"นพดล" โต้ข้อหา "ขายชาติ" "
ผมเป็นเหยื่อเหมือนท่านปรีดี"
updated: 17 เม.ย 2556 เวลา 12:35:24 น.
1
ประชาชาติ ธุรกิจ" สนทนากับ "นพดล ปัทมะ" อดีต รมว.ต่างประเทศ ผู้ที่ถูกฝ่ายตรงข้ามสร้างข้อครหาว่า "ขายชาติ" หลังร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เพื่อให้กัมพูชานำตัวปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยไม่นำพื้นที่ทับ ซ้อนผนวกรวมไปด้วย
- ความจริงมหากาพย์เขาพระวิหารที่เป็นชนวนความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อใด
มันขัดแย้งเพราะมีคนในประเทศ ต้องการเอาประเด็นปราสาทพระวิหาร ทำให้เป็นประเด็นการเมืองเพื่อล้มรัฐบาลสมัคร (สุนทรเวช) และเพื่อทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณ (ชินวัตร) จึงใช้ประเด็นนี้ มันเหมือนกับเวลาการต่อสู้ทางการเมืองทำลายล้างกันมีไม่กี่ประเด็น
1.เรื่องสถาบัน
2.เรื่องความรักชาติ
3.เรื่องทุจริต
เพราะฉะนั้น เขาจึงปลุกกระแสคลั่งชาติขึ้นมาก่อให้เกิดความขัดแย้งและบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาล
-
- ทำไมการปลุกกระแสคลั่งชาติถึงมุ่งโจมตีประเด็นแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ท่านลงนามไว้เพียงอย่างเดียว เขาบิดเบือนข้อมูล โดยความจริงคือกัมพูชาเอาตัวปราสาท บวกพื้นที่ทับซ้อนไปยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลกก่อนผมเป็นรัฐมนตรีในปี 2550 พอปี 2551 ผมเป็นรัฐมนตรีโดยรับช่วงต่อจากรัฐบา -
- เราต้อง ไปเจรจาว่า ถ้าคุณขึ้นเฉพาะตัวปราสาทที่เป็นของคุณ คุณขึ้นได้ แต่พื้นที่ทับซ้อนคุณต้องตัดออกมาก่อน ห้ามคุณนำไปขึ้นทะเบียน พูดภาษาชาวบ้านว่าให้คุณขึ้นเฉพาะตัวศาลพระภูมิ สนามหญ้าตัดออกมา หลักการนี้ถูกต้องเนื่องจากตัวปราสาทเป็นของเขาเมื่อศาลโลกตัดสินเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ไม่ใช่นายสมัครหรือนายนพดลเป็นคนยกปราสาทให้อย่างที่ไปบิดเบือนกัน
-
ดังนั้น เมื่อตัวปราสาทเป็นของกัมพูชาเมื่อ 50 ปี ที่แล้ว ผมมีหน้าที่ปกป้องพื้นที่ทับซ้อน ผมก็ไปเจรจาให้เขาตัดพื้นที่ทับซ้อนที่กรุงปารีส เพื่อแก้ปัญหาให้ได้ข้อยุติก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา เราก็ทำคำแถลง-การณ์ร่วมกันว่าคุณขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ห้ามเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้น
นี่คือ สุดยอดของการเจรจาทางการทูต คณะกรรมการมรดกโลกที่ควิเบกมีมติขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เฉพาะตัวปราสาท ไม่รวมชะง่อนเขา ไม่รวมหน้าผา และถ้ำต่าง ๆ ที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน ข้อเท็จจริงคือนายนพดลและรัฐบาลสมัครเป็นผู้ปกป้องพื้นที่ทับซ้อนอย่าง สมบูรณ์ตามเอกสาร
-
-
- ในเมื่อมีหลักฐานชัดเจนแต่ทำไมยังถูกประณามว่าขายขาติใน ช่วงที่ฝุ่นตลบ คนอาจมองอะไรไม่เห็นชัด ตาอาจพร่ามัว ผงอาจเข้าตา แต่ตอนนี้ฝุ่นมันไม่มีแล้ว ฝุ่นมันสว่างขึ้นแล้วคนก็เข้าใจมากขึ้น ผมบอกก็ได้ว่าคำแถลงการณ์ร่วมของผม เป็นครั้งแรกที่กัมพูชายอมรับว่ามีพื้นที่ทับซ้อน และมีผลดีตรงที่ตัดพื้นที่ทับซ้อนออกมา ผมคิดว่าคนไทยทั่วไปเข้าใจ
-
- แต่ สุดท้ายก็ไม่สามารถฝ่ากระแสเสื้อเหลืองที่ชุมนุมต่อต้าน และยังเจอคำวินิจฉัยของศาลปกครองที่ห้ามไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมและศาลรัฐ ธรรมนูญก็ยังชี้ว่าแถลงการณ์ร่วมเข้าข่ายอาจทำให้ไทยเสียดินแดน ผมคิดว่าตอนปี 2551 ที่ ผมลาออกไม่ใช่เพราะผมฝ่ากระแสเสื้อเหลืองไม่ได้ ผมลาออกเพราะศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าแถลงการณ์ร่วมของผมเป็นหนังสือสัญญาที่ ต้องได้รับการยินยอมจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินผิด
-
ประเด็นแรกมาตรา 190 เขียนไว้แบบไม่ชัดเจนและคลุมเครือเป็นอย่างยิ่ง ถึงมีการแก้ไขถึง 2 ครั้ง สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร)ก็กำลังแก้ไขในสภาขณะนี้
-
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar