lördag 11 februari 2017

คำฟ้องของอัยการต่อศาล คดี "ไผ่ ดาวดิน" ฉบับเต็ม พร้อมข้อสังเกต

Somsak Jeamteerasakul added 5 new photos.
คำฟ้องของอัยการต่อศาล คดี "ไผ่ ดาวดิน" ฉบับเต็ม พร้อมข้อสังเกต
คำฟ้องของอัยการต่อศาล คดี "ไผ่ ดาวดิน" ฉบับเต็ม พร้อมข้อสังเกต
- ก่อนอื่น ขอให้สังเกตว่า ในคำฟ้องจงใจไม่กล่าวแม้แต่คำเดียวว่า ข้อความที่นำมาฟ้อง เป็นข้อความของ บีบีซีไทย - BBC Thai ซึ่ง "ไผ่" เพียงคัดลอกมาแชร์เท่านั้น ไม่ใช่ข้อความที่ไผ่เขียนเอง ("จำเลยได้โพสต์ข้อความให้ปรากฏ...ความว่า") แน่นอน เป็นที่รู้กันว่า บีบีซีไทย - BBC Thai ซึ่งเผยแพร่ข้อความเดียวกันนี้ (และตัวบทความซึ่งมีมากกว่านี้) ไม่ได้ถูกตั้งข้อหาใดๆ
....................
- อันที่จริง ข้อความที่ว่า เป็นส่วนที่เรียกได้ว่ามีลักษณะเชิง factual (เชิงข้อเท็จจริง) มากที่สุดแล้ว (โปรดดูบทความ บีบีซีไทย - BBC Thai ฉบับเต็ม ที่นี่ http://www.bbc.com/thai/thailand-38173269 ต้นฉบับภาษาอังกฤษของบทความที่ถูกแปลมา อยู่ที่นี่ http://www.bbc.com/news/world-asia-38126928) ข้อความดังกล่าวคือ ๔ ย่อหน้าสุดท้ายในฉบับแปล ดังนี้
"เป็นการยากที่จะคาดเดาได้ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะทรงเป็นกษัตริย์แบบใด แม้จะทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแต่พระองค์ยังคงมีพระราชอำนาจอย่างมาก และคงไม่มีผู้ใดจะกล้าปฏิเสธพระราชประสงค์หรือพระราชโองการของพระองค์
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย ด้วยทรัพย์สินราว 30,000-40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีรายได้ต่อปีซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งยังทรงบัญชาการกองทหารรักษาพระองค์ ที่มีกำลังพลราว 5,000 นาย
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านราชวงศ์ไทยชี้ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงไม่น่าจะมีพระบารมีและเป็นที่เคารพสักการะเท่าพระราชบิดา เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นด้วยพระองค์เอง มิใช่สิ่งที่ทรงรับสืบทอดจากพระราชบิดา และการที่ทรงราชย์ขณะมีพระชนมพรรษาถึง 64 พรรษาแล้ว พระองค์คงมีเวลาในการสั่งสมพระบารมีไม่ยาวนานนัก
จากนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญในการจัดพระราชพิธีพระบรมศพของพระราชบิดา ซึ่งนี่อาจเป็นโอกาสดีที่จะช่วยเสริมบทบาทของพระองค์ ขณะเดียวกันพระองค์ยังคงสามารถพึ่งพาความจงรักภักดีที่พสกนิกรมีให้ต่อพระราชบิดาของพระองค์ ในการค้ำจุนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นสถาบันหลักของสังคมไทย"
....................
- "คำอธิบาย" หรือข้ออ้างของอัยการว่า ข้อความดังกล่าวผิดมาตรา ๑๑๒ มีดังนี้ (ผมคัดลอกจากคำฟ้องออกมาให้เห็นชัดๆ โปรดอ่านเปรียบเทียบ)
"...อันมีความหมายว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว..รัชกาลที่ ๑๐ ไม่น่าจะมีพระบารมี ไม่เป็นที่เคารพสักการะเท่าพระราชบิดา...อันเป็นการดูหมิ่น สบประมาท เหยียดหยาม พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งเป็นที่เคารพรักสักการะของพสกนิกรชาวไทย และพสกนิกรชาวไทย ไม่บังควรที่จะไปกล่าวหาหรือกล่าวถึง พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ ในลักษณะเช่นนี้ และเป็นการใส่ร้ายดูหมิ่น เหยียดหยาม/สบประมาทว่า พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ ไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ และไม่มีบารมี พอที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ดีเท่ากับพระราชบิดา....
....ประหนึ่ง พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ สามารถใช้อำนาจได้ตามพระราชประสงค์โดยไม่มีขอบเขต เพราะทรงพร้อมทั้งด้านการเงิน และการทหาร นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ ยังคงมีรายได้ที่ไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีอีกราว ๓๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ ทรงไม่น่าจะมีพระบารมีเท่าพระราชบิดา...ซึ่งพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ ต้องใช้การจัดการพระราชพิธีพระบรมศพพระราชบิดา..เพื่อเสริมบทบาทบารมี และต้องพึ่งพาความจงรักภักดีของพสกนิกร ที่มีต่อพระราชบิดา...เพื่อพยุงและค้ำจุนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นสถาบันหลักของสังคมไทย ทั้งนี้ โดยประการที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว..รัชกาลที่ ๑๐ เสื่อมเสียพระเกียรติยศ/พระบารมี/เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง จากพสกนิกรปวงชนชาวไทย และประชาชนชาวต่างประเทศ..."
....................
- อัยการอ้างว่า การที่บทความ บีบีซีไทย - BBC Thai พูดว่า รัชกาลที่ ๑๐ "ไม่น่าจะมีพระบารมี ไม่เป็นที่เคารพสักการะเท่าพระราชบิดา" เป็นการ "ดูหมิ่น สบประมาท เหยียดหยาม" รัชกาลที่ ๑๐ แล้วยังกล่าวหาไปไกลว่า บทความบีบีซี กำลังบอกว่า รัชกาลที่ ๑๐ "ไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ และไม่มีบารมี พอที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ดีเท่ากับพระราชบิดา"
ซึ่งถ้าใครอ่านบทความบีบีซีส่วนนั้น จะเห็นว่า ประเด็นที่บทความบีบีซีเสนอคือ รัชกาลที่ ๑๐ #ไม่มีเวลายาวนานเหมือนพระราชบิดาที่จะสะสมบารมี เพราะทรงอายุ ๖๔ แล้วขณะนี้ ไม่ได้บอกว่า "ไม่มีความรู้ ความสามารถ...พอจะเป็นกษัตริย์ดีเท่ากับพระราชบิดา"
[อันนี้เป็นเกร็ดเพิ่มเติมนิดนะ เผื่อใครอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษของบทความไม่ได้ คืออันที่จริง บทความฉบับแปลส่วนนี้ แปลได้ไม่ตรงต้นฉบับภาษาอังกฤษนัก ต้นฉบับภาษาอังกฤษเขียนโดยใช้คำว่า "one advantage" หรือข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งที่รัชกาลที่แล้วมี คือการมีบารมีที่ใช้เวลาสั่งสมมา 70 ปี พูดอีกอย่างคือ ประเด็นของบทความภาษาอังกฤษจริงๆ ไม่ได้อยู่ตรงที่ว่ารัชกาลนี้ "ไม่น่าจะทรงมีพระบารมี..มากเท่ากับพระราชบิดา" แต่อยู่ตรงที่ว่า รัชกาลที่แล้วมีข้อได้เปรียบกว่าในแง่เวลายาวนานในการสั่งสมบารมี (ฉบับแปลไม่มีคำว่า 70 ปีเลย) แน่นอน ก็อาจจะบอกว่า ผลที่ออกมาเหมือนกัน คือเวลาที่มากกว่าทำให้มีบารมีมากกว่า - แต่มันมีความแตกต่างในแง่ความหมายและประเด็นอยู่ ที่สำคัญ ตรงที่ว่า "ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า..." ในภาษาไทยนั้น ความจริง ไม่ตรงกับความหมายของภาษาอังกฤษเลย คือในต้นฉบับภาษาอังกฤษ บอกว่า ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า บารมีเป็นเรื่องที่ต้องสร้างสั่งสมด้วยตัวเอง ไม่สามารถรับทอดกันมาได้ (must be earned, not inherited) ไม่ใช่บอกว่า "ไม่น่าจะทรงมี..มากเท่า" ตอนผมอ่านครั้งแรก ก็รู้สึกเหมือนกันว่า ส่วนนี้แปลได้ไม่ตรง]
- ถ้ามองในแง่ร้ายหน่อยนะ ผมอ่านข้อความกล่าวหาของอัยการนี้ อดจะรู้สึกไม่ได้ (ขอให้ทุกคนลองอ่านดูว่าชวนให้รู้สึกไหม) ว่า อัยการกำลังเขียนราวกับว่า องค์รัชกาลที่ ๑๐ เอง กำลังรู้สึกอย่างไร พูดแบบภาษาบ้านๆ (ขออภัยในภาษาบ้านๆ) ราวกับอัยการกำลังพูดแทนใจรัชกาลที่ ๑๐ ประมาณว่า "พวกมรึงมาพูดได้ไงว่า กรูไม่ดีเท่าพ่อ" อะไรแบบนั้น .. แต่นี่มองในแง่ร้ายนะ รัชกาลที่ ๑๐ ท่านอาจจะไม่ใจแคบ มีปมขนาดนั้นก็ได้


(หมายเหตุ-"พวกมรึงมาพูดได้ไงว่า กรูไม่ดีเท่าพ่อ" ??????กรู..ลูกพ่อผู้สืบทอดอำนาจ "ม.๑๑๒."..)

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar