ข้อมูลใหม่จากโทรเลขวิกิลีกส์-แอนดรู แม็คเกรเกอร์ มาร์แชลล์: กรณีทีวีพูลเอาคลิปในหลวงพบสุจินดา-จำลอง ออกฉาย 12 มีนาคม 2549
โดยสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011 เวลา 6:31 น.
ปัจจุบัน คงมีน้อยคนจะจำได้ว่า ในท่ามกลางวิกฤติต้นปี 2549 ที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ในคืนวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2549 จู่ๆ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือทีวีพูล ได้พร้อมใจกันเผยแพร่คลิปสุจินดา-จำลอง เข้าเฝ้าในหลวง ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 ทีรู้จักกันดี
ขณะนั้น อยู่ในระหว่างช่วงหาเสียงก่อนเลือกตั้ง 2 เมษายน ที่ ประชาธิปัตย์ บอยคอต และการเคลื่อนไหวของพันธมิตร ภายใต้ข้อเรียกร้องให้มี "นายกพระราชทาน" ตามมาตรา 7 กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น
คืนวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม ในช่วงข่าว 2 ทุ่ม ทีวีทุกช่องได้นำคลิปดังกล่าวออกฉาย โดยมีโฆษก กล่าวนำ ด้วยข้อความ ดังนี้
โดยที่ในขณะนี้ มีสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างและหลากหลาย และหลายฝ่ายมีความวิตกกังวลว่า จะเกิดเหตุความไม่สงบในบ้านเมือง เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจให้ทุกฝ่ายทุกคน
โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ขออัญเชิญพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 20 พ.ค.2535 มาเพื่อรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
หลังการแพร่ภาพในคืนวันที่ 12 พร้อมกันทุกช่องแล้ว วันถัดมายังมีการแพร่ภาพซ้ำอีกในหลายช่อง)
ในท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดขณะนั้น ไม่มีใครรู้ว่า ทำไมจึงมีการเผยแพร่คลิปดังกล่าวอีก และอะไรคือ "สาร" (message) ของการเผยแพร่นั้น ทุกฝ่ายได้ตีความไปต่างๆนานา ฝ่ายรัฐบาล คือทักษิณเอง อธิบายว่า เป็นการดำเนินการของสำนักพระราชวัง ไม่่ใช่รัฐบาล (วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ว่า ใครทำ ว่า "ไม่ทราบ ให้ไปสอบถามทีวีพูล" สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกรัฐบาลก็กล่าวทำนองเดียวกัน) ขณะที่ฝ่ายพันธมิตร ตั้งข้อสงสัยว่า อาจจะเป็นฝีมือรัฐบาล เพื่อต้องการให้พันธมิตรยุติการชุมนุมกดดันรัฐบาล (หรือไม่ก็เพื่อโจมตีเรือ่ง "จำลอง พาคนไปตาย") อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่าย ก็พยายาม "อ่าน" การเผยแพร่คลิปนั้น ในลักษณะกว้างๆว่า คลิปดังกล่าวเป็นการเตือนสติให้ทุกฝ่ายสามัคคี
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้สัมภาษณ์ในขณะนั้น เปรียบเทียบการออกอากาศคลิปดังกล่าว เป็น การรัฐประหารทางทีวี เหมือนการรัฐประหารทางวิทยุ ในปี 2494 ในส่วนของบุคคลทีใกล้ชิดราชสำนักเอง น่าสังเกตว่า การออกอากาศนี้ทำให้บางคน "เซอร์ไพรซ์" และไม่ทันตั้งตัวเหมือนกัน แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวัง ได้ให้สัมภาษณ์ในวันต่อมาที่มีการออกอากาศคลิป (13 มีนาคม) ว่า "โดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วย เพราะปกติอยู่ดีๆ อยู่แล้ว ทำไมถึงทำให้ยุ่ง ประเทศไทยและคนไทยรักสงบ เพราะฉะนั้นอย่าไปยุ่งกับพระองค์ท่าน (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)" เขายังยืนยันว่า การแพร่ภาพนั้นไม่ใช่มาจากหน่วยงานที่เขาดูแลอยู่ (การที่เรื่องบางอย่างที่มีกำเนิดจากแวดวงราชสำนักเอง (ดังจะอธิบายต่อไป) แต่คนในแวดวงนั้น หรือคนใน "ฝ่ายเจ้า" ด้วยกันเองบางคน ไม่รับรู้ หรือไม่ได้รับ "สัญญาณ" และอาจจะออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย ด้วยซ้ำนั้น เป็นเรื่องที่เราจะได้เห็นอีกโดยตลอดของวิกฤติครั้งนี้ (เช่น กรณีพันธมิตรชุมนุมปี 2551 แล้วมีคนอย่างดิสธร วัชโรทัย ออกมาบอกว่า "ผมอยู่พรรคในหลวง ... เป็นตัวจริงเสียงจริง รับพระราชกระแสมาเอง" และเรียกร้องให้พันธมิตร "อยู่บ้าน" ไม่ต้องไปชุมนุม แต่กลับถูกพันธมิตรโจมตีอย่างหนัก)
ในกรณีทีวีพูลนั้น ไม่เพียง แก้วขวัญ จะออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย เท่านั้น ไม่กี่วันต่อมา ยังมีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า ในที่ประชุมองคมนตรีวันที่ 14 มีนาคม เปรม ได้แสดงความไม่เห็นด้วยและสั่งให้ยุติการแพร่ภาพ (ผมหาข่าวนี้จากเว็บไซต์ นสพ.ขณะนั้นโดยตรงไม่ได้แล้ว ผลจากการที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยางกว้างขวางไปต่างๆนานา ว่าใครสั่งให้แพร่คลิป 17 พฤษภา และต้องการจะสื่ออะไร ในที่สุด วันที่ 14 มีนาคม สำนักราชเลขาธิการ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง ดังนี้ (ผมทำตัวหนาเน้นคำเอง)
สำนักราชเลขาธิการขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า พระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลข่าวสารซึ่งได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะทั่วไปอยู่แล้ว และประชาชนก็รับรู้มาโดยตลอดว่ามีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2535 เพราะฉะนั้นการที่หน่วยงานหรือสื่อมวลชนใดจะนำออกมาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้ความรับผิดชอบของตนเองนั้นก็สามารถกระทำได้ จึงขอแถลงข่าวมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
จะเห็นว่า แม้แถลงการณ์จะไม่ได้ปฏิเสธโดยตรง แต่ลักษณะการเขียนก็ชวนให้เข้าใจว่า การฉายคลิปทางทีวีพูลไม่เกี่ยวกับราชสำนัก แต่เป็น "ความรับผิดชอบของตนเอง" ของหน่วยงานหรือสื่อมวลชนที่นำออกฉาย ดังที่จะเห็นข้างล่าง นี่คือจุดประสงค์ของแถลงการณ์นี้จริงๆ วันต่อมา (15 มีนาคม) เมื่อมีข่าวเรื่องเปรมพูดในที่ประชุมองคมนตรีว่า อยากให้ยุติการฉายคลิป (ที่กล่าวถึงข้างต้น) สำนักราชเลขาธิการ ก็ออกแถลงการณ์อีกฉบับหนึ่งมาปฏิเสธว่า "สำนักราชเลขาธิการขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่าในการประชุมคณะองคมนตรีในวันดังกล่าวไม่ได้มีการกล่าวถึงกรณีดังกล่าวตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่ประการใด" ใครสั่งให้ทีวีพูลแพร่คลิป 17 พฤษภา และอะไรคือสารของการแพร่คลิปดังกล่าว?
เช่นเดียวกับหลายกรณี ฝ่ายอเมริกันจะรับรู้เบื้องหน้าเบื้องหลังมากกว่าสาธารณชนไทยเอง ในโทรเลข 06BANGKOK1546 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2549 ทูตอเมริกันได้บันทึกไว้ว่า อาสา สารสิน ราชเลขาธิการ ได้บอกกับทูตว่า "ในหลวงทรงสั่งให้ฉายคลิปดังกล่าวด้วยพระองค์เอง" (the King himself ordered the film to be shown) โดย อาสา กล่าวว่า จุดประสงค์ของพระองค์คือ "เพื่อสนับสนุนการหาทางออกที่สันติให้กับความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้" (in order to encourage a peaceful resolution to the current political conflict) อย่างไรก็ตาม ทูตได้บันทึกไว้ดังนี้
Although Asa says the intent of the broadcast was not to favor either side, the initial analysis is that it works against the Prime Minister, since everyone knows that part of the solution in 1992 was for the PM under siege to step down. This was the view expressed to DCM by a military aide of Privy Councillor General Suryayud Chulanont.
แม้อาสาจะกล่าวว่า ความตั้งใจของการฉายคลิป ไมใช่เพื่อเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, การวิเคราะห์เบื้องต้น คือ การฉายคลิปนี้เป็นผลเสียต่อนายกรัฐมนตรี [ทักษิณ] เพราะทุกคนรู้ว่า ส่วนหนึ่งของทางออกเมื่อปี 2535 คือนายกรัฐมนตรีที่กำลังถูกโจมตีขณะนั้น ลาออก. นี่เป็นความเห็นที่ ทหารคนสนิทขององคมนตรี สุรยุทธ จุลานนท์ บอกกับอัครราชทูตที่ปรึกษา.
ควรบันทึกไว้ด้วยว่า สนธิ ลิ้มทองกุล ได้ตีความการฉายคลิปแบบเดียวกับสถานทูตและทหารคนสนิทของสุรยุทธ จุลานนท์ เช่นกัน ในการปราศรัยบนเวทีพันธมิตรในคืนที่มีการฉายคลิป (12 มีนาคม) สนธิ (ตามพาดหัวของ ผู้จัดการ) "ชี้ทีวีแพร่ภาพประวัติศาสตร์ มีนัยบอก ทักษิณ ควรลาออก" สนธิ ได้กล่าวไว้ดังนี้ (การเน้นคำย่อหน้าแรกเป็นของ ผู้จัดการ เอง ที่เหลือเป็นของผม):
ย้อนกลับไปก่อน 4 ก.พ. จำได้ไหมที่ทักษิณสั่งให้ตำรวจที่อยู่ในมือตัวเองแจ้งความจับผมกับคุณสโรชาเกือบทั่วประเทศ เสร็จแล้ววันที่ 4 ก็มีพระราชดำรัสออกมาทักเขาถึงต้องถอนฟ้อง ฉะนั้น โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ที่ออกมา นัยที่แท้จริงคือว่า เมื่อสังคมเกิดวิกฤตแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย เพื่อให้เหตุการณ์ที่สงบ นายกรัฐมนตรีต้องลาออก และพล.อ.สุจินดา คราประยูร ลาออกหรือเปล่า ... นัยที่แท้จริงอยู่ตรงนี้
นี่กำลังส่งสัญญาณให้คนที่จบด็อกเตอร์รู้ว่าถึงเวลาจะลาออกแล้ว นัยของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์วันนี้มีส่วนละม้ายคล้ายเหตุการณ์วันนั้น เพียงแต่ว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเผด็จการทหาร เราต่อสู้กับเผด็จการนักการเมือง ฉะนั้นแล้ว ถ้า พล.อ.สุจินดายอมลาออก แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณไม่ลาออกเพราะอะไร
นัยที่แท้จริงได้ถูกส่งออกมาแล้ว โดยผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ให้พี่น้องในประเทศได้รู้ว่าเมื่อไรก็ตามที่มีวิกฤตในประเทศ โดยยกตัวอย่างพฤษภา 35 ให้ดู ว่าในที่สุดแล้ว ความสงบเรียบร้อยจะเกิดขึ้นได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต้องลาออก
ในตอนท้ายโทรเลขฉบับเดียวกันนี้ ทูตได้บันทึกว่า "The broadcast message is very much the King's preferred style, vague enough to be interpreted in different ways by different audiences." (สารจากคลิปที่ได้รับการนำออกฉาย เป็นสไตล์ที่ในหลวงชอบ คือ คลุมเครือพอที่จะให้กลุ่มคนฟังต่างกัน ตีความออกไปต่างกัน)
ในโทรเลขอีกฉบับหนึ่ง 06BANGKOK1601 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2549 ทูตได้บันทึกการสนทนากับอาสา ในวันเดียวกันนั้น ว่า
Arsa admitted that the Sunday evening broadcast of the iconic film of the King's intervention following the 1992 pro-democracy demonstrations had provoked a wave of conspiracy theorizing (ref A). Arsa claimed that the King himself had wanted the film broadcast to emphasize the need for peace and reconciliation. Following the broadcast, however, both sides seized on the film to justify their positions. The confusion was compounded because no one knew who had authorized or encouraged the TV stations to show the footage. The PM and the government denied any role.
อาสา ยอมรับว่า การฉายคลิปที่เป็นสัญลักษณ์อันมีชื่อเสียง เมื่อคืนวันอาทิตย์ กรณีในหลวงทรงเข้าแทรกแซงหลังการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปี 2535 นั้น ได้ก่อให้เกิดคลื่นทฤษฎีสมคบคิดขึ้น อาสา อ้างว่า ในหลวงเองต้องการให้ฉายคลิปนั้น เพื่อย้ำความจำเป็นของความสงบและการปรองดอง. แต่หลังการฉายคลิปนั้นแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ยกเอาคลิปมาสนับสนุนความชอบธรรมในจุดยืนของฝ่ายตน. ความสับสนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก ไม่มีใครรู้ว่า ใครใช้อำนาจหรือกระตุ้นให้สถานีโทรทัศน์นำคลิปนั้นออกฉาย. นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ทำ.
อาสา แสดงความกังวลให้ทูตฟังว่า ทั้งสองฝ่ายกำลังใช้ประโยชน์จากการฉายคลิปนั้น เขาจึงต้อง "ตะเกียกตะกายรีบออกแถลงการณ์ [ฉบับวันที่ 14 มีนาคม] เพื่อกันราชสำนักให้ห่างออกมา" (he had scrambled to issue a press statement to distance the Palace from all of this) ซึ่งทูตได้สรุปว่า "อาสากำลังพยายามแยกราชสำนักออกมาจากการเข้าไปอยู่ในพายุทางการเมือง" (Arsa had tried to extricate the Palace from the political storm) และ "ราชสำนักกำลังพยายามยุติเสียงดังกระหึ่ม ที่เกิดจากการฉายคลิปเมื่อคืนวันอาทิตย์" (The Palace is trying to undo the furor caused by the broadcast Sunday night)
ดังที่กล่าวแต่ต้นว่า เมื่อมองย้อนหลังไป ในท่ามกลางเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นระหว่างวิกฤติปี 2549 กรณีทีวีพูลนำคลิป 17 พฤษภา ออกฉาย คงกลายเป็นเรื่องที่ "เล็ก" เกินกว่าคนส่วนมากจะจดจำได้ แต่เรื่องนี้มีความน่าสนใจในฐานะเป็นกรณีหนึ่งของบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในวิกฤตินั้น และ "ลักษณะ" หรือ characteristics ของบทบาทนั้น
ในขณะที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผ่านไปในเวลาค่อนข้างรวดเร็ว (ไม่กี่วัน) และมีความสำคัญและผลสะเทือนไม่มาก (โดยเปรียบเทียบ) โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ถึงข้อมูลที่เป็นเบื้องหลังของเรื่อง จนกระทั่งมาเกิดการเผยแพร่โทรเลขวิกิลีกส์-แอนดรู แม็คเกรเกอร์ มาร์แชลล์ บางฉบับข้างต้น แต่บางเหตุการณ์อื่นที่ตามมาจะมีความสำคัญยิ่งกว่า โดยที่ขณะเกิดเหตุการณ์คนส่วนใหญ่ก็ไม่ทราบข้อมูลเบื้องหลังเช่นกัน (โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์) ผมกำลังพูดถึงกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นราว 3 สัปดาห์ คือการเข้าเฝ้าของทักษิณ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549 ที่หลังการเข้าเฝ้า เขาได้ออกมาประกาศ "เว้นวรรค" ทางการเมือง ซึ่งโทรเลขวิกิลีกส์-แอนดรู แม็คเกรเกอร์ มาร์แชลล์ ก็ได้ทำให้เรารู้ข้อมูลเบื้องหลังเป็นครั้งแรกเช่นกัน .... ซึ่งผมจะนำมาเล่าในคราวหน้า
โดยสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011 เวลา 6:31 น.
ปัจจุบัน คงมีน้อยคนจะจำได้ว่า ในท่ามกลางวิกฤติต้นปี 2549 ที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ในคืนวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2549 จู่ๆ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือทีวีพูล ได้พร้อมใจกันเผยแพร่คลิปสุจินดา-จำลอง เข้าเฝ้าในหลวง ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 ทีรู้จักกันดี
ขณะนั้น อยู่ในระหว่างช่วงหาเสียงก่อนเลือกตั้ง 2 เมษายน ที่ ประชาธิปัตย์ บอยคอต และการเคลื่อนไหวของพันธมิตร ภายใต้ข้อเรียกร้องให้มี "นายกพระราชทาน" ตามมาตรา 7 กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น
คืนวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม ในช่วงข่าว 2 ทุ่ม ทีวีทุกช่องได้นำคลิปดังกล่าวออกฉาย โดยมีโฆษก กล่าวนำ ด้วยข้อความ ดังนี้
โดยที่ในขณะนี้ มีสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างและหลากหลาย และหลายฝ่ายมีความวิตกกังวลว่า จะเกิดเหตุความไม่สงบในบ้านเมือง เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจให้ทุกฝ่ายทุกคน
โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ขออัญเชิญพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 20 พ.ค.2535 มาเพื่อรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
หลังการแพร่ภาพในคืนวันที่ 12 พร้อมกันทุกช่องแล้ว วันถัดมายังมีการแพร่ภาพซ้ำอีกในหลายช่อง)
ในท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดขณะนั้น ไม่มีใครรู้ว่า ทำไมจึงมีการเผยแพร่คลิปดังกล่าวอีก และอะไรคือ "สาร" (message) ของการเผยแพร่นั้น ทุกฝ่ายได้ตีความไปต่างๆนานา ฝ่ายรัฐบาล คือทักษิณเอง อธิบายว่า เป็นการดำเนินการของสำนักพระราชวัง ไม่่ใช่รัฐบาล (วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ว่า ใครทำ ว่า "ไม่ทราบ ให้ไปสอบถามทีวีพูล" สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกรัฐบาลก็กล่าวทำนองเดียวกัน) ขณะที่ฝ่ายพันธมิตร ตั้งข้อสงสัยว่า อาจจะเป็นฝีมือรัฐบาล เพื่อต้องการให้พันธมิตรยุติการชุมนุมกดดันรัฐบาล (หรือไม่ก็เพื่อโจมตีเรือ่ง "จำลอง พาคนไปตาย") อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่าย ก็พยายาม "อ่าน" การเผยแพร่คลิปนั้น ในลักษณะกว้างๆว่า คลิปดังกล่าวเป็นการเตือนสติให้ทุกฝ่ายสามัคคี
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้สัมภาษณ์ในขณะนั้น เปรียบเทียบการออกอากาศคลิปดังกล่าว เป็น การรัฐประหารทางทีวี เหมือนการรัฐประหารทางวิทยุ ในปี 2494 ในส่วนของบุคคลทีใกล้ชิดราชสำนักเอง น่าสังเกตว่า การออกอากาศนี้ทำให้บางคน "เซอร์ไพรซ์" และไม่ทันตั้งตัวเหมือนกัน แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวัง ได้ให้สัมภาษณ์ในวันต่อมาที่มีการออกอากาศคลิป (13 มีนาคม) ว่า "โดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วย เพราะปกติอยู่ดีๆ อยู่แล้ว ทำไมถึงทำให้ยุ่ง ประเทศไทยและคนไทยรักสงบ เพราะฉะนั้นอย่าไปยุ่งกับพระองค์ท่าน (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)" เขายังยืนยันว่า การแพร่ภาพนั้นไม่ใช่มาจากหน่วยงานที่เขาดูแลอยู่ (การที่เรื่องบางอย่างที่มีกำเนิดจากแวดวงราชสำนักเอง (ดังจะอธิบายต่อไป) แต่คนในแวดวงนั้น หรือคนใน "ฝ่ายเจ้า" ด้วยกันเองบางคน ไม่รับรู้ หรือไม่ได้รับ "สัญญาณ" และอาจจะออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย ด้วยซ้ำนั้น เป็นเรื่องที่เราจะได้เห็นอีกโดยตลอดของวิกฤติครั้งนี้ (เช่น กรณีพันธมิตรชุมนุมปี 2551 แล้วมีคนอย่างดิสธร วัชโรทัย ออกมาบอกว่า "ผมอยู่พรรคในหลวง ... เป็นตัวจริงเสียงจริง รับพระราชกระแสมาเอง" และเรียกร้องให้พันธมิตร "อยู่บ้าน" ไม่ต้องไปชุมนุม แต่กลับถูกพันธมิตรโจมตีอย่างหนัก)
ในกรณีทีวีพูลนั้น ไม่เพียง แก้วขวัญ จะออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย เท่านั้น ไม่กี่วันต่อมา ยังมีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า ในที่ประชุมองคมนตรีวันที่ 14 มีนาคม เปรม ได้แสดงความไม่เห็นด้วยและสั่งให้ยุติการแพร่ภาพ (ผมหาข่าวนี้จากเว็บไซต์ นสพ.ขณะนั้นโดยตรงไม่ได้แล้ว ผลจากการที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยางกว้างขวางไปต่างๆนานา ว่าใครสั่งให้แพร่คลิป 17 พฤษภา และต้องการจะสื่ออะไร ในที่สุด วันที่ 14 มีนาคม สำนักราชเลขาธิการ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง ดังนี้ (ผมทำตัวหนาเน้นคำเอง)
สำนักราชเลขาธิการขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า พระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลข่าวสารซึ่งได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะทั่วไปอยู่แล้ว และประชาชนก็รับรู้มาโดยตลอดว่ามีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2535 เพราะฉะนั้นการที่หน่วยงานหรือสื่อมวลชนใดจะนำออกมาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้ความรับผิดชอบของตนเองนั้นก็สามารถกระทำได้ จึงขอแถลงข่าวมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
จะเห็นว่า แม้แถลงการณ์จะไม่ได้ปฏิเสธโดยตรง แต่ลักษณะการเขียนก็ชวนให้เข้าใจว่า การฉายคลิปทางทีวีพูลไม่เกี่ยวกับราชสำนัก แต่เป็น "ความรับผิดชอบของตนเอง" ของหน่วยงานหรือสื่อมวลชนที่นำออกฉาย ดังที่จะเห็นข้างล่าง นี่คือจุดประสงค์ของแถลงการณ์นี้จริงๆ วันต่อมา (15 มีนาคม) เมื่อมีข่าวเรื่องเปรมพูดในที่ประชุมองคมนตรีว่า อยากให้ยุติการฉายคลิป (ที่กล่าวถึงข้างต้น) สำนักราชเลขาธิการ ก็ออกแถลงการณ์อีกฉบับหนึ่งมาปฏิเสธว่า "สำนักราชเลขาธิการขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่าในการประชุมคณะองคมนตรีในวันดังกล่าวไม่ได้มีการกล่าวถึงกรณีดังกล่าวตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่ประการใด" ใครสั่งให้ทีวีพูลแพร่คลิป 17 พฤษภา และอะไรคือสารของการแพร่คลิปดังกล่าว?
เช่นเดียวกับหลายกรณี ฝ่ายอเมริกันจะรับรู้เบื้องหน้าเบื้องหลังมากกว่าสาธารณชนไทยเอง ในโทรเลข 06BANGKOK1546 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2549 ทูตอเมริกันได้บันทึกไว้ว่า อาสา สารสิน ราชเลขาธิการ ได้บอกกับทูตว่า "ในหลวงทรงสั่งให้ฉายคลิปดังกล่าวด้วยพระองค์เอง" (the King himself ordered the film to be shown) โดย อาสา กล่าวว่า จุดประสงค์ของพระองค์คือ "เพื่อสนับสนุนการหาทางออกที่สันติให้กับความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้" (in order to encourage a peaceful resolution to the current political conflict) อย่างไรก็ตาม ทูตได้บันทึกไว้ดังนี้
Although Asa says the intent of the broadcast was not to favor either side, the initial analysis is that it works against the Prime Minister, since everyone knows that part of the solution in 1992 was for the PM under siege to step down. This was the view expressed to DCM by a military aide of Privy Councillor General Suryayud Chulanont.
แม้อาสาจะกล่าวว่า ความตั้งใจของการฉายคลิป ไมใช่เพื่อเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, การวิเคราะห์เบื้องต้น คือ การฉายคลิปนี้เป็นผลเสียต่อนายกรัฐมนตรี [ทักษิณ] เพราะทุกคนรู้ว่า ส่วนหนึ่งของทางออกเมื่อปี 2535 คือนายกรัฐมนตรีที่กำลังถูกโจมตีขณะนั้น ลาออก. นี่เป็นความเห็นที่ ทหารคนสนิทขององคมนตรี สุรยุทธ จุลานนท์ บอกกับอัครราชทูตที่ปรึกษา.
ควรบันทึกไว้ด้วยว่า สนธิ ลิ้มทองกุล ได้ตีความการฉายคลิปแบบเดียวกับสถานทูตและทหารคนสนิทของสุรยุทธ จุลานนท์ เช่นกัน ในการปราศรัยบนเวทีพันธมิตรในคืนที่มีการฉายคลิป (12 มีนาคม) สนธิ (ตามพาดหัวของ ผู้จัดการ) "ชี้ทีวีแพร่ภาพประวัติศาสตร์ มีนัยบอก ทักษิณ ควรลาออก" สนธิ ได้กล่าวไว้ดังนี้ (การเน้นคำย่อหน้าแรกเป็นของ ผู้จัดการ เอง ที่เหลือเป็นของผม):
ย้อนกลับไปก่อน 4 ก.พ. จำได้ไหมที่ทักษิณสั่งให้ตำรวจที่อยู่ในมือตัวเองแจ้งความจับผมกับคุณสโรชาเกือบทั่วประเทศ เสร็จแล้ววันที่ 4 ก็มีพระราชดำรัสออกมาทักเขาถึงต้องถอนฟ้อง ฉะนั้น โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ที่ออกมา นัยที่แท้จริงคือว่า เมื่อสังคมเกิดวิกฤตแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย เพื่อให้เหตุการณ์ที่สงบ นายกรัฐมนตรีต้องลาออก และพล.อ.สุจินดา คราประยูร ลาออกหรือเปล่า ... นัยที่แท้จริงอยู่ตรงนี้
นี่กำลังส่งสัญญาณให้คนที่จบด็อกเตอร์รู้ว่าถึงเวลาจะลาออกแล้ว นัยของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์วันนี้มีส่วนละม้ายคล้ายเหตุการณ์วันนั้น เพียงแต่ว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเผด็จการทหาร เราต่อสู้กับเผด็จการนักการเมือง ฉะนั้นแล้ว ถ้า พล.อ.สุจินดายอมลาออก แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณไม่ลาออกเพราะอะไร
นัยที่แท้จริงได้ถูกส่งออกมาแล้ว โดยผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ให้พี่น้องในประเทศได้รู้ว่าเมื่อไรก็ตามที่มีวิกฤตในประเทศ โดยยกตัวอย่างพฤษภา 35 ให้ดู ว่าในที่สุดแล้ว ความสงบเรียบร้อยจะเกิดขึ้นได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต้องลาออก
ในตอนท้ายโทรเลขฉบับเดียวกันนี้ ทูตได้บันทึกว่า "The broadcast message is very much the King's preferred style, vague enough to be interpreted in different ways by different audiences." (สารจากคลิปที่ได้รับการนำออกฉาย เป็นสไตล์ที่ในหลวงชอบ คือ คลุมเครือพอที่จะให้กลุ่มคนฟังต่างกัน ตีความออกไปต่างกัน)
ในโทรเลขอีกฉบับหนึ่ง 06BANGKOK1601 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2549 ทูตได้บันทึกการสนทนากับอาสา ในวันเดียวกันนั้น ว่า
Arsa admitted that the Sunday evening broadcast of the iconic film of the King's intervention following the 1992 pro-democracy demonstrations had provoked a wave of conspiracy theorizing (ref A). Arsa claimed that the King himself had wanted the film broadcast to emphasize the need for peace and reconciliation. Following the broadcast, however, both sides seized on the film to justify their positions. The confusion was compounded because no one knew who had authorized or encouraged the TV stations to show the footage. The PM and the government denied any role.
อาสา ยอมรับว่า การฉายคลิปที่เป็นสัญลักษณ์อันมีชื่อเสียง เมื่อคืนวันอาทิตย์ กรณีในหลวงทรงเข้าแทรกแซงหลังการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปี 2535 นั้น ได้ก่อให้เกิดคลื่นทฤษฎีสมคบคิดขึ้น อาสา อ้างว่า ในหลวงเองต้องการให้ฉายคลิปนั้น เพื่อย้ำความจำเป็นของความสงบและการปรองดอง. แต่หลังการฉายคลิปนั้นแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ยกเอาคลิปมาสนับสนุนความชอบธรรมในจุดยืนของฝ่ายตน. ความสับสนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก ไม่มีใครรู้ว่า ใครใช้อำนาจหรือกระตุ้นให้สถานีโทรทัศน์นำคลิปนั้นออกฉาย. นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ทำ.
อาสา แสดงความกังวลให้ทูตฟังว่า ทั้งสองฝ่ายกำลังใช้ประโยชน์จากการฉายคลิปนั้น เขาจึงต้อง "ตะเกียกตะกายรีบออกแถลงการณ์ [ฉบับวันที่ 14 มีนาคม] เพื่อกันราชสำนักให้ห่างออกมา" (he had scrambled to issue a press statement to distance the Palace from all of this) ซึ่งทูตได้สรุปว่า "อาสากำลังพยายามแยกราชสำนักออกมาจากการเข้าไปอยู่ในพายุทางการเมือง" (Arsa had tried to extricate the Palace from the political storm) และ "ราชสำนักกำลังพยายามยุติเสียงดังกระหึ่ม ที่เกิดจากการฉายคลิปเมื่อคืนวันอาทิตย์" (The Palace is trying to undo the furor caused by the broadcast Sunday night)
ดังที่กล่าวแต่ต้นว่า เมื่อมองย้อนหลังไป ในท่ามกลางเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นระหว่างวิกฤติปี 2549 กรณีทีวีพูลนำคลิป 17 พฤษภา ออกฉาย คงกลายเป็นเรื่องที่ "เล็ก" เกินกว่าคนส่วนมากจะจดจำได้ แต่เรื่องนี้มีความน่าสนใจในฐานะเป็นกรณีหนึ่งของบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในวิกฤตินั้น และ "ลักษณะ" หรือ characteristics ของบทบาทนั้น
ในขณะที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผ่านไปในเวลาค่อนข้างรวดเร็ว (ไม่กี่วัน) และมีความสำคัญและผลสะเทือนไม่มาก (โดยเปรียบเทียบ) โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ถึงข้อมูลที่เป็นเบื้องหลังของเรื่อง จนกระทั่งมาเกิดการเผยแพร่โทรเลขวิกิลีกส์-แอนดรู แม็คเกรเกอร์ มาร์แชลล์ บางฉบับข้างต้น แต่บางเหตุการณ์อื่นที่ตามมาจะมีความสำคัญยิ่งกว่า โดยที่ขณะเกิดเหตุการณ์คนส่วนใหญ่ก็ไม่ทราบข้อมูลเบื้องหลังเช่นกัน (โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์) ผมกำลังพูดถึงกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นราว 3 สัปดาห์ คือการเข้าเฝ้าของทักษิณ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549 ที่หลังการเข้าเฝ้า เขาได้ออกมาประกาศ "เว้นวรรค" ทางการเมือง ซึ่งโทรเลขวิกิลีกส์-แอนดรู แม็คเกรเกอร์ มาร์แชลล์ ก็ได้ทำให้เรารู้ข้อมูลเบื้องหลังเป็นครั้งแรกเช่นกัน .... ซึ่งผมจะนำมาเล่าในคราวหน้า
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar