onsdag 13 juli 2011

Germany confiscated Thai Crown Prince s boing 737

แปลโดย ดวงจำปา
จาก บล๊อค ของ คุณ Andrew M.Marshall on July 13, 2011

ยานพาหนะส่วนตัว เครื่องบิน โบอิ้ง 737 ของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร มหาวชิราลงกรณ์ ได้ถูกยึดไว้ที่ สนามบิน มิวนิค โดย ผู้พิทักษ์ทรัพย์สิน ซึ่งพยายามที่จะติดตามหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่ จากบริษัท วอลเตอร์ เบาว์ เอจี ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างของประเทศเยอรมันที่ล้มละลาย. ยานพาหนะส่วนพระองค์ ได้ถูกยึดเนื่องจาก ข้อกล่าวหาในทางการเงินที่มีต่อรัฐบาลไทย – และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับ กรมทางหลวง – และไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับ หนี้สินส่วนพระองค์ของมงกุฎราชกุมาร. อย่างไรก็ตาม ผู้พิทักษ์ทรัพย์สินของบริษัทก่อสร้างประเทศเยอรมันนี้ ได้ยึดเครื่องบินส่วนพระองค์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ในการปฎิบัติอย่างแข็งกร้าวเพื่อ ทำความขายหน้าให้กับรัฐบาลไทย เพื่อที่จะจ่ายหนี้สินเสียทีหนึ่ง.


หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับ บริษัท วอลเตอร์ บาว์ นั้น มีจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ ในกิจการของ บริษัททางด่วนดอนเมือง, ซึ่งก่อตั้งเพื่อดำเนินกิจการในทางด่วนจาก ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ไปยังที่ สนามบินนานาชาติแห่งเก่าของเมืองหลวงประเทศไทย. บริษัท วอลเตอร์ เบาว์ นั้น ล้มละลายไปเมื่อปี 2005 และ ผู้พิทักษ์ทรัพย์สิน พยายามที่จะกอบกู้เงินทุน เพื่อที่จะให้ เจ้าหนี้ของบริษัทนั้น ติดตามข้อเรียกร้องที่มีต่อรัฐบาลไทย เนื่องจากได้เปลี่ยนเงื่อนไขในสัญญาที่จะสร้างทางหลวง และ เพนื่องด้วยการปฎิเสธ ที่อนุญาติให้มีการขึ้นค่าทางด่วนสำหรับยานพาหนะที่ต้องใช้ถนนแห่งนี้, ซี่งแสดงให้เห็นว่า โครงการนี้ ไม่มีผลกำไรเลย. ในปี 2009, ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของประเทศไทยได้สั่งการชำระเงิน 29.2 ล้านยูโร บวกกับ 1.98 ล้านยูโร ในค่าใช้จ่ายบางส่วนสำหรับการละเมิดสัญญา, ผลการพิจารณาความฉบับเต็ม และ ประวัติที่เป็นปัญหาที่ทรมานอย่างยาวนานของ โครงการทางด่วนสนามบินดอนเมือง สามารถอ่านต่อได้ที่นี่: ซึ่งเป็นเสมือนนิยายที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีในเรื่องของการขาดคุณสมบัติและการคอรัปชั่นในทางฝ่ายรัฐบาล อนุญาโตตุลาการยังพบโดยเฉพาะว่า การลดค่าผ่านทางที่ประกาศโดยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรในปี 2004 นั้น เป็น การละเมิดเงื่อนไขของข้อตกลงกับวอลเตอร์ บอว์ เมื่อผลการตัดสินได้ประการออกมา, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ได้ปฎิเสธผลการตัดสิน, และได้กล่าวว่าจะต่อสู้กับผลการตัดสิน ซึ่ง โดยการกระทำเช่นนี้ ก็เป็นอย่างที่ นักการเมืองไทยชอบกระทำกันเมื่อเผชิญกับปัญหา – นั่นก็คือ สร้างคณะกรรมาธิการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อกลบฝังปัญหาให้เข้าไปอยู่ในสารบบเดิมๆ ในงานราชการ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม คือ นายโสภณ ซารัมย์ ได้กล่าวหาว่า ทางบริษัทของประเทศเยอรมันนั้น กำลัง“เล่นสกปรก”กับทางฝ่ายไทย.


แม้ว่า ยังไม่มีการชำระเงินใดๆ ต่อค่าเสียหายซึ่ง ศาลอนุญาโตตุลาการ ได้สั่งมา นาย เวอร์เนอร์ ชไนเดอร์ ผู้ตรวจสอบบัญชีของ ออกซ์เบอร์ก ซึ่งเป็นผู้บริหารการล้มละลายสำหรับ บริษัท วอลเตอร์ เบาว์, ตัดสินใจที่จะขอยึดของเครื่องบินที่จะใช้เป็นประโยชน์เพื่อบังคับให้ประเทศไทย เพื่อให้ชำระหนึ้สินเหล่านั้นเสียทีหนึ่ง โฆษกของเขาได้รับการยืนยันเครื่องบินได้ถูกยึดเรียบร้อยแล้ว; รายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ยังสามารถพบได้บนเว็บไซต์ ของบริษัทการเงิน คือ Deutschland The Times. ทาง Financial Times ยังได้กล่าวว่า การยึดเครื่องบินนั้น ได้มีการวางแผนอย่างรอบคอบ เพราะ เมื่อเจ้าฟ้าชายได้ทรงบินไปที่สนามบินในประเทศเยอรมันหลายแห่ง ในสัปดาห์ที่ผ่านมาล่าสุด รวมไปถึง เดรทส์เดน, ซาร์บรัคเก้น, นูเรมเบิร์กและ เบอร์ลิน – ไทเกิ้ล; มีข้อมูลเพิ่มขึ้นมาว่า เจ้าฟ้าชาย มหาวชิราลงกรณ์ เพิ่งทรงไปเยือนเยี่ยมชมโรงงานเครื่องลายครามที่เดรสเดิน สิ่งมีกลุ่มในคณะทั้งหมด 40 คน. พระองค์ไม่ได้รับคำเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับการยึดของเครื่องบิน จากรายงานของ ไฟแนนท์เชี่ยลไทม์ส


ตามที่อดีตเอกอัคราชฑูตของประเทศสหรัฐอเมริกา, นายอีริค จี จอห์น, ได้เขียนไว้ใน เคเบิ้ลลับทางการฑูต เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2009, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารวชิราลงกรณ์ ได้ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ของพระองค์ในประเทศเยอรมันนี.



 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar