onsdag 19 februari 2020

บทเรียนกรณีพันธมิตรฯ มาถึงรณรงค์โหวตโน - ในทีสุดพรรคการเมืองที่ไม่ต้องลงแรงเต็มที่ได้ประโยชน์ ...


ถ้าตัดประเด็นเรื่องเป้าหมายการเคลื่อนไหวของพันธมิตรออกไปนะ ผมมองว่า สิ่งที่ต้องนับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายสำหรับการเมืองแบบประชาธิปไตยในประวัติศาสตร์ยุคใกล้มาโดยตลอด คือ ความล้มเหลวของการเคลื่อนไหวมวลชนที่เริ่มมาจากประชาชนเองที่จะกลายเป็นขบวนการที่ถาวร แล้วดอกผลหรือผลประโยชน์ใดๆที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวนั้น ก็ตกเป็นของพรรคการเมืองที่มีอยู่ก่อนแล้ว ที่ในระหว่างการเคลื่อนไหวมวลชนแบบนี้ #ไม่ต้องมาลงแรงด้วยตัวเองเต็มที่

พันธมิตรฯมีความพยายามแปรรูปตั้งเป็นพรรคการเมืองแต่ล้มเหลว ถ้าเราดูย้อนหลังไปถึง 14 ตุลา หรือ พฤษภา 35 ก็เช่นกัน ในที่สุดแล้ว ขบวนการเคลื่อนไหวมวลชนในลักษณะที่เริ่มมาจากประชาชนเอง ก็ลงเอยกลายเป็นพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว #ที่ในระหวา่งการเคลื่อนไหวนั้นไม่ต้องลงแรงเต็มที่ ได้ประโยชน์ไป

ซึ่งเรื่องนี้ ถ้าเราดูจริงๆนะ แม้แต่การรณรงค์คัดค้านรัฐธรรมนูญ คสช ที่เพิ่งจบไป ก็เข้าข่ายนี้ (อันนี้ผมคิดมาตลอดหลายเดือนที่มีการรณรงค์นะ แต่ไม่ได้เขียนไป) แน่นอน ต่างจากพันธมิตรที่ "ชนะ" หรือบรรลุในเป้าหมาย (แต่ในทีสุด ผลประโยชน์ก็ตกกับพรรคการเมือง) การรณรงค์คัดค้านรัฐธรรมนูญ คสช ไม่ประสบความสำเร็จ แต่สมมุติว่าเกิดการรณรงค์ประสบความสำเร็จขึ้นมา ผมว่าผลก็จะเป็นทำนองเดียวกัน #คือพรรคเพื่อไทย - อันนี้พูดกันตรงๆ - #จะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ที่สุด #โดยที่ระหว่างการรณรงค์นั้นพรรคฯไม่ได้ลงแรงเต็มที่ #จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ อันที่จริง แม้แต่ระหว่างการรณรงค์ที่ผลยังไม่ออกมา ผมก็รู้สึกแบบนี้นะ คือเอาเข้าจริง พรรคฯได้ประโยชน์(และจะได้ประโยชน์ถ้าชนะ)จากการรณรงค์มากกว่า คนทีทำการรณรงค์ที่เป็นประชาชนที่ไม่ใช่คนของพรรคเอง

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar