tisdag 31 mars 2015

"คสช." คืนความสุข.สิบเดือน..ทำให้ประชาชนไทยสำลักความสุข.."ป่วยทางจิต" กว่า ๑๐ ล้านคน...

”สงสัย #ท่านผู้นำ คงจะคืนความสุขให้คนไทยมากเกินไป
แต่ก็ไม่ใช่ปัญหา 
ถึง #ป่วยทางจิต ก็สามารถเป็น #คนดี ได้นะ

/ ปลาสอด”
สงสัย ‪#‎ท่านผู้นำ‬ คงจะคืนความสุขให้คนไทยมากเกินไป
แต่ก็ไม่ใช่ปัญหา ถึง ‪#‎ป่วยทางจิต‬ ก็สามารถเป็น ‪#‎คนดี‬ ได้นะ


”บริหารประเทศง่ายจะตาย...

แค่...สายการบินของชาติ ยังไม่ได้มาตรฐานสากลเลยคะ
กรั๊กๆๆๆๆๆๆๆๆ

ขายขี้หน้าไหมคะ

จีน เกาหลี ญี่ปุ่น 
ออกมาห้ามสายการบินเช่าเหมาลำเข้าประเทศ 

http://travel.kapook.com/view115792.
htmlhttp://travel.kapook.com/view115649.html

/กู่เจิ้ง”


”เศรษฐกิจปีนี้ ดีจริงๆคะ 

แหม๋!! ประชาชนคนไทยผู้ใช้แรงงานได้พักร้อน
ตั้งกว่า 400,000 คน!!

นี่ถ้าไม่ได้ รัฐบาลทหาร ทำแบบนี้ไม่ได้เลยนะคะเนี่ย
กรั๊กๆ

http://www.ispacethailand.com/เศรษฐกิจ/5453.html

/กู่เจิ้ง”


”"ประเทศไทยมีประชาธิปไตย 99.99%"
#ท่านผู้นำ ประยุทธ์ ได้กล่าวไว้
แต่เมื่อมีคนแจกใบปลิวสนับสนุนประชาธิปไตย กลับถูกจับ

ถุยยยยยย !!!!!!!!!!!

/ ปลาสอด”

คลิกดูเพิ่มVisa översättning




”"นายกฯ"ควงผู้ว่าฯกทม. ล่องเรือตรวจเยี่ยมเส้นทางเตรียมเปิดเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำ ท่ามกลางรปภ.เข้ม
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427804806”
(คนพวกนี้ก็ป่วยทางจิต  "คลั่งอำนาจ" )

"นายกฯ"ควงผู้ว่าฯกทม. ล่องเรือตรวจเยี่ยมเส้นทางเตรียมเปิดเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำ ท่ามกลางรปภ.เข้ม
คลิกอ่าน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427804806
"สองคนนี้ก็ป่วยทางจิต  พูดโกหกตอแหลตามใบสั่งได้ทุกวัน"




คลิกดูเพิ่มVisa översättning




ขุนเขาบอก : สัมปรายภพคงพบสุข...หากปลดทุกข์ประชาหาย จ้องประจันอันตราย...เจ้าอย่าหมายจักหยัดยืน คืนเสรีเสียทีเถิด...ยิ้มหัวเถิดจักเกิดผล โอ้เบื้องฟ้านภาดล...คืนค่าคนให้คนคืน......เหยียบย่ำกันอยู่ทำไม...คืนเป็นไทให้ไทคง......




ขุนเขาบอก :

เหยียบย่ำกันอยู่ทำไม...คืนเป็นไทให้ไทคง......

แส้อำมาตย์เมื่อฟาดเปรี้ยง...แตกเป็นเสี่ยงความเป็นไท
ผ่านกี่ยุคกี่สมัย...ความเป็นไทต้องรอนราญ
เปรียบหลังไพร่เป็นผืนนา...เหยียบหลังบ่าหาอาหาร
เป็นเยี่ยงนี้กี่กัปกาล...เป็นเครื่องทานเทวดา

บ่าให้นั่งหลังให้เหยียบ...เป็นทำเนียบสู่สวรรค์
ศิโรราบชั่วกัปกัลป์...ไม่มีวันได้สบตา
คุกเข่าราบหมอบกราบแล้ว...ยังไม่แคล้วถูกกล่าวหา
ยอมให้หลังเป็นผืนนา...ยอมให้บ่าเป็นพาไล

กระไรเลยมิเคยซึ้ง...กลับบึ้งตึงไม่ยิ้มหัว
กลับเร้นร่างอำพรางตัว...ปล่อยคนชั่วเข่นฆ่าไท
ไม่ยุยงแต่ส่งเสริม...สร้างเหิมเกริมฤาไฉน
ยอมให้ไทเข่นฆ่าไท...ทนดูได้ไม่สะเทือน

เช่นนี้แล้วไม่แคล้วไท...ศิวิไลซ์อย่าได้หมาย
สงบสุขมิกล้ำกราย...ดั่งมารร้ายมากรายเรือน
เสียงวิหกเสียงนกแสก...กลิ่นธุปแทรกให้หื่นเหียน
กลิ่นความตายมากรายเยือน...ล่วงวันเดือนเหมือนร้อยปี

ขอปลดบ่วงสรวงสวรรค์...ขอคืนวันสู่ฝันสวย
ความเป็นไทใส่พานโปรย...คืนโลกสวยสู่เสรี
เพียงแค่นี้สุขีแล้ว...ขอคลาดแคล้วจากมือผี
ปลดผืนนาหลังข้าที...หยุดเสียทีเหยียบบ่ายืน

สัมปรายภพคงพบสุข...หากปลดทุกข์ประชาหาย
จ้องประจันอันตราย...เจ้าอย่าหมายจักหยัดยืน
คืนเสรีเสียทีเถิด...ยิ้มหัวเถิดจักเกิดผลโอ้เบื้องฟ้านภาดล...คืนค่าคนให้คนคืน......เหยียบย่ำกันอยู่ทำไม...คืนเป็นไทให้ไทคง......


....................................
โดย แสงตะวัน
ไม่มีเทวดาบนชั้นฟ้า  มีแต่พวกเทวดากาฝากที่ทำนาบนหลังคน พี่น้องชาวไทยทั้งประเทศต้องทนทรมานทำงานเสียภาษีเลี้ยงดูครอบของกษัตริย์ที่เป็นชนชั้นศักดินามาแล้วหลายชั่วโคตร   มนุษย์พวกนี้คือพวกทำนาบนหลังคนซุปมือเปิบไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่ประเทศชาติ   ไม่ได้ทำการผลิตอะไรให้แก่สังคม   แต่เป็นพวกอภิสิทธิ์ชนที่ปกครองคนในสังคมด้วยระบบเผด็จการที่ล้าหลังและชั่วร้าย  โหดเหี้ยมอำมหิตที่สุด  คอยสูบกินเลือดเนื้อของประชาชนและทรัพยากรของประเทศชาติ กอบโกยเอาผลประโยชน์ ทุกอย่างในสังคมไปเป็นของตัวเองและครอบครัวอย่างไม่มีความพอเพียง   ไม่รู้จักละอายแก่ใจ   ทำตัวเป็นพวกเทวดาอยู่เหนือกฎหมายที่ใครจะแตะต้องไม่ได้...   มีกฎหมาย ม. ๑๑๒ คุ้มครองตนเองและครอบครัว   ใช้กดหัวประชาชนไทยไม่ให้พูดความจริง  วิจารณ์กษัตริย์และครอบครัวไม่ได้  นอกนั้นยังเขียน ม.๑๑๒ ให้อำนาจคุ้มครองครอบคลุมไปถึงพลเอกเปรม ประธานองคมนตรีด้วย... และได้ขัดขวางไม่ให้ประเทศชาติมีประชาธิปไตย ไม่ให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพ  สั่งฆ่าประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย  เรียกร้องสิทธิเสรีภาพความเป็นธรรมในสังคมอย่างป่าเถื่อนมาเป็นระยะๆ อย่างไม่จบสิ้นจนถึงทุกวันนี้  เพียงเพื่อให้ตนเองและครอบครัวได้เถลิงอำนาจสืบต่อไป  ถึงแม้ว่าตนเองแก่ชราภาพป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้   พูดไม่เป็นภาษาความจำเสื่อม  สมองไม่ทำงาน  พิการ ต้องนั่งบนรถเข็น  แต่ก็ไม่ยอมลงจากอำนาจ   ออกมาบัญชาการให้พวกสมุนรับใช้กลุ่มต่างๆออกมาก่อกวนป่วนบ้านป่วนเมืองขัดขวางไม่ให้   รัฐสภาและรัฐบาล ที่ประชาชนเลือกมาทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองได้ตามปรกติอยู่ในเวลานี้   จึงไม่ใช่เทวดา หากแต่เป็นหัวหน้าผู้ก่อการร้ายของแผ่นดิน ...ที่คอยล้มล้างรัฐบาลและล้มล้างรัฐสภา เพื่อจะได้มีรัฐบาลของตัวเองที่ตัวเองแต่งตั้งขึ้นมาสำหรับการเปลี่ยนผ่านรัชกาล   โดยจะให้ลูกสาวขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๑๐ ... เพราะเป็นห่วงว่าราชวงค์ของตัวเองจะสิ้นสุด    นี่คือความเห็นแก่ตัวของเทวดากำมะลอ 
ฉนั้นประชาชนทั้งประเทศจงลุกขึ้นมาปลดปล่อยตัวเองออกจากอุ้งมือของจอมโจรเผด็จการอำมหิตนี้เสียเพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย.

องค์กรสิทธิ์ระบุ ม.44 ทำให้ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่ากฎอัยการศึก


'องค์กรสิทธิ์ระบุ ม.44 ทำให้ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่ากฎอัยการศึก 

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลเรื่องการนำมาตรา  44  มาบังคับใช้แทน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก  ระบุขัดทั้งหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน  ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ ด้านนายกรัฐมนตรียืนยันจะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์

แถลงการณ์ขององค์กรสิทธิมนุษยชนระบุว่า การเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึก  เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้เกิดการละเมิด เนื่องจาก พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารอย่างกว้างขวางในการค้น การยึด การเกณฑ์ การห้าม การควบคุมตัวบุคคลได้ไม่เกิน 7 วัน  และทำให้การพิจารณาคดีในศาลทหารไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา

อย่างไรก็ดี หากมีการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกโดยนำมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มาบังคับใช้  ก็ไม่อาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่จะยิ่งทำให้ประชาชนขาดหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติเหนือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ โดยให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว นั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่าการกระทำหรือคำสั่ง รวมถึงการปฏิบัติการตามคำสั่งดังกล่าวนั้นไม่อาจถูกตรวจสอบโดยองค์กรใดได้เลยแม้กระทั่งองค์กรตุลาการ อาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากเกิดความเสียหายขึ้นจากการกระทำดังกล่าวประชาชนก็ไม่อาจได้รับการเยียวยา และไม่นำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด  

องค์กรสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงศูนย์ข้อมูลชุมชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ทบทวนการบังคับใช้มาตราดังกล่าว เนื่องจากขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และขัดต่อพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน  ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ และส่งผลประชาชนขาดหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรงยิ่งไปกว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก และไม่อาจบรรลุเจตนารมณ์ตามที่ประชาคมโลกเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้ 

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวที่ทำเนียบรัฐบาลวันนี้ว่า จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 อย่างสร้างสรรค์ และจะใช้อำนาจเพื่อจัดการกับปัญหาด้านความมั่นคง โดยจะมีการออกประกาศคำสั่ง คสช.ฉบับใหม่ ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง การอนุญาตให้ใช้กำลังทหารในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยงานราชการต่าง ๆ ขณะที่ตำรวจจะยังคงใช้กฎหมายปกติ แต่จะเพิ่มอำนาจในการตรวจค้นจับกุมร่วมกัน และร่วมกันสอบสวนได้ในบางกรณี โดยศาลทหารจะเป็นผู้ดำเนินคดีด้านความมั่นคง และจะเป็นกระบวนการที่มี 3 ศาล ไม่ใช่ศาลเดียว  

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับต่างประเทศอีกครั้ง และต้องอาศัยสื่อช่วยอธิบาย'
คลิกดูเพิ่ม บีบีซีไทย - BBC Thai


องค์กรสิทธิ์ระบุ ม.44 ทำให้ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่ากฎอัยการศึก
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลเรื่องการนำมาตรา 44 มาบังคับใช้แทน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ระบุขัดทั้งหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ ด้านนายกรัฐมนตรียืนยันจะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์
แถลงการณ์ขององค์กรสิทธิมนุษยชนระบุว่า การเรียกร้องให้ยกเลิกปร...ะกาศใช้กฎอัยการศึก เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้เกิดการละเมิด เนื่องจาก พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารอย่างกว้างขวางในการค้น การยึด การเกณฑ์ การห้าม การควบคุมตัวบุคคลได้ไม่เกิน 7 วัน และทำให้การพิจารณาคดีในศาลทหารไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา
อย่างไรก็ดี หากมีการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกโดยนำมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มาบังคับใช้ ก็ไม่อาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่จะยิ่งทำให้ประชาชนขาดหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติเหนือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ โดยให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว นั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่าการกระทำหรือคำสั่ง รวมถึงการปฏิบัติการตามคำสั่งดังกล่าวนั้นไม่อาจถูกตรวจสอบโดยองค์กรใดได้เลยแม้กระทั่งองค์กรตุลาการ อาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากเกิดความเสียหายขึ้นจากการกระทำดังกล่าวประชาชนก็ไม่อาจได้รับการเยียวยา และไม่นำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด
องค์กรสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงศูนย์ข้อมูลชุมชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ทบทวนการบังคับใช้มาตราดังกล่าว เนื่องจากขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และขัดต่อพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ และส่งผลประชาชนขาดหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรงยิ่งไปกว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก และไม่อาจบรรลุเจตนารมณ์ตามที่ประชาคมโลกเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวที่ทำเนียบรัฐบาลวันนี้ว่า จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 อย่างสร้างสรรค์ และจะใช้อำนาจเพื่อจัดการกับปัญหาด้านความมั่นคง โดยจะมีการออกประกาศคำสั่ง คสช.ฉบับใหม่ ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง การอนุญาตให้ใช้กำลังทหารในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยงานราชการต่าง ๆ ขณะที่ตำรวจจะยังคงใช้กฎหมายปกติ แต่จะเพิ่มอำนาจในการตรวจค้นจับกุมร่วมกัน และร่วมกันสอบสวนได้ในบางกรณี โดยศาลทหารจะเป็นผู้ดำเนินคดีด้านความมั่นคง และจะเป็นกระบวนการที่มี 3 ศาล ไม่ใช่ศาลเดียว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับต่างประเทศอีกครั้ง และต้องอาศัยสื่อช่วยอธิบาย



เหมือนเด็กทำแก้วแตก พอโดนพ่อแม่ดุ ก็ชี้ไปที่น้องตัวเล็กว่า "มันนั่นแหละที่ทำแก้วแตก ผมเปล่าทำ"




ช่วงหกเดือนแรกหลังรัฐประหาร เวลามีคนบ่นเรื่องเศรษฐกิจเลวร้าย สลิ่มจะแก้ตัวแทนรัฐบาลว่า "มันแย่มาตั้งแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะจำนำข้าว รถคันแรก บ้านหลังแรก หนี้ครัวเรือนเยอะ ฯลฯ" โทษว่า ศก.แย่เพราะยิ่งลักษณ์ ไม่ใช่เพราะรัฐประหาร

แต่ช่วงสองเดือนหลังนี้ คนที่อ้างแบบนี้นอกจากสลิ่มแล้ว ก็เริ่มมีคนในรัฐบาลเอาไปอ้างมั่ง คือโยนกลองว่า ศก.มันแย่มาตั้งแต่ก่อนรัฐประหารแล้ว ไม่ใช่เป็นเพราะรัฐประหาร ประยุทธ์ก็พูดทำนองนี้ แถมยังอ้างเป็นเครดิตอีกว่า ถ้าไม่มีรัฐบาลนี้ละก้อ ศก.มันจะแย่ยิ่งกว่านี้อีกนะ!

เอาละ สมมติให้เป็นจริงอย่างที่สลิ่มอ้างคือ ในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ครัวเรือนใช้จ่ายเกินตัว สร้างหนี้เยอะ วันนี้เลยไม่มีแรงใช้จ่าย ทำให้ศก.ซบเซา ต่อให้ยอมตามข้อแก้ตัวนี้ สลิ่มก็ไม่มีทางปฏิเสธว่า รัฐบาลนี้และทีมศก. "ไม่มีฝีมือ" "มือไม่ถึง" "ทำไม่เป็น" แก้ปัญหาศก.ไม่ได้ เพราะเวลาเกือบหนึ่งปีแล้ว มันนานพอที่จะเห็นผลงานการแก้ไขศก.ได้บ้าง แต่ไม่มีวี่แววเลย และยังเลวร้ายลงไปอีกจนกลายเป็น "เงินฝืด" ไปแล้ว เพราะความจริงคือ ทำไม่ได้ แถมยังช่วยซ้ำเติมด้วยการขึ้นภาษีโน่นนี่อีก

การที่ช่วงหลัง ๆ แม้แต่คนในรัฐบาลก็เริ่มอ้างแบบนี้ โยนไปที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เท่ากับยอมรับกลาย ๆ ว่า "เออ ศก.แย่จริง แล้วไงเหรอ?" "หมดมุกแล้ว" "กูทำไม่ได้" คือ เลิกพูดว่า จะแก้ปัญหาศก.อย่างไร เหลืออยู่อย่างเดียวคือ นั่งเฉย ๆ แล้วชี้นิ้วไปทางอื่นว่า "ผมไม่ได้ทำให้ศก.แย่นะ คนโน้นต่างหากที่ทำ"

เหมือนเด็กทำแก้วแตก พอโดนพ่อแม่ดุ ก็ชี้ไปที่น้องตัวเล็กว่า "มันนั่นแหละที่ทำแก้วแตก ผมเปล่าทำ"

ที่มา FB
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

พวกขี้ข้าของปืศาจตาเดียวที่กำลังทำให้ชาติล่มสลาย





ยังพูดจา..หมาไม่แดก..แขกไม่รับ
ยังสำทับ..ยังจับผิด..ติดจองหอง
ยังข่มขู่..ตรูละหน่าย..นายยกปลอม

ไม่ปรานอม..ไม่ปรานี..ไอ้ขี้งอน



หน้าไม่หล่อ..พ่อเสือกรวย..ช่วยไม่ได้
ขี้ข้าไพร่..ไม่ต้องถาม..ห้ามเห่าหอน
ที่ของกู..เงินของกู..กูไม่ยอม
ตุ๊ดหรือทอม..ตรูไม่สน..ปล้นเขามา




ตากูเอียง..เสียงกูดี..พี่ธงชัย
แม็คอินไตย..ยังไร้คู่..ใช่ปัญหา
ตรูหน้าด้าน..ปานหินทราย..สบายอุรา
ใครถามมา..กูด่าไป..มีอะไรว่ามา




อารมณ์ดี..เรียกคุณพี่..เรียกคุณน้อง
อารมณ์หมอง..เรียกไอ้น้อง..เรียกไอ้ห่า
อารมณ์บูด..ปากเหมือนตูด..พูดออกมา
อารมณ์บ้า..เรียกมาด่า..เรียกมาตี




น่าสมเพส..ประเทศใคร..ได้นายยก
ตกนรก..กันทั้งเป็น..เหมือนเห็นผี
วันศุกร์เย็น..ทำหน้าเป็น..ออกทีวี
คนลุกหนี..ทีวีพัง..โดนยันตีน




ประเทศใคร..เป็นของใคร..ใครไม่รู้
ป๋ากับปู..ไม่รู้ใคร..ไปหัวหิน
นายยกใหม่..เป็นของใคร..ใต้ฝ่าตีน
เลือดใครริน..แผ่นดินใคร..ก่อนได้มา...


๓ บลา : ถึงคราวใช้ ม.44 ไล่บี้แหลก มันไม่แปลก เพราะเผด็จการ มันด้านหนา หวังกำราบ ให้ย่อยยับ ดับทันตา เรื่องไล่-ฆ่า จึงเวียนวน สู่คนไทย....


การ์ตูนเซีย 31/3/58 มะ..มา ประลองกำลังกัน!



ถึงคราวใช้ ม.44 ไล่บี้แหลก
มันไม่แปลก เพราะเผด็จการ มันด้านหนา
หวังกำราบ ให้ย่อยยับ ดับทันตา
เรื่องไล่-ฆ่า จึงเวียนวน สู่คนไทย....

ปลงเถิดนะ พี่น้อง เพื่อนผองราษฎร์
เพราะอำนาจ ในมือมัน นั้นยิ่งใหญ่
ถึงเวลา คราสิ้นสุข ลุกเเป็นไฟ
มันหน้าไหน จะเอาอยู่ อยากรู้จัง....

๓ บลา

.คดี ม.๑๑๒.คนโพสต์ข้อความใน FB มีโทษหนักกว่าฆ่าคนตาย ??? .ศาลทหารตัดสิน "จำคุก๕๐ปี" ???

คลิกดูเพิ่มหยุดดัดจริตประเทศไทย ได้แชร์รูปภาพของ iLaw
เมื่อการที่โพสต์ข้อความใน FB มีโทษหนักกว่าฆ่าคนตาย ได้เป็นความจริงตรงตามตัวอักษรแล้ว.....วันนี้!! ที่นี่ประเทศไทย ...  ทรงพระเจริญ....


31 มีนาคม 2558 ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การ คดีของเธียรสุธรรม หรือเดิมใช้นามสมมติว่า "ศิระ" >> http://freedom.ilaw.or.th/case/649 จำเลยคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตร...ิย์ฯ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(3) จากการใช้เฟซบุ๊ก "ใหญ่ แดงเดือด" โพสต์ข้อความวิจารณ์ คสช. และพาดพิงสถาบันกษัตริย์ฯ จำนวน 5 ข้อความ ถือเป็นความผิดรวม 5 กรรม

ศาลขึ้นบัลลังก์เวลา 10.30 น. และสั่งพิจารณาคดีโดยลับ ทำให้ภรรยาและญาติของเธียรสุธรรมรวมทั้งผู้สังเกตการณ์คดีไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาคดีของศาลทหารได้ ในห้องพิจารคดีจึงมีเพียงผู้พิพากษา อัยการทหาร จำเลย ทนายจำเลย และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เท่านั้น

ภายหลังการพิจารณาคดี ทนายจำเลยเปิดเผยว่าเธียรสุธรรมให้การรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา ศาลจึงอ่านคำพิพากษาทันที โดยพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยด้วยมาตรา 112 กระทงความผิดละ 10 ปี 5 กระทง รวม 50 ปี รวม แต่เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงโทษจำคุก 25 ปี ศาลสั่งด้วยว่า ที่จำเลยถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกเป็นเวลา 7 วัน ไม่ให้นำมาหักจากเวลาที่จำเลยถูกควบคุมตัวแล้ว

คำพิพากษาคดีของเธียรสุธรรมที่ถูกตัดสินโทษจำคุก 50 ปี จึงถือเป็นสถิติใหม่สำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

ก่อนหน้านี้ คดีที่ศาลวางโทษหนักที่สุด คือ คดีของ "จักราวุธ" นักดนตรี อุบลฯ ที่ถูกศาลอาญาตัดสินจำคุก 27 ปี 36 เดือน จากความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัติรย์ฯ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ [อ่านรายละเอียดคดีที่
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/354#detail]

คลิก ดูเพิ่มเติม
คลิกดูเพิ่ม 
-กรมราชทัณฑ์ลดโทษผู้ต้องขัง1.4 แสนคน ฉลองพระชนมายุสมเด็จพระเทพฯ รวมเครือข่ายพงศ์พัฒน์-ตระกูลสุวะดี-ผู้พันตึ๋ง-กำนันเป๊าะ"เว้นคดี112"


ทันข่าว ทันสถานการณ์ ติดตามข่าว "เลิกกฎอัยการศึก"ยาเสื่อมคุณภาพมาใช้ยาแรง "ม.๔๔" จัดระเบียบสังคมใช้ปราบปรามบังคับประชาชนไทยให้อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ? ท่านผู้นำรับใบสั่งการจากเจ้าของระบอบอำมาตย์เผด็จการทรราชราชาธิปไตย ผู้อยู่เหนือรัฐธรรมนูญที่ไม่ยอมหยุดทำลายตนเองและประเทศชาติคนเดิมนั่นเอง. ...



คลิกดูเพิ่ม  matichononline
"บิ๊กตู่" เผย ทูลเกล้าฯขอยกเลิกอัยการศึกแล้ว ยันใช้ม.44สร้างสรรค์ ขึ้นศาลทหาร3ศาล




คลิกอ่าน"บิ๊กตู่" เผย ทูลเกล้าฯขอยกเลิกอัยการศึกแล้ว ยันใช้ม.44สร้างสรรค์ ขึ้นศาลทหาร3ศาล



คลิกดูเพิ่ม khaosod
ข่าวสดออนไลน์




 #‎ข่าวแมลงวัน  ข่าว"ลับ ลวง พลาง"
ข่าวเตือน รู้เขารู้เราอย่าประมาท.รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม. รู้ทันเกมส์เผด็จการ...

ผลสรุปการประชุมของ คสช.วันนี้  ที่ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

ให้ทุกเหล่าทัพ และกำลังพลทุกหน่วย ใช้สารละลายสีแดงอย่างเข้มข้น บุคคลใดยังมีใจฝักใฝ่ต่อต้าน ให้ใช้วิธีนำตัวเข้าหน่วยทหารในแต่ละมณฑลของกองทัพ ตั้งข้อหาให้เสร็จภายใน 7 วัน   แล้วนำตัวขึ้นศาลทหาร มิให้มีข้อยกเว้น   ให้ถือปฎิบัตคำสั่งตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ข้อต่อมา ให้กองพันที่รับมอบหมายภารกิจ 9 กองพัน นำกำลังพลเข้ามาสแตนบายที่ภาค1 ร.11 รอ. พล ปตอ. รอ. ลาดตะเวนระยะไกล ร.1 พ.2 รอ.เเจ้งวัฒนะ ถ้ามีการเคลื่อนไหวใดๆจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

















måndag 30 mars 2015

"ป๋าเปรม" ชี้ไทยขาดธรรมาภิบาลหยั่งรากลึก ทำให้ต้องมีการปฏิรูป ... ถามแล้วใครทำ? พระองค์เปรมขันทีเฒ่าอัลไซเมอร์"ไอ้เฒ่าสารพัดพิษ" ตอบไม่ได้แน่นอน ! เพราะตัวเองเป็นคนสั่งทำลาย"ธรรมาภิบาล" ลืมคำสั่งตัวเองได้อย่างไร? ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองพูดโกหกโยนความผิดโทษคนอื่นไปทั่ว ...เสื่อมสุดๆๆ




"ป๋าเปรม" ชี้ไทยขาดธรรมาภิบาลหยั่งรากลึก ทำให้ต้องมีการปฏิรูป







updated: 30 มี.ค. 2558 เวลา 12:53:58 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จัดงานสัมนาเชิงวิชาการนานาชาติและเชิงปฏิบัติการนานาชาติ ในโอกาสครบรอบ 15 ปี การก่อตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของไทย ชูแนวคิด "ผู้ตรวจการแผ่นดิน : เพื่อความเป็นธรรมของแผ่นดิน" (Ombudsman : Mechanism for the Fair Nation) โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่างประเทศ (Internation Ombudsman Institute IOI) และสมาคมผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งเอเชีย (Asian Ombudsman Association : AOA) โดยมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานเปิดงาน

โดยในงานนี้พลเอกเปรมได้กล่าวเปิดงานเป็นภาษาอังกฤษว่า "ผมขอชื่นชมสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจากใจจริง ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ย่อท้อตลอดระยะเวลา15ปีที่ผ่านมา เพื่อเสริมสร้างความยุติธรรมและความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนรวมทั้งส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หรือที่รู้จักกันในฐานะ "รัฐธรรมนูญฉบับก้าวหน้า" มีบทบัญญัติให้มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการให้บริการสาธารณะของรัฐบาลและข้าราชการ จุดเปลี่ยนแปลงสำคัญดังกล่าวได้นำไปสู่การจัดตั้งผู้จัดการแผ่นดินขึ้นในปี 2543

ผู้ตรวจการแผ่นดินเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสวีเดน เมื่อประมาณ 200 ปี ที่แล้ว ทำหน้าที่"ตรวจสอบและถ่วงดุล"ภาครัฐ และได้แพร่หลายไปยัวงประเทศต่างๆ ซึ่งมีปรับกฎหมายและรูปแบบรัฐบาลแตกต่างกันในประเทศไทย ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจสืบสวนสอบสวนการร้องเรียนเกี่ยวกับการบริหารงานที่ทุจริต หรือการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด หรือการใช้อำนาจโดยมิชอบ และการวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมโดยผู้มีตำแหน่งหน้าที่ทางการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การดำรงไว้ซึ่ง "ธรรมาภิบาล" ประกอบด้วยความสำนึกรับผิดชอบ ความโปร่งใส ภาระการตอบสนอง และความมีประสิทธิภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งของพันธกิจผู้ตรวจการแผ่นดิน

ช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยได้ประสบความแตกแยกทางสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันสืบเนื่องมาจากที่ประชาชนได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าการขาดธรรมาภิบาลได้ฝั่งตัวหยั่งลึก มีการทุจริตประพฤติมิชอบที่หยั่งรากลึก รวมทั้งการขาดจริยธรรมของผู้มีตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการบางส่วน สิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องให้ทำการปฏิรูป โดยเร่งด่วนและครอบคลุมทุกด้าน

จากนั้นเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าธรรมาภิบาลจะเป็นหนทางเดียวที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย และการขจัดวงจรอุบาทว์ของการฉ้อราษฎร์บังหลวง

ปัจจัยพื้นฐานของธรรมาภิบาลคือ ความสำนึกในภาระรับผิดชอบ รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรายงานและแสดงตัวรับผิดชอบต่อผลทั้งปวงที่ได้ทำไปในนามส่วนรวม บางท่านอาจมองว่าความสำนึกรับผิดชอบยังเป็นเรื่องใหม่ในวัฒนธรรมการใช้อำนาจในสังคมไทย แต่บางท่านก็ยังยืนยันที่จะปฎิเสธด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ไม่ยอมรับรู้ว่าความรับผิดชอบมาพร้อมกับการกระทำและการตัดสินใจของท่านด้วย ผมจึงต้องเรียนย้ำ ณ ที่นี้ว่าภาระความรับผิดชอบย่อมตกอยู่กับผู้ใดก็ตามที่มีอำนาจหน้าที่และได้ใช้อำนาจหน้าที่นั้นๆ การปัดความรับผิดชอบโดยผู้ใช้อำนาจเป็นสิ่งที่น่าละอายอย่างยิ่ง ผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรม

ความโปร่งใสเป็นส่วนหนึ่งของธรรมาภิบาล หมายถึงการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและรับรู้ขั้นตอน สามารถตัดสินใจในการบริหาร ผู้บริหาร จะต้องอธิบายได้ว่าการกระทำนั้นๆ ทำไปด้วยเหตุผลใดและอยู่ในกรอบของกฎหมายและระเบียบต่างๆอย่างไรบ้าง ระบบบริหารยิ่งมีความโปร่งใสมากเท่าใด ย่อมลดโอกาสที่จะเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงให้น้อยลงไปด้วย



ที่มา : มติชนออนไลน์



คสช.เผด็จการ1000% " ม.17 - ม.44 กลุ่มผู้สืบสันดานเผด็จการทรราชฆาตกร .ที่ไม่ยอมหยุดทำลายชาติ หยุดทำร้ายปราบปรามประชาชนเพื่อนร่วมชาติที่คิดต่าง







by เพจกู
ความดีของพวกมึงคือ ไม่ต้านมึง เวลาพวกมึงโกงใช่ไหม ?


คลิกอ่าน 'ประวิตร' บอก ถ้าเป็น 'คนดี' ก็ไม่ต้องกลัว ม.44
'ประวิตร' ยันม.44 ใช้ดูแลความสงบเรียบร้อย ใช้ป้องกันคนคิดไม่ดีต่อประเทศ บอกถ้าเป็นคนดีก็ไม่ต้องห่วง ขอสื่องดถามเรื่องม.44 อีก รอนายกรัฐมนตรีตัดสินใจก่อน
news.voicetv.co.th|โดย VOICE TV Ltd.Thailand

”หลังจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีอำนาจ ม.17 ตามธรรมนูญฯ 2502 ในมือ ก็ได้เกิดการคอรัปชั่นอย่างหนัก ภายใต้วาทกรรมว่า "ไม่โกง" และ "ผมรับผิดชอบเอง" ไม่มีใครมีอำนาจในการตรวจสอบ การใช้เงินของ สฤษดิ์ เลยแม้แต่น้อย เพราะ กลัวถูกยิงเป้า และแม้อยากจะตรวจสอบก็ไม่สามารถทำได้ เพราะอำนาจของมาตรา 17 อยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ 

และกระทำการต่างๆ ได้โดย ไม่ต้องกราบบังคมทูลขอพระบรมโองการ และไม่ต้องรอพระมหากษัตริย์ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย เรียกได้ว่า "มีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์" อีกด้วย

(ในสมัยของสฤษดิ์ มีการประหารชีวิตด้วยมาตรา 17 ทั้งสิ้น 11 คน) 

#มาตรา17ได้แปลงร่างเป็นมาตรา44ในยุคประยุทธ์

ถ้า ประยุทธ์ ประกาศใช้มาตรา 44 เมื่อใด ประยุทธ์ จะกลายเป็น ผู้มีอำนาจเหนือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

เทียบอัตราค่าเงิน 
ปัจจุบัน ทองบาทละ 18,000 (กว่า) บาท 
สมัยสฤษดิ์ ทองบาทละ 400 บาท 

ข้าวจานหนึ่ง 25 สตางค์ 
ข้าวปัจจุบัน 30 บาท 

356,000,000 บาท (สามร้อยห้าสิบหกล้านบาท)
ก็เชิญเทียบบัญญัตยางค์เอาเอง”




หลังจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีอำนาจ ม.17 ตามธรรมนูญฯ 2502 ในมือ ก็ได้เกิดการคอรัปชั่นอย่างหนัก ภายใต้วาทกรรมว่า "ไม่โกง" และ "ผมรับผิดชอบเอง" ไม่มีใครมีอำนาจในการตรวจสอบ การใช้เงินของ สฤษดิ์ เลยแม้แต่น้อย เพราะ กลัวถูกยิงเป้า และแม้อยากจะตรวจสอบก็ไม่สามารถทำได้ เพราะอำนาจของมาตรา 17 อยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
และกระทำการต่างๆ ได้โดย ไม่ต้องกราบบังคมทูลขอพระบรมโองการ และไม่ต้องรอพระมหากษัตริย์ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย เรียกได้ว่า "มีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์" อีก...ด้วย
(ในสมัยของสฤษดิ์ มีการประหารชีวิตด้วยมาตรา 17 ทั้งสิ้น 11 คน)


‪คลิกอ่าน  #‎มาตรา17ได้แปลงร่างเป็นมาตรา44ในยุคประยุทธ์‬


ถ้า ประยุทธ์ ประกาศใช้มาตรา 44 เมื่อใด ประยุทธ์ จะกลายเป็น ผู้มีอำนาจเหนือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)
เทียบอัตราค่าเงิน
ปัจจุบัน ทองบาทละ 18,000 (กว่า) บาท
สมัยสฤษดิ์ ทองบาทละ 400 บาท
ข้าวจานหนึ่ง 25 สตางค์
ข้าวปัจจุบัน 30 บาท
356,000,000 บาท (สามร้อยห้าสิบหกล้านบาท)
ก็เชิญเทียบบัญญัตยางค์เอาเอง
 
คลิกดูเพิ่ม Visa översättning


คลิกดูเพิ่ม matichononline
มองต่างมุม "ม.44" รองนายกฯหนุน บอก คนดีจะไปกลัวอะไร - อ.รัฐศาสตร์ มอง นี่เพิ่งเริ่มการควบคุมอำนาจอย่างแท้จริง!
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427708516

 
มติชนออนไลน์
matichon.co.th|โดย บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
ข่าวสดออนไลน์
คลิกอ่าน khaosod

khaosod.co.th|โดย บริษัท ข่าวสด จำกัด, ในเครือบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
.............................
โดย  ราษฎรไทย
๓๐มี.ค.๕๘
(หมายเหตุ - อ่าน  คิด  ไตร่ตรอง.  เพื่อติดอาวุธทางปัญญา..แล้วตอบคำถามตัวเองจะยอมเป็นทาสหรือจะคิดหาวิธีปลดปล่อยตัวเองและประเทศชาติออกเป็นไท  พ้นจาก "วงจรอุบาทว์".ของระบอบอำมาตย์เผด็จการทรราช..ก่อนที่จะสายเกินไป ... 
โดยร่วมช่วยกันปฎิเสธต่อต้านไม่ยอมรับกฎหมายเผด็จการที่เขียนขึ้นโดยไอ้พวกเผด็จการบ้าอำนาจขี้ข้ารับใช้ระบอบอำมาตย์เผด็จการทรราชราชาธิปไตย..
สิบเดือนผ่านไปยิ่ง "ลายลอก" บอกตัวตนสันดานที่แท้จริงให้ประชาชนไทยและสังคมโลกได้รับรู้ความจริงว่าการยึดอำนาจรัฐไปจากประชาชนเมื่อวันที่๒๒ พ.ค.๕๗ "ความจริง" คือเพื่อรักษาอำนาจรักษาผลประโยชน์  ของพวกเหลือบไร "อำมาตย์ศักดินา  นายทุนหน้าเลือด  ขุนศึกของพระราชา  นักเล่นการเมือง "โดยให้ทหารขุนศึกของพระราชาขี้ข้ารับใช้ทำการยึดอำนาจตามใบสั่งของอำมาตย์เผด็จการทรราชเหลือบศักดินานั่นเอง."ทั้งหมดพวกเดียวกัน"..บอกได้คำเดียวว่าทุเรศมาก..)

"ร่างรัฐธรรมนูญ" ฉบับที่๒๐.?? ข้อคิดมุมมอง กับ จาตุรนต์ ฉายแสง..

คลิกดูเพิ่ม Chaturon Chaisang
#‎ร่างรัฐธรรมนูญ‬ ‪#‎ประชาชน
'"...ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้จะทำให้ประเทศชาติล้าหลัง ไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการประชาชนได้ และไม่มีเสถียรภาพ". 

จาตุรนต์ ฉายแสง
29 มีนาคม 2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427624883

#ร่างรัฐธรรมนูญ #ประชาชน'


"...ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้จะทำให้ประเทศชาติล้าหลัง ไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการประชาชนได้ และไม่มีเสถียรภาพ".


 คลิกอ่าน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427624883...
จาตุรนต์ ฉายแสง
29 มีนาคม 2558


เมื่อวันที่ 29 มี.ค. นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิการ กล่าวกรณีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุนักการเมืองวิจารณ์การร่างรัฐธรรมนูญ เฉพาะอำนาจนักการเมืองและพรรคการเมืองว่า ความจริงคนที่วิจารณ์รัฐธรรมนูญมีหลากหลาย มีการทำโพลมาจะเห็นว่า ประชาชน ผู้ที่ออกเสียงในโพลส่วนใหญ่เห็นว่านายกรัฐมนตรี และสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ควรออกมาจากการเลือกตั้ง แต่นายบวรศักดิ์ไม่ยอมฟังให้ไปทำโพลใหม่ สิ่งที่นักการเมืองและพรรคการเมืองวิจารณ์อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องของอำนาจนักการเมืองเท่านั้น ประเด็นสำคัญร่างรัฐธรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ อธิปไตยไม่ได้เป็นของประชาชน ไม่ได้มีอำนาจโดยเฉพาะกำหนดการปกครองและบริหารประเทศ ที่นายบวรศักดิ์คุยนักคุยหนาจะเพิ่มอำนาจพลเมืองในรูปแบบใหม่ๆ ความจริงเป็นเพียงการทำให้ข้างนอกสุกสดใส ข้างในเป็นโพรงกำลังจะให้อำนาจที่สำคัญๆ กลับเป็นขององค์กรต่างๆที่ไม่ได้มาจากประชาชน ทั้งองค์กรอิสระเดิม องค์กรอิสระใหม่ๆ และส.ว.ลากตั้ง

นายจาตุรนต์ ​กล่าวอีกว่า ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้จะทำให้ประเทศชาติล้าหลัง ไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการประชาชนได้ และไม่มีเสถียรภาพ ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและการแข่งขัน เรื่องที่เขียนให้คนนอกเป็นนายกฯ จริงๆแล้วกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเขียน เพื่อเปิดทางให้คนนอกเป็นนายกฯได้ นายบวรศักดิ์รู้ดีอยู่แล้วว่า จะทำให้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซง จนในที่สุดคนนอกได้เป็นนายกฯ นายบวรศักดิ์อาจจะหงุดหงิดที่มีเสียงไม่เห็นด้วยมากกว่า เพราะเห็นว่านายบวรศักดิ์กำลังทำให้ประเทศล้าหลังไปอีก 30-40 ปี เศรษฐกิจเสียหายไม่มีวันโงหัวขึ้นได้ ในขณะนี้ประชาชนเปลี่ยนไปมาก ประเทศพัฒนามากขึ้น ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้น แต่นายบวรศักดิ์กำลังสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญล้าหลัง จึงไม่แปลกเลยที่ประชาชนจำนวนมากและหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนี้

“ถ้านายบวรศักดิ์จะได้ประโยชน์จากผู้มีอำนาจในขณะนี้ แต่กลายเป็นโทษ เป็นความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน นายบวรศักดิ์เป็นคนชอบทำตามกระแส เมื่อปี 40 ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยก็ตามกระแส และได้ดีจากรัฐธรรมนูญนั้น แต่มาตอนนี้นายบวรศักดิ์อาจหลงกระแสคิดว่าประชาชนอยากได้รัฐธรรมนูญอย่างที่กำลังร่างอยู่ ไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และไม่ได้ฟังความเห็นประชาชน ถ้าจะให้ดีว่าประชาชนเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ สิ่งที่นายบวรศักดิ์ ควรทำ คือ ผลักดันให้มีการทำประชามติ จะได้เป็นการพิสูจน์กันใคร คือ เสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนน้อยกันแน่” นายจาตุรนต์ กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวถึงแนวคิดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เตรียมยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึก มาใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 57 ว่า การใช้มาตรา 44 ส่วนหนึ่งขึ้นกับ ว่า จะใช้มาสั่งว่าอย่างไร กฎหมายและคำสั่งที่ออกมามีเนื้อหาอย่างไร ถ้ามีเนื้อหาเบากว่ากฎอัยการศึกอาจเป็นเรื่องที่สามารถใช้กฎหมายอื่นได้อยู่แล้ว แต่ถ้ามีเนื้อหาเข้มข้นเหมือนกฎอัยการศึกก็จะไม่ต่างไปจากเดิมหรือแย่กว่าเดิม ที่ว่าแย่กว่าเดิม เนื่องจากตัวมาตรา 44 เป็นอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จที่ร้ายแรงยิ่งกว่าธรรมนูญการปกครองสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะหัวหน้าคสช.และคณะคสช.มีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการ บริหาร นิติบัญญัติ และถ้าเนื้อหาใกล้เคียงกฎอัยการศึก จะมีผลเสีย คือ สร้างความยอมรับล้มเหลวในสังคมโลก

"เพราะฉะนั้นทางที่ดีต้องมาตั้งหลักว่า สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำอยู่ในปัจจุบัน การคงกฎอัยการศึกไว้มีแต่จะมีผลเสีย แต่ขณะเดียวกันการร่างรัฐธรรมนูญต้องการรับฟังความคิดเห็นมากขึ้น การคงกฎอัยการศึกไว้อย่างเข้มงวดจะเป็นการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น ซึ่งไม่เป็นผลดี ถ้าจะมีการยกเลิกกฎอัยการศึก นั้นหมายความต้องช่วยลดความเสียหายเศรษฐกิจ และส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่เปลี่ยนแค่ชื่อกฎหมายที่ใช้ แต่ถ้าเนื้อหาของกฎหมายยังเป็นอยู่อย่างเดิม ความจริงถ้าจะทำควรให้เปิดให้หลายๆฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ก่อน ดีกว่าออกมาเลย เพราะไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาได้ว่ามีเนติบริกรช่วยทำพังอีกแล้ว" นายจาตุรนต์ กล่าว

๓ บลา : คนโง่ๆ ปรารถนา เลือกมาอีก ยังหลบหลีก ตระบัดสัตย์ ไม่ขัดเขิน โง่กับเอ๋อ ร่วมเพ้อฝัน กันยับเยิน หมดตาเดิน ก็มุดกะลา ฮากันเอง....

การ์ตูนเซีย 30/3/58 กันหมา..แต่ไม่กันน้ำท่วม



นามพรรคเปรต เศษมนุษย์ สุดจะกล่าว
ทุกเรื่องราว เลวระยำ ทำไขสือ
ดีแต่พูด ปากโสมม สมคำลือ
ผลงานหรือ ก็ต่ำเตี้ย เหี้ยยังเมิน....

คนโง่ๆ ปรารถนา เลือกมาอีก
ยังหลบหลีก ตระบัดสัตย์ ไม่ขัดเขิน
โง่กับเอ๋อ ร่วมเพ้อฝัน กันยับเยิน
หมดตาเดิน ก็มุดกะลา ฮากันเอง....

๓ บลา

söndag 29 mars 2015

คำอธิบายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และพระราชอำนาจที่น่าสนใจและยังคงครอบงำสังคมไทยจนทุกวันนี้ โดยยกตัวอย่าง 3 ประเด็น.....

ปิยบุตร แสงกนกกุล เปิดโปงนักกฏหมายแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และพระราชอำนาจที่น่าสนใจและยังคงครอบงำสังคมไทยจนทุกวันนี้ โดยยกตัวอย่าง 3 ประเด็น.....


1. อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ร่วมกับประชาชน
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้สร้างทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์และประชาชนไว้ในตำรากฎหมายมหาชนของเขาว่า ในระบอบประชาธิปไตยไทย อำนาจอธิปไตยอยู่ที่พระมหากษัตริย์และประชาชน ซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นที่ประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก เหตุผลทางประเพณีในสังคมวัฒนธรรมไทยอันเกิดจากการสั่งสมความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชน ประการที่สอง เหตุผลทางนิติศาสตร์ แต่ไหนแต่ไรมา อำนาจอธิปไตยอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ครั้นเมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอำนาจอธิปไตยอยู่ก็สละพระราชอำนาจนั้นให้ประชาชนทั้ง ประเทศด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญ แล้วลดพระองค์ลงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังทรงใช้อำนาจนั้นแทนประชาชน ด้วยเหตุนี้ ในทางกฎหมาย เมื่อมีการรัฐประหารเลิกรัฐธรรมนูญ ก็ต้องถือว่าอำนาจอธิปไตยที่เคยพระราชทานให้ปวงชนนั้นกลับคืนมายังพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิมมาก่อน 24 มิถุนายน 2475 ดังนั้นในทางกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศก็ไม่ต้องรับรองรัฐบาลไทยใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงโดยรัฐประหารเป็นเรื่องภายใน แต่ระดับสูงสุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ และยังทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่กลับคืนมาเป็นของพระองค์ด้วย ส่วนคณะรัฐประหารไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตย หากมีอำนาจปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นตามความเป็นจริงเท่านั้น และเมื่อคณะรัฐประหารประสงค์จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อจัดทำแล้วเสร็จ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อขอให้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อลงพระปรมาภิไธยก็เท่ากับว่าพระมหากษัตริย์สละอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาที่ ประชาชนอีกครั้งหนึ่ง
ปิยบุตรระบุว่า สามารถวิจารณ์ความเห็นของบวรศักดิ์ฯ ได้ใน 2 ลักษณะ
ลักษณะแรก คือ วันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2475 อำนาจอยู่ที่คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เสร็จแล้วก็ปล่อยให้ประชาชน ตามมาตรา 1 ของธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม27มิถุนายน 2475 ที่บัญญัติว่าอำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลายการที่อ้างกันว่า กษัตริย์มอบให้ แสดงว่ากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด และร่วมกับประชาชน ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่ได้มีตรงไหนที่บอกว่าประชาชนมอบอำนาจคืนให้กับกษัตริย์
ในประกาศคณะ ราษฎรเอง ก็เขียนไว้ว่า “ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา
และหากจะโต้ว่า แล้วเอามาให้ถวายทำไม ทำไมไม่ทำ รธน เอง คำอธิบายก็มีระบุในประกาศคณะราษฎรแล้ว ว่ายึดไว้ได้ และรอให้ตอบมาเป็นกษัตริย์ การตอบกลับมาเป็นกษัตริย์ และยอมลงนามใน ธรรมนูญ  ๒๗ ก็แสดงว่า กษัตริย์นั่นแหละ ยอมตาม ผู้ก่อการแล้ว ยอมเปลี่ยนสภาวะของตนจาก ล้นพ้นมาเป็น กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ แปลงตนเองจากองค์อธิปัตย์ มาเป็น สถาบันการเมืองหนึ่งที่รัฐธรรมนูญอนุญาตให้มี
ส่วนข้อที่ว่า แล้วทำไมคณะราษฎรต้องไปขอ นิรโทษกรรมด้วย ทายาทของพระยาพหลฯเคยเล่าให้ฟังว่า นั่นเป็นการที่ผู้ที่อายุน้อยกว่าขอขมาผู้อาวุโสกว่าที่ได้กล่าววาจาล่วง เกินกันไปเท่านั้น
วิจารณ์ลักษณะที่สอง  ในสังคมการเมือง อำนาจเป็นของประชาชนเสมอ เพียงแต่ว่ายุคใดสมัยใด อำนาจนั้นจะถูก แย่งชิงไปหรือไม่ หรือประชาชนจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ใคร ดังนั้น หากจะย้อนกลับไปหาความเป็นเจ้าของอำนาจ ในท้ายที่สุดก็จะเจอประชาชนในฐานะเจ้าของอยู่ดี การอ้างว่ากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ปกครอง มาตั้งแต่นมนาน ในสังคมการเมืองหนึ่งอาจไม่เคยขาดซึ่งสถาบันกษัตริย์เลย นั่นอาจเป็นการอ้างตามประวัติศาสตร์ของพวกราชาชาตินิยม ประวัติศาสตร์ของเจ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นโค้ดของเรา
Saint-Just อธิบายว่า กษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติและโดยตัวของมันเอง เราไม่ต้องพิจารณาเลยว่าการกระทำของกษัตริย์หรือการบริหารราชการแผ่นดินของ กษัตริย์มีความผิดทางอาญาหรือไม่ ถ้ากษัตริย์เป็นทรราช นั่นไม่ใช่เพราะความผิดจากการบริหารราชการแผ่นดินของเขา แต่เขาเป็นทรราชก็ด้วยลักษณะของความเป็นกษัตริย์นั่นแหละ Saint-Just เสนออย่างชาญฉลาดว่า การที่กษัตริย์ยึดครองอำนาจสูงสุดของประชาชนไปใช้เอง นั่นแสดงให้เห็นว่าลักษณะของความเป็นกษัตริย์เป็นอาชญากรรมนิรันดร (crime éternel) ต่อประชาชน มนุษย์จึงย่อมมีสิทธิสัมบูรณ์ในการลุกขึ้นสู้และติดอาวุธ   Saint-Just อธิบายว่า ไม่มีใครสามารถครองราชย์ได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะ กษัตริย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นกบฏและเป็นผู้แย่งชิง (usurpateur) อำนาจของประชาชนไป
หรือในประกาศคณะราษฎรราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศของเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง
หากพิจารณาตามแนวทางนี้ ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหรือไม่ เพราะ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเสมอ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตลอดกาล เพียงแต่ว่าบางช่วงบางตอน ถูก ฉกฉวยแย่งชิงขโมยไป และสักวันหนึ่ง ประชาชนก็เอากลับคืนมาจนได้

ประเด็นที่ 2.  กษัตริย์กับรัฐประหาร ทั้งนี้ รัฐประหารที่กษัตริย์มีบทบาทสนับสนุนสำคัญอย่างยิ่ง มีอยู่ 2 กรณีที่น่าสนใจ
กรณีแรก อิตาลี เมื่อวันที่ 27 ถึง 29 ตุลาคม 1922 กลุ่มชุดดำเดินเท้าสู่กรุงโรมเพื่อสนับสนุนให้มุสโสลินีเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ก่อความวุ่นวาย รัฐบาลจะประกาศกฎอัยการศึก แต่กษัตริย์วิคเตอร์ อิมมานูเอล ไม่ยอม กลับตั้งให้ เบนิโต้ มุสโสลินี เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการเลือกตั้ง 1924 มีการลอบสังหารจาโคโม่ มาตเตอ็อตติ ทำให้มุสโสลินีฉวยโอกาส ปกครองแบบเผด็จการฟาสซิสต์โดยอ้างการรักษาความสงบ และพาเข้าสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังอิตาลีแพ้สงคราม ก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะเป็นสาธารณัฐหรือ กษัตริย์ ในวันที่ 2 มิถุนายน 1946 ผลปรากฏว่า ร้อยละ 54.3 เลือกสาธารณรัฐ ร้อยละ 45.7 เลือกกษัตริย์
กรณีที่สอง สเปนกษัตริย์อัลฟองโซที่ 13 ได้สนับสนุนให้ปริโม เดอ ริเวร่ารัฐประหารในวันที่ 13 กันยายน 1923 และแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐประหารครั้งนี้เป็นรัฐประหารครั้งสำคัญที่แตกต่างจากรัฐประหารในที่ต่างๆ คือ รัฐประหารแล้วกษัตริย์ยังคงอยู่ เพราะ รัฐประหารครั้งนี้เกิดจากดำริของกษัตริย์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ผ่านไป ๗ ปี กษัตริย์ก็บีบบังคับให้ปริโม เดอ ริเวร่าออกจากตำแหน่งในปี 1930 จากนั้นกระแสสาธารณรัฐนิยมก็เฟื่องฟูอย่างมาก เพราะความนิยมในตัวกษัตริย์ตกลงไป เนื่องจากกษัตริย์เปิดหน้าเล่นการเมืองชัดเจน จนในปี 1931 กองทัพก็ประกาศเลิกสนับสนุนกษัตริย์ กษัตริย์ลี้ภัย สเปนประกาศเป็นสาธารณรัฐ
สำหรับประเทศ ไทย ในรัชสมัยของรัชกาลปัจจุบัน มีรัฐประหารเกิดขึ้น 10 ครั้ง 2490, 2491, 2494, 2500, 2501, 2514, 2519, 2520, 2534, 2549) ปัญหาจึงมีอยู่ว่า จะจัดความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับคณะรัฐประหารอย่างไร? เหตุใดจึงต้องมีการลงพระปรมาภิไธย
ปิยบุตรอ้างถึงเกษม ศิริสัมพันธ์ ที่เคยกล่าวไว้วเมื่อวันที่3 ธันวาคม 2530 ณ หอประชุมเล็ก มธ เนื่องในสัปดาห์วิชาการจัดเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนม์พรรษาครบห้ารอบ ก่อนการพยายามก่อปฏิวัติที่ล้มเหลวไป 2 หน คือ "เมษาฮาวาย" เมื่อปี ๒๕๒๔ ครั้งหนึ่ง และ ความพยายามรัฐประหาร 9 กันยายน 2528 อีกครั้งหนึ่งว่า "มีข้อน่าคิดอีกประการหนึ่งว่าความมั่นคงและความสืบเนื่อง ของระบบรัฐสภาในยุคปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้ในบ้านเมืองคราวนี้ ก็เป็นด้วยพระบารมีอีกเช่นกัน การพยายามก่อการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งล้มเหลวไปถึงสองครั้งสองหน จนในที่สุดมาถึงขณะนี้ก็มีเสียงพูดกันแล้วว่าหมดสมัยของการปฏิวัติรัฐประหาร กันได้แล้ว ความสำนึกเช่นนี้อุบัติขึ้นมาได้ก็คงเป็นเพราะเกิดความตระหนักว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้กำลังฝ่ายทหารนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยม ฉะนั้นจึงเป็นช่องทางให้ประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาได้มีโอกาสเติบโตหยั่งราก ลึกในบ้านเมืองกันได้ในครั้งนี้"
อย่างไรก็ตาม ปิยบุตรกล่าวว่า หลังจากคำอภิปรายนี้ผ่านพ้นไปได้ 2 ปีเศษ ก็เกิดรัฐประหาร23 ก.พ. 2534 และครั้งล่าสุด 19  กันยายน 2549 ดังนั้น "การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้กำลังฝ่ายทหารนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยม" ที่เกษม ศิริสัมพันธ์ กล่าวไว้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2530 เป็นความจริงหรือไม่ โปรดพิจารณา และ "ไม่ต้องด้วยราชนิยม" คืออะไร
ทั้งนี้ เขากล่าวถึงคำอธิบายของวิษณุ เครืองาม ที่อธิบายว่า คณะรัฐประหารต้องการขออาศัยพระราชอำนาจทางสังคมของกษัตริย์เพื่อให้ประชาชน เข้าใจว่ากษัตริย์ก็ยอมตาม และให้ต่างประเทศยอมรับรัฐบาลใหม่ และแสดงให้เห็นว่าไม่ได้แตะต้องสถาบันกษัตริย์
ในขณะที่ บวรศักดิ์ อธิบายตรงกันข้ามว่า รัฐประหารแล้ว อำนาอธิปไตยย่อมกลับไปเป็นของกษัตริย์ในฐานะเจ้าของเดิมมาตลอด สังเกตจากคณะรัฐประหารต้องย้อนกลับไปขอพระราชทานรัฐธรรมนูญใหม่ นั่นหมายความว่า ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์, 24 มิถุนายน 2475 อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยมอบให้กษัตริย์ใช้, หลังการปฏิวติ พ.ย. 2490 อำนาจอธิปไตยกลับไปเป็นของกษัตริย์, และในระบอบปกติ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยมอบให้กษัตริย์ใช้
"การอธิบายแบบบวรศักดิ์ แทนที่จะสนับสนุนบทบาทของกษัตริย์ในประชาธิปไตย กลับอาจเป็นส่งผลร้ายต่อสถาบันกษัตริย์เสียเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบอกว่า รัฐประหารแล้ว อำนาจกลับไปที่กษัตริย์ ย่อมพิจารณาต่อไปได้ว่า รัฐประหาร เพื่อ กษัตริย์ เอาอำนาจให้กษัตริย์ ถ้าแบบนี้ คนจะคิดอย่างไร? แทนที่จะอธิบายว่า รัฐประหารแล้ว คณะ รปห ยึดหมด แต่ไม่เลิกสถาบันกษัตริย์ ส่วนการลงนาม ก็ให้ลงในฐานะประมุขของรัฐ อธิบายแบบนี้ ยังเป็นผลดีต่อกษัตริย์มากกว่า เพราะ ถือว่า คณะ รปห ทำกันเอง แล้วมาบีบบังคับให้กษัตริย์ลงนาม"
3. ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ
บวรศักดิ์ฯอธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียม ปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ ปะปนไปกับ จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญแบบภาคพื้นยุโรป หากกล่าวอย่างเคร่งครัดแล้วแตกต่างกัน แต่ในตำรากฎหมายมหาชนของบวรศักดิ์ฯนำสองเรื่องนี้มาปะปนกัน เพื่อสร้างคำอธิบายให้กษัตริย์มีพระราชอำนาจบางประกาศที่แตกต่างจากบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
"บวรศักดิ์ฯบอกว่าธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐ ธรรมนูญเกิดจาก 2 ประการ ประการแรก เกิดจากการปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่าสม่ำเสมอ ประการที่สอง เกิดจากการปฏิบัติโดยรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ โดย บวรศักดิ์ฯยกตัวอย่างธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น อังกฤษ และประเทศอื่นๆที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ ว่า กษัตริย์จะไม่ใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจาก สภามาแล้ว แต่กรณีของไทย บวรศักดิ์ฯบอกว่าตรงกันข้าม ในกรณีที่กษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย รัฐสภาก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญยืนยันกลับไปเพื่อ ประกาศใช้กฎหมายนั้นเสมือนหนึ่งว่าทรงลงพระปรมาภิไธย อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมปฏิบัตินี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกตามพระบรมเดชานุภาพของพระมหา กษัตริย์แต่ละพระองค์
วิธีคิดเช่นนี้ สืบเนื่องมาจากความคิดที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ตลอดกาล และยอมแบ่งให้ประชาชนเมื่อ 24 มิถุนายน 2475
24 มิถุนายน 2475 คือการเปลี่ยนระบอบ พระราชอำนาจใดที่มีมาแต่เดิม พระราชอำนาจใดที่ตกทอดกันมาตามธรรมเนียมโบราณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริง หรือไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ย่อมต้องถูกยกเลิกไป และจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด เมื่อระบอบใหม่ อนุญาตให้กษัตริย์เป็นประมุขของรัฐต่อไปโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจของกษัตริย์จะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับ ประชาธิปไตยตามระบอบใหม่ ดังนั้น การเพิ่มพระราชอำนาจให้กษัตริย์โดยผ่านประเพณีย่อมไม่ถูกต้อง

มีข้อควรสังเกตว่า ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญที่ใช้ในอังกฤษนั้น กำเนิดขึ้นมาเพื่อจำกัดอำนาจกษัตริย์ สร้างขึ้นมาเพื่อให้การดำเนินการของระบบพาร์เลียเมนตารี่ โมนาขี้ รัฐสภาเป็นไปอย่างราบรื่น แต่บวรศักดิ์ฯกลับนำข้อความคิดเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญมาเพิ่ม พระราชอำนาจให้กับกษัตริย์ และขัดกับหลักการประชาธิปไตย
ทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ 2 ส่วนคือ 1. นักกฎหมายแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ให้ความสำคัญกับ 24 มิถุนายน 2475 เหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 ไม่ใช่การอภิวัตน์ ไม่ใช่การเปลี่ยนระบอบ แต่เป็นการแย่งอำนาจของกษัตริย์ไปและกษัตริย์ยอมเสียสละพระราชทานอำนาจอธิปไตยแก่ประชาชน ระบบการเมือง-กฎหมายมีความต่อเนื่องจากระบอบเก่า
"นักกฎหมายเหล่านี้เติบโตและ บ่มเพาะภายใต้อุดมการณ์กษัตริย์นิยม ในหลักสูตรการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 หรือเรียกได้ว่าแทบไม่มี ในวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย เราสามารถไล่ไปได้ถึงสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ กฎหมายตราสามดวง คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ศาสนาพุทธ พราหมณ์ การปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปศาลและการจัดทำประมวลกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 6และ 7 เพื่อทำให้สยามเป็นอารยะประเทศ และรอดพ้นจากการล่าอาณานิคม พอมาถึงรัชกาลที่ 7 ทุกอย่างก็จบลง ไม่มีการกล่าวถึง 24 มิถุนายน 2475 ในฐานะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่กลับหลักการทุกสิ่งทุกอย่างจากเดิม ให้อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย ยกเลิกอำนาจอันล้นพ้นของกษัตริย์ และให้กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองหนึ่งอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ 2475 ทำให้ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิ ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจ ประชาชนไม่ได้ขึ้นกับใคร แต่เป็นผู้มีอัตวินิจฉัยในการตัดสินใจดำเนินชีวิตและสร้างชะตากรรมของตนเอง ฐานคิดของ 2475 จึงมีความจำเป็นต่อนักกฎหมายในสมัยระบอบใหม่ การใช้การตีความกฎหมายในระบอบใหม่ ต้องสอดคล้องกับระบอบใหม่ เมื่อนักกฎหมายที่อยู่ในระบอบปัจจุบัน กลับมีความคิดแบบระบอบเก่า การใช้และตีความกฎหมายจึงบิดเบี้ยงผิดเพี้ยนกับหลักการประชาธิปไตยอย่างที่ เราเห็นกันทุกวันนี้