มาครง 65.5% เลอเปน 34.5%
https://goo.gl/BF7j9I
นี่คือผลเอ๊กซิสโพลล์ หลังจากปิดหีบเลือกตั้งเมื่อไม่กี่นาทีก่อน (สองทุ่มฝรั่งเศส ตีหนึ่งไทย) ความจริงในเมืองส่วนใหญ่ของฝรั่งเศส ปิดหีบเลือกตั้งตั้งแต่ชั่วโมงที่แล้ว (หนึ่งทุ่มฝรั่งเศส เที่ยงคืนไทย) แต่เมืองใหญ่ๆ เช่นปารีส ปิดช้ากว่าหนึ่งชั่วโมง
เป็นไปตามคาดว่า มาครงจะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป
แต่อาจจะไม่เป็นไปตามคาดเล็กน้อย (ถ้าผลนับคะแนนออกมาตามเอ๊กซิสโพลล์นี้) คือ เดิมคิดว่ามาครงจะได้ประมาณ 60% เลอเปน 40%
การที่เลอเปนได้คะแนนถึงใกล้ 35% นี้ก็จัดว่าสำคัญไม่น้อย เพราะครั้งสุดท้ายที่พรรคขวาจัดของเธอ (พรรค FN) หลุดเข้ามารอบสอง พ่อของเธอซึ่งเป็นตัวแทนพรรคในขณะนั้น ได้คะแนนเพียง 20% (ชีรัค ผู้สมัครคู่แข่งซึ่งได้เป็นประธานาธิบดี ได้ถึง 80% เพราะใครต่อใครพร้อมใจกันไปโหวตให้เพื่อแสดงการแอนตี้พรรค FN)
นักวิชาการฝ่ายซ้ายบางคนจึงเสนอว่า มาครงชนะคราวนี้ เลอเปนจะชนะในปี 2022 เพราะเชื่อว่า มาครงพอได้เป็นประธานาธิบดีจะล้มเหลว เพราะจะ more of the same คือจะเป็นเหมือนเดิมที่ผ่านมา ไม่ว่าจะในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจในประเทศหรือนโยบายเกี่ยวกับอียู ซึ่งประสบความล้มเหลว จนคนฝรั่งเศสเกิดความเบื่อหน่าย และเกิด “มู้ด” ทำนอง “แอนตี้ระบบ” (หรือที่คนที่นี่ชอบเรียกกันว่า Antisystème) ขึ้นอย่างกว้างขวาง จนทำให้ รอบสองครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พรรคหลักสองพรรค (พรรครีพับบลิกัน กับพรรคสังคมนิยม) ไม่ผ่านเข้ามารอบสองเลย และแม้แต่มาครงก็นำเสนอตัวเองว่า เป็นพวก “นอกระบบ” แต่นักวิชาการฝ่ายซ้ายเสนอว่าเขาจะเป็นเหมือนๆพรรคหลักที่ผ่านมา แล้วก็ล้มเหลวอีก แผ้วทางให้พรรคขวาจัดของเลอเปนชนะในอีก 5 ปีข้างหน้า
ก็ต้องรอดูกันต่อไป ผมเองไม่รู้สึกว่าตัวเองรู้รายละเอียดมากพอจะแสดงความเห็นได้ นี่เพียงแต่เล่าให้ฟัง (และ 5 ปีก็เป็นเวลาที่ยาวนานมากทางการเมือง)
สิ่งหนึ่งที่ไม่มีข้อสงสัยคือเรื่อง “มู้ด” ในลักษณะ “ต่อต้านระบบ” ดังกล่าว เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ที่ฝรั่งเศส แต่ในประเทศหลักของตะวันตกส่วนใหญ่ แต่ก็เหมือนกรณีฝรั่งเศสนี้ ดูเหมือนว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึกว่า เมื่อไม่ชอบ “ระบบ” ที่เป็นอยู่แล้ว จะหันไปเลือกคนที่มีลักษณะ “แอนตี้ระบบ” อย่างเต็มที่ กรณีฝรั่งเศส ผู้สมัครที่ออกมาในลักษณะ "แอนตี้ระบบ" นอกจากเลอเปนเองที่แพ้ในคืนนี้ ก็คือ เมลงชง ก็หลุดในรอบแรกไป แม้ว่าจะมาแรงมากในสัปดาห์หลังๆก่อนการเลือกรอบแรก บางคนอาจจะบอกว่า ในอเมริกา “มู้ด” ดังกล่าว “ชนะ” ด้วยการที่ทรัมพ์ได้เป็นประธานาธิบดี ซึ่งจริงในแง่ที่ทรัมพ์ชนะ แต่ต้องไม่ลืมว่า เอาเข้าจริง ประชาชนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกเขา คือประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ถึงกับพร้อมจะเอียงไปทางนั้นขนาดนั้น แต่ระบบเลือกตั้งอเมริกัน ทำให้ทรัมพ์ชนะเข้ามาได้
สมศักดิ์ เจียม @somsakjeam
นี่คือผลเอ๊กซิสโพลล์ หลังจากปิดหีบเลือกตั้งเมื่อไม่กี่นาทีก่อน (สองทุ่มฝรั่งเศส ตีหนึ่งไทย) ความจริงในเมืองส่วนใหญ่ของฝรั่งเศส ปิดหีบเลือกตั้งตั้งแต่ชั่วโมงที่แล้ว (หนึ่งทุ่มฝรั่งเศส เที่ยงคืนไทย) แต่เมืองใหญ่ๆ เช่นปารีส ปิดช้ากว่าหนึ่งชั่วโมง
เป็นไปตามคาดว่า มาครงจะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป
แต่อาจจะไม่เป็นไปตามคาดเล็กน้อย (ถ้าผลนับคะแนนออกมาตามเอ๊กซิสโพลล์นี้) คือ เดิมคิดว่ามาครงจะได้ประมาณ 60% เลอเปน 40%
การที่เลอเปนได้คะแนนถึงใกล้ 35% นี้ก็จัดว่าสำคัญไม่น้อย เพราะครั้งสุดท้ายที่พรรคขวาจัดของเธอ (พรรค FN) หลุดเข้ามารอบสอง พ่อของเธอซึ่งเป็นตัวแทนพรรคในขณะนั้น ได้คะแนนเพียง 20% (ชีรัค ผู้สมัครคู่แข่งซึ่งได้เป็นประธานาธิบดี ได้ถึง 80% เพราะใครต่อใครพร้อมใจกันไปโหวตให้เพื่อแสดงการแอนตี้พรรค FN)
นักวิชาการฝ่ายซ้ายบางคนจึงเสนอว่า มาครงชนะคราวนี้ เลอเปนจะชนะในปี 2022 เพราะเชื่อว่า มาครงพอได้เป็นประธานาธิบดีจะล้มเหลว เพราะจะ more of the same คือจะเป็นเหมือนเดิมที่ผ่านมา ไม่ว่าจะในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจในประเทศหรือนโยบายเกี่ยวกับอียู ซึ่งประสบความล้มเหลว จนคนฝรั่งเศสเกิดความเบื่อหน่าย และเกิด “มู้ด” ทำนอง “แอนตี้ระบบ” (หรือที่คนที่นี่ชอบเรียกกันว่า Antisystème) ขึ้นอย่างกว้างขวาง จนทำให้ รอบสองครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พรรคหลักสองพรรค (พรรครีพับบลิกัน กับพรรคสังคมนิยม) ไม่ผ่านเข้ามารอบสองเลย และแม้แต่มาครงก็นำเสนอตัวเองว่า เป็นพวก “นอกระบบ” แต่นักวิชาการฝ่ายซ้ายเสนอว่าเขาจะเป็นเหมือนๆพรรคหลักที่ผ่านมา แล้วก็ล้มเหลวอีก แผ้วทางให้พรรคขวาจัดของเลอเปนชนะในอีก 5 ปีข้างหน้า
ก็ต้องรอดูกันต่อไป ผมเองไม่รู้สึกว่าตัวเองรู้รายละเอียดมากพอจะแสดงความเห็นได้ นี่เพียงแต่เล่าให้ฟัง (และ 5 ปีก็เป็นเวลาที่ยาวนานมากทางการเมือง)
สิ่งหนึ่งที่ไม่มีข้อสงสัยคือเรื่อง “มู้ด” ในลักษณะ “ต่อต้านระบบ” ดังกล่าว เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ที่ฝรั่งเศส แต่ในประเทศหลักของตะวันตกส่วนใหญ่ แต่ก็เหมือนกรณีฝรั่งเศสนี้ ดูเหมือนว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึกว่า เมื่อไม่ชอบ “ระบบ” ที่เป็นอยู่แล้ว จะหันไปเลือกคนที่มีลักษณะ “แอนตี้ระบบ” อย่างเต็มที่ กรณีฝรั่งเศส ผู้สมัครที่ออกมาในลักษณะ "แอนตี้ระบบ" นอกจากเลอเปนเองที่แพ้ในคืนนี้ ก็คือ เมลงชง ก็หลุดในรอบแรกไป แม้ว่าจะมาแรงมากในสัปดาห์หลังๆก่อนการเลือกรอบแรก บางคนอาจจะบอกว่า ในอเมริกา “มู้ด” ดังกล่าว “ชนะ” ด้วยการที่ทรัมพ์ได้เป็นประธานาธิบดี ซึ่งจริงในแง่ที่ทรัมพ์ชนะ แต่ต้องไม่ลืมว่า เอาเข้าจริง ประชาชนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกเขา คือประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ถึงกับพร้อมจะเอียงไปทางนั้นขนาดนั้น แต่ระบบเลือกตั้งอเมริกัน ทำให้ทรัมพ์ชนะเข้ามาได้
สมศักดิ์ เจียม @somsakjeam
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar