tisdag 17 mars 2020

บทสัมภาษณ์ขนาดยาวกับ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่เริ่มต้นออกตัวเลยว่า ทั้งฝั่งที่ต้องการให้ยุบและฝั่งที่ไม่ต้องการให้ยุบพรรคอนาคตใหม่อาจไม่พอใจ

เจาะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ การเชื่อมมาตรา 66 และมาตรา 72 ไม่สามารถทำได้ และจะก่อให้เกิดปัญหาต่อกระบวนการยุติธรรมตามมาจากการดำเนินคดีอาญาต่อของ กกต. ขณะที่การกู้เงินของพรรคอนาคตใหม่ถือว่าผิดปกติ เข้าข่ายเป็นการให้ประโยชน์ได้
  • ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยกรณีกู้เงินตามมาตรา 66 เพราะเป็นเขตอำนาจของศาลอาญา
  • ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2562 มีการเชื่อมโยงมาตรา 66 เข้ากับมาตรา 77 เพื่อนำไปสู่การยุบพรรค โดยที่ก่อนหน้านั้นไม่มีประเด็นมาตรา 77 มาก่อนเลย อีกทั้งในทางกฎหมายไม่สามารถเชื่อม 2 มาตรานี้เข้าด้วยกันได้
  • การเชื่อมมาตรา 66 กับมาตรา 77 ทำให้มาตรา 66 ไม่มีความหมาย ไม่ได้ดำรงอยู่โดยตัวมันเอง เพราะจะกลายเป็นเพียงสะพานเชื่อมไปสู่มาตรา 72 ทุกกรณี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางกฎหมาย อีกทั้งสองมาตรานี้กำหนดเขตอำนาจศาลไว้คนละศาล
  • ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายแบบขยายความเกินวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ทำให้ระบบที่แยกกัน เขตอำนาจศาลที่แยกกัน ปะปนกัน
  • พรรคการเมืองสามารถกู้เงินได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้าม หากจะห้ามการกู้เงินต้องระบุให้ชัดเจนในกฎหมาย
  • การกู้เงินไม่คิดดอก-ระยะยาวมาก มองได้ว่าเป็นการให้ประโยชน์
  • วรเจตน์เสนอให้ยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญและตั้งคณะกรรมการพิทักษ์รัฐธรรมนูญแทน โดยต้องจำกัดอำนาจบางส่วนลงไม่ให้มีอำนาจกว้างขวางเช่นที่เป็นอยู่
  • การยุบพรรคการเมืองเป็นสัญลักษณ์ของความถดถอยทางประชาธิปไตย
บทสัมภาษณ์ขนาดยาวกับ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่เริ่มต้นออกตัวเลยว่า ทั้งฝั่งที่ต้องการให้ยุบและฝั่งที่ไม่ต้องการให้ยุบพรรคอนาคตใหม่อาจไม่พอใจ
ชวนมาเจาะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ การเชื่อมมาตรา 66 และมาตรา 72 ไม่สามารถทำได้ และจะก่อให้เกิดปัญหาต่อกระบวนการยุติธรรมตามมาจากการดำเนินคดีอาญาต่อของ กกต. ขณะที่การกู้เงินของพรรคอนาคตใหม่ถือว่าผิดปกติ เข้าข่ายเป็นการให้ประโยชน์ได้
อ่านได้ที่: https://prachatai.com/journal/2020/0

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar