söndag 14 april 2013

หลักทฤษฎีของการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม และบทเรียน จากตัวอย่างการโค่นอำมาตยาธิปไตยในเวเนซุเอล่า ....


โค่นอำมาตยาธิปไตยในเวเนซุเอล่า




โดย จักรภพ เพ็ญแข

๑. ความคิดนำ

ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวในโลกที่ฝ่ายประชาชนต้องห้ำหั่นประจัญบานกับผู้มีอำนาจ เดิมในรัฐ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย แทบทุกประเทศในโลกผ่านขั้นตอนนี้มาแล้ว หรือกำลัง เผชิญกับขั้นตอนนี้ หรือไม่นานก็จะเข้าสู่ขั้นตอนนี้ทั้งสิ้น การต่อสู้ของรัฐเพื่อให้พ้นสภาพเมืองขึ้นในยุคจักรวรรดินิยม มักตามมาด้วยการยื้อแย่งอำนาจกันภายในแต่ละรัฐ ซึ่งบางครั้งก็แนบแน่นอยู่กับการต่อสู้เชิงชนชั้น หรือมีประเด็นชนชั้นเป็นศูนย์กลางความคิด (บางทีก็สู้เรื่องนี้โดยไม่รู้ตัว) เป้าหมายปลายทางของการต่อสู้ใน“สงคราม” นี้คือ ถึงที่สุดแล้วโครงสร้างการเมืองและการปกครองในรัฐนั้นๆ จะเป็น “ประชาธิปไตย” หรือ “อำมาตยาธิปไตย” 

หากได้มาซึ่งโครงสร้างอย่างอำมาตยาธิปไตย ระบบการเมืองก็จะแบ่งออกเป็นศูนย์กลางอำนาจ (power center) และพื้นที่ชายขอบ (periphery) โดยศูนย์กลางอำนาจทำหน้าที่ควบคุมและจัดสรรผลประโยชน์ทั้งปวงภายในรัฐ ความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมมักจะเป็นไปในระบบอุปถัมภ์ และปฏิเสธระบบคุณธรรม

หากได้มาซึ่งโครงสร้างประชาธิปไตย ระบบการเมืองจะแบ่งคร่าวๆ ออกเป็นศูนย์อำนาจใหญ่กับศูนย์อำนาจย่อย โดยใช้สันติวิธีในการหมุนเวียนเปลี่ยนกันคุมศูนย์อำนาจใหญ่ ซึ่งจะทำหน้าที่ประสานผลประโยชน์ร่วมกับศูนย์อำนาจย่อยอีกทีหนึ่ง ระบบคุณธรรมมักมีบทบาทสูงกว่าหรืออย่างน้อยคู่ขนานกับระบบอุปถัมภ์ เพราะระบบอุปถัมภ์ไม่กว้างขวางและหลากหลายพอจะรองรับพลวัตรทางสังคมขนาดนั้น ได้

ในกรณีสหภาพโซเวียต เมื่อเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำกรุงมอสโกอย่าง บอริส เยลต์ซิน โค่นพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตลงได้แล้ว เขากลับต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรียกว่า โนเมนคลาตูร่า ซึ่งเป็นเครือข่ายลับด้านความมั่นคงและผลประโยชน์ของฝ่ายอำมาตย์ ซึ่งเป็นผู้ครองอำนาจอยู่เดิมสมัยที่เป็นสหภาพโซเวียตและเป็นศูนย์กลางของ ลัทธิคอมมิวนิสต์ ถูกบีบจนต้องส่งอำนาจต่อให้ วลาดิเมียร์ ปูติน และพ่ายแพ้ทางการเมืองอย่างเด็ดขาดไปจนอสัญกรรม

นั่นแสดงว่า โนเมนคลาตูร่า มีอำนาจใหญ่โตและเข้มแข็งมั่นคงเสียยิ่งกว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพ โซเวียต ไม่แตกต่างจากอำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตยที่มักมีมากกว่าตัวบุคคลในระบอบ นั้น ตัวท้าวพระยามหากษัตริย์หรือขุนนางใหญ่ในระบอบ ก็มักด้อยอำนาจกว่า “เครือข่าย” ที่ตนเองอาจเป็นผู้สร้างและสนับสนุนให้มีอำนาจขึ้นมาเสมอ ประวัติศาสตร์โลกชี้ว่าผู้เผด็จการที่สร้างอสุรกายขึ้นมาใช้งาน ท้ายที่สุดก็มักถูก “คุม” โดยอสุรกายตนนั้นเอง

การเปลี่ยนแปลงที่ตัวบุคคลส่งผลกระทบต่อระบอบและระบบในระบอบนั้น แต่ระบอบมักปรับตัวได้และหาบุคคลใหม่มา “นำ” เครือข่ายนั้นต่อไป

นี่คือความได้เปรียบเชิงโครงสร้างของระบอบอำมาตยาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตยมีตัวเล่นในระบบมากกว่า จึงยุ่งยากมากกว่าในการประสานประโยชน์ให้ลงตัว แต่เมื่อผลประโยชน์นั้นลงตัวแล้ว ระบอบประชาธิปไตยจะได้เปรียบตรงที่มีความยั่งยืนกว่ามาก ถึงเวลาต้องเปลี่ยนถ่ายอำนาจก็มักจะทำได้อย่างราบรื่นและสงบ ไม่เกิดการปะทะรุนแรงและมักจะรักษาสูตรการประสานประโยชน์เดิมไว้ได้เป็น อย่างดี 

เราจึงเห็นว่าเกิดการ “ล้างบาง” ในระบอบอำมาตยาธิปไตยอยู่เสมอ ในขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยไม่มีหรือมีน้อยกว่า อาจต้องมีในขั้นตอนการโค่นล้มอำมาตย์ ซึ่งก็เป็นเวลาที่ฝ่ายประชาธิปไตยต้องใช้วิธีพิเศษเพื่อให้เกิดการเปลี่ยน ผ่านในทำนอง “the war that ends all wars” หรือทำ “มหาสงครามเพื่อยุติสงครามทั้งปวง”

กรณีศึกษาของเราในที่นี้คือ สาธารณรัฐเวเนซุเอล่าและการขึ้นสู่อำนาจของผู้นำแนวประชานิยมสุด ขั้ว-ประธานาธิบดีฮิวโก้ ชาเวซ (Hugo Chavez) 


ชาเวซเข้าสู่อำนาจโดยกระบวนการเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งซ้ำหลายครั้ง ระหว่างที่ดำเนินการ “ล้างบาง” ฝ่ายอำมาตย์ในความโยงใยเรื่องผลประโยชน์ใหญ่คือน้ำมันดิบและทรัพยากรอื่นๆ ของชาติ เขาต้องเผชิญหน้ากับเหล่าทัพและอาวุธของกองทัพ หรือรัฐประหารทางตรง เผชิญหน้าความพยายามในการโค่นอำนาจโดยใช้กลไกรัฐธรรมนูญ หรือรัฐประหารทางอ้อม รับมือกับการแทรกแซงของอภิรัฐหรือมหาอำนาจที่สูญเสียผลประโยชน์อย่างสหรัฐ อเมริกา ซึ่งใช้กลไกหลายชนิดรวมทั้งการลอบสังหาร (assassination) และต้องทันเกมกับการโจมตีทางเศรษฐกิจโดยนักรบทุนนิยมในเครือข่ายบรรษัทข้าม ชาติ

แต่ก็ยังเอาชนะพลังประชาธิปไตยที่ห้อมล้อมตัวเขาอยู่ไม่ได้ อย่างน้อยจนถึงขณะนี้

มรสุมที่โถมใส่ตัว ฮิวโก้ ชาเวซ ลูกแล้วลูกเล่า รวมทั้งลูกใหม่ๆ อย่างการป้ายสีให้กลายเป็นผู้นำเผด็จการ ทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่ได้มีกองทัพเป็นเครื่องมือนั้น เป็นบทเรียนในการต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตยที่สำคัญ

บทความนี้จะเป็นการศึกษาโดยคร่าว เสมือนโครงกระดูกให้นักประชาธิปไตยผู้ใฝ่ใจได้ค้นคว้าเพื่อเติมเนื้อ (ความ) ตามความสนใจและความจำเป็นของสถานการณ์ต่อไป



๒. ฮิวโก้ ชาเวซกับอำมาตย์
 
ภาพลักษณ์คละเคล้าปะปนกันทั้งเผด็จการและประชาธิปไตยของสุภาพบุรุษใน

เครื่อง แบบนาวิกโยธินที่มีชื่อว่า ฮิวโก้ ชาเวซ น่าจะมาจากภูมิหลังทางทหารที่เขา

จบและได้รับกระบี่สัญลักษณ์ อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ กลายมาเป็นนาย

ทหารการเมืองที่มีโวหารกร้าวรุนแรงและการยึดอำนาจด้วยการรัฐ ประหารที่ล้ม
เหลวโดยสิ้นเชิงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ (หนึ่งปีพอดีหลังรัฐประหาร รสช. ในประเทศไทย) ขณะเดียวกันเขาก็ฟื้นคืนชีพทางการเมืองอย่างหมดจด ได้รับเลือกตั้งและชนะการลงประชามติทั่วประเทศหลายครั้งจนกระทั่งปัจจุบัน ตัวเขาเองถูกรัฐประหารและถูกจับตัวมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็กลับคืนสู่อำนาจได้ในเวลาเพียง ๔๘ ชั่วโมง

ชาเวซเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สีแดงแดงฉานไปทั่วเวเนซุเอล่า ทุกครั้งที่เขาออกหาเสียง ทุกครั้งที่เขาปรากฏตัวต่อสาธารณชน ทุกครั้งที่เขาโรมรันต่อสู้กับฝ่ายอำมาตย์จนได้รับชัยชนะหรือพ่ายแพ้ชั่ว ครั้งชั่วคราว เขาจะทาสีแดงไปทั่วจนซึมเข้าไปในมโนสำนึก ขบวนการต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตยในเวเนซุเอล่าก็ใช้แดงเป็นสีสัญลักษณ์ ของฝ่ายประชาธิปไตยเหมือนการต่อสู้ช่วงหนึ่งในราชอาณาจักรไทย

ประวัติการเมืองที่โชกโชนและอัศจรรย์ของเขามาจากไหน? 

ชาเวซเกิดเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๗ ในครอบครัวครูจนๆ ของเวเนซุเอล่า เขาเก่งกีฬาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเบสบอลถึงกับคิดจะเล่นเป็นอาชีพเลยทีเดียว แต่ชีวิตก็หักเหไปรับราชการทหาร ได้เข้าเรียนและจบออกมาเป็นทหารได้สำเร็จ เหล่าที่เขาเลือกคือนาวิกโยธิน ซึ่งเป็นทักษะที่คล้ายคลึงกับหน่วยรบพิเศษ ผสมผสานระหว่างการรบตามรูปแบบและนอกรูปแบบจนมีชื่อเสียงว่าใจกล้าบ้าบิ่น

เวเนซุเอล่าในปี พ.ศ.๒๕๓๕ มีปัญหาหนักหน่วงในโครงสร้างทางสังคมและ

เศรษฐกิจ เพราะรวยน้ำมันดิบมหาศาล ขนาดเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดของ

ทวีปอเมริกา แต่กลับยากไร้ไปทั่วประเทศอย่างน่าประหลาด ชาเวซได้คำตอบที่เขา
เสาะหามาตลอดชีวิตว่า เวเนซุเอล่าไม่ใช่รัฐที่ยากจน แต่เป็นรัฐที่กดทับด้วยการเอา

เปรียบของนายทุนเก่า (old money) ที่ผูกพันกันแน่นหนาด้วยผลประโยชน์แนบแน่น 
การแต่งงานผสมพันธุ์ระหว่างคนมีชาติตระกูลและเงินทองเพื่อให้เรือล่มอยู่ใน หนอง 
กองทัพไม่ทำหน้าที่ป้องกันประเทศและดูแลความมั่นคง แต่ประพฤติตนเป็นเพียงยามรักษาการณ์ของผู้มีอำนาจเดิม เหมือนมือปืนที่ล้อมรอบตัวพ่อค้ายาเสพติด กระทั่งศาสนจักรหรือศูนย์กลางศาสนาของประเทศ ก็คอยรองรับสิทธิและสร้างความชอบธรรมให้กับคนรวยที่คอยเอาเท้ายันคนอื่นๆ ไม่ให้ขึ้นมาถึงระดับของตนได้

ชาเวซได้คำตอบว่า ปัญหาของเวเนซุเอล่าคือระบอบอำมาตยาธิปไตยที่เก่าแก่ แข็งแรง และกดประชาชนให้อยู่ใต้เท้าของตนจนประชาธิปไตยอันแท้จริงเกิดขึ้นไม่ได้

น่าสนใจตรงที่ว่า ขณะที่การรัฐประหารเป็นกระแสหลักของละตินอเมริกาในทศวรรษนั้น และเกิดการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยกำลังกันแทบทุกประเทศและประเทศละหลายครั้ง เวเนซุเอล่าตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑ เป็นต้นมาจนบัดนั้น ไม่เคยเกิดการรัฐประหารเลย แต่กลับมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ.๒๕๓๕ ที่ชาเวซคิดการใหญ่ขึ้น

ปมปัญหาของเวเนซุเอล่าน่าสนใจตรงที่ว่า การเลือกตั้งกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยรักษาความไม่เป็นธรรมในสังคมและไม่ทำ ให้เกิดทางเลือกใหม่ในการบริหารประเทศ กลไกการเลือกตั้งอันแนบแน่นภายใต้ระบอบอำมาตยาธิปไตยกลายเป็นเครื่องมืออัน สำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยอันแท้จริงเกิดขึ้นไม่ได้

ฮิวโก้ ชาเวซ จึงตัดสินใจ “ก่อมหาสงครามเพื่อยุติสงครามทั้งปวง” ด้วยการรวมกำลังพรรคพวกและลูกน้องกลุ่มใหญ่ก่อการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของ ประธานาธิบดีคาร์ลอส อันเดรส เปเรซอย่างฉับพลัน

ขบวนการทางทหารลับๆ นี้ ใช้ชื่อว่าขบวนการไซมอน โบลิวาร์ ซึ่งเป็นชื่อของวีรบุรุษละตินผู้กอบกู้อิสรภาพจากมหาอำนาจนักล่าเมืองขึ้น

                                                                                        
                                    - 3 -


ผลคือ ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงและพ่ายแพ้อย่างหมดรูป มีผู้เสียชีวิตถึง ๑๘ คน 
บาดเจ็บกว่า ๖๐ คน ชาเวซถูกโยนเข้าคุกและถูกทรมานมากมาย พรรคพวกระดับนำบางส่วนหนีรอดไปได้ เลียแผลอีกเก้าเดือนต่อมา จึงรวมกำลังกันเข้ายึดอำนาจอีก แล้วก็แพ้อีก กองกำลังรัฐประหารที่กลายเป็นกบฏถูกขยี้ทำลายจนแทบสิ้นซากในเดือนพฤศจิกายน ของปีเดียวกัน

บทบาทและประวัติชีวิตของคนชื่อ ฮิวโก้ ชาเวซ น่าจะจบลงตรงนั้น เขาต้องติดตะรางอยู่นานสองปีกว่าจะได้รับการอภัยโทษ แต่ในทันทีที่ได้รับอิสรภาพ ชาเวซก็ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นสู้ใหม่ คราวนี้ใช้ชื่อว่า ขบวนการแห่งสาธารณรัฐที่ห้า (Movement of the Fifth Republic) แสดงเจตนารมณ์ที่จะพลิกหน้าประวัติศาสตร์ของเวเนซุเอล่าไปสู่ยุคใหม่ และค่อยๆ แปลงโฉมตัวเองจากทหารมาสู่ความเป็นนักการเมืองเต็มรูปแบบ

ชาเวซใช้เวทีการเมืองใหม่ที่เขาสร้างขึ้นเป็นสนามวิพากษ์วิจารณ์สังคมกดหัว และไม่ให้โอกาสของเวเนซุเอล่าอย่างร้อนแรง โดยเฉพาะในประเด็นแห่งความร่ำรวยของอำมาตย์ขนาดติดอันดับโลกเพราะรายได้ มหาศาลจากน้ำมัน แต่ในเวเนซุเอล่านั้นแม้แต่สวัสดิการรักษาพยาบาลประชาชนก็ไม่มี เขาวิจารณ์นายทุนใหญ่จากตระกูลไม่กี่ตระกูลที่เชื่อมโยงต่อกันเป็นเครือข่าย (network) และทำงานเป็นโครงข่ายใยแมงมุม (social web) จนแม้คนที่รู้น้อยที่สุดและยึดมั่นถือมั่นมากที่สุดก็เริ่มตาสว่าง ในที่สุดแล้วการเมืองของ ฮิวโก้ ชาเวซ ก็หมายถึงการทำลายการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ อันเป็นรากฐานความชั่วร้ายของการกดขี่ในทางสังคม

จากทหารฝ่ายขวาที่ไม่ศรัทธาต่อกลไกแบบประชาธิปไตย ฮิวโก้ ชาเวซเริ่มกลายสภาพเป็นนักสังคมนิยมที่มุ่งปฏิรูปเวเนซุเอล่าตามครรลอง ประชาธิปไตย แต่คนไม่น้อยก็ยังเคลือบแคลงสงสัยว่าเขาซ่อนเร้นความเป็นเผด็จการเอาไว้หรือ ไม่
รอคอยหกปีเต็ม บวกกับการหาเสียงในแนวทางใหม่โดยใช้สีแดงเป็นเครื่องหมายไปทั่วประเทศ ในที่สุด ฮิวโก้ ชาเวซ ก็เข้าป้ายเมื่อเขาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี พ.ศ.๒๕๔๒ และสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในต้นปีถัดมาคือ พ.ศ.๒๕๔๓ กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของคริสต์ศตวรรษใหม่

อีกไม่กี่เดือนต่อมาเมื่อต้องมีการเลือกตั้งอีกรอบหนึ่ง เนื่องจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ เขาก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกในเดือนกรกฎาคมของปีเดียวกันนั้น

ประธานาธิบดีชาเวซเดินหน้าเต็มตัวในนโยบายที่เขาประกาศหาเสียงไว้หกปี ที่เราจะได้ลำดับความกันในช่วงต่อไป ผลต่อเนื่องอันหลีกเลี่ยงมิได้คือการเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลภายใต้ตัวเขากับ “เจ้าของเดิม” ของเวเนซุเอล่าหรือฝ่ายอำมาตย์ของประเทศ และการคุกคามจากมหาอำนาจผู้มีความผูกพันใกล้ชิดกับมวลอำมาตย์เวเนซุเอล่า นั่นคือสหรัฐอเมริกา ยิ่งชาเวซเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์กับ ประธานาธิบดีฟิเดล คาสโตร แห่งคิวบาผู้เป็นศัตรูอันดับต้นของรัฐบาลวอชิงตัน ความหมางเมินระหว่างสหรัฐฯ กับเวเนซุเอล่าภายใต้ชาเวซก็ทวีความรุนแรงขึ้นจนเข้าเขตอันตราย 

สายตาของมิตรประเทศเดิมของฝ่ายอำมาตย์ คือสหรัฐฯ นั้น จับอยู่ที่บ่อน้ำมัน ซึ่งชาเวซยังมิได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนนัก แนวโน้มคือนายทุนอเมริกันที่เคยทำเงินอย่างสะดวกสบายในฐานะนายหน้าผู้มี อิทธิพลน่าจะตกที่นั่งลำบาก 

สื่อมวลชน นักวิชาการ และผู้นำศาสนจักร ล้วนแต่อยู่ตรงข้ามกับประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมอย่างท่วมท้นคนนี้ทั้งสิ้น

แขนและขาของระบอบอำมาตยาธิปไตยเหล่านี้ ทำหน้าที่เต็มที่ในการสร้างภาพ “ผู้ร้าย” ของประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง โดยวางเป้าหมายของการสื่อสารไว้ที่ความเป็นผู้เผด็จการ ภาพเก่าสมัยนาวิกโยธินและการก่อรัฐประหารถูกนำมาใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก



                                                                                                   - 4 -

 "...แล้ว “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ฉบับเวเนซุเอล่าก็บังเกิดตามประสาอำมาตย์ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ เมื่อมีการวางแผนจนเกิดการประท้วงขนาดใหญ่ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลฮิวโก้ ชาเวซ เดินเข้าสู่บริเวณใกล้ทำเนียบประธานาธิบดีกลางกรุงคาร์ราคัสที่มีชื่อว่า มิรา-ฟลอเรส

เกิดเสียงปืนและการจลาจลขึ้นอย่างชุลมุน ภาพที่ปรากฏ (perception) คือรัฐบาลชาเวซได้ใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วงอย่างหนักจนเกิดการเสียชีวิต และบาดเจ็บมากมาย โทรทัศน์ฝ่ายค้านได้นำเอาภาพของคนที่มีลักษณะเหมือนทหารหรือตำรวจ แต่ไม่สวมเครื่องแบบ ผลัดกันออกมาจากที่กำบังแล้วยิงลงจากสะพานแห่งหนึ่งที่อยู่เหนือกลุ่มผู้ ประท้วงครั้งแล้วครั้งเล่า

แต่ภาพที่ปรากฏในกล้องของสื่อมวลชนต่างชาติกลับตรงข้าม กลุ่มคนที่ฝ่ายตรงข้ามพยายามบอกว่าเป็นมือปืนฝ่ายรัฐบาล ความจริงกำลังยิงตอบโต้มือปืนในชุดดำกลุ่มหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่บนตึกสูงและ ติดอาวุธทันสมัย ข้างล่างของตึกนั้นมีเจ้าหน้าตำรวจในเครื่องแบบอยู่เป็นจำนวนมาก มือปืนที่แท้เหล่านี้ได้ยิงลงมาในฝูงชนและสร้างความแตกตื่นเป็นปฐมฤกษ์ ก่อนที่จะดวนปืนอย่างดุเดือดกับกลุ่มบนสะพาน เห็นได้ชัดว่า “มือที่สาม” ก็คือฝ่ายความมั่นคงของระบบราชการเวเนซุเอล่า ที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลจากการเลือกตั้งของชาเวซ และต้องการสร้างภาพว่ารัฐบาลเป็นเผด็จการ

ไม่มีใครสนใจข้อเท็จจริงนี้ และแผนก็ดำเนินต่อไป ทหารกลุ่มหนึ่งฉวยจังหวะชุลมุนนั้นเองจู่โจมเข้าทำเนียบประธานาธิบดีและจับ ตัว ฮิวโก้ ชาเวซ นำออกไปนอกทำเนียบประธานาธิบดี ข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วว่าผู้นำสูงสุดชะตาขาดเสียแล้ว ผู้ที่ออกมายืนยันว่าได้เกิดการรัฐประหารขึ้นจริงคือผู้ใกล้ชิดกับ ประธานาธิบดีชาเวซที่เป็นสุภาพสตรีและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่ง แวดล้อม

ณ จุดนี้เองที่อำนาจอันแท้จริงของ ฮิวโก้ ชาเวซ ก็ปรากฏขึ้น อำนาจซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเลยกับเครือข่ายและโครงข่ายของระบอบอำมา ตยาธิปไตยของประเทศ

ประชาชนจากทุกจังหวัดของเวเนซุเอล่า จำนวนนับล้าน เริ่มเดินเท้าดาหน้าเข้าสู่นครหลวงคาร์ราคัส ด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะช่วยชีวิตประธานาธิบดีอันเป็นที่รักที่เขา เลือกมากับมือ

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น ผู้คนเป็นจำนวนมากก็ล้อมรัฐสภาที่กำลังประกอบพิธีแต่งตั้งรักษาการ ประธานาธิบดีแทน ฮิวโก้ ชาเวซ ซึ่งมีข่าวจากฝ่ายอำมาตย์รายงานพร้อมแสดงเอกสารว่าได้ลาออกจากตำแหน่งประมุข และหัวหน้ารัฐบาลของประเทศเสียแล้ว ผู้นำทางทหารและผู้สนับสนุนต่างแสดงความยินดีปรีดาว่าได้ขับไล่ประธานาธิบดี ที่ตนจงเกลียดจงชังได้สำเร็จ..."

                                                          - 5 -
..."...แต่ไม่กี่นาทีต่อมาก็เหงื่อตก และสรุปอย่างรวดเร็วว่าไม่มีทางออกอีกแล้ว เพราะประชาชนเอาจริง
ไม่นานต่อมาผู้นำกองทัพทั้งหมดก็ออกแถลงการณ์ประกาศแปรพักตร์และยกเลิกความสนับสนุนต่อรักษาการประธานาธิบดีที่สาบานตนแล้วเรียบร้อย ฮิวโก้ ชาเวซ ก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ นาทีที่เขาเดินลงจากเฮลิคอปเตอร์และเข้าสู่ฝูงชนที่ส่งเสียงดังจนแสบแก้วหูเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์และเป็นชัยชนะอันใสสะอาดยิ่งของฝ่ายประชาธิปไตยต่อกลไกการรัฐประหาร

สองวันหรือสี่สิบแปดชั่วโมง ฮิวโก้ ชาเวซ กลับคืนสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศอย่างน่าอัศจรรย์ใจ หนังสือลาออกที่ฝ่ายรัฐประหารนำมากล่าวอ้าง ความจริงเป็นเอกสารปลอมที่เตรียมไว้ใช้ล่วงหน้า แม้แต่คำกล่าวทางโทรทัศน์ของผู้นำทหารที่เข้ายึดอำนาจ ก็ยังอุตส่าห์บันทึกเทปกันก่อนจะเกิดการยิงใกล้ๆ มิรา-ฟลอเรส ด้วยซ้ำ

จากนักรัฐประหารที่พ่ายแพ้จนกลายเป็นนักโทษ กลายเป็นผู้นำประชาธิปไตยที่ประชาชน “อุ้ม” คืนสู่อำนาจรัฐภายหลังการรัฐประหาร เพราะเปลี่ยนมาสู่ความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แต่เรื่องก็ยังไม่จบ

อีกสองปีต่อมา ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ประธานาธิบดีชาเวซที่เดินหน้าในนโยบายประชานิยมเต็มตัวจนได้รับความนิยมท่วมท้นขึ้นอีกก็ฝ่าฟันอุปสรรคที่ฝ่ายอำมาตย์นำมาขวางทางไว้อีก นั่นคือการลงประชามติว่า ฮิวโก้ ชาเวซ ควรจะได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระหรือไม่ คำโฆษณาชวนเชื่อก็มาในรูปเดิมคือ หากปล่อยคนๆ นี้ให้สัมผัสอำนาจรัฐนานเกินไป ก็จะกลายเป็นผู้เผด็จการในที่สุด

แต่ชาเวซก็ชนะอย่างหายห่วงในการลงประชามติครั้งนั้น

ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙ สามเดือนหลังจากรัฐบาลจากการเลือกตั้งในประเทศไทยถูกฝ่ายอำมาตย์โค่นล้มลงแล้ว ฮิวโก้ ชาเวซ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีซ้ำอีกครั้งด้วยคะแนนเสียงที่สูงถึง ๖๓% สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของของการเลือกตั้งซ้ำสอง

ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หนึ่งปีในวาระที่สองของชาเวซ และเกือบจะพร้อมกับวีรกรรมของคนไทยที่นำรัฐบาลประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศหลังอาชญากรรม คมช. ชาเวซก็พ่ายแพ้เดิมพันที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งเมื่อเขาเสนอการลงประชามติว่าประธานาธิบดีควรจะลงเลือกตั้งได้อย่างไม่จำกัดวาระ

คราวนี้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับเขา

บททดสอบของผู้นำที่มีอำนาจล้นพ้นในมืออยู่ตรงนี้เอง หากชาเวซมีเชื้อเผด็จการในตัวมากพอ การรัฐประหารเพื่อล้มกระดานอาจเกิดขึ้นเพื่อยืดระยะเวลาแห่งอำนาจ แต่เขาเดินสวนไปอีกทางหนึ่ง ชาเวซตัดสินใจโน้มน้าวประชามติของชาวเวเนซุเอล่าไปอีกหนึ่งปีครึ่ง แล้วจึงจัดการลงประชามติอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๒

ประชาชนส่วนใหญ่ของเวเนซุเอล่าเที่ยวนี้มีความพร้อมและลงมติรับแนวความคิดใหม่ ชาเวซและผู้นำในอนาคตสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีได้โดยไม่จำกัดวาร

มีคนถามเขาว่า อยากเป็นประธานาธิบดีไปตลอดชีพเลยหรือ

“เปล่า” ชาเวซพูดพลางหัวเราะพลาง “ผมต้องการเวลาต่อเนื่องสักสิบปี เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมเวเนซุเอล่าให้ประสบผลสำเร็จตามที่ฝันไว้”

ปากของชาเวซทำให้เขาเป็นข่าวอื้อฉาวอยู่เรื่อยๆ อย่างในคำปราศรัยต่อองค์การสหประชาชาติเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ที่เขาเรียกประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้นคือบุชว่า “ปิศาจ” ต่อมาในพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ ก็ไปร่วมวงเสวนาที่สเปนกับกับนายกรัฐมนตรีของประเทศนั้น โดยมีกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสของสเปนประทับรับฟังอยู่ด้วย ปรากฏว่าชาเวซขัดจังหวะคำกล่าวของโฮเซ่ ซาพาเทโร่ นายกรัฐมนตรีของสเปน ด้วยทัศนะที่ไม่ตรงกัน จนกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสถึงกับกริ้วและออกพระโอษฐ์กลางที่ประชุมว่า “หุบปาก!”

แต่ชาวเวเนซุเอล่าที่รักเขาก็ยังชอบฟังเขาพูด และฟังทุกสัปดาห์ในรายการโทรทัศน์ Alo Presidente หรือ Hello President ที่ชาเวซจัดอย่างสนุกสนานออกรส บางครั้งพูดเดี่ยว บางครั้งเชิญแขกมาร่วมรายการ บางครั้งก็ร้องรำทำเพลง เป็นที่หมั่นไส้ของฝ่ายอำมาตย์เวเนซุเอล่ายิ่งนัก..." 


                                                            - 6 -
 ๓. ฮิวโก้ ชาเวซกับประชาชน

... ชาวเวเนซุเอล่าอาศัยอยู่ในประเทศที่หลากหลายทั้งทัศนียภาพและความงามตาม ธรรมชาติ รวยทรัพยากรหลายประเภทโดยเฉพาะน้ำมันดิบ แต่ก็ไม่ใช่ว่าประชาชนคนเดินดินของเวเนซุเอล่าจะได้รับ “รางวัล” นี้หรือก็เปล่า

เพราะ ตั้งแต่ ไซม่อน โบลิวาร์ นำการปฏิวัติปลดปล่อยจากการยึดครองของสเปนนานถึง ๓๐๐ ปี จนได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ มาจนถึงการค้นพบน้ำมันในอ่างมาราไคโบและเปลี่ยนฐานะของประเทศจากเศรษฐกิจปฐม ภูมิสู่ความร่ำรวยนั้น ชนชั้นนำของเวเนซุเอล่าก็รวมตัวกันเป็นเครือข่ายและสร้างโครงข่ายระหว่างกัน อย่างแน่นหนา กีดกันประชาชนออกไปจากเกมชิงสมบัติก้อนนี้อย่างเด็ดขาด เกิดการรวมศูนย์ความร่ำรวย และสังคมส่วนรวมได้รับประโยชน์เพียงเศษเสี้ยว

ผลจากการ ค้นพบน้ำมันดิบและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนี้ดำเนินมาตลอดทศวรรษที่ ๑๙๖๐ และ ๑๙๗๐ และเกิดหักโค้งเมื่อมีวิกฤติการณ์พลังงานขึ้นในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและนำไปสู่ความระส่ำระสายทางสังคม

ตรงนี้เอง ที่แนวคิดสังคมนิยมได้รับความสนใจและฝังตัวอยู่ในส่วนลึกของสังคมเวเนซุเอ ล่า แต่นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรงของสหรัฐฯ และอิทธิพลที่สหรัฐฯ มีต่อภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ได้กดทับกระแสเหล่านี้ไว้นานหลายสิบปีตลอดช่วงสงครามเย็นและกระทั่งหลังจาก นั้น ด้วยความกลัวว่าจะเกิดคิวบาแห่งที่สองขึ้น

หลังจาก เข้าดำรงตำแหน่งมาสิบปี การประเมินรัฐบาล ฮิวโก้ ชาเวซ ก็เกิดขึ้นโดยคนที่รักและชัง คนที่รักก็คือคนจนของประเทศที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากนโยบายประชานิยม และคนที่ชังรวมศูนย์อยู่ที่พรรคฝ่ายค้านอย่าง อุน นูโว เทียมโป (Un Nuevo Tiempo) ซึ่งรู้กันว่าเป็นศูนย์ประสานงานใหม่ของอำมาตย์เวเนซุเอล่า มีทั้งบุคคลจากตระกูลเก่า เศรษฐีเก่า นายพลเก่าและปัจจุบัน อดีตผู้พิพากษาและผู้พิพากษาปัจจุบัน ฯลฯ ครบครัน

ต่างจาก เมืองไทยที่ไม่ตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาสู้ แต่แฝงอยู่อย่างเร้นลับในระบบราชการทั้งทหารและพลเรือน กระบวนการตุลาการ องค์กรทางวิชาการในสังกัดรัฐ และองค์กรประสานผลประโยชน์ในทางธุรกิจอย่างสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย เป็นอาทิ

ฝ่าย ประชาชนยกผลงานที่สำคัญของประธานาธิบดี ฮิวโก้ ชาเวซ ขึ้นมาหลายเรื่อง แยกออกได้เป็น ๓ ประเภทคือ ๑. การลดภาวะความยากจน ๒. การลดอัตราไม่รู้หนังสือ ๓. การเข้าถึงสวัสดิการรักษาพยาบาล

การแก้ไข ปัญหาความยากจนมีความคืบหน้ามากจริง ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ เวเนซุเอล่ายังมีอัตราของคนที่ยากจนที่สุด (extreme poverty) อยู่ที่ ๔๒% เวลาผ่านไป ๑๐ ปีอัตรานั้นลดลงไปเป็น ๙.๕% ตามการเก็บข้อมูลขององค์การทั้งในและระหว่างประเทศ ส่วนนโยบายสวัสดิการรักษาพยาบาลที่กลายมาเป็นโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนคลินิกทั่วไปในประเทศ มาจากการบริหารกองทุนประเดิมที่คิดเป็น ๔.๒% ของรายได้มวลรวมในประเทศหรือ GDP โดยตั้งเป้าหมายไว้อย่างหวังสูงว่าชาวเวเนซุเอล่าทุกคนจะต้องเข้าถึงบริการ ด้านสาธารณสุขนี้
ฝ่ายตรงข้ามก็เล่นบท “สองคนยลตามช่อง” ไปตามระเบียบ..."


                                                                     -7-  
"...พรรคอุน นูโว เทียมโป กล่าวว่ารัฐบาลชาเวซทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศตลอดเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงและมีคนตกงานมาก โดยเฉพาะเงินเฟ้อสูงที่สุดในแถบอเมริกาทีเดียว
ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ให้ข้อมูลด้วยว่า ในห้วงเวลาเดียวกับที่อัตราสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เรียกว่าเงินเฟ้อนั้น อัตราความเติบโตของเวเนซุเอล่าก
สูงขึ้นตลอดระยะเวลา ๒๐ ไตรมาสที่ผ่านมา นั่นคือ ๕ ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจรุดหน้าตลอด หรืออัตราคนว่างงานที่เคยสูงกว่านี้และรัฐบาลลดลงได้ถึงครึ่งหนึ่งนั้น พรรคฝ่ายค้านของเหล่าอำมาตย์ก็ไพล่ไปพูดว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องปิดตัวลงไปมาก และรัฐบาลไม่ล่วงรู้ถึงภาวะตกงานของกลุ่มธุรกิจนั้น

แต่เรื่องที่หยิบมาโจมตีหนักที่สุดและบ่อยที่สุดคือสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นบทละครเดิมที่นำมาสู่การรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ฝ่ายตรงข้ามแถลงว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีชาเวซมีพฤติกรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากมาย โดยอ้างข้อมูลโดยตรงจากองค์กรสังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) แต่ไม่ได้บอกด้วยว่าหน่วยงานนี้ตั้งอยู่ในนครนิวยอร์กและดำเนินการทุกอย่างที่สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศและฐานผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา

นั่นคือภาพรวมที่อาจมองโดยคร่าว สิ่งที่รัฐบาลชาเวซได้กระทำในนามของระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต้องวิสัชนาในรายละเอียดบ้าง

เริ่มในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ชาเวซออกกฎหมายทั้งสิ้น ๔๙ ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการจัดการผลประโยชน์ของประเทศในเรื่องน้ำมันดิบและกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียใหม่ การออกรัฐบัญญัติเหล่านี้เป็นการประเดิมอำนาจใหม่ของประธานาธิบดีที่สามารถกำหนดนโยบายระดับโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

พ.ศ.๒๕๔๕ ชาเวซยกเลิกระบบควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศ ส่งผลให้โบลิวาร์ (สกุลเงินของเวเนซุเอล่า) ลดค่าลงทันที ๒๕% เมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

ในปีเดียวกันชาเวซสั่งปลดคณะกรรมการบริหารองค์การผูกขาดการทำธุรกิจน้ำมันของประเทศทั้งชุด และตั้งคนใหม่ที่สนองนโยบายใหม่ของรัฐบาล เขาต้องเผชิญกับสหภาพแรงงานขององค์การนี้ในการประท้วงอย่างรุนแรงในลักษณะคล้ายกับช่วงแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แต่ไม่ล้ม น่าจะเป็นเพราะไม่มีมือที่มองไม่เห็นหนุนหลังอยู่ในเวเนซุเอล่าเหมือนกรณีการไฟฟ้าฯ ของไทย

พ.ศ.๒๕๔๘ รัฐบัญญัติปฏิรูปที่ดินมีผลบังคับใช้เต็มที่ สาระสำคัญคือห้ามการถือครองที่ดินเป็นจำนวนมาก รัฐบาลประกาศว่านี่คือการคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนในชนบท ในขณะที่เจ้าของที่ดินสาปแช่งประณามว่าเป็นการล่วงละเมิดทรัพย์สินส่วนบุคคล

เดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน ชาเวซขยายกรอบการปฏิวัติออกไปสู่ภูมิภาค โดยขายน้ำมันดิบในราคาพิเศษให้กับ ๑๓ ประเทศในทะเลแคริบเบียนที่เชิญมาประชุมสุดยอด ณ กรุงคาร์ราคัส แต่ไม่ยอมขายให้สหรัฐอเมริกาในอัตรานั้น

พ.ศ.๒๕๔๙ ชาเวซตบหน้าสหรัฐฯ ซ้ำอีกด้วยการลงนามซื้อขายอาวุธกับรัสเซียด้วยมูลค่าสูงถึง ๓,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงเครื่องบินรบและเฮลิคอปเตอร์

พ.ศ.๒๕๕๐ ประกาศยึดกิจการหลายบริษัทที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลชุดก่อนๆ ของเวเนซุเอล่าที่ทำธุรกิจพลังงานและโทรคมนาคมเข้ามาเป็นของรัฐตั้งแต่เดือนมกราคม

เดือนมีนาคมก็เดินหน้ายึดที่ดินของฟาร์มขนาดใหญ่ถึง ๑๖ แห่งในประเทศ แต่ละแห่งมีธุรกิจที่คล้ายกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ในเมืองไทยทั้งนั้น แล้วนำที่ดินนั้นมาจ่ายแจกใหม่ให้กับชาวนาผู้ไร้ที่ดินทำกิน

เดือนพฤษภาคมเข้ายึดกิจการ บริษัท โอริโนโค เดลต้า ซึ่งครอบครองสิทธิในการขุดเจาะน้ำมันสูงสุดในประเทศ และขณะเดียวกันก็สั่งปิดสถานีโทรทัศน์ RCTV ของฝ่ายตรงข้ามที่คอยด่าประณามรัฐบาลในเรื่องนี้ จนเกิดการเดินขบวนทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านยกใหญ่

แต่ในเดือนมิถุนายนก็ชนตอ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เอ็กซอนโมบิล และ โคโนโคฟิลิปส์ ปฏิเสธไม่ยอมส่งฐานการปฏิบัติการของตนให้กับรัฐบาลเวเนซุเอล่า จนเรื่องค้างอยู่ถึงเดี๋ยวนี้ ฯลฯ

ไม่มีใครวิพากษ์ ประธานาธิบดี ฮิวโก้ ชาเวซ ได้ว่าไม่รักษาคำพูด การปฏิบัติตามสัญญาที่ได้หาเสียงไว้และกระทำในอัตราเร่งมาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนฐานทางเศรษฐกิจของเวเนซุเอล่าอย่างรวดเร็ว ประชาชนยอมรับนับถืออย่างรวดเร็ว และศัตรูก็ขยายอย่างรวดเร็วเช่นเดียวทั้งปริมาณและความสามารถทางวิชามารในการเจาะยางรัฐบาล
เราพูดได้อย่างชัดเจนว่า ฮิวโก้ ชาเวซ บริหารเวเนซุเอล่าตลอด ๑๐ ปีที่ผ่านมา โดยประยุกต์ใช้นโยบายประชานิยมอย่างเต็มพิกัด เพราะไม่เพียงแต่นำดอกผลของรายได้ประชาชาติมาเจือจานด้วยวิธีใหม่ แต่เขายังเปลี่ยนฐานความมั่งคั่งของประเทศในเวลาชั่วข้ามคืน จนมหาเศรษฐี (เก่า) หอบผ้าผ่อนอพยพไปยังสหรัฐอเมริกาแทบไม่ทัน

หลายคนย้ายไปแล้วและมีแนวโน้มว่าจะไม่กลับ"

                                                  
                                                          - 8 -

 ๔. ความคิดตาม

...รัฐบาล ที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนรากหญ้าย่อมต้องเป็นเช่นนี้ การเป็นรัฐบาลแนวสังคมนิยมในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการปฏิวัติด้วย กำลังอาวุธเหมือนแนวของ เช กูวาร่า แต่จะต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างเต็มที่ในการเปลี่ยนวิถีผลิตของ ประเทศแบบกลับหัวกลับหาง และต้องเร่งทำเพื่อมิให้ฝ่ายที่สูญเสียผลประโยชน์เอาคืนได้ทัน

การเตรียมมวลชนให้พร้อมต่อการช่วงชิงอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยม อย่างที่ชาเวซทำเมื่อคราวรัฐประหารนั้น เป็นสิ่งสำคัญพอๆ หรือยิ่งกว่าการบริหารงานประเทศตามแนวทางใหม่ เพราะแนวทางดังกล่าวก่อศัตรูมากและอุปสรรคขวางทางก็มาก ถ้าไม่เตรียมกลไกป้องกันตัวเองไว้ก็จะถูกทำลายจนไม่อาจเดินไปสู่เป้าหมายได้ ชาเวซเป็นผู้นำจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยจริง แต่เขาไม่เคยละทิ้งประสบการณ์และแนวทางเมื่อครั้งที่เป็นนาวิกโยธิน

ฝ่ายประชาธิปไตยในเมืองไทยต้องพ่ายฝ่ายอำมาตย์ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ก็เพราะขาดเครื่องมือลับในทางการเมืองและมิได้จัดตั้งประชาชนไว้ปกป้องตน เองอย่างที่ชาเวซทำ

ถามง่ายๆ ก็ได้ว่า หากเกิดการรัฐประหารขึ้นมาอีกครั้ง จะรวมพลอย่างไร รวมแล้วไปไหน ใครคือเป้าหมาย และเมื่อไปถึงแล้วจะทำสิ่งใด

เมื่อได้อำนาจรัฐแล้ว จะทำอะไรก่อนหลัง และจะใช้วิธีใดเพื่อล้างอิทธิพลดั้งเดิมในสังคมอนุรักษ์นั้นอย่างไร

เพราะไม่ใช่ตัวบุคคล แต่เป็นเครือข่ายและโครงข่ายใยแมงมุม
เหล่านี้เป็นคำถามยุทธศาสตร์ทั้งสิ้น

โดยสรุปแล้ว ฮิวโก้ ชาเวซ บอกเราเป็นภาษาสเปนแปลเป็นไทยว่า การรับมือกับฝ่ายอำมาตย์ต้องกระทำโดยการปฏิวัติเท่านั้น

น้อยกว่านี้ถือว่าหลอกกันเล่นและไม่ต้องการให้ฝ่ายประชาชนได้โงหัวจริง.

............................................................................................................................... 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar