมืองไทยอย่าง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง ที่ผ่านประสบการณ์และได้เห็นวิกฤตครั้งแล้วครั้งเล่าที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย และรู้ดีว่าเกิดขึ้นเพราะฝีมือใค?
มารอบนี้เมื่อมาเจอการพยายามเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงในเรื่องหนี้กองทุนฟื้นฟูฯจำนวนมหาศาล ของทางผู้บริหารแบงก์ชาติยุคปัจจุบัน ก็เลยเกิดอาการทนไม่ได้ และสวนหมัดเตือนสติเพื่อให้รู้ว่า....
ตลอดเวลาที่ผ่านมา แบงก์ชาติอย่าคิดว่าทำอะไรไว้แล้วคนจะไม่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานเลวร้ายในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 ซึ่งถือเป็นตราบาปของแบงก์ชาติครั้งสำคัญก็ว่าได้
ดร.โกร่ง ได้มีการพูดเอาไว้ชัดเจนมาโดยตลอดในเรื่องแบงก์ชาติ ปลายปีที่ผ่านมาก็มีการไปพูดทาง Money Channel ว่า...
ต้องยอมรับ ที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้โยนภาระให้กับประชาชน ผู้เสียภาษีเป็นอย่างมาก จากการบริหารงานที่ผิดพลาดของแบงก์ชาติ การเข้าไปโอบอุ้มสถาบันการเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ซึ่งสร้างภาระหนี้มากมายให้กับประเทศ และเป็นภาระการชดใช้ของกระทรวงการคลัง
“ที่ผ่านมาแบงก์ชาติสร้างวิกฤติมาเป็นระยะๆ ที่จริงเราไว้ใจแบงก์ชาติไม่ได้ ทุกสิบปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติจะสร้างความเสียเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ แต่ไปว่าฝ่ายการเมืองสร้างความฉิบหายให้กับประเทศ ทั้งที่ตนเองคนทำให้เกิดความฉิบหาย”
นี่คือคำพูดที่ ดร.วีระพงษ์ รามางกูร พูดตรงไปตรงมาเอาไว้ในวันนั้น…!!
แต่แทนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติจะรู้สึกตัว และพัฒนาตัวเองขึ้นมาบ้าง กลับยังคงเส้นคงวากับการเรียกร้องอิสระ ไม่ต้องการให้กระทรวงการคลังหรือการเมืองเข้ามาแทรกแซง ทั้งๆที่การเข้ามาแทรกแซงนั้นจะเป็นการเข้าไปเพื่อการแก้ไขปัญหาก็ตาม
เพราะจริงๆแล้วในเรื่องของการที่จะต้องแก้ไขหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯนั้น เป็นเรื่องที่ทำกันมาระยะหนึ่งก่อนหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แล้ว สำนักบริหารหนี้ของกระทรวงการคลังรู้ดีถึงดีลนี้ ตั้งแต่ตอนที่นางพรรณี สถาวโรดม เป็นผู้อำนวยการแล้ว และเมื่อประชาธิปัตย์พลิกขั้วการเมืองเข้ามาเป็นรัฐบาล นายกรณ์ เข้ามาเป็นรัฐมนตรีคลัง นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้ในขณะนั้นก็เป็นคนทำเรื่องการแก้ไขหนี้กองทุนฟื้นฟูฯให้นายกรณ์แล้วด้วย
แม้แต่นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้คนปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นเป็นรองผู้อำนวยการ ก็เป็นคนที่ทำแผนในเรื่องการแก้ไขหนี้กองทุนฟื้นฟูฯนี้ด้วย
เพราะนายกรณ์ กระทรวงคลัง และแบงก์ชาติ รู้ดีว่าไม่แก้ไขไม่ได้ เนื่องจากกองทุนฟื้นฟูฯกำลังจะสิ้นสุดอายุลง แต่หนี้ไม่ได้สิ้นสุดเพราะแบงก์ชาติปลดหนี้ก้อนนี้ไม่ได้ แถมที่ผ่านมาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย บริหารประเทศในปี 2541 ถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการนำงบประมาณของชาติซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชนมาจ่ายดอกเบี้ยให้ปีละประมาณ 65,000 ล้านบาท
รวมเป็นเงินที่จ่ายดอกเบี้ยไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 600,000 ล้านบาทแล้ว โดยที่เงินต้นที่แบงก์ชาติต้องเป็นผู้ใช้หนี้พบว่ากว่า 13 ปีที่ผ่านมา เงินต้นลดลงไปเพียง 300,000 ล้านบาทเท่านั้น
กลายเป็นว่าหนี้กองทุนฟื้นฟูฯเป็นหนี้ที่ประชาชนต้องชดใช้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเช่นนั้นหรือ??
บางกอก ทูเดย์ ขอเตือนความทรงจำสังคม เตือนความทรงจำคนแบงก์ชาติ ว่าจำกันไม่ได้จริงๆหรือว่าหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ที่ปัจจุบันมียอดคงค้างจำนวน 1.14 ล้านล้านบาทนั้น เป็นหนี้ที่เกิดจากการที่รัฐบาลนายชวน โดยนายธารินทร์ ลงนามปิดสถาบันการเงิน จนเกิดหนี้จำนวนนี้ขึ้นมาโดยที่ประชาชนไม่ได้เป็นผู้ก่อ!!
ถ้าตอนนั้นแบงก์ชาติไม่ได้ทำอะไรอิสระ แอบฝืนไปสู้ค่าเงินบาท จนขาดทุนเกือบ 800,000 ล้านบาท เงินทุนสำรองแทบหมดหน้าตัก สุดท้ายต้องปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง แต่ก็เอาไม่อยู่ ต้องให้รัฐบาลนายชวนช่วยโดยการขออำนาจแก้กฎหมายกองทุนฟื้นฟู กลายเป็นขาดทุนซ้ำอีก
จากนั้นก็ให้ ปรส.นำเอาทรัพย์สินสถาบันการเงินออกประมูลขาย โดยห้ามไม่ให้ลูกหนี้ประมูล แต่กลับเอาไปประเคนประมูลให้ต่างชาติเข้ามาเก็บของถูก แล้วไปฟันกำไรขายคืนให้ลูกหนี้ตามเดิม จนในที่สุดก็ขาดทุนรวมเป็นล้านล้านบาท
ผลงานของแบงก์ชาติในยุครัฐบาลนายชวน หลีกภัย ที่มีนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ เป็นรัฐมนตรีคลัง น่าจะเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จำได้ดีไม่ใช่หรือ??? แม้ว่าจะไม่อยากพูดถึงโดยเฉพาะกรณีของ ปรส. ที่ถูกเรียกเป็นการขายชาติ-เป็นการปล้นชาตินั้น จำได้หรือไม่?
ตอนนั้นแม้แต่ สนธิ ลิ้มทองกุล ในนามปากกา พายัพ วนาสุวรรณ ก็ออกมาจวกเรื่อง ปรส. ออกมากะเทาะเปลือก..ธารินทร์ อย่างหนัก ในขณะที่ประชาธิปัตย์ดูเหมือนจะภาวนาให้เรื่องคดี ปรส.ขาดอายุความเสียที
แต่ความจริงก็คือความจริง ว่านี่คือต้นตอของหนี้สิน 1.14 ล้านล้านบาท ที่ประชาธิปัตย์ และแบงก์ชาติ พยายามบอกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังจะสร้างปัญหา
ทั้งๆที่นี่คือความพยายามที่จะยุติปัญหาการที่ต้องเอาเงินภาษีของประชาชนมาอุดมาโป๊ะนานกว่า 13 ปีเข้าไปแล้วนั่นเอง
จึงไม่แปลกที่ ดร.วีรพงษ์จะทนไม่ได้ จนต้องออกทีวีแฉให้ประชาชนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร โดยเฉพาะเรื่องหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นกองทุนหนึ่งในธปท. ผู้ว่าการธปท. เป็นผู้จัดตั้ง ผู้จัดการกองทุนก็เป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร กรรมการส่วนมากก็มาจากหน่วยราชการและของธปท.
แต่กลายเป็นว่าหนี้จะให้เป็นภาระกับรัฐบาล ซึ่งก็กลายเป็นข้อจำกัดต่อการทำโครงการทั้งหลาย อาทิ โครงการฟลัดเวย์ สร้างเขื่อน ก็ทำไม่ได้ เพราะยอดหนี้สาธารณะค้ำคออยู่ เนื่องจากตั้งไว้ไม่ให้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ใช้งบประมาณรายจ่ายทั้งต้นทั้งดอกไม่ให้เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ เหลืออีก 30 กว่าเปอร์เซ็นต์จะเอาไปทำอะไรได้
บัดนี้ ธปท.เข้มแข็งแล้ว มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอันดับที่ 17 ของโลก มีเงินสดอยู่ในมือ 3 ล้านล้านบาท แต่ก็บริหารขาดทุนหมด ทั้งๆ ที่มีอำนาจอยู่ในมือ ทำให้หนี้กลายเป็นหนี้ตลอดกาลอวสาน จึงกลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่สามารถสร้างประเทศได้ ติดขัดวินัยการคลังอยู่ ทั้งที่ไม่ใช่รัฐบาลทำกลับมาโยนให้
ตอนนี้ธปท.เข้มแข็งแล้วต้องขอคืนไป เราจะได้กลับมาพัฒนาประเทศและสร้างอนาคตของชาติต่อไป
“สังคมไทยไว้ใจ ธปท. แต่ไม่ไว้ใจรมว.คลัง และนักการเมือง ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเป็นฝีมือธปท.ทั้งสิ้น ถ้าปิดประตู ไม่ให้รมว.คลังทำกำไรได้ แบงก์ชาติก็เป็นรัฐอิสระร้อยเปอร์เซ็นต์แทน และชอบพูดให้สังคมไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย เพราะคณะรัฐมนตรีและนักการเมืองมาจากประชาชน ส่วนแบงก์ชาติไม่ได้มาจากประชาชนเลยแต่กลับมาพูดไม่ให้ไว้วางใจนักการเมือง จึงควรเปิดประตูไว้บ้างไม่ใช่ปิดประตูตายเลย”
ที่สำคัญ ดร.วีรพงษ์ยืนยันว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจของธปท.ที่ต้องไปดูแล เราไม่อยากไปแตะต้อง หากธปท. ไม่ทำอะไรเลย หนี้ก้อนดังกล่าวของกองทุนฟื้นฟูฯ คงเป็นหนี้ไปตลอดกาลอวสาน กินแต่เงินภาษีประชาชนไปเรื่อยๆ ถ้าจะต่อว่าต้องต่อว่าธปท.
นี่คือความจริงที่สังคมต้องฟังกันด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง จึงจะรู้ว่า ดร.วีรพงษ์พูดบนพื้นฐานของผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ในขณะที่นายประสารนั้น แน่นอนว่าในฐานะผู้ว่าแบงก์ชาติก็ย่อมต้องปกป้องแบงก์ชาติเป็นหลัก แต่สำคัญที่สุดนายประสารเป็นคนเก่ง มีความสามารถและฉลาดพอที่จะรู้ว่า หนี้กองทุนฟื้นฟูฯนั้นเป็นภาระก้อนโต ที่หากเลี่ยงได้ งอแงไม่ยอมรับได้ก็ต้องหาทางเลี่ยงให้ถึงที่สุดไว้ก่อน ซึ่งก็ถือเป็นปกติของมนุษย์เรา
แต่ที่หลายคนไม่เข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกรณีปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯในครั้งนี้ก็คือ ท่าทีของนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีคลัง ที่ดูเหมือนว่าจะเอนๆไปทางแบงก์ชาติมากกว่าทางรัฐบาล ทั้งๆที่นายธีระชัย ถือเป็นหนึ่งในรัฐมนตรีส้มหล่น ที่ได้มานั่งเก้าอี้สำคัญ ได้โอกาสโชว์ฝีมือในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นมีคนที่อยู่ในข่ายเป็นแคนดิเดตรัฐมนตรีคลังไม่น้อย
แต่นายธีระชัยก็ได้เป็นคนที่เข้าวินในที่สุด ส้มหล่นใส่จนเท้าบวม ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนอิจฉาอยู่แล้ว แต่ทำไมจึงไม่รีบแสดงฝีมือโชว์ผลงาน จนทำให้เวลานี้นายธีระชัยกลายเป็น 1 ในรัฐมนตรี ที่ถูกจับตามองว่าหากมีการปรับครม. ก็มีสิทธิ์ที่จะหลุดโผได้
จริงๆแล้วแค่นายธีระชัย ขานรับเป็นวงเดียวกันเนื้อเดียวกันกับการทำงานของรัฐบาล ร้องเพลงประสานเสียงกันไป ก็จะไม่ถูกตั้งคำถามแล้ว แต่กลับเลือกที่จะร้องเพลงเดี่ยว เลือกที่จะแหกคีย์ จึงทำให้ภาพที่ออกมากลายเป็นที่น่าหวาดเสียวสำหรับตัวนายธีระชัยเอง
นายธีระชัยแค่จดจำว่าครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง รูปภาพหน้าของนายธีระชัยเป็นคนหนึ่งที่ถูกคนชั้นกลางที่บาดเจ็บจากวิกฤตเศรษฐกิจ เอาไปทำเป้าปาลูกดอกหาเงินแถวๆทองหล่อ สุขุมวิท
และนายธีระชัย เป็นคนหนึ่งที่ไม่สามารถจะนั่งทำงานที่แบงก์ชาติได้หลังวิกฤต จึงต้องขยับขยายย้ายมา
นั่งที่ กลต. แทน สิ่งเหล่านี้นายธีระชัยน่าที่จะยังจดจำได้ และรู้ดีว่าที่ผ่านมาแบงก์ชาติทำอะไร และรับ
ผิดชอบกับผลงานเพียงใด
จริงๆในฐานะรัฐมนตรีคลัง นายธีระชัยน่าจะรู้ดีว่า แบงก์ชาตินั้นไม่ควรเป็นอิสระชนิดสุดขั้วอย่างที่ผ่านๆมา แต่ควรจะต้องให้มีการตรวจสอบได้ ให้คานอำนาจได้
เพราะไม่เช่นนั้นคนที่จะแย่จะพังจากเรื่องนี้จะเป็นนายธีระชัยเองนั่นแหละ...ขอเตือน!อย่าได้อยู่ด้วยความประมาท ในโลกของการเมืองที่”ธีรชัย”ยังไม่คุ้นนัก มันมีอะไรที่เหนือกว่าซับซ้อนกว่าสิ่งที่รัฐมนตรีคลังละอ่อนคนนี้คิด! จากนี้ไม่นานท่านอาจถึงเวลา”เก็บฉาก”!!
เราสะกิดเตือนแล้วนะ!

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar