lördag 9 februari 2013

คำโต้แย้งของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีสกุล ต่อกระทรวงการต่างประเทศเรื่องคุณ สมยศ พฤกษาเกษมสุข รวมทั้งของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ( UN Human Rights Committee ) ขอถามอธิบดีศาลอาญาหน่อยว่า คุณเป็นคนหรือควาย ถ้าเป็นคนทำไมไม่รู้จักคำว่า " สิทธิมนุษยชน " ?

ทั้งนี้  สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ให้ความเห็นเรื่องนี้ไว้ว่า

อ่านแถลงการณ์แก้ตัว ของกระทรวงการต่างประเทศ เรืองคุณสมยศ แล้วบอกตรงๆว่า ทุเรศ มากๆครับ

แล้วอยางนี้ จะถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลได้ไหม ในเมื่ออกในนามกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล?

ก่อนอืน นะทีแถลงการณ์บอกว่า กฎหมายหมิ่น มีไว้ลงโทษ คนที่ "spreading false information to incite hatred toward the monarchy" นั้น ผิดข้อเท็จจริงด้วย กฎหมายหมิ่นของไทย ไม่ได้เกียวกับเรือง ว่า information น้ัน false หรือ true เลย คือ ไม่อนุญาตให้มีการพิสูจน์ว่า ข้อมูลหรือสิ่งทีเผยแพร่ จริงหรือไม่จริง เอาความจริง มาโต้แย้ง ไม่ได้

ต่อ มา ในย่อหน้า 3 และ 4 ที่พยายามอ้างวา คดียังไม่สิ้นสุด สมยศ มีสิทธิ์อุทธรณ์ และทีผ่านมา สมยศได้รับ fair trial คือดำเนินคดีแบบยุติธรรม โดยเฉพาะทีแถลงการณ์พยายามแก้ตัวเรืองการไมให้ประกันสมยศ

นับว่า ทุเรศ และเลวมากครับ (ไมใช่เรือง ห้ามประกันถึง 10 กวาครั้งเท่านั้น เรืองพาคุณสมยศ ไปตะลอนๆ ทำไมไม่กล้าเอ่ย?)



* หมายเหตุ :



ARTICLE 19 เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ทำการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนนานาชาติ โดยเฉพาะในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพในการสื่อสาร โดยเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ศกนี้ องค์กรได้ประณามการตัดสินจำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เรียกร้องให้ยกเลิกคำตัดสิน และปล่อยตัวนายสมยศทันที


ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ องค์กรได้มีหนังสือถึงศาลอาญาไทยในกรุงเทพฯ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ด้วยเหตุผลว่า กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย "โดยเฉพาะที่ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญ และในมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก...ในฐานะที่มันตั้งอยู่บนความไม่จำเป็น และไม่สมดุล เพราะมุ่งเพื่อเป็นมาตรการคุ้มครองภาพลักษณ์ของสมาชิกราชวงศ์ของไทย...ถือเป็นกรณีการคุกคามอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น"

ARTICLE 19 อ้างอิงถึงคำวินิจฉัยต่างๆ ในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทยดังนี้

"ในการสนับสนุนในความคิดเห็นนี้ ARTICLE 19 ได้อาศัยหลักการแห่งกระบวนการตัดสินคดีและถ้อยแถลงของหน่วยงานและศาลต่างๆ ทั้งในระดับนานาชาติและในระดับภูมิภาค - รวมทั้งของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ (UN Human Rights Committee) และจากผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออก และการแสดงความเห็น (UN Special Rapporteur on Freedom of Opinion and Expression) ที่เจาะจงลงไปในคดีเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพ รวมทั้งการจำกัดสิทธิบางด้านของเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อปกป้องชื่อเสียงของ บุคคลสาธารณะ/เจ้าหน้าที่รัฐและในความเกี่ยวโยงถึงการการพูดเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ

ประเด็นที่  ARTICLE 19 มี ความห่วงใยเป็นพิเศษต่อคดีของคดีของนายสมยศคือ คดีของเขาเป็นเพียงหนึ่งในจำนวนหลายคดีที่เกี่ยวกับการการหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพที่อยู่ในศาลประเทศไทย[1]องค์กรนานา ชาติ องค์กรภาคีความร่วมมือระหว่างรัฐบาล และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆที่ทำงานด้านเสรีภาพในการแสดงออกได้แสดงความห่วงใย ต่อการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นอย่างมากของคดีที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพในช่วงเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา[2] 
 
องค์กรเหล่านี้ได้ตั้งข้อเกตุหลายครั้งว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทยไม่กำหนดข้อยกเว้น (แม้จะมีการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง เป็นต้น) มีการใช้ภาษาทางกฎหมายที่คลุมเครือ (อาทิคำจำกัดความคำว่า การดูหมิ่น”) และขาดซึ่งแนวปฏิบัติในการจับกุมและดำเนินคดี มันถูกใช้เพื่อการดำเนินคดีกับคนหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นไม่ใช่เฉพาะต่อผู้ที่ระบุถึงในมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงสมาชิกของราชวงศ์สถาบันพระมหากษัตริย์และเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกด้วย

โทษที่ระบุถึงในกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นรุนแรงมาก (จำคุกตั้งแต่ 3 ถึง 15 ปี) และมีอัตราโทษสูงกว่ากฎหมายหมิ่นประมาทโดยทั่วไป กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ยังอ่อนไหวต่อการถูกนำไปใช้เพื่อกลั่นแกล้งกันทางการเมือง และส่งผลต่อการสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดหวั่นในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น




[1]ดูจดหมาย  Dr Agnès Callamard, ผู้อำนวยการ ARTICLE 19 Executive Director ที่เขียนถึงศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ในกรณีของนายสมยศเม่อ 18 พฤศจิกายน  2554
[2]ข้อเสนอแนะของ ARTICLE 19  ต่อการทบทวนด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยของสหประชาชชาติ, Twelfth Session of the Working Group of the Human Rights Council, ตุลาคม  2554"
 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar