söndag 11 mars 2012

ใครแบ่งแยกประเทศไทย?

« เมื่อ: เมื่อวานนี้ เวลา 10:34:07 AM »


Thanks: ฝากรูป

โดยโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม แปลจาก Foreign Policy Journal

เกือบ สองปีหลังจากออกคำสั่งสังหารหมู่ประชาชนของตนเอง อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยังคงดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังที่สังหารประชาชนยังคงดำรงต่ำแหน่งผู้บังคัญ บัญชาการกองทัพบก และนายทหารหลายนายที่ช่วยวางแผนการสลายการชุมนุมและสังหารประชาชนต่างได้รับ รางวัลด้วยการเลื่อนตำแหน่งอย่างถ้วนหน้า แม้แต่อดีตนายทหารเกษียณราชการอย่างพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้ก่อรัฐประหารปีพ.ศ. 2549 เพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสามครั้ง ยังได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเรื่องที่น่าเหลือเชื่อคือ เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ “ปรองดองสมานฉันท์แห่งชาติ”

กลุ่ม คนเหล่านี้ไม่เพียงแต่รอดพ้นจากการรับผิดทางกฎหมายในสิ่งที่พวกเขากระทำ ซึ่งมักจะเป็นธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย แต่พวกเขายังสามารถรักษาตำแหน่งและสถานภาพเอาไว้ได้ มีสื่อภายในประเทศและต่างประเทศไม่กี่แห่งที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น เรื่องความเหมาะสมในการดำรงต่ำแหน่งของพวกเขาอย่างจริงจัง

ในขณะ เดียวกัน อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรยังคงเลือกที่จะลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ ทักษิณปฏิเสธที่จะกลับมารับโทษจำคุกสองปี เพราะ“อาชญากรรม” การเซ็นเอกสารยินยอมตามที่กฎหมายกำหนด เพื่ออนุญาตให้ภรรยาจดทะเบียนที่ดินรัฐที่ซื้อมาจากการประมูลด้วยราคาตาม ท้องตลาด
ตั้งแต่การเลือกตั้งเดือนกรกฎาคมปีพ.ศ. 2554 สื่อต่างประเทศ ถกเถียงถึงความเป็นไปได้ที่ทักษิณจะได้รับอนุญาตให้กลับประเทศไทย ไม่ว่าจะด้วยจากการอภัยโทษ นิรโทษกรรมหรือการพิจารณาคดีใหม่อยู่บ่อยครั้ง บทความและคอลัมภ์ความเห็นต่างๆไม่พลาดที่จะพรรณนาว่าทักษินเป็น “บุคคลสำญที่แบ่งแยกประเทศอย่างลึกซึ้ง” และเตือนว่าอาจมีภัยอันตรายเกิดขึ้นหากทักษิณกลับประเทศครั้งแล้วครั้งเล่า และเพื่อประโยชน์ของประเทศ ทักษิณไม่ควรดึงดันที่จะกลับมา และคนที่สนับสนุนทักษิณในประเทศไทยควรจะปล่อยวาง

ข่าวเกี่ยวกับการ ต่อสู้ทางการเมืองในประเทศไทยในสื่อต่างชาติมีลักษณะที่เหนือจริง บุรุษ ซึ่งชนะการเลือกตั้งห้าครั้งนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 (ไม่ว่าจะเป็นตัวเขาเองหรือตัวแทนของเขา) กลับถูกมองว่า “สร้างความแตกแยก” และไม่ควรกลับประเทศ แต่กลุ่มคนที่ก่อรัฐประหาร ประกาศให้ผลการเลือกตั้งเป็นโมษะ ยุบพรรคการเมืองสี่พรรค จับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหลายร้ายราย และสังหารประชาชนเกือบร้อยรายเพื่อหลีกเลี่ยงาการยุบสภาในช่วงเวลาที่ไม่ เป็นคุณกับพวกเขากลับถูกยอมรับให้เป็นผู้นำกองทัพ ผู้นำพรรคการเมืองใหญ่ และคณะกรรมาธิการวิสามัญาทำหน้าที่สร้างความ “ปรองดองสมานฉันท์” อย่างชอบด้วยกฎหมาย แต่นักข่าวจากไฟแนนเชียลไทม์ ฟอเรนน์ โพลีซี วอลสตรีท เจอร์นัล หรือองค์กร the Council on Foreign Relations ไม่เคยแนะนำคนเหล่านี้ให้ลาออกจากตำแหน่ง หรือย้ายออกนอกประเทศเลย

น่า เสียดายที่สำหรับสื่อตะวันตกส่วนใหญ่แล้ว จำนวนผู้สนับสนุนบุคคลสำคัญที่“สร้างความแตกแยก” ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือใครคือผู้สนับสนุนคนเหล่านั้นต่างหาก ในรอบห้าสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาล บริษัทห้างร้าน และสื่อต่างชาติซึ่งมักจะไม่เชื่อใจต่อการตัดสินของประชาชนอย่างมากได้บ่ม เพาะสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับชนชั้นนำในประเทศไทย ตัวอย่างล่าสุดคือ วิกีลีกส์เคเบิลทางการทูตอันน่าอับอายได้เผยให้เห็นว่าเอกคราชทูตสหรัฐสร้าง ความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหารปีพ.ศ. 2549 โดยรายงานต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐและแนะนำว่าแทบไม่มีการต่อต้านรัฐบาล ทหาร มากไปกว่าการแสดงท่าทางทางสัญลักษณ์ที่ไม่เห็นด้วยหรือการออกคำแถลงการณ์ต่อ สาธารณะซึ่งไม่มีอะไรน่าสนใจและยังตำหนิรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งว่าต้อง รับผิดต่อการล่มสลายของรัฐบาลตนเอง
แท้จริงแล้ว ปัญหาของทักษิณนั้นไม่ใช่เพราะเขาเป็นบุคคลที่สร้างความ “แตกแยก” แต่ปัญหาของทักษิณคือเขาสร้างความหวาดกลัวและถูกเกลียดชังโดยกลุ่มคนที่ ประชาคมโลกและสื่อต่างชาติไม่เคยใช้มาตราฐานเดียวตัดสิน ไม่ว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะเหยียบย่ำเจตจำนงค์ของผู้ลงคะแนนเสียงเพื่อปกป้อง จุดยืนของพวกเขากี่ครั้งก็ตาม

หากพิจารณาถึงแนวโน้มการที่ศัตรูของ ทักษิณมักใช้ความรุนแรง และความมุ่งมั่นอย่างจริงจังของพวกเขาที่จะเอาชนะทักษิณด้วยทุกวิธีการที่จำ เป็น จึงไม่ใช่เรื่องที่ไร้เหตุผลที่จะสัณนิษฐานว่าการกลับมาของทักษิณอาจกระตุ้น ให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่เรื่องสมเหตุสมผลที่จะร้องขอให้ทักษิณอยู่ห่างๆ เพียงเพราะความเกลียดชังและการเพิกเฉยต่อคุณค่าประชาธิปไตยของศัตรูทักษิณ การบอกให้ทักษิณอยู่ห่างจากประเทศที่เขาได้รับการเลือกให้เข้ามาบริหารไม่ทำ ให้ประเทศไทยมีเสถียรภาพ หรือบรรเทาความแตกแยกในประเทศได้ การทำเช่นนั้นส่งผลให้กลุ่มคนที่ไม่ยอมรับกระบวนการเลือกตั้งได้ใจและบังคับ เอาเจตจำนงของกลุ่มคนมีอำนาจไม่กี่คนให้อยู่เหนือเจตจำนงของประชาชนส่วนใหญ่ อย่างต่อเนื่อง
ศัตรูทักษิณอาจจะยอมแพ้ต่อการเลือกตั้งแล้ว แต่ประชาคมโลกและสื่อต่างชาติควรรู้ดีกว่านี้ ไม่ว่าทักษิณจะกลับประเทศไทยหรือไม่ส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อประเด็นนี้เท่า นั้น สิ่งสำคัญคือประเทศไทยจะไม่มีเสถียรภาพ หากกลุ่มอำมาตย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่แพ้การเลือกตั้งซึ่งชาวตะวันตกนับถือไม่ยอมรับผลของการ เลือกตั้งที่มาจากการแข่งขันที่เป็นธรรม เพื่อการเปลี่ยนแปลง สื่อต่างชาติควรจะพิจารณาขอให้พวกเขาเหล่านี้ปล่อยวางฐานันดรศักดิ์ และหยุด “แบ่งแยก” ประเทศที่ไม่ยอมรับการปกครองของพวกเขา

Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

http://robertamsterdam.com/thai/?p=934

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar