torsdag 14 februari 2013

การเมืองปี 2556 ไม่จบก็ใกล้จบ......ม้วน 1

สปท.วิเคราะห์การเมืองไทย ปี ๒๕๕๖ ธาตุแท้ของความขัดแย้งในสังคมไทยในเวลานี้ ....

การเมืองปี 2556 ไม่จบก็ใกล้จบ......ม้วน 1
โดย กลุ่มเสียงประชาชนไทย (สปท.)


                             คำถามที่คนไทยทั้งประเทศและคนทั้งโลกอยากจะรู้ว่าวิกฤตการเมืองไทย จะจบเมื่อไร?  และจะจบอย่างไร?  เราในฐานะกลุ่มการเมืองที่ติดตามสถานการณ์การเมืองมาโดยตลอดขอฟันธงว่า  วิกฤตจะจบในปีนี้  หรือไม่จบก็ใกล้จบเต็มทีแต่เป็นการจบในม้วนที่ 1  เพราะปัจจัยตัวบุคคลที่เป็นตัวหลักที่ก่อวิกฤตและปัจจัยสภาพแวดล้อมมีภาวะสุกงอมมาก โดยจะขอชี้เป็นประเด็นดังต่อไปนี้
ก่อนอื่น สปท. ขอนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ว่าถ้าคนไทยมีโอกาสได้พูดความเป็นจริงและมี เสรีภาพในการคิดก็จะมองเห็นสถานการณ์การเคลื่อนตัวได้โดยง่ายดังนั้นบท วิเคราะห์นี้จึงต้องกล่าวถึงปัจจัยตัวบุคคลและปัจจัยแห่งสถานการณ์อย่างตรง ไปตรงมาดังนี้....
1.     ปัญหาระบอบการเมืองที่เน่าเฟะของไทย  
    ระบอบการเมืองที่เป็นจริงคือระบอบราชาธิปไตยแบบใหม่ (Neo Absolut Monarchy ) ที่อำนาจทาง การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เป็นของราชสำนักโดยเฉพาะด้าน การเมืองและเศรษฐกิจ ฝ่ายเจ้าก็เร่งทำการรวบอำนาจทางการเมือง และทุนอย่างละโมบแต่ลืมนึกไปว่าตัวเองก็ใกล้จะสิ้นอายุไข และภายในครอบครัวของตัวเองก็เกิดความขัดแย้งอย่างหนักระหว่างลูกชายและลูก สาว ในการแย่งชิงราชสมบัติว่าใครจะขึ้นเป็นรัชการที่ 10 โดย มีเหล่าขุนนางทั้งสองฝ่ายสนับสนุน  ด้วยเหตุนี้กษัตริย์จึงเกิดความหวาดวิตกว่าราชวงศ์ของตนจะดับสิ้น  โดยเฉพาะในภาวะที่มีนายกฯที่ชื่อ ทักษิณ ที่มีความสามารถมีอำนาจทางการเมืองและได้รับความนิยมจากประชาชนทำให้ความขัด แย้งทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นพื้นฐานที่กษัตริย์เห็นการขยายตัวของกลุ่มทุน สมัยใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงตัดสินใจสั่งทำการรัฐประหารขึ้นเมื่อ 19 กันยา 2549 เพื่อตัดขาดอำนาจทักษิณ  แต่การกลับเกิดโกลาหลมากขึ้น นั่นคือวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่รัฐประหารนั้น เกิดเหตุการณ์การวางระเบิดพร้อมกันถึง 9 จุด จนถึงป่านนี้แล้วยังไม่สามารถจับใครได้สักคน ทั้งๆที่อยู่ในช่วงสถานการณ์ที่มีกฎอัยการศึกอยู่ในมือและอำนาจอยู่ในมือของกษัตริย์อย่างเบ็ดเสร็จ ที่ต้องกล่าวถึงสถานการณ์ข้างต้นนี้อีกครั้งนั้น แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งหลักที่เป็นตัวจุดประทุความวุ่นวายก็คือความขัดแย้งของราชสำนัก

2.     ปัญหารัฐธรรมนูญ  
    ที่วุ่นวายไม่อาจจะแก้ไขได้ก็เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 ร่างขึ้นตามคำบัญชาของกษัตริย์ภูมิพล ที่เตรียมการให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นเครื่องมือในการแต่งตั้งรัชการที่ 10 ให้ เป็นไปตามความประสงค์ของตนคือ สมเด็จพระเทพ โดยวางอำนาจไว้ที่ตัว พล.อ.เปรม และกลุ่มองคมนตรีเป็นผู้ดำเนินการและเอาอำนาจของระบบตุลาการซึ่งเป็นอำนาจ ตรงของกษัตริย์ภูมิพลทำการควบคุมและครอบงำรัฐสภาและรัฐบาลทั้งหมดอีกชั้น หนึ่ง  โดยการวางแผนของ พล.อ.เปรม ที่หวังจะใช้ นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์เป็นคนจัดการตามกลไกรัฐธรรมนูญ 50 แต่เกิดความผิดพลาดถึงขั้นฝันสลาย  คือประชาชนไม่ตอบรับกับพรรคประชาธิปัตย์แต่กลับตอบรับกับพรรคของทักษิณไม่ว่าจะอยู่ในชื่ออะไร  ความวุ่นวายทางการเมืองจึงเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปีแรกที่มีนายสมัคร เป็นนายกฯ จนถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ ในวันนี้    และสถานการณ์ยิ่งบานปลายเมื่อกษัตริย์และราชินี เกิดความเคียดแค้นในตัวทักษิณและแกนนำ นปช.และเสธ.แดงที่ถูกมองว่าเป็นทหารเอกของทักษิณ ว่า ไม่ยอมฟังคำสั่งตนที่ให้ยุติบทบาทจึงดำเนินการยึดทรัพย์และสั่งฆ่า จึงเกิดโศกนาฏกรรมกรณีสังหารประชาชนที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์  ซี่งเป็นที่มาของวาทะกรรม “ ไอ้เหี้ยสั่งฆ่าอีห่าสั่งยิง  ” หรือ “ คุณลุงสั่งฆ่าคุณป้าสั่งยิง ”

ข้อมูลข้างต้นนี้จึงเป็นพื้นฐานที่ทำให้เข้าใจได้ว่า ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นความยุ่งยาก???  และเข้าใจได้ว่าทำไมศาลรัฐธรรมนูญกับ ประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรจึงได้ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในการต้านรัฐธรรมนูญ?  และทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมจึงเกิดข้ออ้างอย่างไร้เหตุผลว่า “ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ”?   และทำให้เรารู้ว่าทำไมรัฐธรรมนูญจึงผ่านวาระ 3 ของรัฐภาไม่ได้? เพราะทั้งหมดนี้แกนนำพรรคการเมืองต่างก็รู้ตรงกันถึงความจริงข้างต้นว่าหากดันทุรังแก้วาระ3 ต่อไปก็จะเกิดการฟ้องร้องของพรรคประชาธิปัตย์และการรับฟ้องของศาลรัฐธรรมนูญ โดยง่าย และความวุ่นวายของม็อบสลิ่มซึ่งจะเป็นข้ออ้างที่องคมนตรีจะชงลูกไปให้ กษัตริย์เพื่อลงพระปรมาภิไธย  แล้วรัฐบาลก็จะล้มทับตีนตัวเอง  ข้อมูลเหล่านี้แกนนำพรรคจะรู้แต่ไม่อาจจะพูดโดยตรงให้ประชาชนทราบได้จึงเกิด ความปั่นป่วนและถูกประชาชนและนักวิชาการที่มองปัญหาไม่ออกและไม่กล้ามองถึง ศูนย์กลางของปัญหาคือตัว กษัตริย์ภูมิพล  เมื่อทราบข้อมูลเช่นนี้แล้วจึงมีหนทางเดียวในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือ การทำประชามติเพื่อทุกพรรคการเมืองมีข้ออ้างพ้นตัวไปว่าเป็นความประสงค์ของ ประชาชน
3.     ทำไมปรองดองไม่ได้ !!!  
    เราขอฟันธงว่าการปรองดองเกิดขึ้นไม่ได้เพราะ กษัตริย์ภูมิพล เป็นแกนกลางของปัญหาและตัวเขาเกิดมาไม่เคยเจรจาปรองดองกับใคร  ซึ่งปัญหานี้จำเป็นที่จะต้องนำบุคลิกส่วนตัวของบุคคลที่เป็นแกนกลางของปัญหา มาประกอบการวิเคราะห์  กล่าวคือโดยพื้นฐานอารมณ์และจิตใจของ กษัตริย์ภูมิพล เป็นคนอาฆาตแค้น และโหดร้าย ดังจะเห็นจากกรณีการสังหาร ร. การประหารชีวิตสามราชองครักษ์ผู้บริสุทธิ์ คือ นายชิต นายบุศย์ และนายเฉลียว  ซึ่งแม้เหตุการณ์ผ่านจากความตายของร.8 มาเกือบ 10 ปี  แต่ กษัตริย์ภูมิพล ก็ยืนยันที่จะให้ประหารชีวิตราชองครักษ์ทั้งสามผู้บริสุทธิ์  กรณีสังหารนักศึกษาและประชาชนที่โหดร้ายที่สุด คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 กษัตริย์ ก็เป็นผู้สั่งการณ์โดยตรงและยังแต่งตั้งมือทำงานในเหตุการณ์ 6 ตุลา  คือนายธานินทร์  กรัยวิเชียร  อดีตนายกฯ ผู้ทำการเป็นองคมนตรีจนถึงวันนี้ รวมถึงการไม่ยอมคืนฐานันดรให้แก่นางอุบลรัตน์   เจนเซ่น  ลูกสาวคนโตจนถึงวันนี้  แล้วทักษิณที่เขาจงเกลียดจงชัง  จะได้รับการให้อภัยได้อย่างไร ?

ด้วย เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นนี้เราจึงรู้ว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์ต้องกระโดดออก มาขวางทางไม่ให้ร่าง พรบ.ปรองดองผ่านสภาถึงขั้นก่อจลาจลในสภาซึ่งทำให้พรรค ปชป. เสียหายในสายตาประชาชน แต่ถูกใจราชสำนักเพราะประชาธิปัตย์วันนี้ต้องการผลประโยชน์เฉพาะหน้าจากการ โหนเจ้าและมีชนักติดหลัง จากการสั่งฆ่าประชาชนของนายอภิสิทธิ์-สุเทพ  ซึ่งคนที่จะปลดเชือกออกจากคอของอภิสิทธิ์-สุ เทพ ได้มีคนเดียวคือ กษัตริย์ภูมิพล  ที่ตกอยู่ในลำเรือเดียวกัน  ?  และทำให้เราได้รู้ว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์จึงกล้าประกาศขัดแย้งกับเหตุผล ความจริงว่า “ พรบ.ปรองดองเป็นกฎหมายล้มสถาบัน ”  ซึ่งเหตุผลทั้งหมด สรุปอยู่ที่กษัตริย์ภูมิพล ไม่ต้องการให้ทักษิณกลับประเทศไทย ซึ่งเป็นความไม่ชอบธรรมและสวนกระแสกับมติมหาชน รวมตลอดถึงที่ ปชป.และคณะ คอป.ออกมาประสานเสียงเรียกร้องให้ทักษิณเสียสละโดยเนรเทศตัวเองอย่ากลับ ประเทศไทยจึงเกิดขึ้นเพื่อเอาใจกษัตริย์  ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความปั่นป่วนของบ้านเมืองจนถึงทุกวันนี้...
4.     สถานการณ์ปี 2556 ไม่จบก็ใกล้จบ 
4.1   กษัตริย์ และราชินีซึ่งเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้ง  ความจริงที่ไม่อาจปกปิดได้คือ มีสุขภาพเสื่อมทรุดอย่างหนักใกล้จะเสียชีวิต แต่อาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์สืบต่ออายุเป็นวันต่อวันแต่แม้กระนั้นก็ไม่อาจ ขัดขวางความเป็นจริงของกฎอนิจจังได้โดยเฉพาะตัวราชินีที่เสื่อมทรุดอย่าง หนัก จากการเป็นอัมพฤกษ์จน ปากเบี้ยว ซึ่งอาการน่าเป็นห่วงกว่ากษัตริย์  ส่วนตัวกษัตริย์เองพยายามจะอำพรางภาพความเสื่อมทรุดว่ายังแข็งแรง  เช่นการออกงานมาพบประชาชนทั้งอย่างเป็นทางการ เช่น 5 ธันวา ที่ผ่านมาปรากฏว่าการอ่านหนังสือเพียงแค่ 3 นาที ก็ไม่อาจจะทำได้ราบลื่นหรือการออกพบประชาชนอย่างไม่เป็นทางการเช่นการออก ช้อปปิ้งก็ทำได้แค่ภายในโรงพยาบาลเพราะเกรงจะติดเชื้อ   และจากข่าวภายในเป็นผลจากภาวะโรคซึมเศร้าทำให้หมอต้องแก้ปัญหา โดยต้องเข็นรถออกมาให้เห็นโลกภายนอกเช่นช็อปปิ้งเป็นต้น
4.2 สถานการณ์รัฐประหารเกิดขึ้นได้โดยยากแต่ความพยายามยังไม่จบแต่หากเกิดขึ้นก็จะเกิดความรุนแรงมาก เพราะโครงสร้างอำนาจส่วนบนอันได้แก่ วัง และทหาร ไม่มีเอกภาพที่จะรวบอำนาจ อีกทั้งกษัตริย์ภูมิพลไม่อยู่ในสภาพที่จะลงนามรับรองการรัฐประหารได้อย่างเช่นในอดีต
4.3  การถ่ายอำนาจในระบอบราชาธิปไตยจาก ร. 9 สู่ ร. 10  ต้องเกิดขึ้นไม่โดยทางนิตินัยก็โดยทางพฤตินัย ซึ่งหากเกิดขึ้นตามกฎมนเฑียรบาลก็จำเป็นจะต้องลดกระแสความขัดแย้งเพื่อให้กษัตริย์ ร. 10 ขับเคลื่อนอำนาจต่อไปได้ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือต้องออกกฎหมายปรองดอง   โอกาสของการถ่ายอำนาจโดยอาศัยความรุนแรงจากฝ่าย พล.อ.เปรม ประชาธิปัตย์ และพันธมิตร  ยังมีความเป็นไปได้สูง ดังตัวอย่างที่เกิดม็อบแช่แข็งของเสธ.อ้าย  และความพยายามก่อความวุ่นวายเพื่อล้มรัฐบาล  โดยมีเป้าหมายของการล้มคดีสั่งฆ่าประชาชนของ อภิสิทธิ์-สุเทพ และแกนพันธมิตร 
4.4   การ ปรากฏตัวของ พล.อ.เปรม และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง แดงกับเหลือง  ด้วยการเสนอว่า “ความเห็นแตกต่างกันไม่ใช่ความผิด”  เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงภาวการณ์หมดกำลังที่จะทำลายฝ่ายเสื้อแดง  จึงเสนอแนวคิดหลักการอยู่ร่วมกันด้วยลมปาก   แต่กลับไม่เสนอข้อยุติต่อการออกกฎหมายปรองดองที่จะทำให้เกิดการปลดปล่อยนัก โทษการเมืองหรือการดำเนินคดีอย่างเท่าเทียมกันของแกนนำเสื้อเหลืองที่ยึด สนามบิน ยึดทำเนียบแต่ยังไม่ถูดำเนินคดี     แต่ฝ่ายแกนนำเสื้อแดงกลับถูกถอนประกันจับตัวเข้าคุก เช่น ส.ส.ก่อแก้ว  และจะตามมาด้วย จตุพร และจะตามมาอีกคือศาลจะพิพากษาคดีบุกบ้านป๋าเปรมในเร็วๆนี้
เมื่อได้ข้อสรุปความเป็นจริงแห่งเนื้อแท้ของการเมืองไทยดังที่กล่าวมาข้าง ต้นนี้ก็เห็นชัดเจนว่าการปรองดองเพื่อยุติปัญหาวิกฤตการเมืองไทยที่ ยาวนานกว่า 6 ปี เป็นไปได้โดยยากแต่ก็อยู่ในเวลาที่ศูนย์อำนาจคือ ร.9 และ ราชินี  อยู่ในภาวการณ์เสื่อมทรุดทางสุขภาพอย่างรุนแรงและอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้อง เปลี่ยนผ่านรัชการอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงในปีนี้จึงเกิดภาวการณ์สุกงอมที่ สังคมไทยจะต้องปรับตัวใหม่แต่การปรับตัวจะเกิดทันกับวิกฤตความรุนแรงที่จะ ชิงเกิดขึ้นก่อนหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด  แต่ สปท. ขอวิเคราะห์ว่าแนวโน้มความรุนแรงมีโอกาสเกิดได้สูง  แต่หากเกิดขึ้นก็จะนำไปสู่การจบสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างรวดเร็วเพียงแต่จะเป็นการจบม้วนที่ และจะมีม้วนที่ 2 ที่จะรุนแรงกว่านี้ถึงขั้นเปลี่ยนระบอบอย่างแน่นอน........ โปรดติดตามตอนต่อไป ...


สปท. 31 12 12

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar