เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ตามเวลาในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เครือข่ายองค์กรระดับโลกได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทย เข้าร่วมภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคมระบุรัฐบาลใหม่ต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญต่อการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่าง ประเทศ ในลำดับต้น ๆ
นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา/ กรุงเทพมหานคร: ในวันนี้ องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (Coalition for the International Criminal Court - CICC) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการต่อสู้ ต่อต้านระบบ “ลบล้างความผิด” (Impunity) ด้วยการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court – ICC) ซึ่งเป็นศาลอาญาถาวรระหว่างประเทศแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก ที่มุ่งจัดการกับคดีที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ประเทศไทย เป็นประเทศเป้าหมายหลักของการรณรงค์ระดับโลกเพื่อการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญ กรุงโรม ในเดือนตุลาคม 2554 การรณรงค์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะเรียกร้องให้ประเทศภาคีสมาชิกของสห ประชาชาติให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งถือเป็นอนุสัญญาสำคัญที่เป็นพื้นฐานแห่งการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ ขึ้น
หนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่องค์กรเครือข่ายระหว่างประเทศ ซึ่งมีสมาชิกหลากหลายมากมายกว่า 2500 องค์กร/ หน่วยงาน จาก 150 ประเทศทั่วโลก มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ ได้ส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้ดำเนินการให้เกิดความคืบหน้าสู่การให้สัตยาบันต่อ ธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ในเร็ววัน
ปัจจุบัน 118 รัฐภาคีทั่วโลก ได้เข้าร่วมกับภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว และล่าสุดประเทศมัลดริฟส์ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาฉบับนี้
ในรอบ สองปีที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียได้เริ่มเข้ามีส่วนร่วมในศาลอาญาระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น อาทิ เช่น บังกลาเทศให้สัตยาบันเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ฟิลิปปินส์ให้สัตยาบันเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 และตามด้วยมัลดริฟส์ เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา
ภูมิภาคเอเซียยังคงเป็นภูมิภาคที่ด้อย จำนวนภาคีสมาชิกในศาลอาญาระหว่างประเทศอยู่มาก เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ กล่าวคือมีเพียง 9 รัฐภาคีเท่านั้น ในปัจจุบัน ...
รายละเอียดฉบัะบภาษาอังกฤษ ที่มา:http://www.iccnow.org/documents/PR_for_Thailand_URC-FINAL.pdf
นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา/ กรุงเทพมหานคร: ในวันนี้ องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (Coalition for the International Criminal Court - CICC) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการต่อสู้ ต่อต้านระบบ “ลบล้างความผิด” (Impunity) ด้วยการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court – ICC) ซึ่งเป็นศาลอาญาถาวรระหว่างประเทศแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก ที่มุ่งจัดการกับคดีที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ประเทศไทย เป็นประเทศเป้าหมายหลักของการรณรงค์ระดับโลกเพื่อการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญ กรุงโรม ในเดือนตุลาคม 2554 การรณรงค์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะเรียกร้องให้ประเทศภาคีสมาชิกของสห ประชาชาติให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งถือเป็นอนุสัญญาสำคัญที่เป็นพื้นฐานแห่งการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ ขึ้น
หนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่องค์กรเครือข่ายระหว่างประเทศ ซึ่งมีสมาชิกหลากหลายมากมายกว่า 2500 องค์กร/ หน่วยงาน จาก 150 ประเทศทั่วโลก มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ ได้ส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้ดำเนินการให้เกิดความคืบหน้าสู่การให้สัตยาบันต่อ ธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ในเร็ววัน
ปัจจุบัน 118 รัฐภาคีทั่วโลก ได้เข้าร่วมกับภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว และล่าสุดประเทศมัลดริฟส์ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาฉบับนี้
ในรอบ สองปีที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียได้เริ่มเข้ามีส่วนร่วมในศาลอาญาระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น อาทิ เช่น บังกลาเทศให้สัตยาบันเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ฟิลิปปินส์ให้สัตยาบันเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 และตามด้วยมัลดริฟส์ เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา
ภูมิภาคเอเซียยังคงเป็นภูมิภาคที่ด้อย จำนวนภาคีสมาชิกในศาลอาญาระหว่างประเทศอยู่มาก เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ กล่าวคือมีเพียง 9 รัฐภาคีเท่านั้น ในปัจจุบัน ...
รายละเอียดฉบัะบภาษาอังกฤษ ที่มา:http://www.iccnow.org/documents/PR_for_Thailand_URC-FINAL.pdf
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar