måndag 11 juni 2012

ถ้าอำมาตย์ล้มรัฐบาลที่มาจากเสียงของประชาชนส่วนมาก คือรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็ไม่เป็นไร เพราะประชาชนจะลุกขึ้นสู้กับอำมาตย์จอมอำมหิตเอง แม้จะใช้เวลานานกี่ปีก็ตามเราจะแน่วแน่อดทนยึดมั่นในการต่อสู้จนกว่าประเทศไทยจะมีการปกครองด้วยรัฐธรรมนูญที่ยุติธรรมอันเป็นกฎหมายสูงสุดที่มาจากปวงชนชาวไทยเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่กฎหมายเถื่อนภายใต้ระบอบเผด็จการของกษัตริย์ภูมิพล


ฝ่ายอำมาตย์พลาดอย่างแรงที่ขยับหมากตุลาการออกมาเร็วเกินไป ปลาเลยไม่กินเบ็ด
หลาย ฝ่ายอาจคิดว่า การเปิดเกมครั้งนี้คือการรุกใหญ่ของฝ่ายอำมาตย์ ซึ่งผมก็เชื่อเช่นนั้น แต่ในช่วงที่ชุลมุน อาทิตย์ที่แล้ว ผมยังประเมินไม่ออก แต่ตอนนี้ผมสรุปในใจผมได้แล้วว่า ฝ่ายอำมาตย์พลาดอย่างแรงที่ขยับตุลาการออกมาเร็วเกินไป แต่ขยับออกมาแล้ว "พิชิตฝ่ายทักษิณไม่ได้" หากเป็นการตกปลา ก็กระตุกสายเบ็ดเร็วเกินไป ทำให้ปลาใหญ่หลุดออกไปได้ การขยับต่อไป ฝ่ายทักษิณก็น่าจะรู้แล้วว่า "ฝ่ายอำมาตย์มีเจตนารมย์ที่แท้จริงอย่างไร" ความไว้เนื้อเชื่อใจจึงคงไม่มีอีกต่อไป ความหวังว่าฝ่ายอำมาตย์จะยอมเจรจานั้น ผมว่า "พังไปแล้วสำหรับทักษิณ" ความหวังเจรจาอาจพัง แต่สงครามยังไม่แพ้อะไรเลย
ผมคิดว่าเกมมัน เปลี่ยน ตั้งแต่ตุลาการขยับแล้ว เป็นการก้าวพลาดครั้งสำคัญของพวกอำมาตย์ ในการขยับหมากตุลาการออกมาเร็วเกินไป ทำให้การเจรจากับทักษิณไม่ว่ากรณีใด ๆ ถือว่าไม่น่ามีความไว้วางใจกันได้อีกแล้ว และก็ไม่มีเหตุอันใดที่ทักษิณจะต้อง ไปยอมตามข้อตกลงใดๆ ที่อาจมีก่อนหน้านี้
เพราะฝ่ายตรงข้ามแสดงเจตนารมย์ช้ดเจนว่าจะล้ม ทักษิณให้ได้ ไม่มีการผ่อนปรนใดๆ ทั้งสิ้น เกมแบบนี้มันมีคำตอบได้ทางเดียว คือ สู้ตายกันไปข้างเท่านั้นเองไม่มีทางตกลงอะไรกันได้
ไม่ว่าจะมีการต่อรองใด ๆ ก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา แต่การต่อรองนั้น "ทักษิณไม่ได้อะไรเลย" ในขณะนี้ คือ
1. เรื่องปรองดองทักษิณจำต้องถอย ดังนั้น ถึงจะมีการตกลงเรื่องการปรองดองใดๆ ก็ตาม ถือว่า ข้อตกลงนั้นล้มไปแล้ว ไม่มีเกิดผลอะไร ดังนั้น สิ่งที่ทักษิณยอมมาแต่ต้นก็เรื่องนี้ แต่ตอนนี้ใครก็คาดการณ์ได้ว่า "ไม่มีทางเป็นไปได้" การเจรจาเรื่องปรองดองถือว่า "ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง"
และการจะหลอกให้ทักษิณมาเจรจาอีก คงไม่ง่าย
2. การแก้ไข รธน. อำมาตย์ออกตัวเต็มที่ว่าจะไม่ยอมให้ทำ นี่ไม่ใช่การต่อรอง แต่เป็นการล้มกระดาน
ดังนั้น ผลของการคุยกันใดๆ ก็ตามในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ผมถือได้ว่า ล้มเหลวโยนลงตระกร้าไปแล้ว
สิ่ง ที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือ "การแข็งกร้าวของทั้งสองฝ่าย" ซึ่ง หากเราวิเคราะห์จริงๆ อำมาตย์นั้นเสียเปรียบอย่างยิ่ง แต่ผ่านมา เป็นแค่ความ "ยโส" คิดว่าตัวเองมีแต้มต่อ แต่จริงๆ เมื่อทำรัฐประหารไม่ได้ ใช้ตุลาการภิวัฒน์ก็ทำได้แค่นี้ เกิดแรงต้านมหาศาล แต่ที่สำคัญคือ "ยังล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ได้" ดังนั้น พลังจริงๆ ที่จะเผด็จศึกจึงไม่มี แต่ยโสไปอย่างนั้นเอง
เรื่องมวลชนพันธมิตร หยั่งกำลังแล้ว ไม่แรงเท่าที่ควร
หนึ่งปีที่ผ่านมาทักษิณใช้กลยุทธ์ "อ่อน" ตลอด ยังไม่ได้ใช้ "ไม้แข็งใด ๆ เลย เป็นการอ่อนเข้าหาทั้งสิ้น"
การใช้ "กลยุทธ์อ่อนเข้าหา" พิสูจน์ในระดับหนึ่งว่า ไม่สามารถบีบฝ่ายอำมาตย์ให้คลายความยโส ลงไปได้
ผมจึงไม่ฟันธงว่า "ทักษิณยังจะเล่นลูกโง่ใช้กลยุทธ์อ่อน" อีกต่อไปหรือไม่ ทั้งๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล
ทักษิณ อาจฉลาดเปลี่ยนยุทธวิธี หรือไม่อย่างนั้นก็หยุดการเจรจา ปิดประตูการสื่อสาร "ตรึงกำลัง" กันไว้ปล่อยให้ยิ่งลักษณ์ทำงานต่อไป ทักษิณ ไปเน้นการขยายเครือข่ายเสื้อแดงให้เข็มแข็ง ขยายเครือข่ายระหว่างประเทศ ตีปี๊บเรื่อง AEC ที่ทุกชาติจะได้ผลประโยชน์ หากไม่มีความวุ่นวายทางกาเมืองในไทย
ตรึงไว้แบบนี้สักหนึ่งปี ค่อยดูการเปลี่ยนแปลงหรือประเมินกำลังกันใหม่ หลังจากนั้น
ตอนนี้ต่อให้ฝ่ายตรงข้ามรุกก็ไม่ได้ผล
ดุลย์ กำลังอาจเปลี่ยนไปมากกว่านี้ ในอีกหนึ่งปีข้างหน้าหรือกว่านั้น ช่วงนี้ก็ปรับกำลังในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และการเลือกตั้งท้องถิ่นให้เข็มแข็ง เพื่อขยายมวลชนและแกนนำมวลชนต่างๆ ให้เข้าไปสู่โครงสร้างอำนาจ เพื่อพวกเขาจะได้ "ป้องกันฐานที่มั่นของตน" เองอย่างเต็มที่เพราะพวกเขาก็มีผลประโยชน์กับระบบการเมืองใหม่นี้
เมื่อยังรุกไม่ได้ ก็ตั้งทัพประจันหน้าไม่รบ แบบ สุมาอี้ รอคอยการเปลี่ยนแปลง
อันที่จริง การรอคอยก็ไม่น่าจะเสียหายอะไรนัก เพราะเป็นการ "เคลื่อนกำลังอย่างรอบคอบ"
ยังไงฝ่ายอำมาตย์เขาก็ขาดแคลนเรื่อง "เวลา" แต่ฝ่ายประชาธิปไตยมีอย่างเหลือเฟือไม่ต้องรีบร้อนเท่าใดก็ได้
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมใด ที่จะสำเร็จในหนึ่งปี
ตอน นี้หากไม่อยากเสี่ยงในวาระสาม ของการแก้ไข รธน. ผมก็จะไม่ว่าอะไร อันนี้เห็นด้วยกับคุณขุนอิน แต่เลื่อนเอาไว้ไปพิจารณาในปีหน้าก็น่าจะได้ ค้างเอาไว้ก็ได้
ต่อไป ใช้กลยุทธ์ผม คือ สภาขอแก้รัฐธรรมนูญ เพิ่มจำนวน ตุลาการรัฐธรรมนูญ จาก 9 คน เป็น 18 คน ตามที่ผมเสนอเอาไว้เดิม เพื่อให้ดุลกำลังในศาลรัฐธรรมนูญเปลี่ยนไป เกมตรงนี้เราจะได้เปรียบ หาก "หักขา" ตุลาการได้สำเร็จ เกมต่อไปก็ไม่มีอุปสรรคแล้ว
หากเป็นสงคราม จริง ก็ล้อมเมืองหลวงของข้าศึก (แก้ รธน.) เอาไว้ก่อน จัดทัพหลักอีกทัพไปตีกำลังทัพข้าศึกที่มาตลบหลังเรา (ตุลาการ รธน.) จัดการให้จบเสียก่อน (แก้ รธน.เพิ่มจำนวนตุลาการ) เมื่อพิชิตทัพที่ตลบหลังเแล้ว ค่อยลุยตีเมืองหลังข้าศึก (ยกร่าง รธน.ใหม่ โดย สสร.)
หากว่าตามสำนวนสามก๊กแล้ว
"หากท่านทำแบบนี้ เมืองหลวงของข้าศึกย่อมตกอยู่กับเราอย่างไม่ต้องเปลืองแรงเท่าใดนัก"

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar