lördag 20 april 2019

"Monarchy without a monarch"

Somsak Jeamteerasakul

 "Monarchy without a monarch"

"มิตรสหายนักวิชาการด้านกฎหมายท่านหนึ่ง" เขียนว่า
 
เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ถูกประกาศใช้ มีการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็น "องค์อธิปัตย์" ผู้ชี้ขาดว่า อะไรเป็นสถานการณ์ปกติ อะไรเป็นสถานการณ์พิเศษ แก้รัฐธรรมนูญได้หรือไม่ได้ เพราะ
กุมอำนาจการชี้ขาดว่า มาตรา ๗ ใช้ได้หรือไม่ ใช้อย่างไร
กุมอำนาจการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกครั้ง
กุมอำนาจในการ "ให้คำปรึกษา" ในทุกๆเรื่องๆ แม้จะยังไม่เกิดเป็นข้อพิพาท
ผมได้เขียนแสดงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
ในแง่หนึ่ง ผมมองว่า ศาล รธน ใหม่ที่จะมีขึ้น มันสอดคล้องกับ "ยุทธศาสตร์" ความพยายามรับมือกับภาวะที่ผมเรียกว่า monarchy without a monarch (การปกครองโดยสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์นิยม ที่ไม่มีองค์กษัตริย์)
กล่าวคือ มัน transfer (โยกย้าย) อำนาจ ultimate arbitration (การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย / ขั้นสูงสุด) จากองค์กษัตริย์ ไปที่ศาลใหม่

.....
หมายเหตุ: ได้ยินว่า "มิตรสหายนักวิชาการอีกท่านหนึ่ง" กำลังเขียนงานวิจัยในประเด็นนี้อยู่ 
Somsak Jeamteerasakul

ในหลวงวชิราลงกรณ์ ("พระบรมฯ") กับประชาธิปไตย

แก่นหรือหัวใจของประชาธิปไตยคือ ประชาชน (สาธารณะ, สังคม) สามารถควบคุม ตรวจสอบ เอาผิด วิพากษ์วิจารณ์ และกำหนดทิศทางของรัฐและบุคคลากรผู้มีอำนาจรัฐได้
ปัญหาอำนาจทางการเมือง-กฎหมาย และทางวัฒนธรรม ของสถาบันกษัตริย์เป็นปัญหาใจกลางของประชาธิปไตยไทยมาโดยตลอด ก็เพราะอำนาจทุกด้านดังกล่าว เป็นสุดยอดสมบูรณ์ ของการ #ไม่สามารถ ควบคุม ตรวจสอบ เอาผิด วิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณะได้เลย


องค์กรอำนาจรัฐส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ ศาล องค์กรอิสระ ข้าราชการประจำ ฯลฯ ที่มีอำนาจที่ไม่สามารถตรวจสอบ ควบคุม เอาผิด วิพากษ์วิจารณ์ได้ ล้วนแต่อิงหรือขึ้นต่อ การมีสถานะที่ไม่สามารถตรวจสอบ ควบคุม เอาผิด วิพากษ์วิจารณ์ของสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น
 
อันที่จริง แม้แต่นักการเมือง ก็ได้ประโยชน์จากสถานะควบคุม ตรวจสอบ เอาผิดไม่ได้ของสถาบันกษัตริย์ดังกล่าว
ประเด็นที่ "คนรักเจ้า-เกลียดนักการเมือง" ไม่เคยเข้าใจเลยคือ ถ้าไม่สามารถตรวจสอบ ควบคุม เอาผิด สถาบันกษัตริย์และส่วนอื่นๆของอำนาจรัฐที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯได้ ก็ไม่มีทางจะตรวจสอบ ควบคุม เอาผิด นักการเมืองได้เช่นกัน เพราะประชาชนที่สนับสนุนนักการเมืองไม่มีวันยอมให้มีการเอาผิด ตรวจสอบ ควบคุม ฝ่ายเดียว

(แม้แต่ข้ออ้างเรื่อง "กษัตริย์ทำงานหนัก" และ "ความจงรักภักดีของประชาชน" ถ้าไม่ผ่านให้มีการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์แบบเดียวกับที่ทำได้กับนักการเมือง แต่ใช้วิธีโปรแกรมฝังหัวทั้งทางระบบการศึกษาและทางสังคมวงกว้างอื่นๆ ก็ไม่มีทางจะอ้างได้ว่า เป็นข้ออ้างที่ชอบธรรมและสามารถทำให้ได้รับการยอมรับโดยแท้จริงทั้งสังคมได้)

วิกฤติไทยสิบปีที่ผ่านมา รวมศูนย์ใจกลางอยู่ที่ปัญหานี้
 
พูดแบบง่ายๆคือ คุณไม่มีทางเอาผิดชินวัตรโดยปกติสงบสุขได้ ถ้าคุณไม่ยอมให้มีการเอาผิดสถาบันกษัตริย์และกองทัพ ฯลฯ การพยายามดันทุรังเอาผิดฝ่ายเดียว ยกสถานะฝ่ายเดียวให้อยู่นอกเหนือการควบคุมตรวจสอบเอาผิด ("สองมาตรฐาน") ก็นำไปสู่ทางตัน ความไม่สงบสุขอย่างยืดเยื้อที่เห็นกัน

ทีนี้ มาถึงกรณีพระบรมฯหรือ "ในหลวงวชิราลงกรณ์" กษัตริย์องค์ใหม่
มีแนวโน้มหรือสัญญาณอะไรที่ส่อให้เห็นว่ากษัตริย์องค์ใหม่จะเปลี่ยนแปลงสถานะของสถาบันฯ ให้ไปในทางที่ตรวจสอบ ควบคุม เอาผิด วิพากษ์วิจารณ์ได้?
 
ที่ผ่านมา ต้องเรียกว่าเป็นศูนย์เลย หรือติดลบด้วยซ้ำ
เอาง่ายๆ พระบรมฯมีแนวโน้มจะเปิดให้มีการควบคุมตรวจสอบเอาผิด วิพากษ์วิจารณ์ การใช้จ่ายเงินสาธารณะจำนวนมหาศาลเพื่อซัพพอร์ตหรือสนับสนุน "ไลฟ์สไตล์" ของพระองค์ในหลายปีที่ผ่านมาหรือ?  หรือให้ตรวจสอบกรณีการกวาดล้างบุคคลใกล้ชิดเช่นกรณีหมอหยอง (ที่มีคนตาย 3 ศพในระหว่างการคุมตัว) หรือ? 
 
ที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างรูปธรรม"เล็กๆ" ความจริง ยิ่งถ้าพูดไปให้ไกลถึงเรื่องสำนักงานทรัพย์สิน เรื่องกฎหมาย 112 เรื่องการยกเลิกการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับสถาบันฯ (ต่อพระราชบิดาที่สิ้นพระชนม์ ซึ่งพระองค์ได้ประโยชน์ และต่อพระองค์เองโดยตรงด้วย) ที่ทำอย่างระดับซึมลึกถึงอนุบาล ฯลฯ ยิ่งไม่มีวี่แววเลยแม้แต่น้อย (ติดลบด้วยซ้ำเช่นกัน)
 
กระแส "เชียร์พระบรมฯ" ที่เกิดขึ้นในหมู่คนที่คิดว่ากำลังต้องการต่อสู้เพื่อ "ประชาธิปไตย" จึงเป็นอะไรที่ถ้าไม่ชวนให้เศร้า ก็ชวนให้ตลก และเป็นเพียงภาพสะท้อนว่า ความเข้าใจเรื่อง อะไรคือ ประชาธิปไตย ของพวกเขา มีข้อจำกัดอย่างมาก
 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar