tisdag 30 maj 2017

ภูมิพล-ปรีดี-วชิราลงกรณ์ กับกรณีทำลายหมุดคณะราษฎร

 
ภูมิพล-ปรีดี-วชิราลงกรณ์ กับกรณีทำลายหมุดคณะราษฎร

ผมได้พูดไปบ้างแล้วว่า ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับ "คำอธิบาย" ของนักวิชาการและแอ๊คติวิสต์ เรื่องหมุดคณะราษฎรถูกขโมย ในลักษณะที่พยายามเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปถึง 2475 การต่อสู้ระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้า (แนวแบบที่ อ.ชาญวิทย์, อ.ธำรงศักดิ์, อ.ยิ้ม, อ.ชาตรี และแอ๊คติวิสต์อีกหลายคนพูดๆกัน)

แม้แต่ต่อให้เรายอมรับกันว่า กษัตริย์วชิราลงกรณ์เป็นคนสั่งทำเอง (ซึ่งตอนนี้ ไม่มีทฤษฎีอะไรที่อธิบายได้นอกจากนี้ ประเด็นปมเงื่อนสำคัญคือเรื่องหมุดหน้าใสถูกปล่อยไว้ เพราะลำพังการขโมยหมุดคณะราษฎร ใครอาจจะเป็นคนทำก็ได้ แต่การปล่อยหมุดหน้าใสไว้ตรงนั้น ไม่เอาออก มีคำอธิบายได้อย่างเดียว คือกษัตริย์วชิราลงกรณ์ให้ทำ)

ในความเห็นผม เรื่องนี้ก็ไม่ใช่มีสาเหตุย้อนหลังไปไกลถึงเรื่องการต่อสู้คณะราษฎร-คณะเจ้าตั้งแต่ 2475 ยิ่งการที่สมมุติว่าวชิราลงกรณ์ให้ทำเพราะเชื่อเรื่องดวง เรื่อง "อาถรรพ์" ในความเห็นผม ก็ยิ่งยืนยันว่า เรื่องนี้ ไม่ใช่อะไรที่เป็นความต่อเนื่องย้อนหลังไปไกลขนาด 2475 อะไรแบบนั้น (ผมจะพูดถึงเรื่องนี้ข้างล่าง)

ก่อนอื่น ผมเสนอว่า เราต้องแยกระหว่างประเด็นที่ว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์หรือราชสำนักให้ทำ กับการที่มีคนรักเจ้าออกมาพูดเชียร์หมุดคณะราษฎรถูกขโมย ด่าคณะราษฎร ด่าปรีดี ยกย่อง ร.7 เมื่อเกิดข่าวหมุดหายขึ้น กรณีหลังนี้คือพวก "กองเชียร์" ยุคใหม่ #ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ใช่อะไรที่เกี่ยวโยงไปที่2475 #มากเท่ากับเป็นการสะท้อนต่อเนื่องของความขัดแย้งในไม่กี่ปีมานี้ เป็นอะไรที่ผมเรียกว่า proxy war หรือสงครามตัวแทน เนื้อแท้ของการเชียร์ ร.7 ด่าปรีดีของกองเชียร์รุ่นใหม่เหล่านี้ คือการเชียร์ในหลวงภูมิพล-เกลียดทักษิณ/เสื้อแดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤติปัจจุบัน (ดูกระทู้ก่อนหน้านี้ ที่ผมอภิปรายเรื่องนี้ https://goo.gl/usNlNL)
..............
ประเด็นที่ผมตั้งข้อสังเกตตั้งแต่วันแรกๆคือ อันที่จริง กษัตริย์ภูมิพลไม่ได้มองว่าปรีดีหรือ 2475 เป็นปัญหามาหลายสิบปีแล้ว มิเช่นนั้น เป็นไปไม่ได้ ที่ในต้นทศวรรษ 2540 กษัตริย์ภูมิพลจะยอมให้รัฐบาล (ประชาธิปัตย์อีกต่างหาก) เสนอชื่อปรีดีเป็นบุคคลสำคัญของโลกคู่ไปกับชื่อแม่ตัวเองแบบนั้น (และการจัดงานฉลองปรีดี ที่รัฐบาลเป็นสปอนเซอร์ในช่วงนั้น เด่นยิ่งกว่าการฉลอง 100 ปีของแม่พระองค์เสียอีก)
มี "มิตรสหายบางท่าน" ได้หยิบยกกรณีที่เมื่อตอนปรีดีตาย (2526) ราชสำนักไทยกับปรีดี "ไม่เผาผี" กัน (ไม่มีพิธีรัฐอะไรให้ปรีดีตามที่มีคนเรียกร้องเป็นต้น)
ผมได้ชี้ให้เห็นว่า
ปรีดีตายปี 2526
ในหลวงภูมิพลอยู่ต่อมาอีกถึง 33 ปี คือกว่าหนึ่งเจเนเรชั่น
และถ้านับจากปรีดีตาย ถึงตอนที่ให้มีการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ก็เป็นเวลาถึง 17 ปี (2526-2543) หรือเกือบ 2 ทศวรรษ

ปรีดีตาย (และเกิดอาการ "ไม่เผาผี" กับราชสำนัก) ก่อนจะมีปรากฏการณ์ที่ผมเรียกว่า The Rise of King Bhumibol (จากกลางทศวรรษ 2530 ถึงกลางทศวรรษ 2540) คือการที่กษัตริย์ภูมิพลได้ขึ้นสู่การมีอำนาจนำสูงสุด (hegemonic) อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน ในช่วงเวลาดังกล่าว #ความสัมพันธ์และสถานะของสถาบันกษัตริย์กับสังคมโดยรวมมีความเปลี่ยนแปลงโดยพื้นฐาน สถานะของปรีดีและ 2475 ในสังคมไทยโดยรวม ก็เปลี่ยนแปลงไปในช่วงนี้ ทัศนะหรือความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ภูมิพลหรือเจ้ากับปรีดีหรือ 2475 ก็เปลี่ยนไปด้วย
(มันมีประเด็นหนึ่งที่สะท้อนเรื่องนี้ ที่ผมสังเกตมานาน คือแม้แต่พันธมิตรฯ หรือตัวสนธิเอง ตอนเคลื่อนไหวล้มทักษิณ "เราจะสู้เพื่อในหลวง" ไม่เคยโจมตีปรีดีหรือ 2475 - สนธิเคยพูดพาดพิงถึงปรีดี แต่ก็แบบผ่านๆ และไม่ได้โจมตี - อันที่จริง อย่างที่คงรู้กัน แกนนำพันธมิตรบางคน เช่นพิภพหรือสมเกียรติ โตมาใน "สำนักสุลักษณ์" ที่เชียร์ปรีดีและคณะราษฎรตั้งแต่ทศวรรษ 2520)
...............
"มิตรสหายบางท่าน" ตั้งข้อสงสัยว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่ความเกลียดที่กษัตริย์ภูมิพลมีต่อปรีดีและคณะราษฎร จะตกทอดเป็นมรดกทางความคิดมายังกษัตริย์วชิราลงกรณ์ (และนำมาสู่การรื้อหมุดในตอนนี้)?
ข้างล่างนี้ คือที่ผมเขียนตอบ "มิตรสหายบางท่าน" ไป
ความจริง ผมไม่ถึงกับรับไอเดียที่พูดๆกันว่ากษัตริย์ภูมิพล "เกลียดปรีดี" นะ

ในการทำเรื่องเจ้าแบบซีเรียส ผมพยายามระมัดระวัง ศึกษาลงไปในรายละเอียด ไม่ใช่พูดแบบรวมๆ
ผมว่า ถ้าพูดว่ากษัตริย์ภูมิพลเกลียดจอมพล ป. กับคณะ รปห 2490 นี่พูดได้ เรื่องที่เขาโกรธมาก ที่พวกนี้ทำ รปห 2494 ที่หักหน้าเขา (ตามที่พระองค์เจ้าธานีแสดงออก) และหลังจากนั้น เขาก็ยังพูดกับทูตสหรัฐ (มีในหนังสือ อ.กอบเกื้อ) แบบเหยียดๆพวกคณะ รปห
คือจริงๆกษัตริย์ภูมิพลนี่ "ดีล" กับจอมพล ป. มากกว่ากับปรีดี
ใช่ ในแง่ที่ปรีดีเป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต กษัตริย์ภูมิพลก็มีเรื่องปรีดีให้ต้องคิด-จัดการ
แต่ถ้าเราดูรูปธรรมจริงๆ เขาไม่ได้ดีลกับปรีดีโดยตรง

ถ้าจะว่า เป็น "ความกลัว" ความระแวดระวัง(หรือหวาดระแวง) อาจจะใกล้เคียงความจริงมากกว่า คือกษัตริย์ภูมิพลกลัวปรีดี ในแง่เชื่อมโยงกับกรณีสวรรคต ว่าวันดีคืนดี ปรีดีเกิดตัดสินใจ "ลุย" เรื่องนั้นขึ้นมา (หยิบเอากรณีสวรรคตขึ้นมาโจมตีกษัตริย์ภูมิพลต่อชาวโลก)

และอันนี้ ผมว่า มันอธิบายว่า ทำไมท่าทีของกษัตริย์ภูมิพลต่อเรื่องปรีดีจึงเปลี่ยนไปหลังปรีดีตายได้ อนุญาตให้เสนอชื่อปรีดีกับแม่เขาได้ คือ ถ้าปรีดีตาย ก็ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป (โดยเฉพาะในเรื่องปรีดีเปิดประเด็นกรณีสวรรคต) แต่ถ้าเป็นความเกลียดนะ ต่อให้ตาย ก็เกลียด

ทีนี้ วชิราลงกรณ์ ผมว่า เอาเข้าจริง ไม่ได้สนใจ 2475 ปรีดี หรือเรื่องเก่าๆพวกนั้นเลย เขาไม่เอาไหนกว่านั้นเยอะ และนี่เป็นประเด็นสำคัญที่ผมมีปัญหา ที่นักวิชาการ พูดๆกันในไม่กี่วันนี้ คือราวกับว่า เรื่องหมุด มันมาจากความไม่ชอบต่อเนื่องของราชสำนัก จากพ่อมาถึงลูก

ผมว่า ถ้าจะเอาตามข้อสันนิษฐานที่น่าจะใกล้เคียงที่สุด เรื่องหมุดครั้งนี้ คงมีบางคนไปแนะนำวชิราลงกรณ์เรื่องพวกดวงอะไรนั่นแหละ และความที่เขาไม่สนใจเรื่อง 2475 เรื่องคณะราษฎร-ปรีดีจริงๆ เขาก็เลยเอาด้วย - นี่เป็นอะไรที่ paradox หรือย้อนแย้ง

คือเอาเข้าจริง ถ้าเป็นพ่อเขา ซึ่งไม่เพียงสนใจพวกคณะราษฎร แต่เคยสัมผัสมาด้วยตัวเอง เขาไม่ตัดสินใจทำเรื่องแบบนี้ให้โง่หรอก แต่เพราะความไม่สนใจของกษัตริย์ใหม่นี่แหละ คือไม่รู้สึกไอ้หมุดเดิมมันมีความหมายอะไร เลยโอเค ตามที่คนไปแนะเรื่องดวง
......................
มีเรื่องหนึ่ง ที่ผมนึกๆขึ้นมาได้ คือเอาเข้าจริง กษัตริย์ภูมิพลนี่ เขามีลักษณะ scientific-oriented (คือ "เอียงทางวิทยาศาสตร์") นะ คือ เขาไม่ใช่เก่งด้านวิทยาศาสตร์อะไรแบบที่โฆษณากันแน่ เขาเป็นประเภท "มือสมัครเล่น" แต่ถ้าดูจริงๆ หรือลองนึกจริงๆนะ สมัยเขาไม่ได้มีลักษณะเกี่ยวกับเรื่อง "ฤกษ์ยาม" "ดวง" อะไรพวกนี้นะ มันไมใช่สไตล์เขา คือเขาเป็นสไตล์ scientific-oriented ที่ว่า ("ฝนเทียม" "กังหัน" ฯลฯ) แม้จะเป็นแบบมือสมัครเล่น แต่ก็มาทางนี้ (แม้แต่เรื่องที่กษัตริย์ใหม่ ให้ประกาศรัฐธรรมนูญโดยใช้ "ฤกษ์" หรือโอกาส "วันจักรี" นี่ กษัตริย์ภูมิพลก็ไม่เคยทำ ไม่เคยเอา "วันฤกษ์ดี" ตามราชวงศ์มาเกี่ยวข้องเลย แน่นอน ส่วนหนึ่งคงเพราะเขาฉลาดกว่า รู้ว่ารัฐธรรมนูญเดี๋ยวก็เปลี่ยน แล้วเอามาผูกกับวันราชวงศ์แบบนั้น จะแย่กับวันราชวงศ์เอง แต่ผมว่า ในอีกด้านหนึ่ง มันสะท้อนประเด็นที่ว่า เขาไม่ได้มีลักษณะเรื่องฤกษ์ยาม ดวง อาถรรพ์ อะไร)

เรื่องหมุดคราวนี้ มันออกแนวโหราศาสตร์จริงๆ แต่นั่น มันไม่ใช่สะท้อนว่า เป็นเรื่องเก่าย้อนหลังไปไกล ("การต่อสู้ระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้าตั้งแต่สมัย 2475") อย่างที่บางคนมาพูด แต่มาจากความที่กษัตริย์ใหม่เองนั่นแหละ ไม่ได้สนใจเรื่องย้อนหลังไปขนาดนั้น ถ้าสนใจหรือศึกษาหรือรู้เรื่องย้อนหลังไปไกลแบบพ่อเขา จะไม่ทำหรอก เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นการทำอะไรแบบไร้สาระ แบบเด็กๆ - 2475 มันจบไปนานแล้วสำหรับราชวงศ์ สถานะของราชวงศ์กลับมายิ่งใหญ่ภายใต้กรอบใหม่นานแล้ว แต่ที่กษัตริย์ใหม่ทำ สาเหตุมันแคบกว่านั้นเยอะ ไม่ใช่จะทำเรื่องใหญ่โตย้อนหลัง "ลบล้างประวัติศาสตร์" อะไรแบบที่ว่ากัน เป็นแค่เรื่อง "ดวง" ที่คงมีคนไปเสนอ แล้วกษัตริย์ใหม่ ความที่ไม่เคยสนใจประวัติศาสตร์ ไม่เคยสนใจอะไรพวกนี้มาก ก็เชื่อตาม ให้ทำไปโดยไม่คิดอะไร
................
ในที่สุดแล้ว การทำความเข้าใจเรื่องครอบครัวมหิดลนี้ มีข้อจำกัดเรื่องข้อมูล แต่ว่า ถ้าลองนึกๆ ที่ผมเพิ่งอธิบายไปข้างบนว่า กษัตริย์ภูมิพลกับปรีดี เป็นเรื่องกลัวมากกว่าเกลียด และเรื่องที่ว่าเอาเข้าจริง กษัตริย์ภูมิพลไม่ได้เอียงมาทางไสยศาสตร์ เรื่องหมุดหรือเรื่องคณะราษฎรและปรีดี จึงคงไม่ใช่ประเด็นที่เขาจะถ่ายทอดเป็นมรดกมาถึงลูก บวกกับเรื่องที่ว่า เอาเข้าจริง กษัตริย์ใหม่ก็ไม่ได้มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์อะไรขนาดนั้น มันนำมาสู่สิ่งที่ผมพยายามบอกว่า เรื่องหมุดคราวนี้ มันมีลักษณะเฉพาะมากๆของคาแร็กเตอร์บางอย่างของกษัตริย์ใหม่ ไม่ใช่เป็น "ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การสู้กับคณะราษฎรหรือปรีดี" ของสถาบันกษัตริย์ไทย ขนาดนั้น
  
 

Image may contain: 3 people

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar