ความประหลาดของประกาศเรื่อง "วันชาติ" เมื่อวานนี้: กษัตริย์ใหม่ทรงพระชอบที่จะเข้าเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการโดยตรง? http://goo.gl/mMtEFg
ความประหลาดของประกาศเรื่อง "วันชาติ" เมื่อวานนี้: กษัตริย์ใหม่ทรงพระชอบที่จะเข้าเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการโดยตรงหรือพะย่ะครับ?
"มิตรสหายท่านหนึ่ง" ทักมาว่า ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ มีความประหลาดบางอย่าง ผมนึกทบทวนและเช็คข้อมูลเพิ่มเติมแล้วก็เห็นว่าจริงแฮะ (ความจริง ผมควรสะดุดใจตั้งแต่แรก เพราะเคยเขียนบทความขนาดยาวเรื่องประวัติวันชาติ ตีพิมพ์ใน "ฟ้าเดียวกัน" เมื่อสิบกว่าปีก่อน)
ในประกาศสำนักนายกฯเมื่อวาน กล่าวว่ากษัตริย์ใหม่ "มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ #ให้กำหนดว่า..." วันที่ ๕ ธันวาคมทุกปี เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนม์ในหลวงภูมิพล, วันชาติ, และวันพ่อแห่งชาติ (ดูภาพประกอบแรก หรือกระทู้เมื่อวานนี้ของผม goo.gl/HrCUuz)
ความประหลาดคือ ความจริง เรื่องวันสำคัญและวันหยุดราชการ #จะต้องทำเป็นมติคณะรัฐมนตรี และมีประกาศสำนักนายกฯในนามนายกรัฐมนตรีเอง ไม่ใช่เรื่องจะต้องมีพระบรมราชโองการ เพราะเป็นเรื่องการบริหารราชการปกติ
ขอให้ดูประกาศเรื่องวันหยุดราชการในประวัติศาสตร์บางฉบับที่ผมนำมาให้ดู
- ๔ มกราคม ๒๔๘๑ (นี่คือประกาศวันหยุดราชการฉบับแรกสุดหลัง ๒๔๗๕)
- ๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๘
- ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๙๗
- ๑๑ ตุลาคม ๒๕๐๐
- ๘ มิถุนายน ๒๕๐๓ (นี่คือประกาศที่ให้วันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันหยุดราชการในฐานะ "วันชาติ" แทนวันที่ ๒๔ มิถุนายน)
ผมยังได้เอาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองวันชาติ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ มาให้ดูด้วย ตัวประกาศนี้เป็นเพียงประกาศเรื่องเปลี่ยนวันชาติจาก ๒๔ มิถุนายน เป็น ๕ ธันวาคม ไม่ใช่ประกาศให้วันชาติใหม่เป็นวันหยุด (ซึ่งออกตามมา คือประกาศ ๘ มิถุนายน ๒๕๐๓ ที่เพิ่งพูดข้างต้น)
จะเห็นว่า #ประกาศทุกฉบับนี้เขียนไว้ชัดเจนว่าเป็น "#มติคณะรัฐมนตรี"
ประกาศเรื่องวันชาติ-วันคล้ายวันพระราชสมภพ ร.๙-วันพ่อ เมื่อวานนี้ ยังไม่ใช่ประกาศวันหยุด (เข้าใจว่า คงจะต้องมีการประกาศเป็นวันหยุดตามมา คงจะประกาศวันหยุดประจำปีทั้งหมดทีเดียว ซึ่งคงมีวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ด้วย) ในแง่นี้ ก็อาจจะบอกว่า ประกาศเมื่อวาน คล้ายกับประกาศวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ ที่เป็นเพียงประกาศเรื่องวันชาติใหม่(ยังไม่ใช่ประกาศวันหยุด)
แต่ที่ประหลาดคือ นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์หลัง ๒๔๗๕ ที่การประกาศเรื่องวันสำคัญ ทำโดยการอ้าง "พระบรมราชโองการโปรดเกล้า...ให้กำหนดว่า..." พูดง่ายๆคือ เป็นประกาศที่บอกว่า กษัตริย์ใหม่บอกให้ทำแบบนี้
ผมคิดว่า นี่สะท้อนปัญหาที่ผมเคยพูดมาหลายครั้งว่า กษัตริย์ใหม่ทรงพระชอบที่จะทำอะไรตามพระใจชอบ โดยไม่ค่อยนึกถึงระเบียบแบบแผนหรือกฎหมายที่มีอยู่ ในกรณีนี้คือ คง "บอก" หรือสั่งประยุทธ์ว่า ให้เป็นแบบนี้ๆนะ อะไรทำนองนั้น ประยุทธ์ก็(เช่นเคย)มาทำตาม โดยฉีกระเบียบแบบแผนเดิม
ถ้าดูเนื้อหาโดยละเอียดของประกาศ ก็จะเห็นความประหลาดเพิ่มขึ้นด้วย คือ พูดในทางกฎหมาย กรณี "วันชาติ" นั้น อันที่จริง มีมติคณะรัฐมนตรี และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ตามประกาศ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ ดังกล่าว) ซึ่งมีสถานะเป็นเอกสารตามกฎหมายบังคับใช้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นเลยที่กษัตริย์ใหม่ จะต้องมา"บอก"(สั่ง)ว่า ให้วันที่ ๕ ธันวาคม "เป็นวันชาติ" เพราะเป็นอยู่แล้วตามกฎหมาย การมาบอกซ้ำเช่นนี้ เท่ากับยืนยันว่าคำสั่งของกษัตริย์เหนือกว่าเอกสารทางกฎหมายใดๆที่มีอยู่แล้ว เรื่อง "วันพ่อแห่งชาติ" ก็เช่นกัน ความจริงก็มีมติ ครม.อยู่แล้ว (ทั้งสองเรื่องนี้ ยกเว้นแต่จะต้องการเปลี่ยน ซึ่งต้องมีมติ ครม.ใหม่ออกมา แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยน ไม่มีมติ ครม.ให้เปลี่ยน ก็ไม่จำเป็นเลยที่กษัตริย์หรือใครต้องมา "สั่ง" ให้เป็นอีก) กรณีการเป็น "วันคล้ายวันพระราชสมภพ" (ซึ่งเป็นอยู่แล้วโดยธรรมชาติและปฏิทิน) ในแง่ที่ว่า ถ้าต้องการให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญ ก็ควรต้องเป็นเรื่องการมีมติ ครม. เช่นกัน
ความประหลาดของประกาศเรื่อง "วันชาติ" เมื่อวานนี้: กษัตริย์ใหม่ทรงพระชอบที่จะเข้าเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการโดยตรงหรือพะย่ะครับ?
"มิตรสหายท่านหนึ่ง" ทักมาว่า ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ มีความประหลาดบางอย่าง ผมนึกทบทวนและเช็คข้อมูลเพิ่มเติมแล้วก็เห็นว่าจริงแฮะ (ความจริง ผมควรสะดุดใจตั้งแต่แรก เพราะเคยเขียนบทความขนาดยาวเรื่องประวัติวันชาติ ตีพิมพ์ใน "ฟ้าเดียวกัน" เมื่อสิบกว่าปีก่อน)
ในประกาศสำนักนายกฯเมื่อวาน กล่าวว่ากษัตริย์ใหม่ "มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ #ให้กำหนดว่า..." วันที่ ๕ ธันวาคมทุกปี เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนม์ในหลวงภูมิพล, วันชาติ, และวันพ่อแห่งชาติ (ดูภาพประกอบแรก หรือกระทู้เมื่อวานนี้ของผม goo.gl/HrCUuz)
ความประหลาดคือ ความจริง เรื่องวันสำคัญและวันหยุดราชการ #จะต้องทำเป็นมติคณะรัฐมนตรี และมีประกาศสำนักนายกฯในนามนายกรัฐมนตรีเอง ไม่ใช่เรื่องจะต้องมีพระบรมราชโองการ เพราะเป็นเรื่องการบริหารราชการปกติ
ขอให้ดูประกาศเรื่องวันหยุดราชการในประวัติศาสตร์บางฉบับที่ผมนำมาให้ดู
- ๔ มกราคม ๒๔๘๑ (นี่คือประกาศวันหยุดราชการฉบับแรกสุดหลัง ๒๔๗๕)
- ๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๘
- ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๙๗
- ๑๑ ตุลาคม ๒๕๐๐
- ๘ มิถุนายน ๒๕๐๓ (นี่คือประกาศที่ให้วันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันหยุดราชการในฐานะ "วันชาติ" แทนวันที่ ๒๔ มิถุนายน)
ผมยังได้เอาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองวันชาติ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ มาให้ดูด้วย ตัวประกาศนี้เป็นเพียงประกาศเรื่องเปลี่ยนวันชาติจาก ๒๔ มิถุนายน เป็น ๕ ธันวาคม ไม่ใช่ประกาศให้วันชาติใหม่เป็นวันหยุด (ซึ่งออกตามมา คือประกาศ ๘ มิถุนายน ๒๕๐๓ ที่เพิ่งพูดข้างต้น)
จะเห็นว่า #ประกาศทุกฉบับนี้เขียนไว้ชัดเจนว่าเป็น "#มติคณะรัฐมนตรี"
ประกาศเรื่องวันชาติ-วันคล้ายวันพระราชสมภพ ร.๙-วันพ่อ เมื่อวานนี้ ยังไม่ใช่ประกาศวันหยุด (เข้าใจว่า คงจะต้องมีการประกาศเป็นวันหยุดตามมา คงจะประกาศวันหยุดประจำปีทั้งหมดทีเดียว ซึ่งคงมีวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ด้วย) ในแง่นี้ ก็อาจจะบอกว่า ประกาศเมื่อวาน คล้ายกับประกาศวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ ที่เป็นเพียงประกาศเรื่องวันชาติใหม่(ยังไม่ใช่ประกาศวันหยุด)
แต่ที่ประหลาดคือ นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์หลัง ๒๔๗๕ ที่การประกาศเรื่องวันสำคัญ ทำโดยการอ้าง "พระบรมราชโองการโปรดเกล้า...ให้กำหนดว่า..." พูดง่ายๆคือ เป็นประกาศที่บอกว่า กษัตริย์ใหม่บอกให้ทำแบบนี้
ผมคิดว่า นี่สะท้อนปัญหาที่ผมเคยพูดมาหลายครั้งว่า กษัตริย์ใหม่ทรงพระชอบที่จะทำอะไรตามพระใจชอบ โดยไม่ค่อยนึกถึงระเบียบแบบแผนหรือกฎหมายที่มีอยู่ ในกรณีนี้คือ คง "บอก" หรือสั่งประยุทธ์ว่า ให้เป็นแบบนี้ๆนะ อะไรทำนองนั้น ประยุทธ์ก็(เช่นเคย)มาทำตาม โดยฉีกระเบียบแบบแผนเดิม
ถ้าดูเนื้อหาโดยละเอียดของประกาศ ก็จะเห็นความประหลาดเพิ่มขึ้นด้วย คือ พูดในทางกฎหมาย กรณี "วันชาติ" นั้น อันที่จริง มีมติคณะรัฐมนตรี และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ตามประกาศ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ ดังกล่าว) ซึ่งมีสถานะเป็นเอกสารตามกฎหมายบังคับใช้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นเลยที่กษัตริย์ใหม่ จะต้องมา"บอก"(สั่ง)ว่า ให้วันที่ ๕ ธันวาคม "เป็นวันชาติ" เพราะเป็นอยู่แล้วตามกฎหมาย การมาบอกซ้ำเช่นนี้ เท่ากับยืนยันว่าคำสั่งของกษัตริย์เหนือกว่าเอกสารทางกฎหมายใดๆที่มีอยู่แล้ว เรื่อง "วันพ่อแห่งชาติ" ก็เช่นกัน ความจริงก็มีมติ ครม.อยู่แล้ว (ทั้งสองเรื่องนี้ ยกเว้นแต่จะต้องการเปลี่ยน ซึ่งต้องมีมติ ครม.ใหม่ออกมา แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยน ไม่มีมติ ครม.ให้เปลี่ยน ก็ไม่จำเป็นเลยที่กษัตริย์หรือใครต้องมา "สั่ง" ให้เป็นอีก) กรณีการเป็น "วันคล้ายวันพระราชสมภพ" (ซึ่งเป็นอยู่แล้วโดยธรรมชาติและปฏิทิน) ในแง่ที่ว่า ถ้าต้องการให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญ ก็ควรต้องเป็นเรื่องการมีมติ ครม. เช่นกัน
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar