onsdag 7 juni 2017

10 ปี 5 รัฐบาล ระเบิด 87ครั้ง ผู้ก่อการยังลอยนวล จับมือใครดมไม่ได้







เสียงกัมปนาท 3 จุด รอบ 2 เดือน ในห้วงวงรอบครบ 3 ปีแห่งความสงัดเงียบ ด้วยอำนาจรัฏฐาธิปัตย์-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มูลเหตุ-แรงจูงใจ พิสูจน์ยังไม่ได้ว่า เป้าประสงค์ เชิงสัญลักษณ์ ดิสเครดิต รัฐบาล-คสช. หรือต้องการแสดงศักยภาพ

ระเบิด 3 จุด รอบ 2 เดือน  
จุดที่ 1 วันที่ 5 เม.ย. 60 เกิดเหตุระเบิด "ไปป์บอมบ์" ซุกไว้ในถังขยะ หน้าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (เก่า) ถนนราชดำเนินกลาง บาดเจ็บ 2 ราย
จุดที่ 2 วันที่ 15 พ.ค. 60
เกิดเหตุเสียงดังคล้ายระเบิด บริเวณหน้าโรงละครแห่งชาติ บาดเจ็บ 2 ราย และ จุดที่ 3 วันที่ 22 พ.ค. 60 เกิดเหตุระเบิดไปป์บอมบ์ ซุกซ่อนไว้ใน "แจกัน" บริเวณ "ห้องรับยา" ใกล้ห้องรับรองนายทหารระดับชั้นนายพล ชื่อ "ห้องวงษ์สุวรรณ" ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า บาดเจ็บ 25 ราย
ทั้ง 3 จุดยังไม่สามารถจับตัวมือวางระเบิดได้

 

ซื้อ-ขายอาวุธสงครามโจ่งครึ่ม 
นอกจากเหตุการณ์ระเบิด (จริง) แล้ว ยังพบการซุกซ่อน-ซื้อและขายอาวุธสงครามกันอย่างโจ่งครึ่ม  
เหตุการณ์แรก วันที่ 30 พ.ค. 60 พบวัตถุ "ต้องสงสัย" เป็นระเบิดไปป์บอมบ์ จำนวน 1 ลูก ในป่ารกทึบ ใกล้ศูนย์วัฒนธรรมฯ ถนนรัชดาภิเษก
เหตุการณ์ที่สอง วันที่ 2 มิ.ย. 60 รับแจ้งเหตุพบกล่องพัสดุภายในบรรจุระเบิดเอ็ม 67 รวม 8 ลูก กระสุนปืนเอชเค จำนวน 100 นัด ภายใน "ร้านส่งพัสดุ" เอกชน ย่านบางเขน ตรวจสอบขยายผลพบว่า "มือปริศนา" เป็น "ทหาร" ชั้น "สิบโท"
เหตุการณ์ที่สาม วันที่ 3 มิ.ย. 60 เกิดอุบัติเหตุรถยนต์กระบะ ทะเบียน "ตรากงจักร" กทม. ตกลงข้างทางบริเวณถนนสุขุมวิท ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด พบ "อาวุธสงคราม" จำนวนมาก อาทิ ปืนอาก้า ปืนกล พร้อมกระสุนกว่า 100 นัด ใกล้เคียงพบ "จ่าอากาศ" พ.อ.อ.ภคิน เดชพงษ์ บาดเจ็บอยู่ใกล้สถานที่เกิดเหตุ

ป่วนกรุง-ขยายวงใต้ 22 ครั้ง

หากนับเหตุการณ์ระเบิดใน "ยุค คสช." เกิดเหตุระเบิด-วางเพลิง รวมทั้งหมด 22 ครั้ง 
"ครั้งแรก"  วันที่ 1 ก.พ. 58 เกิดเหตุระเบิดแสวงเครื่องไปป์บอมบ์ 2 ลูก บริเวณห้างสยามพารากอน ตรงทางเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส บาดเจ็บ 2 ราย 
ครั้งที่ 2  วันที่ 7 มี.ค. 58 ปาระเบิดหน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก 
ครั้งที่ 3 วันที่ 10 เม.ย. 58 ระเบิดคาร์บอมบ์ บริเวณลานจอดรถ ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย จ.สุราษฎร์ธานี บาดเจ็บ 10 ราย 
ครั้งที่ 4 วันที่ 17 ส.ค. 58 ระเบิดบริเวณหน้าศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์ เสียชีวิต 20 คน บาดเจ็บ 163 คน 
ครั้งที่ 5 วันที่ 18 ส.ค. 58 ระเบิดบริเวณท่าเรือสาทร ฝั่งพระนคร  
ครั้งที่ 6 ช่วงระหว่างวันที่ 11-13 สิงหาคม 2559 เกิดเหตุระเบิด 14 จุด วางเพลิง 5 จุด รวม 19 จุด 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน บาดเจ็บ 27 เสียชีวิต 3 ราย

บอมบ์วันเดียว 9 จุด

หากย้อนกลับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธสงครามมีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่หัวปี ท้ายปี ของการรัฐประหารในยุค คมช. ถึงในยุค คสช. รวมทั้งหมด 5 รัฐบาล มีผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิตจำนวนมาก
เริ่มตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในยุครัฐบาล คมช. เกิดเหตุระเบิดในช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ (วันที่ 31 ธ.ค. 2549-วันที่ 1 ม.ค. 2550) ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 9 จุด
จุดที่ 1
บริเวณป้ายรถเมล์ ใกล้ห้างเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  

จุดที่ 2 บริเวณป้อมสัญญาณไฟจราจร สี่แยกสะพานควาย
จุดที่ 3 บริเวณป้อมจราจร สี่แยกแคราย จ.นนทบุรี 

จุดที่ 4 บริเวณป้อมจราจร สุขุมวิท 62  
จุดที่ 5 บริเวณตลาดคลองเตย 2 ชุมชนไผ่สิงโต
จุดที่ 6 บริเวณลานจอดรถจักรยานยนต์ห้างซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์  

จุดที่ 7 บริเวณตู้โทรศัพท์ หน้าห้างเกษรพลาซ่า เซ็นทรัลเวิลด์
จุดที่ 8
บริเวณท่าเทียบเรือประตูน้ำ เชิงสะพานเฉลิมโลก ห้างเซ็นทรัลเวิลด์  

จุดที่ 9 บริเวณร้านแมคโดนัลด์ เมเจอร์รัชโยธิน

รบ.สมชาย 53 วันอันตราย

รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์-รัฐบาลที่มีอายุสั้นที่สุดเพียง 53 วัน เนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ-เสื้อเหลือง 22 ต.ค. 51 เกิดเหตุขว้างระเบิดใส่กลุ่มพันธมิตรฯ
30 ต.ค. 51
ระเบิดเอ็ม 87 สะพานมัฆวานรังสรรค์ 

3 พ.ย. 51 ระเบิดบริเวณสะพานอรทัย-ใกล้การ์ดพันธมิตร 
8 พ.ย. 51 ระเบิดบริเวณทำเนียบรัฐบาล 
11 พ.ย. 51 ระเบิดเอ็ม 79 บริเวณเวทีพันธมิตรฯ
20 พ.ย. 51
ระเบิดเอ็ม 79 บริเวณเวทีพันธมิตรฯ 

22 พ.ย. 51 ระเบิดเอ็ม 79 ชุมนุมพันธมิตรฯ บริเวณแยกสวนมิสกวัน ราชดำเนิน  
24 พ.ย. 51 ปาระเบิดแยกบางลำพู
26 พ.ย. 51 ปาระเบิดสะพานดุสิต ถ.พระราม 5 และบริเวณทางด่วนโทลล์เวย์-หน้าซอย 3 วิภาวดีฯ และระเบิดสนามบินสุวรรณภูมิ 2 ลูก และระเบิดทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว ดอนเมือง
29 พ.ย. 51 ระเบิดเอ็ม 79 ใส่กลุ่มพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบ  

30 พ.ย. 51 ระเบิดเอเอสทีวี 2 ลูก และระเบิดสนามบินดอนเมือง และ  
2 ธ.ค. 51 ระเบิดเอ็ม 79 ใส่กลุ่มพันธมิตรฯ สนามบินดอนเมือง

ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองตกเป็นเป้า

ขณะที่ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกิดการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม นปช.-คนเสื้อแดง เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. 2553 ระเบิดเอ็ม 79 บริเวณ ร.1 รอ. และ ร.พัน 1 รอ. 
16 มี.ค. 53 ระเบิดเอ็ม 79 ใกล้บ้าน นายอักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุด 
20 มี.ค. 53 ระเบิดเอ็ม 67 ใส่สำนักงาน ป.ป.ช. สนามบินน้ำ และ ยิงจรวดอาร์พีจีใส่กระทรวงกลาโหม
22 มี.ค. 53
ปาระเบิดเอ็ม 67 ใส่แขวงการทางธนบุรี เขตบางพลัด 

23 มี.ค. 53 ยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี และเกิดเหตุคนร้ายขว้างระเบิดเอ็ม 67 ใส่กรมบังคับคดี บางขุนนนท์ 
 26 มี.ค. 53 คนร้ายปาระเบิดเอ็ม 67 ใส่สำนักงานอัยการสูงสุด เขตพหลโยธิน
27 มี.ค. 53
ยิงเอ็ม 79 ใส่ร้านบ้านลุงใหญ่ เขตบางชัน และระเบิดเค 75 ใส่อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร พบวัตถุต้องสงสัยเป็นระเบิดเอ็ม 67 จำนวน 2 ลูก บริเวณถนนนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม เกิดเหตุขว้างระเบิดเอ็ม 67 ใส่สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เกิดเหตุคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11
28 มี.ค. 53
ยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่กรมทหารราบที่ 11 ที่ตั้ง ศอ.รส. และเกิดเหตุขว้างระเบิดเอ็ม 67 ใส่บ้านนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี
30 มี.ค. 53 ขว้างระเบิดเอ็ม 67 ใส่อาคารมูลนิธิรัฐบุรุษ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี 3 เม.ย. 53 เกิดเหตุระเบิดสายโทรศัพท์ทีโอที สาขาผดุงกรุงเกษม และกองขยะริมทางเท้า ถนนหลานหลวง 

4 เม.ย. 53 ระเบิดคาร์บอมบ์ สถานอาบอบนวดโพไซดอน 
6 เม.ย. 53 ยิงเอ็ม 79 ใส่บ้าน หมู่บ้านมงคลนิเวศน์ วิภาวดีรังสิต  
7 เม.ย. 53 ขว้างระเบิดเอ็ม 26 ใส่ป้อมที่ทำการตำรวจชุมชน ถนนนวมินทร์
8 เม.ย. 53 ยิงระเบิดเอ็ม 79 และยิงอาวุธสงครามเอ็ม 16 ถล่มที่ทำการพรรคการเมืองใหม่ ถนนพระสุเมรุและตึกทีพีไอ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
10 เม.ย. 53 เกิดเหตุยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่กองปราบปราม 

12 เม.ย. 53 ยิงเอ็ม 79 ใส่บ้าน ถนนประดิพัทธ์ 
13 เม.ย. วางระเบิดซีโฟร์ 6 ลูก โคนเสาไฟฟ้าแรงสูง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
19 เม.ย. 53
เกิดเหตุวางระเบิดแสวงเครื่องหน้าบริษัทเคแอล แกรนิต เขตจอมทอง  

21 เม.ย. 53 ระเบิดเอ็ม 79 ใส่ถังน้ำมันลำลูกกา จ.ปทุมธานี
23 เม.ย. 53
ระเบิดเอ็ม 79 จำนวน 5 ลูก ใส่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลาแดง และบริเวณใกล้เคียง 

25 เม.ย. 53 ระเบิดซอยจรัญ 55  
วันที่ 26 เม.ย. 53 พบระเบิด เค 75 จำนวน 2 ลูก บริเวณหน้าโชว์รูมคาร์แมกซ์ ถนนพระราม 9 ค่ำวันเดียวกันขว้างระเบิดเอ็ม 67 ใส่บ้านนายบรรหาร ย่านบางพลัด  
27 เม.ย. 53 ระเบิดบริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ สาขาตลิ่งชัน 

กลยุทธ์กองโจร-ซุ่มโจมตี กปปส. 
สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษ์ ชินวัตร  
26 พ.ค. 56 ระเบิดแสวงเครื่อง บริเวณปากซอยรามคำแหง 43/1 โดยเหตุการณ์เพิ่มอุณหภูมิความรุนแรงในช่วงการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม กปปส.  
15 ม.ค. 57 เกิดเหตุปาระเบิดเอ็ม 79 ใส่เวที กปปส. บริเวณ 5 แยกลาดพร้าว
17 ม.ค. 57
เกิดเหตุปาระเบิดใส่ขบวน กปปส. บริเวณถนนบรรทัดทอง 19 ม.ค. 57 เกิดเหตุระเบิด 2 จุด

บริเวณเวที กปปส. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
14 ก.พ. 57
เกิดเหตุยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่อาคารชั้น 7 ถนนรัชดาภิเษก 

22 ก.พ. 57 ปาระเบิดใส่เวทีชุมนุม กปปส. ตลาดยิ่งเจริญ อ.เขาสมิง จ.ตราด 
23 ก.พ. 57 ยิงระเบิดเอ็ม 79 หน้าห้างบิ๊กซี ราชดำริ
11 มี.ค. 57 ปาระเบิดเอ็ม 79 ห่างเวที กปปส. แจ้งวัฒนะ 500 เมตร และบริเวณเวที กปปส. สวนลุมพินี ปาระเบิดเอ็ม 26 ใส่วังสวนผักกาดของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าฯ กทม. 

22 มี.ค. 57 คาร์บอมบ์บริเวณศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งวัฒนะ 
15 พ.ค. 57 ยิงระเบิดเอ็ม 79 จำนวน 2 ลูก ใส่เวทีชุมนม กปปส. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและสี่แยกคอกวัว
10 ปี 5 รัฐบาล 87 ครั้ง ยังจับมือใครดมไม่ได้


Inga kommentarer:

Skicka en kommentar