รัชกาลที่ ๖
รัชกาลที่ ๖
กษัตริย์ผู้หลงระเริงอยู่กับวรรณกรรมและการละคร
เมื่อรัชกาลที่ ๕
สวรรคตและเจ้าฟ้าวชิราวุธได้ครองราชย์ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็มิได้ดีขึ้น
ขนาดเจ้าพระยาวงษานุประพัทธิ์เสนาบดีเกษตรเอง ก็ยังวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลว่ายัง
“...ไม่ได้กระจายความมั่งคั่ง เพื่อความสุขสบายของประชาชาติ
ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของอารยประชาชาติทั้งปวง....”(๑)
แม้ว่าเจ้าพระยาวงศานุประพัทธิ์จะได้นำเอาสภาพชาวนาที่ประสบกับปัญหาดินฟ้าอากาศวิปริตไปเล่าให้รัชกาลที่ ๖ ฟังเมื่อต้นรัชกาลว่า ในเวลาที่ดินฟ้าวิปริตนั้น พืชพรรณธัญญาหารจะเสียหายเป็นส่วนใหญ่ เพราะรัฐศักดินาแทบจะไม่ได้พัฒนาชลประทานของประเทศเลย สิ่งนั้นทำให้ผู้คนซึ่งอดอยาก “ต่างก็พากันออกไปเที่ยวหาข้าวมาเลี้ยงกัน....” บางคนถึงกับอดข้าวตายเพราะความหิวโหย โดยเฉพาะเด็กตัวดำๆที่มีร่างกายเปราะบาง และคนชราซึ่งทำงานเกณฑ์ และชำระภาษีอากรเพื่อบำรุงบำเรอความสุขของพวกศักดินามาตลอดชีวิต
แต่รัชกาลที่ ๖ ไม่นำพารายงานดังกล่าว กลับใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องโขนละคร โดยไม่ยอมเจียดเงินไปพัฒนาประเทศชาติเลย งบประมาณส่วนที่ประชาชนได้รับประโยชน์ยังคงมีน้อยนิดเดียวไม่ผิดกับในสมัยรัชกาลที่ ๕ (๓) พระองค์ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่ายจนมีหนี้สินหลายล้านบาท ทั้งที่กษัตริย์เพียงคนเดียวได้รับงบประมาณมากกว่างบสร้างเขื่อนให้ประชาชนไม่รู้กี่เท่าตัว ซึ่งสถานทูตอังกฤษบันทึกว่า หนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการซื้อเพชรพลอย อัญมณีแจกจ่ายข้าราชบริพารคนโปรด(๔) กษัตริย์บีบบังคับให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินแผ่นดิน อันเป็นภาษีอากรของประชาชนใช้หนี้ให้แก่ตน นอกเหนือจากงบประมาณสำหรับกษัตริย์ถึง ๓ บาท(๕) มหาดเล็กคนโปรดของรัชกาลที่ ๖ คือเจ้าพระยารามราฆพและเจ้าคุณอนิรุทธิ์เทวาน้องชายนั้น เป็นผู้ได้ประโยชน์มากที่สุด คนพี่ได้บ้านไทยคู่ฟ้า คือทำเนียบรัฐบาลเป็นของขวัญ ส่วนเจ้าคุณอนิรุทธิ์เทวาได้บ้านพิษณุโลก และข้าราชบริพารคนโปรดอีกคนหนึ่งได้บ้านมนังคสิลา คฤหาสน์ยักษ์ทั้ง ๓ หลัง ซึ่งมีบ้านไทยคู่ฟ้าใหญ่ที่สุดที่รัชกาลที่ ๖ สร้างขึ้น เพื่อมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่คนโปรดนี้มีราคาแพงมหาศาล ถ้าปัจจุบันนี้ใช้เงินเพียง ๑๐-๒๐ ล้านบาทก็สร้างไม่ได้ เพราะเพียงบ้านพิษณุโลกหลังเดียวที่รัฐบาลจอมพล ป. บังคับซื้อจากเจ้าคุณอนิรุทธิ์เทวาในราคาถูกนั้น รัฐบาลปัจจุบันจะซ่อมแซมสำหรับใช้เป็นที่อาศัยของนายกรัฐมนตรี ก็ตั้งงบประมาณนับสิบล้านบาททีเดียว
แม้ว่าเจ้าพระยาวงศานุประพัทธิ์จะได้นำเอาสภาพชาวนาที่ประสบกับปัญหาดินฟ้าอากาศวิปริตไปเล่าให้รัชกาลที่ ๖ ฟังเมื่อต้นรัชกาลว่า ในเวลาที่ดินฟ้าวิปริตนั้น พืชพรรณธัญญาหารจะเสียหายเป็นส่วนใหญ่ เพราะรัฐศักดินาแทบจะไม่ได้พัฒนาชลประทานของประเทศเลย สิ่งนั้นทำให้ผู้คนซึ่งอดอยาก “ต่างก็พากันออกไปเที่ยวหาข้าวมาเลี้ยงกัน....” บางคนถึงกับอดข้าวตายเพราะความหิวโหย โดยเฉพาะเด็กตัวดำๆที่มีร่างกายเปราะบาง และคนชราซึ่งทำงานเกณฑ์ และชำระภาษีอากรเพื่อบำรุงบำเรอความสุขของพวกศักดินามาตลอดชีวิต
แต่รัชกาลที่ ๖ ไม่นำพารายงานดังกล่าว กลับใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องโขนละคร โดยไม่ยอมเจียดเงินไปพัฒนาประเทศชาติเลย งบประมาณส่วนที่ประชาชนได้รับประโยชน์ยังคงมีน้อยนิดเดียวไม่ผิดกับในสมัยรัชกาลที่ ๕ (๓) พระองค์ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่ายจนมีหนี้สินหลายล้านบาท ทั้งที่กษัตริย์เพียงคนเดียวได้รับงบประมาณมากกว่างบสร้างเขื่อนให้ประชาชนไม่รู้กี่เท่าตัว ซึ่งสถานทูตอังกฤษบันทึกว่า หนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการซื้อเพชรพลอย อัญมณีแจกจ่ายข้าราชบริพารคนโปรด(๔) กษัตริย์บีบบังคับให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินแผ่นดิน อันเป็นภาษีอากรของประชาชนใช้หนี้ให้แก่ตน นอกเหนือจากงบประมาณสำหรับกษัตริย์ถึง ๓ บาท(๕) มหาดเล็กคนโปรดของรัชกาลที่ ๖ คือเจ้าพระยารามราฆพและเจ้าคุณอนิรุทธิ์เทวาน้องชายนั้น เป็นผู้ได้ประโยชน์มากที่สุด คนพี่ได้บ้านไทยคู่ฟ้า คือทำเนียบรัฐบาลเป็นของขวัญ ส่วนเจ้าคุณอนิรุทธิ์เทวาได้บ้านพิษณุโลก และข้าราชบริพารคนโปรดอีกคนหนึ่งได้บ้านมนังคสิลา คฤหาสน์ยักษ์ทั้ง ๓ หลัง ซึ่งมีบ้านไทยคู่ฟ้าใหญ่ที่สุดที่รัชกาลที่ ๖ สร้างขึ้น เพื่อมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่คนโปรดนี้มีราคาแพงมหาศาล ถ้าปัจจุบันนี้ใช้เงินเพียง ๑๐-๒๐ ล้านบาทก็สร้างไม่ได้ เพราะเพียงบ้านพิษณุโลกหลังเดียวที่รัฐบาลจอมพล ป. บังคับซื้อจากเจ้าคุณอนิรุทธิ์เทวาในราคาถูกนั้น รัฐบาลปัจจุบันจะซ่อมแซมสำหรับใช้เป็นที่อาศัยของนายกรัฐมนตรี ก็ตั้งงบประมาณนับสิบล้านบาททีเดียว
ในรัชกาลนี้ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเจ้ากับรัชกาลที่ ๖
อยู่ในภาวะมึนชาอย่างยิ่ง เพราะพวกเจ้าเห็นว่าพระองค์ได้ผลประโยชน์เท่าไร
ก็ประเคนให้มหาดเล็กคนโปรดหมด ไม่แบ่งปันให้ญาติพี่น้องเลย
พระองค์ไม่ยกย่องพวกตนเท่าที่ควร พระองค์เองก็ไม่เคารพพวกพี่น้อง
ในขณะที่พระองค์ร่วมโต๊ะกับพระยารามราฆพและพระยาอนิรุทธิ์เทวาเป็นประจำ
กลับไม่เคยกินข้าวร่วมกับเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ซึ่งเป็นน้องชายร่วมสายโลหิต อย่างเป็นกันเองตลอดเวลานานนับ ๑๐ ปี(๖)
ส่วนพี่น้องคนอื่นๆก็ยิ่งห่างเหินมาก
ขนาดน้องชายอีกคนหนึ่งคือกรมหลวงนครสวรรค์ฯจะได้เฝ้าทีไร ก็ต้องคอยคราวละตั้ง ๓-๔
ชั่วโมง บางคราวถึงกับต้องคอยเก้อก็มี(๗)
ในการฝึกเสือป่านั้น พวกเจ้าถูกลบหลู่อย่างหนัก มหาดเล็กที่ใกล้ชิด เช่น นายจ่ายง(ต่อมาเป็นเจ้าพระยารามราฆพ) ได้รับตำแหน่งนายกองโท และเพียง ๒ เดือนต่อมาก็เลื่อนเป็นถึงนายกองเอก(๘) ทั้งที่พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่เรียนทหารจากต่างประเทศ เช่น จอมพลเจ้าฟ้ากรมพระภาณีพันธุ์ วงษ์วรเดช(อา รัชกาลที่ ๖) พลเรือเอกกรมขุนนครสวรรค์วรพินิต(น้อง รัชกาลที่ ๖) พลเอกกรมหมื่นนครไชยศรีสุรากช(พี่ รัชกาลที่ ๖) และกรมหลวงพิษณุโลก(น้อง รัชกาลที่ ๖) เป็นแค่นายกองตรีทั้ง ๔ คน(๙)
ความที่ริษยามหาดเล็กคนโปรดของรัชกาลที่ ๖ อย่างรุนแรง และความที่โมโหพี่ชายร่วมสายเลือด จนอดทนต่อไปไม่ได้ ทำให้เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เสนาธิการทหารบกไม่ยอมให้ทหารไปฝึกเสือป่าในเวลาราชการเลย(๑๐)
ส่วนเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช น้องชายของรัชกาลที่ ๖ อีกคนหนึ่งก็ไม่พอใจพี่ชาย และเขียนจดหมายถึง ดร.ฟรานซิส บีแซร์ เล่าว่า “พระเจ้าแผ่นดินกลายเป็นผู้ที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของข้าราชบริพารคนโปรด ข้าราชการทุกคนถูกเพ่งเล็งมากบ้าง น้อยบ้าง ในด้านฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือเล่นพรรคเล่นพวก ......... พระราชสำนักของพระองค์เป็นที่เกลียดชังอย่างรุนแรง และในตอนปลายรัชกาลก็ถูกล้อเลียนเยาะเย้ย.... (๑๑)
การที่พวกเจ้าไม่พอใจรัชกาลที่ ๖ เพราะเรื่องผลประโยชน์ ทำให้ไม่มีใครรู้สึกเดือดร้อนแทนพระองค์ในเวลาที่เกิดกบฏของพวกทหารใน รศ.๑๓๐ จนกระทั่งพระองค์รู้ซึ้งถึงเรื่องดังกล่าว จนอดคิดไม่ได้ว่า ต่อกรณีนี้ผู้อื่นต่างก็ร้องอยู่ในใจว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า...” (๑๒)
เอกสารของสถานทูตอังกฤษเปิดโปงว่า ที่พวกราชวงศ์ไม่พอใจมากก็คือ
การที่พวกขุนนางของรัชกาลที่ ๖ กลั่นแกล้งพวกตน เช่น
เจ้าพระยายมราชคนโปรดของพระองค์ พยายามบีบพระองค์เจ้าศุภโยคเกษม
ให้พ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังฯ
โดยออกคำสั่งลับไม่ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายตนเก็บภาษี เพื่อฟ้องพระองค์ว่า กระทรวงคลังฯ
ไม่สามารถเก็บภาษีได้
ทั้งที่มีเงินอยู่ในประเทศมาก(๑๓)
ในบรรดาพวกเจ้าเหล่านี้ต่างก็รวมตัวกันต่อต้านรัชกาลที่ ๖ อย่างจริงจัง โดยมีกรมพระจันทบุรีนฤนาทเป็นผู้นำ ส่วนเจ้านายคนอื่นก็มี พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชร, พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม และเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต (๑๔) ในที่สุดก็มีข่าวลือตลอดรัชกาลนี้ว่าจะมีรัฐประหาร โดยพวกเจ้า เช่น เมื่อต้นปี รศ.๑๓๐ มีข่าวลือว่ากรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์จะรัฐประหาร เชิญเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์เป็นกษัตริย์ (๑๔) ซึ่งสิ่งนี้ที่จริงแล้ว ก็คือปฏิกิริยาที่พวกเจ้ามีต่อรัชกาลที่ ๖ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการปล่อยข่าวออกมาบีบบังคับพระองค์ว่า ถ้าเอ็งยังดื้อรั้น ข้าก็จะจัดการละนะหรืออะไรทำนองนั้น โชคดีที่รัชกาลที่ ๖ ไม่ถูกพวกเจ้าถอดจากราชบัลลังก์ เพราะสวรรคตไปเสียก่อน
๑. กจช. เอกสาร ร.๖ แฟ้มกระทรวงเกษตร เลขที่ กษ๑/๔ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธิ์ ๑๗ ธ.ค. พ.ศ. ๒๔๕๓
๒. เรื่องเดิม
๓. ดูรายละเอียดในพรเพ็ญ ฮันตระกูล การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ฯ, ๒๕๑๗
๔. เรื่องเดิม
๕. เรื่องเดิม
๖. พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เจ้าชีวิต หน้า ๕๘๐-๑
๗. มจ.สมประสงค์ บริพัตร บันทึกความทรงจำบางเรื่อง (อ้างแล้ว) หน้า ๑๙
๘. กจช. ร.๖ บ๑๑/๑๐ ทะเบียนธงเสือป่า ๒๒ ก.ค. ๓๐ พ.ค. ๒๔๕๔
๙. แถมสุข นุ่มนนท์ ยังเติร์กรุ่นแรก กบถ รศ.๑๓๐ (เรืองศิลป์ ๒๔๒๓) หน้า ๑๔๙
๑๐. เรื่องเดิม หน้า ๑๔๘
๑๑. กจช. เอกสาร ร.๗ สบ.๒. ๘๗/๓๒ เล่ม ๓ บันทึกเรื่องการปกครอง (๒๓ ก.ค.-๑ ส.ค.๒๔๖๙) พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง ดร.ฟรานซิส บีแซร์
๑๒. กจช. เอกสาร ร.๖ จดหมายร.๖ ถึงเจ้าพระยายมราช วันที่ ๔ มิ.ย. รศ.๑๓๑
๑๓. Greg to Sir Austin Chamberlain, May, 27th1925
๑๔. Greg to Sir Austin Chamberlain, Annual Report,1925 Feb 10th1926 FO.371/117 19F1122/1122/40 และ Greg to Sir Austin Chamberlain May 27th1925 Fo371/10972 F2745/72/40
๑๕. (หน้า ๑๗-๑๘) บันทึกความทรงจำบางเรื่องของหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม บริพัตร (โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์,๒๕๙๙)
ในบรรดาพวกเจ้าเหล่านี้ต่างก็รวมตัวกันต่อต้านรัชกาลที่ ๖ อย่างจริงจัง โดยมีกรมพระจันทบุรีนฤนาทเป็นผู้นำ ส่วนเจ้านายคนอื่นก็มี พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชร, พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม และเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต (๑๔) ในที่สุดก็มีข่าวลือตลอดรัชกาลนี้ว่าจะมีรัฐประหาร โดยพวกเจ้า เช่น เมื่อต้นปี รศ.๑๓๐ มีข่าวลือว่ากรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์จะรัฐประหาร เชิญเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์เป็นกษัตริย์ (๑๔) ซึ่งสิ่งนี้ที่จริงแล้ว ก็คือปฏิกิริยาที่พวกเจ้ามีต่อรัชกาลที่ ๖ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการปล่อยข่าวออกมาบีบบังคับพระองค์ว่า ถ้าเอ็งยังดื้อรั้น ข้าก็จะจัดการละนะหรืออะไรทำนองนั้น โชคดีที่รัชกาลที่ ๖ ไม่ถูกพวกเจ้าถอดจากราชบัลลังก์ เพราะสวรรคตไปเสียก่อน
๑. กจช. เอกสาร ร.๖ แฟ้มกระทรวงเกษตร เลขที่ กษ๑/๔ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธิ์ ๑๗ ธ.ค. พ.ศ. ๒๔๕๓
๒. เรื่องเดิม
๓. ดูรายละเอียดในพรเพ็ญ ฮันตระกูล การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ฯ, ๒๕๑๗
๔. เรื่องเดิม
๕. เรื่องเดิม
๖. พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เจ้าชีวิต หน้า ๕๘๐-๑
๗. มจ.สมประสงค์ บริพัตร บันทึกความทรงจำบางเรื่อง (อ้างแล้ว) หน้า ๑๙
๘. กจช. ร.๖ บ๑๑/๑๐ ทะเบียนธงเสือป่า ๒๒ ก.ค. ๓๐ พ.ค. ๒๔๕๔
๙. แถมสุข นุ่มนนท์ ยังเติร์กรุ่นแรก กบถ รศ.๑๓๐ (เรืองศิลป์ ๒๔๒๓) หน้า ๑๔๙
๑๐. เรื่องเดิม หน้า ๑๔๘
๑๑. กจช. เอกสาร ร.๗ สบ.๒. ๘๗/๓๒ เล่ม ๓ บันทึกเรื่องการปกครอง (๒๓ ก.ค.-๑ ส.ค.๒๔๖๙) พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง ดร.ฟรานซิส บีแซร์
๑๒. กจช. เอกสาร ร.๖ จดหมายร.๖ ถึงเจ้าพระยายมราช วันที่ ๔ มิ.ย. รศ.๑๓๑
๑๓. Greg to Sir Austin Chamberlain, May, 27th1925
๑๔. Greg to Sir Austin Chamberlain, Annual Report,1925 Feb 10th1926 FO.371/117 19F1122/1122/40 และ Greg to Sir Austin Chamberlain May 27th1925 Fo371/10972 F2745/72/40
๑๕. (หน้า ๑๗-๑๘) บันทึกความทรงจำบางเรื่องของหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม บริพัตร (โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์,๒๕๙๙)
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar