måndag 5 juni 2017

3 ปี ของ คสช. จำนวนทหารนั่งเป็นประธานในบอร์ดรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 5 เท่า เป็น 16 แห่ง ส่วนจำนวนทหารและอดีตทหารเข้าเป็นกรรมการในบอร์ดเพิ่มขึ้นเกือบ 100% ใน 40 รัฐวิสาหกิจ ด้วยคำมั่นเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร

 
สามปีหลัง รัฐประหาร ท่ามกลางสัญญาปฏิรูป เพิ่มประสิทธิภาพองค์กร จำนวนทหารนั่งเป็นประธานในคณะกรรมการ (บอร์ด) รัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 5 เท่า เป็น 16 แห่ง ส่วน จำนวนทหารและอดีตทหารเข้าเป็นกรรมการในบอร์ดเพิ่มขึ้นเกือบ 100% ใน 40 รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจทั้ง 56 แห่งจาก 15 กระทรวง มีสินทรัพย์รวมกัน 14 ล้านล้านบาท สร้างรายได้ต่อปีถึง 4.3 ล้านล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิถึง 1.9 แสนล้านบาท ทำให้ถูกมองว่าเป็น "ไข่ทองคำ" ที่ผู้มีอำนาจพยายามเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเสมอ ไม่ว่าจะในยุคพลเรือน หรือ ทหาร
สำนักข่าวอิศรา เคยระบุว่า รัฐวิสาหกิจเกรดเอหลายแห่ง มีผลประโยชน์มหาศาล ทำให้เกิดการวิ่งเต้นเข้าไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจนั้นๆ จนกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วว่า ผู้มีอำนาจในยุคนั้น ๆ ย่อมตั้งคนของตัวเองไปนั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจเพื่อคุมผลประโยชน์

ทหารกับบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

3 ปี
หลังคสช.เข้าบริหารประเทศ
  • 40 รัฐวิสาหกิจ มีทหารนั่งในบอร์ด
  • เกือบ 100% เพิ่มขึ้นจากก่อนปี2557
  • 16 แห่ง มีทหารนั่งเป็นประธานบอร์ด
  • 5 เท่า เพิ่มจากยุคพลเรือน
Getty Images
นักการเมือง มักตกเป็นจำเลยว่านิยมตั้งคนที่ไม่มีความเหมาะสมเข้าไปนั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ทำให้เกิดปัญหาบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ขาดทุนซ้ำซาก ไปถึงขั้นมีข้อครหาเรื่องทุจริต เมื่อ ทหาร ในนามของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจในปี 2557 หนึ่งในวาระเร่งด่วนคือ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ คสช.ออกคำสั่ง ที่ 75/2557 ตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ "ซูเปอร์บอร์ด" ให้นายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานขึ้นมาผ่าตัดด้วยตัวเอง
พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ในฐานะประธานอนุกรรมการชุดหนึ่งของซูเปอร์บอร์ด เคยระบุว่า หนึ่งในวาระสำคัญในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ คือการตั้งบอร์ดที่ "มีความรู้และประสบการณ์ตรงกับงานของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ"

รัฐวิสาหกิจไทยใหญ่โตแค่ไหน?

  • 14 ล้านล้านบาท มูลค่าสินทรัพย์รวม
  • เกือบ 2 เท่า ของจีดีพี
  • 4.3 ล้านล้านบาท รายได้รวม
  • 2.9 ล้านล้านบาท งบประมาณแผ่นดินปี 2560

คลิกดูต่อทั้งหมด-สามปีรัฐประหาร: ทหารตบเท้านั่งรัฐวิสาหกิจบนสัญญาปฏิรูป - บีบีซีไทย
 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar