ฉีกหน้ากาก จอมบงการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐ
ที่กระทำการเบ็ดเสร็จ สำเร็จเสมอ และแนบเนียนทุกครั้ง
เดือนเมษายน 2500 กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม (สยามรัฐ) และ กองทัพ ภายใต้การนำของ
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มเคลื่อนไหวเตรียม แผนรัฐประหาร โดยมีแกนนำสำคัญ เข้าประชุมร่วมกับ
กองทัพ เช่น กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร(พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ) ประธานองคมนตรี,
ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
๒๕๐๐ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม
หมดรอบ เชิญลงครับนาย ถึงป้ายแล้ว
จอมพลสฤษดิ์ รัฐประหารยึดอำนาจ รัฐบาลจอมพล ป. ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐
เมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจาก จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม แล้ว
ก็แสดงตนว่าไม่ได้ยึดอำนาจเพื่อตัวเอง หลงติดในอำนาจวาสนา ลาภยศสรรเสริญ จึงจัดให้มีการเลือก
ตั้ง ผลปรากฏว่า พรรคสหภูมิ ของสฤษดิ์ได้ที่นั่งมากที่สุด แต่ยังไม่พอจัดตั้งรัฐบาลได้ สฤษดิ์จึงได้ตั้ง
พรรคใหม่ขึ้นชื่อ ชาติสังคม โดยกวาด สส.พรรคสหภูมิรวมเข้ากับ สส.พรรคเล็กอีกหลายพรรคบวก กับ
สส.ประเภทที่๒ ที่แต่งตั้งขึ้นทั้งหมดโดยสฤษดิ์เองหลังการปฏิวัติ ก็มีเสียงมากเกินพอที่จะจัดตั้งรัฐบาล
ได้แล้วให้ จอมพลถนอม กิตติขจร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ.2501
เมื่อครั้งยังเป็นขุนทหาร เคียงคู่บารมีนาย จอมพล ป.
ได้ครับพี่ .. ดีครับผม .. เหมาะสมครับนาย .. สบายครับท่าน
ก่อนจะแข็งข้อยึดอำนาจนายเก่า
รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๑
แต่ จอมพลถนอม บารมีไม่พอ โดนลูกพรรคตัวเองบีบให้ออกกฏหมายควบคุมการใช้เงินกองสลาก
ซึ่งลือกันว่า มีการพิมพ์สลาก ๒ชุด เพื่อเอาเงินไปให้สฤษดิ์ รักษาตัวอย่างลับๆ เรื่องนี้ทำให้สฤษดิ์
โกรธมาก และในวันรุ่งขึ้น สฤษดิ์ ก็บินด่วนกลับเมืองไทย เพื่อทำการรัฐประหารซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แล้ว
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่11 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502
ในการ "กำจัด" ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง หนึ่งในข้อกล่าวหา ที่ใช้ได้ผลมาตลอดยุคสมัย นับแต่อดีตถึง
ปัจจุบัน กว่าครึ่งทศวรรษ สำหรับ "การเมืองสามานย์" ก็ถูกนำมาใช้กันเปิดเผยยิ่งขึ้นทุกที นั่นคือข้อหา
"หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" และผนวกด้วย "ล้มล้างสถาบัน"
นับตั้งแต่ปี 2503 จอมพลสฤษดิ์ได้ใช้ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่างไม่มีความปราณี
เพื่อสำแดงความสูงส่งของ สถาบันพระมหากษัตริย์ และมักจะพ่วงข้อหา "ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์"
เข้าไปด้วย
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กระหนาบข้างซ้ายขวา ด้วยนายทหารคู่บารมี
ถนอม-ประภาส
จอมพลถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้สืบทอดอำนาจเผด็จการตัวแทน
และทำการยึดทรัพย์เจ้านายหลังวายชนม์ หมดสิ้น ด้วยมาตรา17 ที่ตราขึ้นเอง
ฐานโกงชาติโกงแผ่นดิน ยึดทรัพย์เข้าหลวง 3,000 ล้านบาทในสมัยนั้น
แต่คงเหลือทรัพย์สินจริงเพียง 604 ล้านบาทที่ยึดคืนมาได้
กาลต่อมา 2 จอมพล ถนอม-ประภาส พร้อมลูกชาย พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ก็ถูกยึดทรัพย์ด้วยเช่นกัน
หลังเหตุการวันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม พ.ศ.2516
กงเกวียนกำเกวียน กฏแห่งกรรม
มาแชล สฤษดิ์ เซ็งเป็ดเซ็งไก่
อุ้มแทบตาย หักหลังนายเก่าให้ก็แล้ว ดันมายึดทรัพย์กันอีก
“พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ”
“อย่าทำร้ายประชาชนเป็นอันขาด จนกว่าจะได้รับคำสั่งจากข้าพเจ้า” และ ข้าพเจ้านั้นเป็นใคร?
๒๕๓๔ คณะ รสช.ทำรัฐประหารนายกรัฐมนตรีหัวก้าวหน้า
ที่นำพาชาติไทยเจริญเร็วเกินไป เกินหน้าเกินตา
รัฐประหาร ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔
ยุค พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มี พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ เป็นผู้นำร่วมกับนายทหารระดับสูง
เช่น พล.อ.สุจินดา คราประยูร ครั้งนี้ใช้ชื่อ “คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” หรือ “รสช.” เหตุผล
ที่ทำเพื่อ ขจัดภยันตรายที่มีต่อประเทศชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์
๒๕๔๙ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
รัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คมช. มี
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ แต่ไม่มีอำนาจสั่งการจริง โค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยมีเสียงสนับสนุนท่วมท้น ซึ่งนับเป็นการก่อรัฐประหารเป็นครั้งแรกในรอบ
15 ปี คณะรัฐประหารได้ยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม2549 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบสภา สั่งห้ามการประท้วง
และกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและเซ็นเซอร์สื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน
เออ ว่ายพะ ๒ คนในรูปภาพนั่นละคือผู้อยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจมาทุกครั้ง
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar