lördag 29 februari 2020

Update .. เรื่องของ "เสี่ย" (และประยุทธ์)



เรื่องของ "เสี่ย" (และประยุทธ์)

ตอนนี้มีกระแสในหมู่ "ฝั่งประชาธิปไตย" "เสื้อแดง" ทำนองว่า ที่เกิดการ "หย่อน" ในแง่การปราบปรามของ คสช. เช่น มีการชุมนุม ไม่มีการจับ หรือมีการจับ ถึงศาล ก็ไม่โดนอะไรหนัก (ไม่มีการขัง ฯลฯ) เป็นเพราะ "เสี่ย ไม่เอา คสช. ไม่เอาประยุทธ์"

เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงหรอกครับ "เสี่ย" น่ะยังเอา คสช. เอาประยุทธ์ ชอบ คสช. ชอบประยุทธ์ด้วยซ้ำ
แต่เรื่องที่มีมีการ "หย่อน" นี่ เกี่ยวกับ "เสี่ย" ไหม? ก็มีส่วนเกี่ยวอยู่ แต่ไม่ใช่อย่างกระแสที่เข้าใจกันข้างต้น
คือต้องเข้าใจว่า

(ก) "เสี่ย" น่ะชอบประยุทธ์ ชอบ คสช. เพราะ "ขออะไรก็ได้หมดทุกอย่าง" อันที่จริง ถ้ามีวิธีว่า คสช.อยู่ยาว โดยไม่มีเลือกตั้งเลย โดยไม่มีคนมาโวยวาย หรือโดยไม่มีแรงกดดันให้ต้องเลือกตั้ง "เสี่ย" คงชอบ และคงเอา
ปัญหาคือ "เสี่ย" ก็คุมหรือห้ามไม่ให้มีกระแสดังกล่าวไม่ได้ และในระยะยาว ก็ห้ามไม่ให้มีเลือกตั้งเลยไม่ได้ - คสช.ก็ห้ามไม่ได้ ไม่มีใครห้ามได้

(ข) แต่ขณะเดียวกัน "เสี่ย" ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนัก เพราะยิ่งจะทำให้เป็นเรื่องเป็นราว ปวดขมอง "เสี่ย" เหมือนกัน ดังนั้น "เสี่ย" ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนักเหมือนกัน
สรุปคือ สำหรับ "เสี่ย" ถ้าไม่มีม็อบ ไม่มีเรื่องวุ่นวาย ก็จะชอบมากๆ แต่ถ้ามันมีม็อบ ก็อย่าให้มีการปราบหนัก ซึ่งจะมีความวุ่ยวายเหมือนกัน (นี่คือนัยยะที่ประยุทธ์ออกมาพูดวันก่อน)

ในระยะยาว "เสี่ย" ซึ่งถ้าสามารถให้ไม่มีเลือกตั้งเลย ให้ คสช.-ประยุทธ์ อยู่ยาวเลยได้ ก็ยิ่งดียิ่งชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถให้เป็นแบบนั้นได้ ดังนั้น ในระยะยาวออกไป ใครจะเป็นนายกฯ จะเป็นประเด็นสำคัญมากสำหรับ "เสี่ย" คือ "เสี่ย" จะต้อง "เม็กชัวร์" ว่า นายกฯคนต่อไป จะต้องเป็นคนที่เขาไว้ใจได้ ขออะไรก็ได้อีก ถ้าประยุทธ์ไม่สามารถกลับเข้ามาหลังเลือกตั้ง "เสี่ย" ก็ต้องเม็กชัวร์ว่า คนจะมาแทนหลังเลือกตั้ง ต้องเป็นคนที่เขาไว้ใจได้แบบประยุทธ์ ขออะไรก็ได้แบบประยุทธ์อีก (วังมโหฬารกลางเมืองที่เขาต้องการให้สร้าง ยังไม่ได้สร้าง ถึงเวลายังต้องการเงินมหึมาจากนายกฯคนใหม่อีก)

ในแง่นึง ก็เลยเป็น "ไดเล็มม่า" สำหรับ "เสี่ย" และสำหรับประยุทธ์ด้วย "เสี่ย" อยากให้ประยุทธ์อยู่ต่อ อยากได้นายกฯแบบประยุทธ์ ก็อยาก แต่จะให้อยู่ไปเรื่อยๆไม่ต้องมีเลือกตั้ง ก็ทำไม่ได้ เพราะมีแรงบีบให้ต้องมีเลือกตั้ง มีคนออกมาเรียกร้อง แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนัก เพราะจะทำให้สถานการณ์ยิ่งเครียดสำหรับ "เสี่ย" ซึ่งเขาไม่ต้องการ (เขาเป็นคน "เครียด" ง่าย และไม่ชอบไม่อยาก "เครียด") .... สถานการณ์รวมๆมันเลยออกมาก้ำๆกึ่งๆอย่างที่เห็นแหละ

*** "ไทม์" เปรียบเทียบประยุทธ์เป็นสฤษดิ์น้อย แต่ไม่มีสื่อไทยฉบับไหน ยอมรายงานว่าทำไม "ไทม์" จึงเปรียบเทียบเช่นนั้น และปัญหาการพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ในไทย อ่านรายละเอียด ..... https://goo.gl/6Mnd9K
*** ความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างรัฐ และ สังคม-เศรษฐกิจไทย ในภาพสไลด์เดียว ดูคำอธิบาย https://goo.gl/hSZRU7

Update จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าสมมุติว่าประเทศไทยมีสถาบันกษัตริย์ที่ผ่านการปฏิรูป สมมุติว่าวันที่ประยุทธ์ประกาศรัฐประหาร กษัตริย์ไทยออกมาประกาศปฏิเสธการรัฐประหารนั้น...



จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าสมมุติว่าประเทศไทยมีสถาบันกษัตริย์ที่ผ่านการปฏิรูป สมมุติว่าวันที่ประยุทธ์ประกาศรัฐประหาร กษัตริย์ไทยออกมาประกาศปฏิเสธการรัฐประหารนั้น

บทความของ The Economist (https://goo.gl/QQjK72) เรื่อง "ถ้าสมมุติประเทศไทยมีสถาบันกษัตริย์ที่ผ่านการปฏิรูป : ประเทศไทยเปลี่ยนตัวเองเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้อง" (If Thailand had a reformed monarchy: Turning itself into a proper democracy) หัวรอง "ผลตอบแทน - รวมทั้งต่อสถาบันกษัตริย์เองในระยะยาว - จะมหาศาลมาก" (The benefits - including, in the long run, for the monarchy itself would be huge)

ได้ลองบรรยายสร้างเรื่องหรือซีนาริโอสมมุติขึ้น โดยสมมุติว่าวันที่ประยุทธ์กับพวกออกทีวีประกาศยึออำนาจ สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นได้เกิดขึ้น คือ กษัตริย์ไทยออกทีวีมาประกาศว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการการปกป้องจากกองทัพในลักษณะนี้ และในฐานะกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้ายึดมั่นต่อประชาธิปไตยและสิทธิของประชาชน

หลังจากนั้น The Economist ก็บรรยายต่อถึงเรื่องสมมุตินี้ว่า เกิดอะไรตามมา - รัฐประหารล้มเหลว ประยุทธ์กับพวกถูกนำตัวเข้าคุก, สื่อต่างๆมีปฏิกิริยาอย่างไร (เขายกตัวอย่าง เดอะเนชั่น กับ มติชน) วงการทูต มีท่าทีอย่างไร, มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินฯถูกเปลี่ยนไปอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบ* และการเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์ในที่สุดนำไปสู่การทบทวนเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ ปัญหา "ความเป็นไทย" ได้รับการทบทวน ประวัติศาสตร์ที่เคยได้รับการสอนกันมาถูกเปลี่ยนแปลง ฯลฯ

ก็ลองกันอ่านดูนะครับ (ขออภัยผมไม่มีเวลาแปลโดยละเอียดกว่านี้) ประเด็นสำคัญจริงๆของเรื่องสมมุตินี้อยู่ตอนท้าย ที่ว่า ณ ปัจจุบัน ฉากสมมุติที่ว่านี้ ดูเหมือนจะยิ่งเป็นไปได้ยากมากขึ้นกว่าช่วงไหนๆในประวัติศาสตร์ เพราะกษัตริย์วชิราลงกรณ์ยิ่งดูเหมือนสนใจจะเพิ่มอำนาจตัวเองมากขึ้น แทนที่จะลดลง แต่ The Economist เสนอว่า สถานะของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นทุกวันนี้ เป็นผลผลิตของยุคสงครามเย็นที่พ้นสมัยไปแล้ว ดังนั้น ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า สถาบันกษัตริย์จะ "ซอฟต์แลนดิ้ง" หรือ "ฮาร์ดแลนดิ้ง" คือยังไงก็ต้องเปลี่ยนจนได้ จะรักษาไว้แบบนี้ไปตลอดไม่ได้ อยู่แค่ว่า จะลงเอยแบบ "ฮาร์ด" หรือ "ซอฟต์" เท่านั้น

หลังรัฐประหารผมเองเขียนทำนองว่า "อนาคตของสถาบันกษัตริย์มีอยู่สองอย่างเท่านั้น คือ ไม่เปลี่ยนเป็นแบบอังกฤษ-ยุโรป ก็ล้มไปเลย เป็นรีพับบลิค ไม่มีทางเลือกที่สาม คือรักษาแบบปัจจุบันไปไม่มีที่สิ้นสุด" (ซึ่งคุณฟูลเลอร์แห่ง นิวยอร์ค ไทมส์ เคยเอาไปโค้ต)

กรณีวชิราลงกรณ์นั้น ตั้งแต่เดือนแรกๆหลังจากผมมาปารีส มีเพื่อนคนไทยคนหนึ่ง เคยถามว่า เป็นไปได้ไหมที่วันดีคืนดี เขาจะออกมาประกาศว่า ต่อไปนี้ ไม่เอาสถานะสถาบันกษัตริย์แบบเดิมแล้ว ฯลฯ (ตอนนั้น ในหลวงภูมิพลยังมีชีวิต แต่เห็นได้ชัดว่าคงอีกไม่นานก็ต้องเปลี่ยนรัชกาล) ผมก็ตอบทำนองว่า ความจริง "โดยทางทฤษฎีสมมุติ" ก็พูดได้ว่า เป็นไปได้ที่กษัตริย์ใหม่จะออกมาทำแบบนั้น (วันดีคืนดี ออกมาประกาศทางทีวีว่า ต่อไปนี้ จะปฏิรูปเปลี่ยนแปลง ฯลฯ) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น เขาก็จะทำประโยชน์มหาศาลทางประวัติศาสตร์ต่อประเทศไทย และสถานะของเขาก็จะกลายเป็นฮีโร่ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครลบล้างได้ ...
แต่โอกาสเป็นเช่นนั้น คงยากมาก เพราะวชิราลงกรณ์ทั้งไม่ฉลาดพอ มองการณ์ไกลไม่พอ และไม่กล้าหาญพอ .. จนทุกวันนี้ บางครั้งที่มีการคุยเรื่องนี้กันในหมู่คนไทยที่นี่ ผมก็ยังคิดแบบนี้
..............
* ไหนๆพูดเรื่อง สนง.ทรัพย์สินฯ ในซีนาริโอสมมุติของ The Economist ผมเลยขอถือโอกาสบอกข่าวหนึ่งให้ฟัง เมื่อสัปดาห์ก่อน มีการพูดในหมู่นักข่าวที่ทำข่าวสภาว่า กษัตริย์ใหม่ได้ส่ง พรบ.ว่าด้วยทรัพย์สินฯฉบับใหม่ เข้าไปพิจารณาลับใน สนช. ผมเช็ควาระการประชุม สนช.วันนั้นแล้ว ไม่มีวาระที่ว่าอยู่ แต่แวดวงนักข่าว เขาบอกมาเช่นนั้นจริงๆ

เรื่องกษัตริย์ส่งกฎหมายเข้าไปเป็นวาระพิเศษ แล้ว สนช.พิจารณาผ่านโดยการประชุมลับ เป็นไปได้ (เหมือนคราว พรบ.ราชการในพระองค์) เพียงแต่ว่าครั้งนี้ จะจริงหรือไม่ ยังไม่สามารถยืนยันได้ ถ้าจริง อีกไม่นาน ก็คงมีการประกาศออกมาทางราชกิจจาฯ (ล่าสุด ผมเพิ่งเช็ค ยังไม่มี)

ถ้ามีการเปลี่ยน พรบ.ทรัพย์สินกษัตริย์ ก็นับว่าสำคัญและน่าสนใจมาก พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491 ที่ใช้กันทุกวันนี้น่าจะเป็นกฎหมายเก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์หลัง 2475 ที่ไม่เคยมีการแตะต้องหรือแก้ไขเลย (กฎหมายอย่าง อัยการศึก แม้จะออกตั้งแต่ก่อน 2475 แต่มีการแก้ไข)
ก็คอยติดตามกันดูว่า เรื่องนี้จะเป็นเพียงเรื่องลือ หรือจะกลายมาเป็นจริง โดยส่วนตัว ผมยัง 50-50 เพราะนึกไม่ออกว่า กษัตริย์ใหม่ยังจะมีอะไรที่ต้องการให้แก้ พรบ.ทรัพย์สินฯอีก เพราะเท่าที่เป็นอยู่ กฎหมายดังกล่าวก็ให้อำนาจในการควบคุมทรัพย์สินฯ ในมือกษัตริย์อย่างเต็มที่อยู่แล้ว

*** ในหลวงวชิราลงกรณ์ ("พระบรมฯ") กับประชาธิปไตย http://goo.gl/QokA2m

*** มาตราในรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ที่แก้ตามความต้องการของกษัตริย์ https://goo.gl/93aGxP 

*** ผมขออธิบายอย่างชัดๆว่า ที่กษัตริย์ "ขอ"(สั่ง)ให้แก้รัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญ คือผิดกฎหมาย อย่างไร http://goo.gl/k5XcYU

*** วชิราลงกรณ์ ร่วมมือกับประยุทธแก้รัฐธรรนูญ ดูรายละเอียด facebook.com/photo.php?fbid
*** ประกาศสำคัญทรัพย์สินกษัตริย์: - ทรัพย์สินและหุ้นในบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในนาม"สนง.ทรัพย์สินฯ" ให้เปลี่ยนเป็นนาม"วชิราลงกรณ์"เอง - เขาจะดูแลกิจการที่ต่อไปนี้จะอยู่ในนามเขาเอง โดยใกล้ชิด - ให้ทรัพย์สินฯที่ต่อไปนี้เปลี่ยนเป็นในนามเขาเอง เสียภาษี อ่านรายละเอียด https://goo.gl/u6cyM8

วิกฤตไทย !...วิกฤตโลก.!

สภาพัฒน์เปิดผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจปี 62 การจ้างงานหด-ว่างงานเพิ่ม 3.7 แสนคน เผยธุรกิจแห่ปิดกิจการพุ่ง 67% หวั่นปี 63 อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ผลพวงจากปัจจัยเสี่ยงรุมทั้ง ศก.ชะลอตัว ภัยแล้ง ปัญหาส่งออก ชี้หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ใกล้แตะ 80%