ค้านไม่เต็มคำ
โดย “แม่ลูกจันทร์”
การประชุมรัฐสภาพิจารณาญัตติด่วนแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็น “รายมาตรา” กำลังร้อนฉ่าทะลุ 40 องศาซี
เพราะพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม 40 ส.ว. ตั้งป้อมค้านสุดลิ่มทิ่มประตู ไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญทั้ง 3 ประเด็น
แถมขู่ฟ่อๆ ถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วม 2 สภาฯ จะร้องศาลรัฐธรรมนูญเช็กบิล
จะผ่าน? หรือไม่ผ่าน? พรุ่งนี้ (3 เม.ย.) รอฟังคำตอบอีกที
“แม่ลูกจันทร์” กราบเรียนว่าเมื่อกติกาเปิดช่องให้ ส.ส. ส.ว.ยื่นคำร้องศาลรัฐธรรมนูญ ได้ก็เป็นสิทธิ์ของฝ่ายค้านจะขอใช้บริการเสริมพิเศษจากศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ประเด็นสำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” เป็นคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
แถมผู้นำฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์ เวชชา-ชีวะ ก็เรียกร้องไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ให้แก้ไขเป็นรายมาตรา
ทีนี้ พอรัฐบาลยื่นขอแก้ไขเป็นรายมาตรา ฝ่ายค้านก็อ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน
สวมวิญญาณปลาหมอแถกเหงือกไปอีกทาง
“แม่ลูกจันทร์” ฟันธงว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ประเด็น เป็นประโยชน์ประชาชน เพื่อประโยชน์ประเทศ และเป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
1, การแก้ไขประเด็นยุบพรรคการเมือง ลงโทษกรรมการบริหารพรรคเหมาเข่ง เป็นบทลงโทษที่ขัดหลักนิติธรรม
ข้อสำคัญ การยุบพรรคเหมาเข่ง ยังเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนับสิบล้านคน
2, การแก้ไขที่มาของ ส.ว. โดยการยกเลิก ส.ว.ลากตั้ง และให้มีเฉพาะ ส.ว.เลือกตั้ง 200 คน ที่มาจากประชาชนโดยตรง
นี่คือการคืนสิทธิ์ให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง
ไม่ใช่ให้ “คน 7 คน” แอบใช้อำนาจประชาชน 65 ล้านคน ไปลากตั้ง ส.ว.กันตามอำเภอใจ
3, การแก้ไขมาตรา 190 ไม่ให้รัฐบาลต้องเปิดเผยรายละเอียดเงื่อนไข ความตกลงต่างประเทศต่อรัฐสภาก่อนไปเจรจาต่อรอง
การแก้รัฐธรรมนูญมาตรานี้ ก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ประเทศโดยรวม
ส่วนประเด็นไส้ติ่ง แก้ไขมาตรา 68 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ให้เสนอผ่านอัยการสูงสุด ก่อนยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ
ก็เพื่อให้ขั้นตอนมีความชัดเจน ไม่เกิดปัญหาขัดแย้งอย่างที่ผ่านมา
ไม่ใช่เป็นการตัดสิทธิ์ประชาชนอย่างที่ฝ่ายค้านโจมตี
“แม่ลูกจันทร์” มองว่าพรรคประชา-ธิปัตย์ไม่มีสิทธิ์อ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ประชาชน แต่เพื่อประโยชน์ของนักการเมือง
เพราะ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” นั่นแหละ ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนกติกาเลือกตั้ง เพื่อเอาเปรียบคู่แข่ง และเพื่อประโยชน์ตัวเอง
นี่ไม่ใช่พูดชุ่ยๆ มีใบเสร็จยืนยัน
1, แก้รัฐธรรมนูญ เพิ่มจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อจาก 80 คน เป็น 125 คน
เพราะหวังว่าคะแนนรวมพรรคประ-ชาธิปัตย์จะสูสีคะแนนรวมพรรคไทยรักไทย
การเพิ่มโควตา ส.ส.บัญชีรายชื่อจาก 80 คนเป็น 125 คน จะทำให้ ปชป.ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพิ่มขึ้นเป็นกอบเป็นกำ
2, แก้กติกาเลือกตั้ง ลดจำนวน ส.ส.เขต จาก 400 ให้เหลือ 375 คน
ผลที่ตามมาคือทำให้โควตา ส.ส.อีสานและ ส.ส.เหนือซึ่งเป็นฐานที่มั่นพรรคเพื่อไทยลดไปทันที 16 คน
ส่วน ส.ส.ใต้ซึ่งเป็นฐานใหญ่พรรคประชาธิปัตย์ลดไปแค่ 4 คน
เกมนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้กำไร พรรคเพื่อไทยขาดทุน
นี่แหละตัวอย่างการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์นักการเมือง
แหม...แกล้งลืมอีกแล้วไง.
เพราะพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม 40 ส.ว. ตั้งป้อมค้านสุดลิ่มทิ่มประตู ไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญทั้ง 3 ประเด็น
แถมขู่ฟ่อๆ ถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วม 2 สภาฯ จะร้องศาลรัฐธรรมนูญเช็กบิล
จะผ่าน? หรือไม่ผ่าน? พรุ่งนี้ (3 เม.ย.) รอฟังคำตอบอีกที
“แม่ลูกจันทร์” กราบเรียนว่าเมื่อกติกาเปิดช่องให้ ส.ส. ส.ว.ยื่นคำร้องศาลรัฐธรรมนูญ ได้ก็เป็นสิทธิ์ของฝ่ายค้านจะขอใช้บริการเสริมพิเศษจากศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ประเด็นสำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” เป็นคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
แถมผู้นำฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์ เวชชา-ชีวะ ก็เรียกร้องไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ให้แก้ไขเป็นรายมาตรา
ทีนี้ พอรัฐบาลยื่นขอแก้ไขเป็นรายมาตรา ฝ่ายค้านก็อ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน
สวมวิญญาณปลาหมอแถกเหงือกไปอีกทาง
“แม่ลูกจันทร์” ฟันธงว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ประเด็น เป็นประโยชน์ประชาชน เพื่อประโยชน์ประเทศ และเป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
1, การแก้ไขประเด็นยุบพรรคการเมือง ลงโทษกรรมการบริหารพรรคเหมาเข่ง เป็นบทลงโทษที่ขัดหลักนิติธรรม
ข้อสำคัญ การยุบพรรคเหมาเข่ง ยังเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนับสิบล้านคน
2, การแก้ไขที่มาของ ส.ว. โดยการยกเลิก ส.ว.ลากตั้ง และให้มีเฉพาะ ส.ว.เลือกตั้ง 200 คน ที่มาจากประชาชนโดยตรง
นี่คือการคืนสิทธิ์ให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง
ไม่ใช่ให้ “คน 7 คน” แอบใช้อำนาจประชาชน 65 ล้านคน ไปลากตั้ง ส.ว.กันตามอำเภอใจ
3, การแก้ไขมาตรา 190 ไม่ให้รัฐบาลต้องเปิดเผยรายละเอียดเงื่อนไข ความตกลงต่างประเทศต่อรัฐสภาก่อนไปเจรจาต่อรอง
การแก้รัฐธรรมนูญมาตรานี้ ก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ประเทศโดยรวม
ส่วนประเด็นไส้ติ่ง แก้ไขมาตรา 68 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ให้เสนอผ่านอัยการสูงสุด ก่อนยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ
ก็เพื่อให้ขั้นตอนมีความชัดเจน ไม่เกิดปัญหาขัดแย้งอย่างที่ผ่านมา
ไม่ใช่เป็นการตัดสิทธิ์ประชาชนอย่างที่ฝ่ายค้านโจมตี
“แม่ลูกจันทร์” มองว่าพรรคประชา-ธิปัตย์ไม่มีสิทธิ์อ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ประชาชน แต่เพื่อประโยชน์ของนักการเมือง
เพราะ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” นั่นแหละ ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนกติกาเลือกตั้ง เพื่อเอาเปรียบคู่แข่ง และเพื่อประโยชน์ตัวเอง
นี่ไม่ใช่พูดชุ่ยๆ มีใบเสร็จยืนยัน
1, แก้รัฐธรรมนูญ เพิ่มจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อจาก 80 คน เป็น 125 คน
เพราะหวังว่าคะแนนรวมพรรคประ-ชาธิปัตย์จะสูสีคะแนนรวมพรรคไทยรักไทย
การเพิ่มโควตา ส.ส.บัญชีรายชื่อจาก 80 คนเป็น 125 คน จะทำให้ ปชป.ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพิ่มขึ้นเป็นกอบเป็นกำ
2, แก้กติกาเลือกตั้ง ลดจำนวน ส.ส.เขต จาก 400 ให้เหลือ 375 คน
ผลที่ตามมาคือทำให้โควตา ส.ส.อีสานและ ส.ส.เหนือซึ่งเป็นฐานที่มั่นพรรคเพื่อไทยลดไปทันที 16 คน
ส่วน ส.ส.ใต้ซึ่งเป็นฐานใหญ่พรรคประชาธิปัตย์ลดไปแค่ 4 คน
เกมนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้กำไร พรรคเพื่อไทยขาดทุน
นี่แหละตัวอย่างการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์นักการเมือง
แหม...แกล้งลืมอีกแล้วไง.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar