ท่าทีสหรัฐเปลี่ยนไป?
http://www.matichon.co.th/news/295496
เรื่องนี้ เดิมผมนึกจะไม่เขียนแล้ว เพราะมีความไม่แน่ใจนิดหน่อยและคิดว่าไว้รอดูต่อไป แต่เห็นมีมิตรสหายบางท่านโพสต์ขึ้นมา ก็เลยขอเขียนสักหน่อย เผื่อคนอื่นอาจจะตกข่าว
http://www.matichon.co.th/news/295496
เรื่องนี้ เดิมผมนึกจะไม่เขียนแล้ว เพราะมีความไม่แน่ใจนิดหน่อยและคิดว่าไว้รอดูต่อไป แต่เห็นมีมิตรสหายบางท่านโพสต์ขึ้นมา ก็เลยขอเขียนสักหน่อย เผื่อคนอื่นอาจจะตกข่าว
คือเมื่อวานผมดูคลิปการให้สัมภาษณ์ของท่านทูตเดวีส์ แล้วรู้สึกสะดุดใจ
(ใครฟังภาษาอังกฤษได้ ขอให้ฟังภาษาอังกฤษของท่านทูต
เพราะล่ามแปลไม่ถึงกับตรงแบบคำต่อคำนัก) มีความรู้สึกเหมือนกับว่า
ท่าทีทูตสหรัฐเปลี่ยนไป แม้จะไม่ถึงกับชัดแจ้ง
คือเป็นแบบที่ฝรั่งเรียกกันว่า subtle (ไม่รู้จะแปลไทยยังไง ประมาณว่า
"แบบบางๆ" คือเปลี่ยนแบบไม่โจ่งแจ้ง) นอกจากพูดว่า "ประชามติ" free and
fair on the day (เสรีและเป็นธรรมสำหรับวันนั้น) ยังพูดถึง "โร้ดแม็พ"
ในลักษณะที่เหมือน positive กว่าเดิม
ไม่มีการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการปิดกั้นเสรีภาพที่มีอยู่ในขณะนี้
(ดูเปรียบเทียบกับคำของท่านทูต วันหลังประชามติ ซึ่งไม่มีคำว่า free and
fair เลย และมีการเรียกร้องว่า we strongly urge the government to lift
restrictions on civil liberties, including restrictions on freedom of
expression and peaceful assembly -
เราขอเรียกร้องอย่างยิ่งให้รัฐบาลยกเลิกการจำกัดเสรีภาพของพลเมือง
ซึ่งรวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ http://bit.ly/2auzDR7)
โดยส่วนตัว ผมคิดว่าเป็นไปได้ที่ สหรัฐเปลี่ยนท่าทีจริง (อย่าง subtle ที่ว่า) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ผมก็ไม่ถึงกับแปลกใจนัก อันที่จริง แต่ไหนแต่ไร ผมประเมินความสำคัญของท่าทีต่างประเทศต่อการเมืองไทยในระดับต่ำกว่าที่มิตรสหายหลายคนประเมิน (พวกเสื้อแดงในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐเอง ประเมินเรื่องท่าทีสหรัฐ หรืออียู สูงเกินจริง ในประเทศเองก็เช่นกัน เช่นคราวเรื่อง "ตัวแทนอียู" เชิญยิ่งลักษณ์หรือมาพบยิ่งลักษณ์อะไรแบบนั้น - อย่างที่ผมยืนยันตั้งแต่ตอนนั้นว่า กรณีนั้นไม่ใช่ "รัฐสภาอียู" อย่างที่พูดๆกัน)
ประเด็นหนึ่งที่ผมอยากจะบอกคือ #ท่าทีต่างประเทศต่อเรื่องแบบนี้มันขึ้นอยู่ท่าทีคนไทยเองในประเทศไทยด้วย คือ ถ้ามีเสียงเรียกร้องต่อต้านมาก ท่าทีของต่างประเทศก็จะมากตามไปด้วย และเรื่องนี้ มันนำไปสู่ปัญหาหนึ่ง ซึ่งผมพูดนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะทำให้คนรณรงค์โหวตโน "เสียน้ำใจ" แต่มันเป็นความจริง ในทัศนะของผมที่ว่า #การที่กลุ่มรณรงค์เองไม่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาว่าประชามติครั้งนี้มันไม่ใช่ประชามติจริงๆ มันเป็นของเก๊ #ที่ยอมรับไม่ได้และควรเป็นโมฆะ (คือไม่ใช่เพียงแค่มีการจำกัดต่างๆที่รู้กันดี แต่ว่า จริงๆแล้วสมควรถือว่ามันโมฆะ) #เป็นอะไรที่มีผลต่อต่างประเทศด้วย เช่นกรณีแถลงการณ์ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM และแอ๊คติวิสต์อีกบางส่วน ที่ออกมา "ยอมรับการตัดสินใจของประชาชน" ซึ่งผมยืนยันตั้งแต่ตอนนั้นว่า #เป็นความผิดพลาดมากอย่างสำคัญด้วย (แต่ก็ยังมีแอ๊คติวิสต์ที่เกี่ยวข้องยืนกรานว่า "ไม่เห็นผิดตรงไหน ผิดตรงที่ไม่ถูกใจ สศจ เท่านั้น" อะไรแบบนั้น) คือ ถ้าคนในประเทศเอง ยังไปมีท่าทีแบบนี้ ต่างประเทศเขาก็ "ขยับ" เปลี่ยนตามได้ (ขอให้สังเกตว่า ตอนผลประชามติออกมาใหม่ๆ แถลงการณ์ต่างประเทศ ไม่ว่าสหรัฐ (ที่ยกมาข้างบน) หรืออียู ออกมาแบบแข็งกว่าแถลงการณ์ของคนรณรงค์เอง อย่าง NDM ด้วยซ้ำ ไม่มีการออกมาพูดเรื่อง "...เรายอมรับ.." อะไร แต่แน่นอน พอเวลาผ่านไป ก็เป็นไปได้ - เช่นอาจจะกรณีทูตเดวีส์นี้ - ที่เขาก็ตามกระแสของคนในประเทศเองไป แล้วหันไปดีลในลักษณะ positive กับ คสช มากขึ้น
โดยส่วนตัว ผมคิดว่าเป็นไปได้ที่ สหรัฐเปลี่ยนท่าทีจริง (อย่าง subtle ที่ว่า) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ผมก็ไม่ถึงกับแปลกใจนัก อันที่จริง แต่ไหนแต่ไร ผมประเมินความสำคัญของท่าทีต่างประเทศต่อการเมืองไทยในระดับต่ำกว่าที่มิตรสหายหลายคนประเมิน (พวกเสื้อแดงในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐเอง ประเมินเรื่องท่าทีสหรัฐ หรืออียู สูงเกินจริง ในประเทศเองก็เช่นกัน เช่นคราวเรื่อง "ตัวแทนอียู" เชิญยิ่งลักษณ์หรือมาพบยิ่งลักษณ์อะไรแบบนั้น - อย่างที่ผมยืนยันตั้งแต่ตอนนั้นว่า กรณีนั้นไม่ใช่ "รัฐสภาอียู" อย่างที่พูดๆกัน)
ประเด็นหนึ่งที่ผมอยากจะบอกคือ #ท่าทีต่างประเทศต่อเรื่องแบบนี้มันขึ้นอยู่ท่าทีคนไทยเองในประเทศไทยด้วย คือ ถ้ามีเสียงเรียกร้องต่อต้านมาก ท่าทีของต่างประเทศก็จะมากตามไปด้วย และเรื่องนี้ มันนำไปสู่ปัญหาหนึ่ง ซึ่งผมพูดนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะทำให้คนรณรงค์โหวตโน "เสียน้ำใจ" แต่มันเป็นความจริง ในทัศนะของผมที่ว่า #การที่กลุ่มรณรงค์เองไม่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาว่าประชามติครั้งนี้มันไม่ใช่ประชามติจริงๆ มันเป็นของเก๊ #ที่ยอมรับไม่ได้และควรเป็นโมฆะ (คือไม่ใช่เพียงแค่มีการจำกัดต่างๆที่รู้กันดี แต่ว่า จริงๆแล้วสมควรถือว่ามันโมฆะ) #เป็นอะไรที่มีผลต่อต่างประเทศด้วย เช่นกรณีแถลงการณ์ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM และแอ๊คติวิสต์อีกบางส่วน ที่ออกมา "ยอมรับการตัดสินใจของประชาชน" ซึ่งผมยืนยันตั้งแต่ตอนนั้นว่า #เป็นความผิดพลาดมากอย่างสำคัญด้วย (แต่ก็ยังมีแอ๊คติวิสต์ที่เกี่ยวข้องยืนกรานว่า "ไม่เห็นผิดตรงไหน ผิดตรงที่ไม่ถูกใจ สศจ เท่านั้น" อะไรแบบนั้น) คือ ถ้าคนในประเทศเอง ยังไปมีท่าทีแบบนี้ ต่างประเทศเขาก็ "ขยับ" เปลี่ยนตามได้ (ขอให้สังเกตว่า ตอนผลประชามติออกมาใหม่ๆ แถลงการณ์ต่างประเทศ ไม่ว่าสหรัฐ (ที่ยกมาข้างบน) หรืออียู ออกมาแบบแข็งกว่าแถลงการณ์ของคนรณรงค์เอง อย่าง NDM ด้วยซ้ำ ไม่มีการออกมาพูดเรื่อง "...เรายอมรับ.." อะไร แต่แน่นอน พอเวลาผ่านไป ก็เป็นไปได้ - เช่นอาจจะกรณีทูตเดวีส์นี้ - ที่เขาก็ตามกระแสของคนในประเทศเองไป แล้วหันไปดีลในลักษณะ positive กับ คสช มากขึ้น
“ทูตมะกัน”
พบ “ประวิตร” ถกก่อนประชุม ADMM Plus ชมไทยแก้ไขค้ามนุษย์ เชื่อคสช.
เดินตามกรอบโรดแมป วอนต้องมีเสรีภาพ และปชต. เมื่อวันที่ 23 กันยายน…
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar