torsdag 14 juni 2012

การรัฐประหารโดยฝ่ายกองทัพในวันที่ 1 มิถุนายนนั้น เกือบจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่?

บทความแปลโดย: ดวงจำปา

คุณจิม เทเล่อร์ จากมหาวิทยาลัยอเดเลียด ในประเทศออสเตรเลีย ได้ส่งบทความมาให้กับเวปไซค์ของ PPT ซึ่งเป็นแง่มุมความคิดเห็นอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ บทความของคุณจิม มีดังต่อไปนี้



การรัฐประหารโดยฝ่ายกองทัพในวันที่ 1 มิถุนายนนั้น เกือบจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่?

ลองให้ท่านผู้อ่านคิดดูว่า การก่อการรัฐประหารได้ถูกเลิกล้มลงไปจริงหรือ? ทุกๆ ท่านเบื่อเต็มทีหรือยังเกี่ยวกับข่าวลือในเรื่องการรัฐประหาร? ในระยะเวลาสองสามปีที่ผ่านมา เราได้ประมาณการณ์อย่างบ่อยครั้งว่าจะมีการก่อการรัฐประหารเกิดขึ้น ซึ่งมีรากฐานมาจากข่าวลือ, การเสียดสี และการคาดคะเน เรื่องท้ายสุด (ที่เพิ่งผ่านมาในรอบนี้) ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับว่า การก่อการรัฐประหารน่าจะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ซึ่งมีการเตรียมการเมื่อตอนปลายเดือนพฤษภาคมที่จังหวัดอยุธยา ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องแบบทหารเต็มยศ และไปรับมอบที่ดินจำนวน 7 ไร่ที่ทุ่งมะขามหย่อง ซึ่ง “อุทิศ”ให้โดยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม

ไม่ใช่ว่า เราควรจะเชื่อมากนักถึงสัญญาณหรือสัญญลักษณ์ในการกระทำนั้นๆ การจัดการวางแผนก่อการรัฐประหารนั้น พลเรือเอกธนศักดิ์ ปฏิมาประกร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพไทย ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าคณะก่อการ พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร ซึ่งเป็นอดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน และกล่าวอย่างคลุมเครือว่า ในสถานการณ์อันตึงเครียดที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเตรียมพร้อมที่จะนำทัพต่อสู้กับ “ศึกสงคราม” ... ศึกสงครามไหนกันครับ? การรุกรานของพม่าบนผืนแผ่นดินที่ตำนานได้กล่าวว่า สมเด็จพระศรีสุริโยทัยได้ทรงสิ้นพระชนม์ในการปกป้องพระสวามีของพระองค์อย่าง นั้นหรือ?

พลเอกดาวพงษ์ (รัตนสุวรรณ) ได้ขออาสาทำการช่วยเหลือพลเรือเอกธนศักดิ์และเตรียมพร้อมที่จะทำการเสี่ยงใน เรื่องนี้ เนื่องจาก ตัวเขาได้ถูกเชื่อกันว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารฆาตกรรมหมู่เมื่อ เดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อย่างแน่ชัด และตัวเขาจะสูญเสียทุกอย่างถ้าตนเองได้ถูกเรียกขึ้นมาให้การสอบสวนต่อราย ละเอียด ถ้าสมมติว่า การกระทำรัฐประหารเกิดประสบผลสำเร็จขึ้นมา มันจะเป็นหนทางที่จะทำให้เขาหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาต่างๆ ที่กล่าวมาเบื้องต้นได้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้รับคำสั่งมาจากบางแห่งที่มีอำนาจเหนือกว่าและพวกเขามีทางเลือกน้อย มากต่อการปฎิเสธ – ไม่ใช่ว่าเพราะพวกเขาต้องการให้เป็นแบบนั้น พลเอกประยุทธ (จันทร์โอชา) มีการเสี่ยงทุกอย่างต่อเรื่องนี้ เพราะเขายังมีชีวิตราชการอยู่อีกหลายปีและเริ่มมีความกระชับใกล้ชิดกับพรรค เพื่อไทยด้วย ตัวเขาไม่ต้องการที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องต่อการปฎิบัติการอันเสี่ยงต่ออาชีพ ของเขาแบบนี้ ในวันเดียวกันที่จังหวัดอยุธยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีได้ทรงประทับอยู่นั้น ได้มีการประชุมเกิดขึ้นโดยบรรดานายทหารระดับสูงของกองทัพที่พระตำหนักสิริยา ลัยโดยไม่ไกลจากเมืองที่ทรงประทับอยู่มากนัก สถานที่แห่งนี้ ได้ถูกกำหนดให้เป็น “วอร์รูม” หรือ “ห้องวางแผนก่อการ” หลังจากที่พระองค์ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปที่จังหวัดอยุธยาเพียงหนึ่งวัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาศาล ปกครอง ในขณะที่สมเด็จพระราชินีได้ทรงเลี้ยงพระกระยาหารต่อนายทหารของฝ่ายกองทัพ คณะผู้วางแผนการก่อการรัฐประหารได้ถูกสั่ง (โดยใครบางคน?) ว่า ต้องกระทำการรัฐประหารให้สำเร็จเสร็จสิ้นก่อนวันที่ 24 มิถุนายน เมื่อช่วงวันที่ 30 พฤษภาคมถึงวันที่ 1 มิถุนายน จึงเป็นช่วงวิกฤติมากๆ ของพรรคเพื่อไทย

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางฝ่ายกองทัพบกได้ส่งทหารแนวหน้าเข้ามาแฝงตัวอยู่กับ “ชุมชน” (รอบๆ กรุงเทพมหานคร) เพื่อทำการสอบถามกับประชาชนทั่วๆ ไปว่า พวกเขาจะรู้สึกอย่างไรถ้าทางฝ่ายกองทัพบกจะเป็นผู้ผดุงรักษาประเทศแทนที่จะ เป็นพวกนักการเมือง เรื่องนี้เกิดขึ้นจากการทะเลาะกันอย่างอึกทึกโดยการวางแผนของพรรคประชา ธิปัตย์ในรัฐสภาเกี่ยวกับเรื่อง พระราชบัญญัติการปรองดองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว พรรคเพื่อไทย มีความสนใจเพียงการแก้ไขในหนึ่งมาตราคือ มาตรา 291 ซึ่งเกี่ยวกับการแก้ไขและจัดตั้งคณะกรรมการสภาร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น) จากนั้น ได้มีการสั่ง ศาลรัฐธรรมนูญ (โดยใครก็ไม่ทราบ?) ให้ปฎิบัติการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม นี่เป็นแผนการส่วนหนึ่งที่ได้ถูกวางแผนต่อเนื่องกันมาอย่างดี โดยกลุ่มอำมาตย์ ซึ่งแทรกแทรงแฝงตัวอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญๆ หลายแห่งในอำนาจทางยุทธศาสตร์ ซึ่งสามารถทำการสร้างความลดความน่าเชื่อถือให้กับรัฐบาลได้ ซึ่งเป็นเรื่องตรงข้ามกับทฤษฎีที่ อาจารย์สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล) ได้เขียนไว้ในเรื่อง เสวนาปฏิญญาหน้าศาล แนะเพื่อไทย-นปช.ต้องคิดใหม่ทำใหม่ ว่า มีระบอบอำมาตย์อยู่ 5 ระดับซึ่งปฎิบัติการกันอย่างอิสระนั้น มันคือเครื่องจักรใหญ่ๆ ชิ้นซึ่งมีการบำรุงรักษาอย่างดีเยี่ยมนั่นเอง

แผนการก่อการรัฐประหารที่ได้เตรียมไว้ตอนแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนนั้น เกิดรั่วออกมา และดังนั้น ฝ่ายอำมาตย์จะต้องใช้อำนาจที่มีอยู่จากศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาปฎิบัติการอย่าง โดยทันท่วงที ในวันนั้น พลเอกประยุทธ ได้เรียกประชุมหัวหน้านายทหารและประกาศต่อสื่อมวลชนว่าจะมีข่าวสำคัญในตอน บ่ายเวลา 13:00 นาฬิกา แท้จริงแล้ว ทางฝ่ายกองทัพบกมีแผนการที่จะจับตัวนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ที่กรมทหารราบที่ 11 นางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระราชินี คือ ท่านผู้หญิงจรุง จิตต์ ทีขะระ และ ตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เดินทางไปที่กรมทหารราบที่ 11 เพื่อเจรจากับทางฝ่ายกองทัพบก การจับกุมนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ สามารถทำลายล้างรัฐบาลและป้องกันไม่ให้เธอได้หนีออกจากนอกประเทศในฐานะหัว หน้าของฝ่ายรัฐบาล เพื่อจะก่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมายสากลได้ (ถ้าเป็นเช่นนั้น ตัวเธอจะกลายเป็นตัวประกันเพื่อการต่อรองกับนายกฯ ทักษิณ) และในวันนั้นเอง ก็เป็นวันที่ขบวนม๊อบและม๊อบเสื้อหลากสีของทางฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยกับ ดร. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ได้ปิดกั้นทางเข้ารัฐสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ได้มีสัญญาณถูกส่งออกไปถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับเจตนารมณ์ของการวางแผนก่อการรัฐประหาร และจากนั้น เธอได้เลิกล้มการนัดหมายพบปะบุคคลต่างๆ ทั้งหมดในเวลานั้น

พรรคประชาธิปัตย์ได้นำตัวแทนใน “ส่วนภูมิภาคของตน” ขึ้นมาจากจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อช่วย พลตรีจำลอง (ศรีเมือง) , กลุ่มสันติอโศก และ ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการล้อมกรอบรัฐสภา ทางฝ่ายกองทัพอากาศยังได้ถูกเรียกเพื่อเตรียมพร้อมต่อการรัฐประหาร ในขณะที่หน่วยพลร่มพิเศษของทางฝ่ายตำรวจไทยนั้นได้ทำการปฏิญาณถึงการให้การ สนับสนุนต่อทางฝ่ายรัฐบาล และทางฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ถ้ามีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้น

แท้ที่จริงแล้ว พระราชบัญญัติการปรองดองฉบับแรกของ พลเอกสนธิ “บัง” บุญยรัตกลินซึ่งเป็นหัวหน้าคณะก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 นั้น เป็น อุบายที่ชาญฉลาดในตอนช่วงต้นๆ เพื่อทำการทำลายชื่อเสียงของพรรคเพื่อไทย และ รวมชื่อของ นายกฯ ทักษิณ เพื่อการนิรโทษกรรม ตลอดจนบุคคลต่างๆ ที่มีความรับผิดชอบต่อการฆาตกรรมหมู่ในปี พ.ศ. 2553 เข้าไปด้วย ในเวลานั้น พลเอกเปรม (ติณสูลานนท์)ได้ทำการติดต่อนายกฯ ยิ่งลักษณ์เข้าไปเจรจา เพื่อก่อให้เกิดความประทับใจถึงความร่วมคิดสร้างสรรค์กัน แล้วมันก็เกิดขึ้นอย่างนั้นจริงๆ ! จากนั้น นายกฯ ทักษิณได้ถูกบอกให้เลิกสนับสนุนคนเสื้อแดงเสีย เนื่องจากตนเองได้มีข้อตกลงชิ้นใหม่กับทางฝ่ายอำมาตย์แล้ว เขาคิดว่าตนเองจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่เพียงแต่ตนเองและกับครอบครัว แต่ยังครอบคลุมไปถึง ความสำเร็จเสร็จสิ้นต่อกระบวนการปฎิรูปของพรรคเพื่อไทย ในการต่อรองกับฝ่ายชนชั้นสูง ซึ่งดูเหมือนว่าสามารถรับฟังกันได้ ในการสนทนากับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (ดังนั้น ความรู้สึกของฝ่ายประชาชนเสื้อแดง จึงมีความตรอมใจจากสิ่งที่นายกฯ ทักษิณกล่าวไว้ในการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่เมืองทองธานี หลังจากที่ตระหนักแล้ว (ถ้าเขายังไม่รู้สึกนึกคิดมาก่อน) ว่า เขานั่นเองที่เป็นผู้ถูกหลอกลวงอย่างเต็มที่ทีเดียวจากการกระทำของฝ่ายอำมาตย์)

แผนการขั้นต่อไปของทางฝ่ายรัฐบาล ก็ไม่มีทางเลือกใดๆ แล้วนอกเสียจากว่า เดินหน้าและผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 12 มิถุนายน หรือไม่ ก็จะต้องรอจนกระทั่งการปิดวาระการประชุมของรัฐสภา ทางรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายเริ่มในการปฎิรูปตัวรัฐธรรมนูญและทำการสับเปลี่ยน แก้ไของค์กรอิสระทั้งหมด (เป็นต้นว่า ศาลยุติธรรม, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ที่ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาจากการทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้โดยฝ่ายอำมาตย์ชั้นสูง และโดยฝ่ายกองทัพ เพื่อที่จะทำการโค่นล้มนายกฯ ทักษิณลงมา และ ทำการยับยั้งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งกำลังเริ่มผุดขึ้นมาโดยการ ปฎิรูปสังคมและเศรษฐกิจ เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ฝ่ายอำมาตย์ ไม่มีความประสงค์ที่จะให้มันเกิดขึ้นมาได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เมื่อคณะราษฎร์ได้ยึดอำนาจจากพวกเขาออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระหว่างช่วงของเศรษฐกิจที่ทันสมัยนั้น ปัญหาของประเทศไทยอาจจะเป็นเพราะว่า สถาบันทางการเมืองหลายแห่งภายในประเทศไทย ไม่อนุญาต (โดยพวกรอยัลลิสต์) ให้เกิดการเจริญเติบโต และดังนั้น ต้องรักษาความตึงเครียดของการปราศจากเสถียรภาพไว้ เพื่อที่ทางฝ่ายกองทัพสามารถนำตัวเองเข้ามาแทรกแทรงได้อยู่อย่างเสมอและ สร้างความสมเหตุสมผลในการรวบอำนาจเข้ามา เพื่อที่จะควบคุมสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ในการอ้างความชอบธรรมของทางฝ่ายกองทัพบกนั้น จะมีการอ้างอิงถึงเรื่องอำนาจที่สูงกว่าอำนาจของสถาบันที่มาจากการเลือกตั้ง อยู่อย่างเสมอ

ถ้าพรรคเพื่อไทยไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของทางฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ สิ่งที่จะเกิดต่อมาอย่างแน่นอนคือการอ้างอิงถึงมาตรา 216 วรรค 5 ซึ่งกล่าวว่า ผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญทุกอย่างเป็นที่สิ้นสุดและทางฝ่ายรัฐสภาจะต้อง ปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาล ถ้าไม่ยอมรับปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลแล้ว จะมีการกล่าวต่อว่า ทางพรรคไม่เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศและผลพวงจากการกระทำเหล่านี้จะตาม มาทีหลัง ในสถานการณ์เช่นนี้ ตามมาพร้อมกับการคาดหวังในคำตัดสินครั้งสุดท้ายที่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดใน คดีของปราสาทเขาพระวิหารโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะได้เห็นกลุ่มขวาจัด (คลั่งชาติ) เป็นตัวประกอบทั้งภายในและภายนอกรัฐสภา ด้วยการออกมาโจมตีรัฐบาลทันทีว่า ได้ทำการ “ขายประเทศชาติ” และ ในช่วงจังหวะนั้นเอง จะก่อให้เกิดช่องว่างที่ทางฝ่ายกองทัพเข้ามาปฎิบัติการควบคุมในที่สุด --- ซึ่งเป็นการก่อการรัฐประหารครั้งหน้าและครั้งสุดท้าย ซึ่งจะนำฝ่ายทหารจากกลุ่มเผด็จการฟาสซิสเข้ามาแทน

จิม เทลเล่อร์

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar